2010-12-15

P10.10.15 - เสวนานิติราษฎร์



kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ

สงครามอุดมการณ์ใหม่ จากไฟใต้ถึงเสื้อแดง



kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
เสวนานิติราษฎร์ ตอน 1-4// คำถาม คำตอบ //
tu 101210 01
tu 101210 02
tu 101210 03
tu 101210 04
เสวนานิติราษฎร์-คำถาม คำตอบ

tu 101210 01





kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part1-4
เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part1
เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part2
เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part3
เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part4 จบ

งานเสวนานิติราษฏร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ part 1-3//
งานเสวนานิติราษฏร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ part1
งานเสวนานิติราษฏร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ part2
งานเสวนานิติราษฏร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ part3 จบ

งานเสวนานิติราษฏร์ ณัฐพล ใจจริง part 1-4//
งานเสวนานิติราษฏร์ ณัฐพล ใจจริง part1
งานเสวนานิติราษฏร์ ณัฐพล ใจจริง part2
งานเสวนานิติราษฏร์ ณัฐพล ใจจริง part3
งานเสวนานิติราษฏร์ ณัฐพล ใจจริง part4 จบ

เสวนานิติราษฏร์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ part 1-3//
เสวนานิติราษฏร์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ part1
เสวนานิติราษฏร์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ part2
เสวนานิติราษฏร์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ part3 จบ
ลบ

เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part1

เสวนานิติราษฎร์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล part1

http://www.internetfreedom.us/thread-5318-post-52925.html#pid52925

หมายเหตุ ผู้สนใจสามารถอ่านข่าวสรุปงานเสวนาครั้งนี้
ได้ที่เว็บไซต์ข่าวของเพื่อนสื่อมวลชนรายอื่นๆ อีก อาทิเช่น
http://www.posttoday.com/ข่าว/การเมือง/6...งถูกท้าทาย และ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detai...กรธน..html

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม เวลา 13.00-16.00 น. คณะนิติราษฎร์ (นิติศาสตร์เพื่อราษฎร)
ได้จัดงานเสวนาหัวข้อ "สถาบันกษัตริย์ - รัฐธรรมนูญ - ประชาธิปไตย"
ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี

นายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,
นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร

นายณัฐพล ได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับของไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475-2495 เข้ากับนิทานแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ โดยในช่วงปี 2475 นั้น
ได้เกิดบรรยากาศการสร้างระบอบประชาธิปไตย และ สร้างเสรีภาพให้เกิดขึ้นในการปกครอง เปรียบเสมือนการที่ "ยักษ์" ถูกจับใส่กล่อง แต่พอหลังปี 2490 เป็นต้นมา
"ยักษ์" ก็แหกกล่องออกมา แล้วจับเอา "แจ๊ค" ยัดใส่ลงไปในกล่องแทน


ขณะที่นายสุธาชัย กล่าวถึง ประเด็นระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดยอธิบายได้ว่า
ระบอบดังกล่าวดีกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซึ่งรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ผู้เป็นใหญ่เพียงคนเดียว นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ผู้นี้
ระบุว่าควรมีการรณรงค์หรือผลักดันให้เห็นว่าระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญถือเป็นสิ่งท​ี่ถูกต้อง เพราะจะทำให้สถาบันฯ อยู่ได้ยั่งยืน และหากเราเชื่อว่าระบอบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี
ก็ควรเชื่อว่าระบอบมีความดีอยู่ที่ตัวระบบ
ไม่เหมือนระบอบประธานาธิบดีที่ความดีอาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคล


นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความสามารถในการปรับตัว
ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางกระแสการเมืองได้อย่างว่องไวเสมอมา
แต่บุคคลที่ล้อมรอบสถาบันฯ ต้องไม่ประเมินความรู้สึกแปลกแยกของประชาชนให้ต่ำจนเกินไป และอย่าประเมินความสามารถของตนเองในการจัดการเรื่องดังกล่าวให้สูงจนเกินไป หรืออย่าใช้สองมาตรฐาน ซ้อนสองมาตรฐาน ซ้อนสองมาตรฐาน ซ้ำแล้วซ้ำอีก
ในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง


ส่วนนายวรเจตน์ ได้กล่าวเปรียบเทียบลักษณะของพระมหากษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ
ที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งนำไปสู่ข้อสังเกตที่ว่า


หนึ่ง ในระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น
องค์พระมหากษัตริย์จะอยู่ในตำแหน่งจนสวรรคต ซึ่งพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นศูนย์รวมอำนาจของประชาชนได้เป็นอย่างดี รอบรู้ปัญหาทั้งภายนอกและภายใน


สอง ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต้องสืบเชื้อสายโลหิตเท่านั้น
ไม่ได้ผ่านกลไกทางการเลือกตั้ง ในระบบดังกล่าว พระมหากษัตริย์จะสามารถแสดงออกทางอำนาจแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญบางประเทศได้ให้อำนาจพระมหากษัตริย์มีร่วมกันกับประชาชน เช่น ในยามคับขันทั้งสองฝ่าย
จะต้องแสดงออกเพื่อป้องกันอำนาจแห่งรัฐและจะต้องพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ


สาม องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ในทุก ๆ ประเทศ
แต่การตีความว่าพฤติกรรมใดถือเป็นการล่วงละเมิดหรือไม่นั้นจะแตกต่างกันไปตามบริบท อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ระบุให้มีการสักการะและให้ความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ 2 ประเทศ ได้แก่ ไทยและนอร์เวย์
ซึ่งพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ในฐานะตามที่กล่าวมาข้างต้น
และอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติจะเป็นของพระมหากษัตริย์


ท้ายที่สุดอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า
สังคมไทยต้องมาพูดคุยกันว่าจะเชื่อมโยงอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์เข้ากับอำนาจรัฐอย​่างไร รวมทั้งเสนอให้มีการป้องป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากพื้นที่ทางการเมือง



http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...catid=0202

No comments:

Post a Comment