2012-06-09

"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก


KP Page

5:04 AM  -  Public
"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก (2): ความเป็นมาของเพลง "ความฝันอันสูงสุด"
by สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล on Thursday, March 10, 2011 at 4:19am ·

ผมสงสัยว่า ทุกแวดวงคงมี "เรื่องเล่า" (story, narrative) ความแตกต่างระหว่าง "เรื่องเลา" จากแวดวงราชสำนัก กับแวดวงอื่นๆ คือ เรื่องเล่าจากแวดวงราชสำนักได้กลายเป็น่ส่วนหนึ่งระบอบการเมืองและวัฒนธรรมที่กดขี่และบังคับครอบงำ โดยมีกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้แสดงความเห็นที่แตกต่าง และระบบการศึกษาอบรมและการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวตลอดวัน ที่ "โปรแกรม" สมองให้คิดตามตั้งแต่เด็กๆ ผลก็คือ "เรื่องเล่่า" จากแวดวงราชสำนัก ได้กลายเป็นสิ่งที่โต้แย้ง วิพากษ์ หรือประณาม ไม่ได้ นอกเสียจากจะยอมเสี่ยงต่อการถูกเล่นงานทางกฎหมาย หรือการกดดันปิดกั้นทางสังคมอย่างรุนแรง

หนึ่งในบรรดาแง่มุมเกี่ยวกับราชสำนักที่เต็มไปด้วย "เรื่องเล่า" คือ เพลงพระราชนิพนธ์

สิ่งแรกที่คนรุ่นนี้ ไม่ตระหนักคือ เมื่อมีการเริ่มใช้ เพลงพระราชนิพนธ์ เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว สรรเสริญเกียรติสถาบันกษัตริย์ ในยุคสฤษดิ์-ถนอม และในเวลาต่อมานับสิบๆปี (น่าจะถึงประมาณทศวรรษ 2530) เพลงพระราชนิพนธ์ ถูกนำเสนอในฐานะผลงานพระราชนิพนธ์ของในหลวงหรือพระราชินี ล้วนๆ คือ ถูกนำเสนอว่า เป็นสิ่งที่ทรงประพันธ์ขึ้น ทั้งเนื้อร้องและทำนอง (เช่นเดียวกับเด็กคนอื่นๆที่โตขึ้นมาในยุคนั้น ผมก็เข้าใจแบบนี้อยู่นานมาก)

ตัวอย่างการ "เล่าเรื่อง" ความเป็นมาของเพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" ข้างล่างนี้ ยืนยันสิ่งที่ผมเพิ่งพูดไป

นี่เป็นรายงานข่าวจาก ไทยรัฐ ฉบับวันเฉลิมพรรษาพระราชินีปี 2519 โดยไทยรัฐได้นำบทความของ พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการ ตชด. และผู้นำลูกเสือชาวบ้าน มาสรุปประกอบการสัมภาษณ์เจริญฤทธิ์เอง พร้อมกับ พล.ต.ต.สมควร หริกุล ผู้นำลูกเสือชาวบ้านอีกคนหนึ่ง (ใครที่ติดตามเรื่อง 6 ตุลาอย่างใกล้ชิด คงจำได้ว่า คุณสุรินทร์ มาศดิษถ์ ได้เล่าว่า เจริญฤทธิ์ คือคนที่เข้าร่วมประชุม ครม. เช้าวันที่ 6 ตุลา กับชาติชาย ชุณหวัน และร่วมสนับสนุนให้ "ปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สิ้นซาก") บทความดังกล่าวเพิ่งตีพิมพ์ในช่วงนั้น (ปี 2519) แต่เล่าการกำเนิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ที่ว่าเกิดขึ้นในปี 2515

"ทั้งสองพระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงความฝันอันสูงสุดนี้ขึ้น" นี่คือข้อความในบทความของเจริญฤทธิ์ ที่นำเสนอเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ในฐานะเป็นผลงานพระราชนิพนธ์ของในหลวงและพระราชินี ล้วนๆ และขอให้สังเกตว่า ใน "เรื่องเล่า" ของเจริญฤทธิ์นี้ ไม่มีการเอ่ยถึงการให้ผู้ใดแต่งเนื้อร้องเลย (ไม่เหมือนยุคหลัง)

ประการต่อมาที่ควรสนใจคือ การนำเสนอความเป็นมาของเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ของเจริญฤทธิ์ มีขึ้นในปริบทของความขัดแย้งตึงเครียดที่แหลมคมระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในขณะนั้น กับบรรดากลุ่มพลังฝ่ายขวาต่างๆ (ลูกเสือชาวบ้านเป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง) และมีนัยยะทางการเมืองอย่างชัดเจน "บ้านเมืองไทยจะประสบความวุ่นวายยุ่งยากและความมืดมนยิ่งขึ้น อย่างน่ากลัวอันตราย"

ประการสุดท้ายที่ขอให้สังเกตคือ เจริญฤทธิ์ ให้สัมภาษณ์ ไทยรัฐ ว่า เรื่องเล่าความเป็นมาเพลง "ความฝันอันสูงสุุด" ของเขานี้ ได้เคยถวายให้ในหลวงทอดพระเนตร "และโปรดเกล้าฯให้เผยแพร่" ได้

ขอเชิญอ่านรายละเอียดกันเองว่า ใน "เวอร์ชั่น" นี้ เพลง "ความฝันอันสูงสุด" มีความเป็นมาอย่างไร ที่เกี่ยวข้องถึงการที่่พระราชินีทรงพระสุบินถึงพระนเรศวร (ในการเล่าของเจริญฤทธิ์ มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ผมอ่านแล้วก็ไม่แน่ใจ คือตอนที่เล่าถึงพระราชินี "ทรงปลุกพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงปรากฏให้ทรงทอดพระเนครเห็นทั้งสองพระองค์" นั้น หมายความว่า ทั้งสองพระองค์ทรงเห็นพระนเรศวรจริงๆ หรือว่า ทั้งหมดยังอยู่ใน "พระสุบิน" ของพระราชินี)

ดังที่จะยกมาให้เห็นข้างล่าง นี่ไมใช่ "เวอร์ชั่น" เดียว ของกำเนิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" จากเรื่องเล่าในแวดวงราชสำนัก . . . .

ไทยรัฐ, วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2519

-----------------------------------------------------------------------

ในยุคหลัง น่าจะเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 2530 การนำเสนอเพลงพระราชนิพนธ์ มีลักษณะที่เรียกว่า (ถ้าใช้คำแบบวรรณกรรมวิจารณ์) realism (สมจริง) ยิ่งขึ้น ก่อนอื่นคือ มีการเปิดเผยว่า แต่ละเพลงใครเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งก็ปรากฏว่า เพลงพระราชนิพนธ์ภาษาไทยทั้งหมด ไม่มีเพลงใดที่ในหลวงหรือพระราชินีทรงประพันธ์เนื้อร้องเอง มีเพียงเพลงพระราชนิพนธ์ในภาษาอังกฤษ 5 เพลงเท่านั้น ที่ในหลวงทรงประพันธ์เนื้อร้องด้วย

ในส่วนเพลง "ความฝันอันสูงสุด" นั้น ก็ได้มีการเปิดเผยว่า ผู้ประพันธ์เนื้อร้องคือ ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ ได้เขียนเล่าความเป็นมาของเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ไว้ในหนังสือ  ภิรมย์รัตน์ ที่ตีพิมพ์ในปี 2537 (สำหรับงานวันเกิดครบ 72 ปี น่าจะไม่ค่อยแพร่หลายนัก) ซึ่งต่อมา ก็มีการไปเผยแพร่ซ้ำในหนังสือราชการที่เกียวกับเพลงพระราชนิพนธ์ยุคหลัง นี่คือ ส่วนที่ผมถ่ายมาจากหนังสือ ดนตรีจากพระราชหฤทัย ศูนย์รวมใจของปวงชน ที่ตีพิมพ์ในปี 2539

จะเห็นว่า "เวอร์ชั่น" ความเป็นมาของ "ความฝันอันสูงสุด" ของท่านผู้หญิงมณีรัตน์นี้ มีลักษณะที่เรียกว่า realism มากขึ้น คือ พระราชินี โปรดเกล้าฯ "ให้เขียนบทกลอน แสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ" เท่านั้น (ไม่ใช่มาจาก "พระสุบินนิมิตร" เหมือนเวอร์ชั่นเจริญฤทธิ์)

แต่ในส่วนที่ท่านผู้หญิงอ้างว่าเป็น "ความบันดาลใจ" ในการเขียนนั้น ที่กล่าวว่า "มาจากการสังเกตของข้าพเจ้า ได้รู้เห็นพระราชอัธยาศัย พระราชจริยาวัตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤฒิปฏิบัติ" นั้น ถ้าใครที่พอรู้เรื่องเพลงฝรั่งบ้าง ก็คงอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ เพราะเนื้อเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ที่ท่านผู้หญิงประพันธ์นั้น แทบจะเป็นการแปลแบบประโยคต่อประโยค เนื้อเพลงภาษาอังกฤษที่ชื่อ The Impossible Dreams จากบทละครบรอดเวย์เรื่อง Man of La Mancha เลย (แต่ท่านผู้หญิง ดูเหมือนจะได้เอ่ยถึงไว้เลย ที่แน่ๆ หนังสือราชการเกี่ยวกับเพลงพระราชนิพนธ์ทุกเล่ม ที่ผมเคยเห็น ก็ไม่มีเอ่ยถึงความ "เหมือนกัน" ระหว่างเพลง "ความฝันอันสูงสุด" กับ The Impossible Dreams เลย) ตัวอย่างเปรียบเทียบ:

To dream the impossible dream                    
ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ
To fight the unbeatable foe
ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว
To bear the unbearable sorrow                    
ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ
To run where the brave dare not go...
ขอฝ่าฝันผองภัยด้วยใจทะนง...

And the world will be better for this                
โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
That one man scorned and covered with scars
เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
Still strove with his last ounce of courage....
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ....

ไม่น่าแปลกใจที่มี "ผู้จงรักภักดี" ไม่น้อย เกิดความสับสนว่าเพลง "ความฝันอันสูงสุด" มีความเป็นมาอย่างไรกันแน่ ดูตัวอย่างที่นี่
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2010/05/A9261365/A9261365.html
(ขอให้สังเกต "ความเห็นที่ 2" ของ "มหา มศว" ที่อย่างน้อยยังตระหนักถึงความเหมือนกันกับเพลง The Impossible Dreams แต่เวอร์ชั่นที่เขาเล่านั้น ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามาจากไหน และเป็นคนละเรื่องกับทั้งเวอร์ชั่นของเจริญฤทธิ์และท่านผู้หญิงมณีรัตน์)
...........................
ผู้สนใจประวัติ ท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค ดูที่นี่
http://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมหลวงมณีรัตน์_บุนนาค
และที่นี่
http://www.rspg.org/cooking/thanpuyingkit/mnrkitchen.htm

ผู้สนใจเรื่องเพลงพระราชนิพนธ์กับการเมือง ดูบทความ "เราสู้" ของผมได้ที่นี่
http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2518-2519.html
........................... 
"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก (2): ความเป็นมาของเพลง "ความฝันอันสูงสุด" | Facebook »
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบันทึกชื่อ "เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก (2): ความเป็นมาของเพลง "ความฝันอันสูงสุด" อ่านทั้งหมดที่นี่ 

KP Page

4:57 AM  -  Public
"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก: ทำไม ในหลวง ไม่ได้ทรงพระราชทานอภัยโทษ จำเลยคดีสวรรคต
by สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล on Thursday, February 17, 2011 at 3:03am ·

เมื่อ 6 ปีก่อน ในระหว่างที่ผมเขียนบทความเรื่อง "50 ปี การประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498" (ดาวน์โหลด pdf บทความนี้ได้ที่นี่่ http://www.enlightened-jurists.com/page/136 ) ประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกโกรธมาก คือ การที่หนังสือ The Revolutionary King (2001) ที่เขียนโดย วิลเลียม สตีเวนสัน (William Stevenson) ได้ให้ข้อมูลที่ผิดบางอย่างเกี่ยวกับการประหารชีวิตจำเลยคดีสวรรคตในหลวงอานันท์

ดังที่หลายคนอาจจะทราบแล้ว สตีเวนสัน คือผู้เขียนหนังสือ A Man Called Intrepid ซึ่งในหลวงทรงแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "นายอินทร ผู้ปิดทองหลังพระ" ในการค้นคว้าเพื่อเขียน The Revolutionary King สตีเวนสัน ได้รับพระบรมราชานุญาตให้มาใช้ชีวิตในประเทศไทยในแวดวงราชสำนัก ได้สัมภาษณ์สนทนากับทั้งในหลวง พระราชินี พระเทพ พระราชชนนี ข้าราชบริพารในพระองค์และผู้ใกล้ชิดราชสำนักจำนวนมาก น่าเสียดายที่หนังสือของสตีเวนสัน ไม่มีเชิงอรรถอ้างอิงที่แน่นอน ทำให้เราไม่สามารถบอกได้ว่า ข้อมูลใดในหนังสือของเขา เอามาจากใครบ้าง อย่างไรก็ตาม คงไม่เป็นการเกินเลยไปที่จะคิดว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับราชสำนักส่วนใหญ่ในหนังสือของเขา เอามาจากการเล่าของคนในแวดวงราชสำนักเอง

ในหน้า 111 ของ The Revolutionary King สตีเวนสัน เขียนในลักษณะที่ว่าในหลวงทรงตระหนักถึงความไม่ชอบมาพากลของการดำเนินคดีสวรรคตของรัฐบาลในขณะนั้นภายใต้การบงการของกลุ่มพิบูล-เผ่า รวมทั้งการพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย สตีเวนสันอ้างว่า ในหลวงทรงกล่าวในภายหลัง (สตีเวนสันไม่ได้ระบุว่า เอาคำพูดของในหลวงตอนนี้มาจากที่ใด)

"กระบวนการอุทธรณ์คำตัดสินกำลังดำเนินการไป" ในหลวงทรงกล่าวในภายหลัง "ข้าพเจ้าไม่สามารถบ่อนทำลายฐานะของบรรดาผู้รักษาตัวบทกฎหมายของเราอย่างซื่อสัตย์ ด้วยการเข้าแทรกแซง จนกว่าฎีกาขออภัยโทษขั้นสุดท้ายมาถึงข้าพเจ้า"

['Fresh appeals against the sentences were in the works,' he said later. 'I couldn't undermine the position of honest upholders of our written laws by intervening until a final appeal for clemancy reached me.']

สตีเวนสันเล่าต่อไปว่า แต่เมื่อถึงเวลาที่จำเลยถูกตัดสินประหารชีวิตขั้นสุดท้าย และทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษ เผ่าได้ดำเนินการประหารชีวิตจำเลยไปโดยปกปิดข่าว และด้วยการกักหนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ ไม่นำขึั้นทูลเกล้าฯถวาย ในหลวงไม่ทรงทราบข่าวการประหารชีวิตนั้นเลย จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว และมีข่าวลือไปถึงพระองค์ (He had been told nothing about the executions. - The Revolutionary King หน้า 119) สตีเวนสันอ้างว่า ในหลวงทรงกริ้วอย่างยิ่ง (rage) . . .

ในหลวงทรงรีบกลับจากวังไกลกังวลเมื่อข่าวลือเรื่องการประหารชีวิตไปถึงพระองค์. พระองค์ได้ทรงปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทรงเข้าแทรกแซงกับกระบวนการยุติธรรม, เพราะคิดว่าทรงได้รับหลักประกัน [จากรัฐบาล] เรื่องความเป็นอิสระและเข้มแข็งของศาลแล้ว. ในความกริ้วอย่างเงียบๆของพระองค์, พระองค์ได้ตระหนักว่าพระองค์ทรงอยู่ในฐานะไร้ซึ่งอำนาจเพียงใด. พระองค์ได้ทรงยืนยันไปก่อนหน้านั้นว่า ราษฎรทุกคนมีสิทธิที่จะถวายฎีกาขออภัยโทษถึงพระองค์โดยตรง. บัดนี้ ทรงพบว่าความพยายามที่จะถวายฎีกาถึงพระองค์ของครอบครัวแพะรับบาปทั้งสามถูกหยุดยั้่งโดยบรรดาข้าราชสำนักที่ถูกตำรวจของเผ่าดึงตัวไปเป็นพวก . . . บนโต๊ะทำงานของเผ่า หนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามถูกวางทิ้วไว้

[The King hurried back for Far-From-Worry when the rumours reached him. He had let the months passed without interfering with the due process of law, thinking he had won his demand for a strong and independent judiciary. In his silent rage, he saw how powerless he really was. He had insisted that every citizen had the right to petition him directly. Now he discovered that attempts to reach him by the scapegoats’ families had been stopped by courtiers subverted by Phao’s police. . . . . On Phao’s desk remained the last written appeals from the dead men for a king’s pardon.]

(ข้อความภาษาอังกฤษข้างต้นนี้ ผมได้อ้างไว้ในบทความ โดยไม่แปลอย่างจงใจ เพิ่งมาแปลในครั้งนี้)

ในบทความของผม ผมได้ยกข้อมูลชั้นต้นร่วมสมัยจำนวนมาก ทั้งรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีและรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ มาแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงฎีกาขอภระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามได้รับการส่งผ่านจากคณะรัฐมนตรีไปถึงราชเลขาธิการและราชเลขาธิการได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายตามกระบวนการ และต่อมา "ราชเลขาธิการแจ้ง [คณะรัฐมนตรี] มาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้" (คือไม่ทรงโปรดเกล้าฯให้อภัยโทษ) ในระหว่างที่ฎีกา ส่งถึงราชสำนักแล้ว แต่ยังไม่ทราบผล หนังสือพิมพ์สมัยนั้น รวมทั้ง สยามรัฐ ก็ได้รายงานข่าวอย่างแพร่หลาย มีหนังสือพิมพ์บางฉบับได้ไปสัมภาษณ์ ม.จ.นิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการ ด้วย ซึ่ง ม.จ.นิกรเทวัญ ทรงรับสั่งยืนยันว่า "ฎีกาของจำเลยทั้งสามคนนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายมาหลายวันแล้ว" ผมยังได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ ที ม.จ.นิกรเทวัญ จะร่วมมือกับเผ่า กักหนังสือฎีกาไว้ไม่ทูลเกล้าถวาย เพราะ ม.จ.นิกรเทวัญ เป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯให้เป็นราชเลขาธิการด้วยพระองค์เองให้อยู่ในตำแหน่งราชเลขาธิการตั้งแต่ปี 2493 จนถึงปี 2505 ซึ่งรวมเวลาที่ทรงโปรดเกล้าฯต่ออายุราชการให้ถึง 5 ครั้งจนครบตามระเบียบที่ต่ออายุราชการได้

ส่วนสาเหตุที่ทรง "โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกา"  ของ 3 จำเลยคืออะไร ผมไม่สามารถบอกได้แน่ชัด เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน

วิลเลียม สตีเวนสัน เดินสนทนากับในหลวง
อเล็กซานดร้า ลูกสาวของ สตีเวนสัน ร่วมกิจกรรมกับนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา

กรุณาอ่านประกอบกับกระทู้นี้ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=155497804503507&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&theater
และกระทู้นี้ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=155570287829592&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&theater 
.................................... 
"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก: ทำไม ในหลวง ไม่ได้ทรงพระราชทานอภัยโทษ จำเลยคดีสวรรคต | Facebook »
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียนบันทึกชื่อ "เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก: ทำไม ในหลวง ไม่ได้ทรงพระราชทานอภัยโทษ จำเลยคดีสวรรคต อ่านทั้งหมดที่นี่ 

KP Page

4:29 AM  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
12 hours ago
ผมกด share กระทู้นี้ ของคุณ Pruay Salty Head ไม่ได้ แต่เห็นว่า ไอเดียสุดยอดมาก เลย copy มาให้ดู ปกติ True มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เต็มไปหมดอยู่แล้ว ถ้าใครเป็นสมาชิก คงรู้ ได้โอกาส ทำให้หนักขึันแล้วครับ ได้ประโยชน์ด้วย ฮี่ฮี่

นี่ครับ ไอเดียคุณ "ปรวย"

"ระหว่างที่ทรูจอดำไม่ได้ถ่ายบอลยูโร แนะนำให้เอาหนังพระราชกรณียกิจหรือข่าวในพระราชสำนักมาฉายวนไปวนมาครับ ลูกค้าจะได้ไม่กล้าด่า"

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/365825403470745
ผมกด share... | Facebook »
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เขียน: ผมกด share กระทู้นี้ ของคุณ Pruay Salty... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก

KP Page

Yesterday 8:28 PM  -  Public
Wizard Kid
สำหรับคอบอลแต่จอดำทุกท่านน่ะครับ....ดูทางนี้โลด แกรมมี่จัดให้ นับถือใจจริงๆ....อาจจะดีเลย์กว่าของจริงนิดหน่อยแต่ชัดกว่าหนวดกุ้งครับ :
http://www.gmmsport.com/gmmeuro/
European Football Championship (UEFA EURO 2012) |GMM Sport everyone can watch »
ช่องกีฬาทางเลือกใหม่ ของคอกีฬา มันส์ ได้ทุกเพศ ทุกวัย

KP Page

Yesterday 6:20 PM  -  Public
Voice TV originally shared this post:
ทรู เจรจาเหลว ยอมจอดำ 3 วัน คาดได้ข้อสรุปจันทร์นี้
ทรู เจรจาเหลว ยอมจอดำ 3 วัน คาดได้ข้อสรุปจันทร์นี้ »
วันนี้ (8 มิ.ย. 55) ตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมามีรายงานข่าวจากบริษัท ทรู วิชั่นส์ ว่า ผู้บริหารของทรู และจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ กำลังประชุมเพื่อหารือถึงทางออกที่ดี กรณีการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรที่จะเริ่มต้นขึ้นใ...

KP Page

Yesterday 6:16 PM  -  Public
Voice TV originally shared this post:
ช่องทางต่างๆในการชมถ่ายทอดสด ฟุตบอล EURO 2012
ช่องทางต่างๆในการชมถ่ายทอดสด ฟุตบอล EURO 2012 »
เมื่อบริษัท GMM GRAMMY ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และจับมือกับฟรีทีวีบางช่อง โดยช่องหลักในการถ่ายทอดสดแทบทุกวันคือช่อง 3 และบางคู่ที่มีกรณีแข่งพร้อมกัน 2 ...

KP Page

Yesterday 1:27 PM  -  Public
พบกับผลวิเคราะห์เจาะลึกและสีสันของฟุตบอลยูโร 2012 ทุกวันได้ที่ "มติชนออนไลน์" ในเพจ "Euro 2012" คลิกที่ http://www.matichon.co.th/mtc_euro2012/index.php ส่วนรายละเอียดคลิป "อาจารย์หนุ่ย เป่าปรี๊ด ตอนที่ 1" คลิปนี้ คลิกดูที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339076675&grpid=&catid=96&subcatid=9601

No comments:

Post a Comment