2012-06-01

P.เตือนความจำ


KP Page

4:14 PM (edited)  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล · 15,090 subscribers
6 hours ago ·
เมื่อวานผมตั้งคำถามว่า How far they are willing to go? คือ พวก พธม.-ปชป ยินดีจะไปไกลแค่ไหน เพื่อ บล็อกการเอาทักษิณกลับบ้าน ผ่าน พรบ.ปรองดอง

หลังจากดู พธม-ปชป มา 2 วัน ผมคิดว่า คำตอบคือ "ถึงที่สุด" คือ ผมคิดว่า พวกเขาคงไม่ back down หรือหยุดแน่นอน

เฉพาะหน้า วันนี้ พธม. คงพยายาม ขวาง หรือ หยุด การประชุมสภา (ไมว่าจะโดยกันไม่ให้ สส.เข้่าสภา หรือถ้า สส.เข้าสภา ประชุมแล้ว ก็คง "ยึด"พื้นทีสภา หรืออาจจะถึงขั้น บุก เข้าไปในสภา

ส่วน ปชป ก็เป้นไปได้ทีจะไม่ยอมเข้าประชุม (ยิ่งถ้า พธม.ตั้งด่านกันไม่ให้ สส.เข้าสภา) หรือ มิเช่นนัน เข้าไปแล้ว ก็อาจจะมีการ "วอล์กเอ้าท์" หรือ บอยคอต ประชุม

และถ้า ในที่สุด มีการผ่าน พรบ. ไม่วาฉบับใด (เพราะทุกฉบับ มีจุดร่วมที่เอาทักษิณกลับบ้าน) พวกนี้ ก็คงไม่หยุด

ในทีสุด สิ่งที่พวกนี้พยายามทำ ก็เช่นเดียวกับปี 2549 และ 2551 คือ พยายามสร้างสถานการณ์ที่ "ดึง" ให้สถาบันกษัตริย์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง

ซึ่งก็จะกลับไปที่ ปมปัญหาใหญ่ ที่ผมตั้งไว้วันก่อนว่า สถาบันฯจะมีท่าทีอย่างไรต่อเรื่องนี้? (ทักษิณ มีการ "ทำความเข้าใจ" ไว้แล้ว หรือเพียงแต่ "ทอดไมตรี" เอาใจ แล้วประเมินเองว่า "ได้เวลาแล้ว" ที่จะเสี่ยงกลับมาได้ โดยหวังว่า การ "ทอดไมตรี" ที่ผ่านมา เป็นการเพียงพอที่จะ neutralize (ทำให้เป็นกลาง) ในแง่การแทรกแซงของสถาบันกษัตริย์

ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย มี "ผลประโยชน์ร่วม" กับการ "เอาทักษิณกลับบ้าน" หรือ "นิรโทษกรรมทักษิณ" นะ เพราะนี่เป็นส่วนหนึงของการ "ล้างผลพวงของการรัฐประหาร" เป็นการยืนยันว่า ไมมีอำนาจนอกระบบที่ไหน มีสิทธิ์ใช้ทหาร มาล้ม คนที่ประชาชนเลือกตั้งมา ไม่ว่าจะไม่ชอบใจคนนั้นอย่างไร

เรืองนี้ ถ้าใครไม่เก็ตว่า เป็นจุดยืนผมมาแต่ไหนแต่ไร และไม่เคยเปลี่ยน แสดงว่า คงไม่ได้อ่านจริงๆ

แต่ในฐานะที่เราเป็นประชาชนตัวเล็กตัวน้อย ใน "ขบวนการประชาธิปไตย" เราก็มีสิทธิ์ และควร ตั้งคำถามกับ พรรคทีเราเลือก และ บรรดา แกนนำ (รวมทั้งตัวทักษิณเอง) ด้วย เกี่ยวกับ timing (จังหวะก้าวเวลา) เรื่อง priority (การตั้งความสำคัญ) และ "เนื้อหา" ของการ "ปรองดอง" ทีว่าด้วย โดยมองที่ผลประโยชน์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยรวมทั้งหมด

ปัญหาของการผลักดันเรือ่ง "ปรองดอง" หรือเรื่อง "เอาทักษิณกลับบ้าน" ของ ทักษิณ-เพือ่ไทย-นปช เอง มีปัญหาแต่ต้น ดังที่ผมเขียนไปหลายครั้งแล้ว ทั้งในแง่การตั้ง priority (แทนที่จะหาทาง ทุ่มสุดกำลัง เพื่อช่วยคนธรรมดาออกมาก่อน) ปัญหาเรือ่งการจัดการประเด็น "ฆาตรกร" (ที่พร้อมจะ "ให้อภัย" "ลืมๆ" กันไป) ปัญหาเรือ่งการ "เอาใจ" คนอย่าง เปรม ฯลฯ เกินเหตุ การไม่ยอมแม้แต่จะ เปิดประเด็น คอป. เรือ่ง 112 อะไรเหล่านี้เป็นต้ัน

ปัญหาของการ "ผูกมิตร" กับ "ชนชั้้นสูง" อย่างที่ทักษิณพยายามอย่างหนักในระยะใกล้ๆนี้ นะ

คือ พวกเขาอาจจะ มีท่าที ประเภท "โอเคๆ" เหมือนกับจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรกับคุณแล้ว (แสดงความ "เอ็นดู" ยิ่งลักษณ์ อะไรแบบนั้น)

แต่เวลามีเรื่องขึ้นมา อย่างที่ พธม.-ปชป ออกมาอาละวาดตอนนี้

"พวกเขา" ก็ไม่ออกหน้ามาช่วยคุณหรอก แต่จะ "ลอยตัว" เงียบๆไว้

และทำให้ พวกที่มาอาละวาด สามารถอ้างได้ว่า กำลังทำเพือ่พวกนั้น

แล้วถ้าเผลอสถานการณ์มันแย่ลง วุ่นวาย มีปัญหาเสถียรภาพ

"ชนชั้นสูง" ที่ดูเหมือนจะเป็น "มิตร" แล้ว ก็สามารถ หันไปเข้ากับอีกฝ่าย หรือเลือกที่จะ "ทิ้ง" คุณได้ง่ายๆ

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/361671320552820
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/361772717209347 
เมื่อวานผมตั้งคำถามว... | Facebook »
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียน: เมื่อวานผมตั้งคำถามว่า How far they are... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก 

KP Page

4:08 PM (edited)  -  Public
Status Update
By สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ความขัดแย้งในยุค "การเมืองแบบมวลชน" จัดการยาก

ใน 1-2 ทศวรรษหลัง การเมืองประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบ "การเมืองมวลชน" (mass politics) ไปแล้ว

นั่นหมายความว่า การทำความตกลงกันในระดับ ชนชั้นนำ ("อีลีต") แคบๆแบบในอดีตเท่านั้น เป็นเรื่องไม่เพียงพอ

ในฝ่ายเสื้อแดง ทักษิณคิดว่า สามารถ "ทอดไมตรี" "เอาใจ" กับชนชั้นสูงฝ่ายตรงข้ามได้แล้ว (ทำให้ "เอ็นดูยิ่งลักษณ์" ได้) ก็สามารถเข็น พรบ.ปรองดอง ทีจะ "ลืมอดีต" "มาเริ่มต้นกันใหม่" เรื่องการฆ่ากลางเมืองอะไรแบบนั้นได้

ปรากฏว่า ก็ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากมวลชนของตัวเองเป็นอันดับแรก จนกล่าวว่าได้ พรบ.ปรองดอง "สะดุด" แรกสุด จากแรงกดดันของมวลชนฝ่ายตัวเอง จนทำให้เกิดการเสนอ พรบ.คู่ขนาน ขึั้นมา

ไม่ต้องพูดถึง แรงต้านจาก "มวลชน" ของ "ฝ่ายตรงข้าม"

ในอีกฝ่ายหนึง แม้ "ชนชั้นสูง" ของฝ่ายนั้น จะมีท่าที "เอ็นดู" ต่อฝ่ายทักษิณ (ยิ่งลักษณ์) มีการกอดคอกันออกงานราตรีสโมสร และอื่นๆ อะไรทำนองนั้น

ก็ไม่ได้แปลว่า การเมืองระดับ "มวลชน" ของฝ่ายนั้น ที่แสดงออกทางพรรคการเมือง (ปชป.) และองค์กร พันธมิตร จะต้อง เออออ ตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ

"พลวัตร" (dynamism) ของการเมืองระดับชนชั้นนำ และระดับมวลชน เช่นนี้ ทำให้การจัดการความขัดแย้ง มีความยากลำบากมากขึั้น (ไม่สามารถ "เกี้ยเซี้ย" "เจรจาต้าอ่วย" กันให้จบๆในหมู่ชนช้้นนำเท่านั้น)

ที่วิกฤตการเมืองปัจจุบัน เป็นเรื่อง "ร้าวลึก" แพร่หลาย ก็เพราะเหตุนี้ (ลองนึกรูปธรรมของบทบาท การ "ดีเบต" ฟาดฟันทางการเมือง ในระดับ "โซเชียลมีเดีย" และ "อินเตอร์เน็ต" ที่มีบทบาทมากในระยะหลังๆ และเกี่ยวพันถึงคนระดับธรรมดา "ทำกันเอง" และ ทำกับ "ชนช้นนำ" ของทั้งสองฟาก)

ปัจจัยที่สามารถเป็น "จุดแข็ง" ของม็อบพันธมิตร คราวนี้ เมื่อเทียบกับครั้งสุดท้าย เรื่องเขาพระวิหาร

- ครั้งก่อนพันธมิตรชุมนุมระหว่างที่ ปชป. เป็นรัฐบาล หมายความว่า "ฐาน" ของ ปชป. ก็ไม่เอาด้วย

แต่คราวนี้ ปชป. เอาด้วย ทำให้สามารถ "ระดม" มวลชน ที่เป็น "ฐาน" ของ ปชป. มาเสริมได้เรื่อยๆ (เช่น ขนมาจากภาคใต้ เป็นต้น)

ยิ่งกว่านั้น ปชป. เอง มี "ฐาน" ในหมู่ "ชนชั้นกลางในเมือง" มากกว่า พันธมิตร "ฐาน" เหล่านี้ มีแนวโน้มจะมาสนับสนุนมากกว่าถ้าเป็น ม็อบพันธมิตร ล้วนๆ

- ในหมู่นักวิชาการ ปัญญาชนเอง แม้แต่พวกที่ในหลายปีหลังนี้ หันมาวิจารณ์เรื่อง พฤษภา 53 หรือ เรื่อง 112 หลายคน ก็ไม่พร้อมจะสนับสนุน ประเด็น ช่วยทักษิณ ของ พรบ.ปรองดอง

เอาง่ายๆเลย ในบรรดานักวิชาการหลายคนทีร่วมลงชื่อกับ ครก. นี่แหละ ผมรู้แน่ๆว่า หลายคน คงไม่เอาด้วยกับประเด็นทักษิณ

ไม่ต้องพูดถึงที่เป็นวงกว้างออกไป

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/361844117202207
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/361811707205448 

No comments:

Post a Comment