2010-12-06

P10.12.03 - ทรัพย์สิน



kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
ชำแหละผลวิจัย สกว. มองสำนักงานทรัพย์สินฯ ผ่านบทบาทการลงทุนธุรกิจ
มติชนรายวัน วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10329

หมายเหตุ : บทวิจัยเรื่อง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" โดย รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรื่องโครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดบางส่วนที่น่าสนใจ ดังนี้

**บทบาท และพลังเหนือรัฐของ"สำนักงานทรัพย์สินฯ"

การปรับบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯโดยจำกัดอยู่การลงทุนระยะยาว โดยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ในธุรกิจหลัก ประกอบด้วย เครือซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทเวศประกันภัย รวมทั้งการนำที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อื่นๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นนโยบายและการบริหารงานที่ถูกทิศทาง

นอกจากนี้ การโอนสินทรัพย์ของสำนักงานทรัพย์ฯ ไปให้บริษัททุนลดาวัลย์จัดการดูแลในการบริหารการลงทุน ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งให้บริษัทวังสินทรัพย์บริหารที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ สามารถสร้างรายได้แก่สำนักงานทรัพย์สินฯเป็นจำนวนมาก

พลังของ "สำนักงานทรัพย์สินฯ" ในฐานะองค์กรที่เหนือรัฐได้แสดงออกมาภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 กล่าวคือ ในช่วงปี 2540-2545 ธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันการเงินทุกแห่งประสบกับความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯต้องเพิ่มทุนเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของธนาคารไทยพาณิชย์ ตาม "โครงการ 14 สิงหา" ความพยายามที่จะเพิ่มทุนของสำนักงานฯในเบื้องต้นประสบความล้มเหลวและมีทุนน้อยประมาณ 7 พันล้านบาทเท่านั้น

โดยการเพิ่มทุนตามโครงการ 14 สิงหานั้น ต้องการทั้งสิ้นเท่ากับ 32,500 ล้านบาท มีผลให้สำนักงาน ถูกลดสัดส่วนในการถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 11.8 ในช่วงปี 2547-2546 โดยที่กระทรวงการคลังได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 38.8)

สำนักงานทรัพย์สินฯโดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้นำที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯย่านทุ่งพญาไท หรือบริเวณถนนราชวิถีตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ยกเว้น มูลนิธิคนตาบอด) ซึ่งเป็นที่ดินในหน่วยงานราชการเช่า จำนวน 484.5 ไร่ มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 และในที่สุด สำนักงานทรัพย์สินฯก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกครั้ง คือมีสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์เท่ากับร้อยละ 25 ในปี 2544

การกระทำดังกล่าวสะท้อนภาพของการมีอำนาจของสำนักงานทรัพย์สินฯเหนือกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ "การแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นนั้น เป็นการกระทำที่กฎหมายไม่อนุญาตให้กระทรวงการคลังกระทำได้ด้วย โดยที่กฎหมายระบุชัดเจนว่า การแลกเปลี่ยนที่ดินต้องเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินของฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายหนึ่งในราคาที่ต้องเท่าเทียมกันด้วย"

ประเด็นนี้ ก่อให้เกิดความสงสัยว่าทั้งๆ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนเป็นสำคัญ และไม่ใช่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ทำไมกระทรวงการคลังถึงอนุญาตทำได้ และหากกรณีนี้เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย กระทรวงการคลังจะอนุญาตให้ทำได้หรือไม่ และใช้มาตรฐานอะไร

นอกจากนี้ เงินทุนที่กระทรวงการคลังนำมาเพิ่มทุนในธนาคารพาณิชย์ในปี 2542 ก็มาจากการระดมทุนจากประชาชน ด้วยการออกพันธบัตรต้องมีภาระจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4.25 ต่อปี จนถึงปี 2552 (จ่ายค่าดอกเบี้ยทุก 6 เดือน) และหากที่ดินที่ได้จากสำนักงานทรัพย์สินฯไม่สามารถนำไปหาผลประโยชน์ได้ กระทรวงการคลังจะนำเงินจากแหล่งใด มาไถ่ถอนพันธบัตรดังกล่าว ในที่สุดก็คงต้องมาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง

**นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สำนักงานทรัพย์สินฯได้ปรับนโยบายค่าเช่ารวมทั้งการนำที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ในอดีตก่อนปี 2546 รายได้จากผลประโยชน์จากที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำ และขยายตัวอย่างเชื่องช้า มาตรการหลายอย่างที่มีผลต่อการเพิ่มพูนผลประโยชน์จากที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เช่น การเพิ่มค่าเช่าที่ดิน ในย่านที่มีการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดมากขึ้น

นอกจากนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯมีแผนงานและโครงการที่จะนำที่ดินมาเพิ่มผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีโครงการที่สำคัญคือ 1.ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม จำนวน 120 ไร่ (ขณะนี้ให้เช่าชั่วคราวเป็นสวนลุมไนท์บาซาร์) มาพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ขณะนี้กำลังเปิดรับประมูลจากผู้ประกอบการ 2.โครงการพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินกลาง เพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะนำมาซึ่งรายได้เป็นจำนวนมากแก่สำนักงานทรัพย์สินฯในอนาคต

**กลุ่ม"ทุน"พันธมิตรของสำนักงานทรัพย์สินฯ

นอกจากความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เช่น ตระกูลเอื้อชูเกียรติ และกลุ่มพลังงานอื่นๆ เช่น ปตท.และบริษัทในเครือแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็คือกลุ่มทุนเทมาเส็ก ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง

นายชุมพล ณ ลำเลียง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซีเมนต์ไทย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัท สิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือที่เรียกว่า Singtel (ตั้งแต่ปี 2547) ซึ่งถือเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯได้ปล่อยเงินกู้ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ รวมทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านบาท (โดยแบ่งกันในสัดส่วนร้อยละ 50) เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ที่มีธนาคารจากสิงคโปร์ค้ำประกันอยู่

ทั้งนี้ เพื่อซื้อหุ้นของชินคอร์ป ซึ่งมีผลให้กลุ่มทุนเทมาเส็กถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของชินคอร์ปในต้นปี 2549

นอกจากนี้ ในคณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่มเทมาเส็กอยู่ด้วย คือปีเตอร์ เซียะ ลิมฮวด (ซึ่งในปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่ง Temasek Advisory Paned Capital Land Limited, และ Government of Singapore Investment Corporation และเคยดำรงตำแหน่ง Singapore Technology etc ซึ่งบริษัทเหล่านี้ เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มเทมาเส็กทั้งหมด (รายงานประจำปี ธนาคารไทยพาณิชย์ 2548)

นอกจากนี้ สำนักงานทรัพย์สินฯโดยธนาคารไทยพาณิชย์และทุนลดาวัลย์ได้ร่วมทุนกับบริษัทในเครือของ Capital Land (อันเป็นบริษัทของกลุ่มทุนเทมาเส็ก)กลุ่มอิตัลไทย และอิสระ ว่องกุศลกิจ (กลุ่มน้ำตาลมิตรผล) ตั้งบริษัท พรีมัส (ประเทศไทย) เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทรัพย์สินด้วย ซึ่งแสดงถึงการขยายอาณาจักรทางธุรกิจทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และอาจจะรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วย

หน้า 20

สำนักงานทรัพย์สินฯ กับ บทบาทการลงทุนทางธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3803 (3003)

"ประชาชาติธุรกิจ" นำเสนอเนื้อหาบางส่วนจากงานวิจัยเรื่อง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ" ของ รศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่จะนำเสนอในโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ในหัวข้อ "โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ"

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤต การณ์ปี 2540 โดยเฉพาะหลังปี 2543 มีผลต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ของบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวของภาคอสังหาริม ทรัพย์ให้ขยายตัว เช่น สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และมีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ

อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากคือ ไม่เกินร้อยละ 3-4 ต่อปี มีผลต่อการก่อสร้าง โดยเฉพาะการขยายตัว ของภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การก่อสร้างบ้าน ภาคการก่อสร้างมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประมาณมากกว่าร้อยละ 10 ในช่วงปี 2544-2548 พื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่วประเทศเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็น 18,571,000 ตารางเมตร ในปี 2546 เป็น 22,698,000 ตารางเมตร ในปี 2547

โดยจำแนกเป็นพื้นที่ก่อสร้างของที่อยู่อาศัย 13,205,000 ตารางเมตร และเพิ่มเป็น 16,111,000 ตารางเมตร ในช่วงเดียวกันพื้นที่ก่อสร้างสำหรับการพาณิชย์เท่ากับ 3,363,000 ตารางเมตร และ 3,640,000 ตารางเมตร ในช่วงเดียวกับ และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการอุตสาหกรรมเท่ากับ 2,002,200 ตารางเมตร และ 2,946,200 ตารางเมตร

ในช่วงเดียวกัน การเติบโตของภาคก่อสร้างส่งผลให้ธุรกิจซีเมนต์รวมทั้งธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เช่น กระเบื้องหลังคา กระเบื้องเซรามิกปูพื้นบุผนัง บล็อกปูพื้นสุขภัณฑ์ และก๊อกน้ำ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยอดขายสุทธิของธุรกิจซีเมนต์ในปี 2545 เท่ากับ 27,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 41,630 ล้านบาท ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ส่วนผลิตภัณฑ์ก่อสร้างในปี 2545 มียอดขายสุทธิเท่ากับ 16,129 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 22,227 ล้านบาท ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27 ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งนับว่า เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงมาก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และส่วนบุคคลของธนาคารไทยพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาคก่อสร้างนั่นเอง อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ประกอบกับการขยายตัวของภาคก่อสร้าง โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 156,391 ล้านบาทใน ปี 2547 และเป็น 184,743 ล้านบาท ในปี 2548 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดของการให้สินเชื่อคือร้อยละ 16 ในช่วงเวลาเดียวกัน การขยายตัวดังกล่าวส่งผลให้หนี้ที่ไมˆก่อให‰เกิดรายได้ (NPL) อันเกิดจากภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมีผลสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของระบบเศรษฐกิจจากภาคธนาคารพาณิชย์ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อลงทุนในตลาดทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทน จากการลงทุนที่สูงกว่า มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ (market capitalization) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาของหุ้นโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนทั้งประเภทสถาบันและส่วนบุคคลทั้งภายในและต่างประเทศ บริษัททุนลดาวัลย์ในฐานะเป็นหน่วยงานในพอร์ตลงทุนในตลาดหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็สามารถบริหารจัดการการลงทุน และนำมาซึ่งผลกำไรในระดับสูง

นอกจากนี้บริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็มีรายได้จากการขายหลักทรัพย์ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ มีกำไรจากการขายหลักทรัพย์สูงถึง 8,257 ล้านบาทในปี 2547 ซึ่งคิดเป็นรายได้ร้อยละ 18.8 ของรายได้ทั้งหมด

ค่าเงินบาทไทยที่ลดลงเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ ภายหลังวิกฤตการณ์ ปี 2540 ก็มีผลสำคัญต่อการขยายตัว ของธุรกิจในเครือคือ เครือซิเมนต์ไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ความต้องการ สินค้าจากต่างประเทศสูงขึ้น ทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ของเครือซิเมนต์ไทย อันประกอบไปด้วยธุรกิจปิโตรเคมี

ซีเมนต์และกระดาษก็ขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจปิโตรเคมีมีการขยายตัวที่สูงมาก รายได้จากธุรกิจปิโตรเคมี เมื่อคิดเป็นรายได้ทั้งหมดของเครือซิเมนต์ไทยเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 25.5 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 34.1, 39.0 และ 39.0 ในปี 2546, 2547 และ 2548

การเติบโตของรายได้อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการขยายตัวทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่ โดยการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ และต้องการสร้างความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคที่สำคัญ เช่น ตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่กัมพูชา (มูลค่าลงทุน 3,200 ล้านบาท) โรงงานกระเบื้องหลังคาคอนกรีตที่เวียดนาม (160 ล้านบาท) ลงทุนเพิ่มในธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อผลิตพีวีซีที่อินโดนีเซีย (300 ล้านบาท) ร่วมลงทุนตั้งโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ที่อิหร่าน (1,000 ล้านบาท) และได้ขยายการลงทุนภายในประเทศ โดยร่วมกับ Dow Chemical ตั้งโรงงาน โอเลฟินส์แห่งที่ 2 (44,000 ล้านบาท) และโครงการ Downstream (16,000 ล้านบาท) รายงานประจำปี 2548, บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้งการเติบโตอย่างรวดเร็วของธนาคารไทยพาณิชย์และเครือซิเมนต์ไทย ส่งผลให้ธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือ บจม.เทเวศประกันภัย ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วย เพราะ บมจ.เทเวศประกันภัยได้รายได้จากเบี้ยประกันภัย เช่น การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เป็นต้น โดยรายได้ของเบี้ยประกันส่วนสำคัญ มาจากธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทย ธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทในเครือส่งผลให้รายได้ของ บมจ.เทเวศประกันภัยเพิ่มขึ้น

การเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯได้เพิ่มการถือหุ้นจาก 2,999,940 หุ้น (หรือคิดเป็นร้อยละ 24.99 ของการถือหุ้นทั้งหมด) ในปี 2548 เป็น 10,401,846 หุ้น ในปี 2549 ซึ่งทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 86.6 ของการถือหุ้นทั้งหมด (www.deves.co.th)

นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับนโยบายค่าเช่า รวมทั้งการนำที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ในอดีตก่อนปี 2546 รายได้จากผลประโยชน์จากที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำและขยายตัวอย่างเชื่องช้า มาตรการหลายอย่างที่มีผลต่อการเพิ่มพูนผลประโยชน์จากที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ เช่น มี การปรับปรุงเพิ่มค่าเช่าที่ดินในย่านที่มีการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดมากขึ้น โดยเริ่มจากปี 2544 เป็นต้นไป

ส่งผลให้บริษัท วังเพชรบูรณ์ ผู้พัฒนาโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งมีปัญหาทางการเงิน ก่อนหน้าปี 2540 แล้ว ถูกถอดถอนสิทธิผู้เช่าและทำประโยชน์ โดยสำนักงานได้เรียกร้องค่าเสียหายถึงกว่า 6 พันล้านบาท เพราะคู่กรณีได้ทำผิดสัญญา

ในที่สุดสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ได้เซ็นสัญญาใหม่กับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (Central Pattana Plc) ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งสัญญามีอายุ 30 ปี สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จากค่าเช่าระยะยาวในโครงการนี้เท่ากับ 2,000 ล้านบาท รวมทั้งภาษีอื่นๆ ซึ่งบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามีโครงการพัฒนา (World Trade Centre) ให้เป็นช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ สำนักงานให้เช่า 45 ชั้น ศูนย์การค้า โรงแรมระดับ 5 ดาว และโรงหนัง รวมทั้งที่จอดรถขนาดใหญ่

นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังมีรายได้จากค่าเช่าจากการต่อสัญญาเช่าที่ดินแก่โรงแรมดุสิตธานีอีก 15 ปี (หลังจากหมดสัญญาเช่า 30 ปี) โดยมีมูลค่าถึง 1.1 พันล้านบาท ซึ่งได้รับการชำระงวดแรกแล้วประมาณ 300 ล้านบาท ในส่วนของส่วนราชการได้มีการปรับอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามลำดับจากอัตรา 0.2% จากราคาประเมินในปี 2548 ซึ่งผลจากการเพิ่มอัตราค่าเช่าดังกล่าว ส่งผลให้รายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานรัฐของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพิ่มขึ้นจาก 84.52 ล้านบาท ในปี 2544 และเพิ่มเป็น 211.31 ล้านบาท 422.62 ล้านบาท 633.93 ล้านบาท และ 845.25 ล้านบาท ในปี 2545, 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เช่ารายย่อย เช่น ผู้ที่อยู่อาศัยทั่วไปหรือผลประโยชน์พอยังชีพจะได้รับค่าเช่าในอัตราต่ำ

นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีแผนงานและโครงการที่จะนำ "ที่ดิน" มาเพิ่มผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีโครงการที่สำคัญคือ

(1) ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิมจำนวน 120 ไร่ (ขณะนี้ให้เช่าชั่วคราวเป็นสวนลุม ไนท์บาซาร์) มาพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ในขณะนี้กำลังเปิดรับประมูลจากผู้ประกอบการ

(2) โครงการพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินกลางเพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวข้างต้นจะนำมาซึ่งรายได้เป็นจำนวนมากแก่สำนักงานทรัพย์สินฯในอนาคต

กลุ่ม "ทุน" พันธมิตรของสำนักงานทรัพย์สินฯ

แรงกดดันจากการเปิดเขตการค้าและการเงินเสรี การแข่งขันของกลุ่มทุนต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ การเติบโตของการลงทุน โดยผ่านตลาดทุน (โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) โดยเริ่มมีความสำคัญแทนที่สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ในการระดมทุน รวมทั้งความอิ่มตัวของตลาดภายในประเทศ เช่น ความต้องการซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างได้ส่งผลต่อการปรับตัวของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในการขยายโอกาสในการลงทุนและหากลุ่มพันธมิตรใหม่ๆ นอกจากมีความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เช่น ตระกูลเอื้อชูเกียรติ และกลุ่มพลังงานอื่นๆ เช่น กับ ปตท.และบริษัทในเครือแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีความสัมพันธ์กับกลุ่ม "ทุน" ชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็คือกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek Holding) ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง มีนายชุมพล ณ ลำเลียง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทสิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือที่เรียกว่า Singtel (ตั้งแต่ปี 2547) ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปล่อยเงินกู้ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ รวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท (โดยแบ่งกันในสัดส่วนร้อยละ 50) เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับซีอาร์ โฮลดิงส์ ที่มีธนาคารจากสิงคโปร์ค้ำประกันอยู่ ทั้งนี้เพื่อซื้อหุ้นของชินคอร์ป ซึ่งมีผลให้กลุ่มทุน เทมาเส็กถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของชินคอร์ปในต้นปี 2549

นอกจากนี้ในคณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่ม เทมาเส็กอยู่ด้วย คือ ปีเตอร์ เซียะ ลิม ฮวด (ซึ่งในปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่ง Temasek Advisory Paned Capital Land Limited, และ Government of Singapore Investment Corporation และเคยดำรงตำแหน่ง Singapore Technology etc ซึ่งบริษัทเหล่านี้ เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มเทมาเส็กทั้งหมด นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ และทุนลดาวัลย์ได้ร่วมทุนกับบริษัทในเครือของ Capital Land อันเป็นบริษัทของกลุ่มทุนเทมาเส็ก กลุ่มอิตัลไทย และอิสระ ว่องกุศลกิจ (กลุ่มน้ำตาลมิตรผล) ตั้งบริษัทพรีมัส (ประเทศไทย) เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทรัพย์สินด้วย

ซึ่งแสดงถึงการขยายอาณาจักรทางธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และอาจจะรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วย


http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006june21p3.htm

ยุบข้อความนี้ลบ
ความคิดเห็น

No comments:

Post a Comment