2012-05-20

P.หยุด แสงอุทัย


KP Page

May 18, 2012  -  Public
หยุด แสงอุทัย. ความผิดที่กระทำทางวาจา พร้อมด้วยคำพิพากษาฎีกาประกอบ และ คำอธิบาย พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.๒๔๙๕ เรียงมาตรา. พิมพ์ครั้งที่สอง. พระนคร : สันติสุข, ๒๔๙๖. หน้า ๗๔ - ๘๙.
หนังสือเล่มนี้ อ.หยุด เขียนไว้หนาถึง ๘๕๓ หน้า เฉพาะเรื่องความผิดที่กระทำทางวาจาครับ

ดาวโหลดเอกสาร : http://www.mediafire.com/?z6y9ru7p220u9b0

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=435874146425257&set=p.435874146425257
MediaFire »
Yud - Sedition.pdf

ดร.หยุด แสงอุทัย กล่าวถึงกรณีรัชกาลที่ ๙ มี "พระราชดำรัสสด" ต่อ กองทัพบก โดยรัชกาลที่ ๙ แสดงความคิดเห็นว่า ทหารไม่ควรมาเล่นการเมือง

ดร.หยุด อธิบายว่า พระราชดำรัสสด เป็นเรื่องละเมิดรัฐธรรมนูญ ขัดระบอบประชาธิปไตย เพราะการแสดงความคิดเห็นไปในทางใดทางหนึ่ง ย่อมส่งผลให้พระมหากษัตริย์ไม่เป็นที่เคารพสักการะได้

แนวคิดของ หยุด แสงอุทัย ยืนยัน พระราชดำรัสสด เป็นสิ่งผิดปกติในระบอบประชาธิปไตย เพราะ การที่กษัตริย์แสดงความคิดเห็นใดๆ ในทางสาธารณะ, อาจสะท้อนแนวคิดการเมืองทางใดทางหนึ่ง แล้วบุคคลสามารถนำพระราชดำรัสสดนั้นๆ มาโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อ สถานะของกษัตริย์ ที่ต้องเป็นกลางทางการเมือง (บนสนามประชาธิปไตย) เพราะ "ความเป็นกลางทางการเมือง" จะดำรงอยู่ได้, กษัตริย์ก็ต้องไม่เป็น "ผู้เล่นทางการเมือง" (ทางตรง, ทางอ้อม), ฉะนั้น พระราชดำรัสใดๆ ต้องให้รัฐมนตรี ซึ่งมีที่มาจากประชาชน เป็นผู้ร่างและลงนามกำกับ (อนุมัติ) เสียก่อน

http://www.enlightened-jurists.com/directory/164 
ดร.หยุด แสงอุทัย วิจารณ์กษัตริย์ไม่สมควรแสดงพระราชดำรัสสด -หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : นิติราษฎร์ »
ดร.หยุด แสงอุทัย วิจารณ์กษัตริย์ไม่สมควรแสดงพระราชดำรัสสด -หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ? เอกสารประวัติศาสตร์ : ดร.หยุด แสงอุทัย วิจารณ์กษัตริย์ "ไม่สมควร" แสดงพระราชดำรัสสด - หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ? ด...

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: The Rise of King Bhumibol : two crucial speeches in 1995

4 พฤษภาคม 2555
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ถ้าใครติดตาม fb นี้มา อาจจะพอจำได้ว่า ผมเสนอว่า สถานะของสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ ("ในหลวง") เอง ที่เราเห็นปัจจุบัน เป็นอะไรที่ "ใหม่" กว่าที่เข้าใจกัน นันคือ มีลักษณะอย่างที่เห็น ในระยะประมาณ 2 ทศวรรษที่ผานมา

ผมคิดว่า สิ่งที่เป็น turning point หรือ "จุดหักเลี้ยว" ทีสำคัญ คือ เหตุการณ์ "17 พฤษภา" (2535) ที่มีการถ่ายทอดสด การเรียกสุจินดา-จำลอง เข้าเฝ้า

ก่อนหน้านี ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ในหลวงจะมีพระราชดำรัสกับ ถนอม อย่างไรบ้าง ไม่มีใครรู้ และอันที่จริง กลายเป็นประเด็นสำคัญ ในช่วง 2516-2519 ฝ่ายถนอมจะพูด "เป็นนัย" ถึงเรื่องนี้ตลอดเวลา (เรื่องนี้ คงต้องอธิบายในโอกาสอื่น)

ผมเคยเสนอในบทความหนึง เมื่อไม่กี่ปีก่อนว่า เหตุการณ์ "17 พฤษภา" เป็น "เส้นแบ่ง" สำคัญในสถานะของสถาบันกษัตริย์ (ดูบทความ "หลัง 14 ตุลา" ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2548)

ผมคิดว่า ถ้าเรามองเรืองนี้ อย่างเป็น "กระบวนการ" มากขึั้น คือ ไมใช่หมายความว่า เหตุการณ์ใดเหตุการณ์เดียว ทำให้เปลี่ยน แต่เป็น "ซีรีส์" (อนุกรม) ของเหตุการณ์

เราอาจจะกล่าวได้ว่า ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 2530 ถึงครึ่งแรกของทศวรรษต่อมา นันคือ ช่วงระหว่างปี 2535-2545 โดยประมาณ เป็น decisive turning point (จุดหักเลี้ยวชี้ขาด) ที่เราได้เห็นการเติบโต (rise) ของสถานะสถาบันกษัตริย์ และขององค์พระมหากษัตริย์ มาสูสภาพปัจจุบัน

ช่วง 5 ปีแรก เริ่มจาก "17 พฤษภา" 2535 และลงเอยที่ "วิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง" 2540 เราได้เห็นการที่ในหลวง (ดังที่เพิ่งกล่าวข้างต้น) กลายมาเป็น "savior" (ผมนึกคำไทยที่เหมาะๆไม่ออก คำนี้ ในภาษาอังกฤษ ถ้าใครสนใจคริสตศาสนา อาจจะพอทราบว่า มีความหมายเฉพาะอยู่) ในวิกฤติให่ญ่ 2 ครั้ง คือวิกฤติการเมืองที่มีการใช้อาวุธปราบปรามประชาชนกลางเมือง และวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ ที่เราได้เห็นเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ การที่ ในหลาง "ปรากฏ" (emerge) พระองค์ ในฐานะ "นักคิด" (thinker) ที่ "ปรัชญา" หรือ "ข้อเสนอ" เชิงความคิดบางอย่าง ได้กลายมาเป็น "หลักนโยบายสาธารณะ" ของรัฐ (สิ่งทีเรียกว่า "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง")

ช่วง 5 ปีหลัง สถานะของในหลวงได้รับการ consolidated (เสริมสร้างมันคง) ด้วยการที่ทรงปรากฏพระองค์ ในฐานะ "นักเขียน" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัชสมัย โดยการตีพิมพ์เผยแพร่ "งานเขียน" 4 ชิ้น ติดต่อกัน (ดังทีผมเคยโพสต์กระทู้เมื่อเร็วๆนี้)

ใน "เฝส" แรก (5 ปีแรก) ที่ว่านี้ คือ ระหว่าง พฤษภา 2535 ถึง วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ในเวลาห่างกันเพียงเดือนเดียว ในปี 2538 ที่ผมเห็นว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง

นั่นคือ ในเดือนสิงหาคม และ กันยายน 2538 ในหลวงทรงมีพระราชดำรัส 2 คร้้งติดๆกัน ที่มีลักษณะพิเศษ ที่ไม่เคยมีมาก่อน นันคือ ทรงออกมาวิจารณ์รัฐบาลในขณะนั้น ตรงๆ ในเรื่องที่เป็น current affairs หรือ เหตุการณ์ปัจจุบัน (ไมใช่ทรงพูดในลักษณะเป็นนัยๆ หรืออ้อมๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในพระราชดำรัส 4 ธันวา - อันที่จริง พระราชดำรัส 4 ธันวา เอง ก็เริ่มมีความสำคัญจริงๆ ในช่วงทศวรรษ 2530 โดยเฉพาะตั้งแต่ครึงหลังของทศวรรษ เป็นต้นมาเช่นกัน)

ครั้งแรก ในวันที่ 17 สิงหาคม 2538 ทรงออกมาวิจารณ์ รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ที่เพิ่งตั้งขึ้น ในเรื่องการแก้ปัญหาจราจร (ที่อาจจะน่าสนใจเป็นพิเศษ ถ้าพิจารณาถึงเหตุการณ์ในปัจ จุบัน คือ แม้่การวิจารณ์ครั้งนั้น จะทรงพุ่งเป้า ทั้ง สมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย และ ทักษิณ ชิณวัตร พรรคพลังธรรม ทีหาเสียงเรือ่งการแก้ปัญหาจราจรเป็นหลัก แต่ในปริบทขณะนั้น ข้อวิจารณ์ของในหลวงมีผลต่อทักษิณ มากกว่า เพราะทักษิณ เพิ่งประกาศอย่างมันใจว่า จะแก้ปัญหาจราจรได้ภายใน 6 เดือน)

ครั้งที่สอง ในวันที่ 19 กันยายน 2538 ทรงออกมาวิจารณ์เรื่องการจัดการปัญหาน้ำ

(นี่คือพระราชดำรัสที่ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ได้นำคลิปวิดีโอ ออกเผยแพร่ เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ในระหว่างน้ำท่วมใหญ่)

ผมเห็นว่า พระราชดำรัส 2 ครั้ง ในเวลาเดือนเดียวนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อย่างยิ่ง ทั้งในแงของเนื้อหา (การวิจารณ์รัฐบาลในเรื่อง current affairs ดังที่กล่าวข้างต้น) และในแง่ที่เป็น "จังหวะ" สำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในส่วนที่เกียวกับ "ภาพลักษณ์" ของการเมือง คือ การที่ ผู้นำประเทศขณะนั้น เป็นนักการเมืองพลเรือนทีได้อำนาจมาจากกาารชนะเลือกตั้ง แต่มีปัญหาในเชิง "ความน่านับถือ / ความน่าเชื่อถือ" ส่วนตัว (บรรหาร เป็น "นักการเมืองบ้านนอก" คนแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี) - พูดอีกอย่างคือ การ RISE (ขออภัย นึกคำไทยที่เหมาะสมไม่ได้) ของสถาบันกษัตริย์และองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เกิดขึั้นลอยๆ แต่เกิดขึ้นในปริบทของการที่ ผู้นำ "ฝ่ายการเมือง" มีปัญหาเรื่อง credibility แม้จะได้อำนาจอย่าง "ชอบธรรม" ตามบรรทัดฐานสมัยใหม่ (เลือกตั้ง)

(กรณีวิกฤติเศรษฐกิจ และการปรากฏขึ้น "ข้อเสนอ" เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ในอีกไม่กี่ปีต่อมา ก็มีปริบทในลักษณะนี้)

นสพ.ไทยรัฐ 2 ฉบับที่ผมนำมาให้ดูเป็นภาพประกอบนี้ สะท้อนความสำคัญของพระราชดำรัส 2 ครั้งนี้ เป็นอย่างดี ขอให้สังเกตพาดหัวตัวยักษ์ ที่เขียนอย่างตรงๆ ว่า ในหลวง ทรงกำลังวิจารณ์รัฐบาล (ไทยรัฐ ใช้คำว่า "ตำหนิ" ตรงๆ ในกรณีน้ำท่วม - อันที่จริง ใน พระราชดำรัสเรือ่งจราจร ในหลวงเอง ทรงใช้คำว่า "วิจารณ์" (รัฐบาล) ตรงๆ เช่นกัน และ นสพ.บางฉบับ เช่น มติชน ก็พาดหัวโดยใช้คำนี้ตรงๆ)

.............

หมายเหตุ :

(1) กระทู้นี้ เป็นส่วนหนึงของการเตรียมนำเสนอ ในงานสัมมนาเรื่องสถาบันกษัตริ ย์ ทีผมเคยพูดถึง ที่เดิมจะจัดในเดือนเมษายน แล้วเลื่อนเป็นเดือนนี้ (วันที่ 12-13) แต่ล่าสุด ยังไม่แน่ใจว่า จะสามารถจัดตามเวลาที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เพราะ ไม่กีวันที่ผ่านมานี้ ห้องสัมมนา ของคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ทำเรื่องขอใช้ไป ได้รับการปฏิเสธมาอย่างเป็นทางการ ขณะนี้ กำลังพยายามขอห้องสัมมนา ของอีกคณะหนึ่ง - ปัจจุบัน การขอห้องจัดสัมมนา ในเรื่องสถาบันกษัตริย์ ยากเย็นมากๆ วันก่อน ทีนิติศาสตร์ สามารถมีการจัด (งาน หยุด แสงอุทัย) กว่าจะได้ ก็ลำบากไม่น้อย จัดไปแล้ว ดูเหมือน จะทำให้การจัดครั้งต่อๆไป ลำบากขึ้นอีก

(2) กระทู้นี้ ผมจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษหลาย คำ บางคำ ก็ไม่ได้แปล รวมทั้งตัวหัวข้อกระทู้ เพราะหาคำไทยที่เหมาะสม และไม่เสี่ยงต่อ 112 เกินไปไม่ได้ (เป็นปัญหาเสมอ เวลาจะพูดเรืองสถาบันกษัตริย์) 
Thai E-News: สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: The Rise of King Bhumibol : two crucial speeches in 1995 »
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถ้าใครติดตาม fb นี้มา อาจจะพอจำได้ว่า ผมเสนอว่า สถานะของสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ ("ในหลวง") เอง ที่เราเห็นปัจจุบัน เป็นอะไรที่ "ใหม่" กว่...

รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ & ถาวร เสนเนียม ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

นักการเมือง-นักวิชาการ ใครจริงใจ? 
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ & ถาวร เสนเนียม ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

สถานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบปชต.
ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

KP Page

Apr 30, 2012  -  Public
เสวนา เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ
โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน 2551
วิทยากร :
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณัฐพล ใจจริง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ดำเนินรายการโดย :จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวงใหญ่ว่าด้วยเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ ไล่ตั้งแต่ฉบับแรกจนฉบับล่าสุด ท่ามกลางบริบทประวัติศาสตร์ไทยที่ลื่นไหล ซับซ้อน ซึ่งสังคมไทยไม่ค่อยมีโอกาสในการทำความเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งนัก จาก 3 มุม - สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, ณัฐพล ใจจริง, วรเจตน์ ภาคีรัตน์
เสวนา๑๐๐ปีชาตกาลหยุด แสงอุทัย สถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ

KP Page

Apr 30, 2012  -  Public
สุดา รังกุพันธ์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555
เพื่อนฉันในคุกรอไม่ได้
สุดา รังกุพันธ์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

KP Page

Apr 30, 2012  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล & วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555
ความเห็นต่าง สมศักดิ์&วรเจตน์ กรณี112
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล & วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555
 

KP Page

Apr 29, 2012  -  Public
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555
มาตรา 112 มีปัญหามาตั้งแต่ปี 2519
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย หัวข้อเรื่อง "มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมาย สู่ข้อถกเถียงทางสังคม" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2555

Prachatai

Apr 19, 2012  -  Public
นิติ มธ.จัดเวทีถก “ม.112” วรเจตน์-ปชป.-คอป.-กิตติศักดิ์ | ประชาไท »
คณะนิติศาสตร์ มธ.จัดสัมมนาในงานรำลึก ‘หยุด แสงอุทัย’ เปิดวงคุย มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม นำโดย วรเจตน์ ภาคีรัฐ, กิตติศักดิ์ ปกติ, สมชาย หอมลออ, ถาวร เสนเนียม 28 เม.ย.นี้ ที่ธ...
 

KP Page

Jan 16, 2012  -  Public
อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์

ประเพณีทางการเมืองหนึ่งของไทยซึ่งปฏิบัติมาหลายสิบปีทั้งที่ขัดกับหลักการ The King can do no wrong ก็คือ การที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดอันเป็นปัญหา หรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย

“อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย”

อ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2499

http://www.prachatai3.info/journal/2012/01/38700
อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์ | ประชาไท »
"มีความจำเป็นที่จะต้องมองสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย และหลัก The King can do no wrong และประเพณีการปกครองที่ผิดหลักการก็ควรพิจารณายกเลิก"

No comments:

Post a Comment