2010-12-06

P10.12.03 - ขบวนการล้มเจ้า



kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
คำประกาศ "ขบวนการล้ม [ - - - ] เจ้า"
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ด้วยความรำลึกถึงเว็บบอร์ดประชาไท
และ "เธอ ....." ผู้ร่วมบุกเบิกเว็บบอร์ด ฟ้าเดียวกัน

"ขบวนการล้มเจ้า" ของ ศอฉ. ไม่เคยมีตัวตนจริง เป็นเรื่องที่ ศอฉ.กุขึ้นล้วนๆ

แต่มีประชาชนไทยจำนวนมาก ต้องการให้มีการ "ล้มเลิกสถานะและอำนาจที่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยของ เจ้า(สถาบันกษัตริย์)"

สถานะและอำนาจที่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยของสถาบันกษัตริย์ ที่มีคนไทยจำนวนมากต้องการล้มเลิกนี้ เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง นับจากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่โค่นรัฐบาลปรีดี-ธำรง ลงไป (โดยอาศัยกรณีสวรรคตเป็นข้ออ้างสำคัญ) ทำให้ "ยุคปฏิวัติ" ของคณะราษฎรสิ้นสุดลง

หลังการรัฐประหารดังกล่าว กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยม ได้ผลักดันให้ออกกฎหมาย "พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491" ซึ่งยกเลิกกฎหมายในเรื่องนี้ทีคณะราษฎรจัดทำขึ้น คือ "พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479" ตามพระราชบัญญัติปี 2479 ของคณะราษฎรนี้ ได้จัดให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะทีเป็นทรัพย์สินของรัฐ อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งเป็นการถูกต้อง ตรงกับหลักการประชาธิปไตย แต่ พระราชบัญญัติปี 2491 ที่กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยมจัดทำขึ้น และบังคับใช้มาจนทุกวันนี้ ได้ล้มเลิกหลักการนี้เสีย และโอนการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งแท้จริงคือทรัพย์สินของรัฐ ไปให้พระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง แบบเดียวกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช รัฐบาลที่มาจากประชาชนและประชาชนเอง ไม่มีอำนาจใดๆต่อทรัพย์สินของรัฐอันมหาศาลนี้ ซึ่งขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับการเป็นประเทศประชาธิปไตย

นอกจากนี้ กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยมยังได้สร้างองค์กร "องคมนตรี" ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์อย่างถาวรเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญปี 2492 และเป็นแบบอย่างใช้มาจนปัจจุบัน โดยที่การแต่งตั้งถอดถอนองคมนตรีอยู่ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ "ตามพระราชอัธยาศัย" ล้วนๆ ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตย เพราะตามหลักการประชาธิปไตย "ที่ปรึกษา" ของพระมหากษัตริย์ คือ คณะรัฐมนตรี ทีได้รับการเลือกตั้งและสามารถควบคุมได้จากประชาชน ไม่จำเป็น และ ไม่ต้องมี "ที่ปรึกษา" พิเศษต่างหาก ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมใดๆของประชาชนหรือรัฐบาลที่มาจากประชาชน

พร้อมกับการสร้างองค์กรองคมนตรีในฐานะส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์ที่ขัดหลักประชาธิปไตยนี้ รัฐธรรมนุญ 2492 ของกลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยม ยังกำหนดให้มีบุคคลากรอื่นๆอีก เช่น "ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองค์รักษ์" ที่มีลักษณะเดียวกับองคมนตรี คืออยู่ภายใต้พระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งถอดถอนของพระมหากษัตริย์ล้วนๆ ประชาชนไม่สามารถควบคุมตรวจสอบเอาผิด (accountability) ได้ ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยเช่นกัน

ตามหลักการประชาธิปไตยนั้น พระมหากษัตริย์จะต้องไม่มีอำนาจใดๆ เพราะถือว่า หากจะให้มีอำนาจใดๆ แม้แต่เรือ่งการแต่งตั้งถอดถอนบุคคลาการต่างๆ พระมหากษัตริย์ก็จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบเอาผิดจากสาธารณะหรือประชาชนได้ เพราะอำนาจสาธารณะในสังคมประชาธิปไตยทุกอำนาจ (อำนาจการแต่งตั้งถอดถอนบุคคลากรของรัฐ ไม่ว่า องคมนตรี ข้าราชการในราชสำนัก ฯลฯ ล้วนเป็นอำนาจสาธารณะทั้งสิ้น) เป็นอำนาจของประชาชน จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมตรวจสอบเอาผิดจากประชาชนได้ ในเมื่อ ไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบเอาผิด ก็จะต้องไม่ให้ทรงมีอำนาจสาธารณะใดๆด้วย

ลองคิดดู ตำแหน่งบุคคลากรต่างๆเหล่านี้ ที่กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยม สร้างขึ้น ตั้งแต่ องคมนตรี ถึง "ข้าราชการในพระองค์" ทุกตำแหน่ง หาได้รับเงินเดือนจากเงินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดไม่ แต่ล้วนแต่รับเงินเดือนของรัฐ ในเมือ่รัฐเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาชนควบคุมเอาผิดได้ อำนาจการในการควบคุมเอาผิด (แต่งตั้งถอดถอน) บุคคลากรเหล่านี้ ทั้งหมด จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนด้วย ไมใช่อยู่ในอำนาจของพระมหากษัตริย์ ความคิดเรื่อง "ข้าราชในพระองค์" ที่กลุ่มการเมืองกษัตริย์นิยมสร้างขึ้น นับจากรัฐประหาร 2490 เป็นต้นมา เป็นความคิดที่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง

หลังการรัฐประหารของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 และ 2501 นอกจากสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ในเรื่องการมีองค์กรองคมนตรีและ "ข้าราชในพระองค์" ต่างๆ ในเรื่องการควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะได้รับการส่งเสริมและขยายให้ขัดกับหลักการประชาธิปไตยยิ่งขึ้นไปอีกแล้ว สฤษดิ์ยังเริ่มระบอบการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะความเชื่อแบบกษัตริย์นิยม อย่างขนานใหญ่ ทีขัดกับหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ผลของระบอบประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะความคิดดังกล่าวที่ดำเนินติดต่อกันนับแต่นั้นมาและเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆตลอดเวลา ได้ทำให้ ปัจจุบัน กลายเป็นเรื่องปกติ ที่จะพูดกันว่า "แผ่นดินนี้ ประเทศนี้ เป็นของ พ่อ (พระมหากษัตริย์)" ("ใครไม่ชอบออกไป") ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือเชื่ออย่างยิ่ง ที่ประเทศที่ประกาศว่ามีการปกครองแบบประชาธิปไตย จะทำราวกับว่า คติเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติ น่ายกย่อง

เพราะตามหลักการประชาธิปไตย "แผ่นดินนี้ ประเทศนี้" หาได้เป็นของพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดไม่ แต่เป็นของประชาชน อำนาจในการควบคุม "แผ่นดินนี้ ประเทศนี้" กำหนดทิศทางต่างๆของ "แผ่นดินนี้ ประเทศนี้" อยู่ทีประชาชน หาใช่อยู่ทีสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด

ใจกลางของระบอบประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะความคิดกษัตริย์นิยมที่เริ่มจากสฤษดิ์เป็นต้นมา ก็คือ การสร้างอำนาจให้สถาบันกษัตริย์สามารถมีกิจกรรมที่เรียกว่า "โครงการหลวง" "โครงการพระราชดำริ" (และ "พระราชกรณียกิจ" ต่างๆในลักษณะเดียวกัน) แล้วทำการประชาสัมพันธ์อ่มรมบ่มเพาะความคิด ล้อมรอบกิจกรรมที่มาจากอำนาจนี้

แต่ทั้งอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่จะมีกิจกรรม "โครงการหลวง" "โครงการพระราชดำรั" หรือ "พระราชกรณียกิจ" ในลักษณะเดียวกัน และการประชาสัมพันธ์อบรมบ่มเพาะความคิดกษัตริย์นิยมเกี่ยวกับกิจกรรมเช่นนี้ เป็นการขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย เช่นเดียวกับเรื่องอำนาจอื่นๆของสถาบันกษัตริย์ ทีถูกสร้างขึ้นหลัง 2490 ที่กล่าวไว้ข้างต้น นั่นคือ . .

ยุบข้อความนี้ลบ
ความคิดเห็น
ชอบ


kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
จะเห็นได้ว่า งานของรัฐบาลที่ประกาศเป็นนโยบายเอาไว้ให้กับประชาชน ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ปชช ตัดสินใจมอบอำนาจอธิปไตยให้กับผู้แทนของตน

แต่ว่า ในเวลาเดียวกัน มีงานหลายอย่างของสถาบันที่ทับซ้อนกันอยู่
แต่จะเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

เช่น ปัญหาปากท้อง ที่ทำกิน ความเดือดร้อนของคนยากจน ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางการเกษตร ฯลฯ

แต่ก็เป็นลักษณะที่น่าจะ ของใครของมัน ต่างคนต่างทำ หรือบางทีรัฐก็สนองในบางเรื่อง สนับสนุนในบางเรื่อง

แต่ไม่ได้ชูกิจการงานต่างๆ ของสถาบันเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศ

จนเมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้ งานที่ทับซ้อนกันก็เริ่มดูเหมือนจะเปลี่ยน
งานที่มีลักษณะที่คล้ายกัน เป็นลักษณะของใครของมันเริ่มเปลี่ยนแนว
คือ เริ่มมีแข่งกันเอง ตีตลาดกันเอง แบบใครดีใครอยู่
เช่น โอท็อปกับศิลปาชีพ
ลามปามมาถึงแนวนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศ เช่น ทุนนิยมดูอัลแทร็คของทักษิณ กับ หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ผมเชื่อว่ามีลูกยุจากใครบางคนที่เป็น mastermind ยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความระแวงในระดับบน
ว่าหลักการของรัฐบาลจะทำลายหลักการของสถาบันที่ปรกติก็เคยทำร่วมกันมาได้ เสริมกันมาได้ มิใช่แข่งกันเหมือนในตลาด

ตอนนี้กลายเป็นว่า นโยบายของสถาบันจะนำมาใช้ในนโยบายของรัฐ
ถ้าไม่ทำก็ไม่การันตีในความอยู่รอดของรัฐบาล

เหมือนมีคนอยากจะให้ สถาบันรวบอำนาจบริหาร นิติบัญญัต และตุลาการ ไว้ เพื่อการันตีว่า จะไม่มีใครทำแบบนี้อีก ทั้งที่จริงๆ เราจ้างรัฐบาล เลือกรัฐบาลเ้ข้ามาทำหน้าที่ มิใช่ต้องการให้สถาบันทำหน้าที่โดยตรง

ยุบข้อความนี้ลบ

งานของรัฐบาล กับ งานของสถาบัน มีการทับซ้อนกันอยู่บางอย่าง:
ความคิดเห็น

No comments:

Post a Comment