2010-12-15

บ้านกล๊มกลม



kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ขนาด 7 กิโลวัตต์

วัน/เดือน/ปี ที่ทำการติดตั้ง : 2006

สถานที่ติดตั้ง : หมู่บ้านสาริน ถนนรังสิตนครนายก คลอง 5 จังหวัดปทุมธานี

รายละเอียดระบบฯ : เป็นบ้านที่ออกแบบและก่อสร้างโดย ศ. ดร. สุนทร บุญญาธิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบัย เป็นบ้านประหยัดพลังงาน และมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า
ลบ
ความคิดเห็น
ชอบ


kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
บ้านกล๊ม กลม นวัตกรรมสู้โลกร้อน





วินาทีนี้ ถ้าใครไม่รู้เรื่อง โลกร้อน คงต้องบอกว่า เชยมากๆ อย่างในงานแถลง ข่าว โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ครั้งที่ 3 จัดโดยโฮมเวิร์ค และเพาเวอร์บาย ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ ที่ไม่ยอมตกเทรนด์ นำนวัตกรรมใหม่ บ้านสู้โลกร้อน หรือ Eco-Sphere มาโชว์ด้วยนวัตกรรมแห่งโลกอนาคตของการอยู่อาศัยนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บ้านกล๊ม กลม เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติศ.ดร.สุนทร เล่าถึงแรงบันดาลใจในการคิดค้นบ้านกล๊ม กลม ว่าบ้านในปัจจุบันไม่ค่อยมีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้มีแต่พื้นคอนกรีต พื้นปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นแห่งสะสมความร้อน ทั้งที่การปลูกต้นไม้มีประโยชน์มาก จึงได้คิดค้นบ้านประหยัดพลังงานขึ้น รูปแบบบ้านเป็นทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร ตัวอาคารยกสูงจากพื้นดินโดยมีฐานรากคอนกรีดเพียงเสาเดียว เป็นบ้านที่ออกแบบให้สามารถใช้พลังงานแสง อาทิตย์ (Solar Cell) ภายในบ้านถูกออกแบบเป็น 2 ชั้น มีห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องนอน และห้องครัวเล็กๆ ในตัวเหตุผลที่ออกแบบบ้านเป็นทรงกลมเพราะต้องการลดพื้นที่ในการถูกแสง แดดกระทบโดยตรง เป็นบ้านกึ่งน็อคดาวน์ที่ใช้เวลาในการสร้างเพียง 7 วัน ป้องกันความร้อน ลม และแผ่นดินไหวได้ จากฐานรากคอนกรีตเพียงเสาเดียว ทําให้ มีพื้นที่ในการใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ปลูกต้นไม้ จัดสวนและสนามหญ้า ซึ่งหลักการเบื้องต้นในการลดภาวะโลกร้อนคือการเพิ่มปริมาณต้นไม้ให้เยอะที่ สุดด้าน แหวน ปวริศา เพ็ญชาติ บอกว่า การช่วยลดภาวะโลกร้อนมีหลายวิธี อย่างตนเอง ช่วยด้วยวิธีการประหยัดพลังงาน เช่น น้ำ ไฟ และน้ำมัน และในอนาคตวางแผนไว้ว่าจะใช้ไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ร่วมชมบ้านกล๊ม กลม



ชมบ้านนวัตกรรมใหม่ "Eco Sphere" หรือที่มีชื่อภาษาไทยว่า "บ้านกล๊มกลม"

รูปร่างหน้าตาของบ้านถือว่าล้ำยุคมากๆ ตัวโครงสร้างเป็น "เสาคอนกรีต" ความกว้าง 2.7 เมตรแท่งเดียวโผล่ขึ้นมาบนดิน ด้านบนของเสาเหล็กเป็นตัวบ้านที่ออกแบบเป็นทรงกลม (คล้ายลูกโบว์ลิ่ง) ผนังทำจากวัสดุ 3 ชั้น คือ โฟม ไฟเบอร์กลาส และแผ่นซีเมนต์บอร์ด ประกบกัน ทำให้ผนังบ้านมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดี และมีพื้นที่บางส่วนเป็นกระจกเขียวตัดแสงที่มีคุณสมบัติกันความร้อนแต่ให้ แสงผ่านได้

ภายในตัวบ้านออกแบบเป็น 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 45 ตร.ม. แปลนบ้านคร่าวๆ ที่ออกแบบไว้คือ ชั้นล่าง เป็นห้องนั่งเล่น หรือห้องครัว ส่วนชั้นบน เป็นห้องนอน และห้องน้ำ ทุกอย่างใช้วัสดุแนวประหยัดพลังงาน อาทิ สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ สีสะท้อนความร้อน ฯลฯ

ความแปลกของบ้าน Eco Sphere ไม่ได้อยู่แค่รูปร่างหน้าตาเท่านั้น แต่ "ดร.สุนทร" เจ้าของผลงานเคลมว่า มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 10 ตร.ม. ซึ่งผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 5 หน่วยต่อวัน เพียงพอรองรับการอยู่อาศัยตลอด 1 วัน รวมถึง การเปิดแอร์ด้วย

"Eco Sphere ถือเป็นบ้านที่พัฒนาต่อ ยอดแนวความคิดจากบ้านชีวาทิตย์ ที่เราออกแบบให้ไม่ต้องซื้อไฟฟ้าและน้ำประปาก็สามารถอยู่อาศัยได้ เพราะพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์และกักเก็บน้ำจากความชื้นในอากาศ ที่ควบแน่นเป็นหยดน้ำในตอนเช้า โดยน้ำทั้งหมดจะถูกบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่" ดร.สุนทรขยายความ

บ้านแนวคิดใหม่นี้ไม่ใช่ความฝัน แต่เคาะราคาขายจริง 1.3 ล้านบาท พร้อม เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งพร้อม อาทิ ที่นอน พื้นไม้ ลามิเนต ฯลฯ และเงื่อนไขว่าต้อง มีที่ดินเริ่มต้นที่ 10 ตร.ว. ก็สามารถสร้างบ้านได้

ยุบข้อความนี้ลบ
ความคิดเห็น
ชอบ


kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
รศ.ดร.วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ออกแบบพิเศษสร้างเสร็จเร็ว 90 วัน ลดค่าไฟฟ้าถึง 3 เท่า ใช้เวลาเพียง 90 วัน ก็สามารถสร้างบ้านพอเพียงได้ 1 หลังที่มีขนาด 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ 1 ห้องพระ 1 ห้อง รับแขก และ 1 ห้องรับประทานอาหาร บนพื้นที่ใช้สอยราว 140 ตารางเมตร ส่วนค่าก่อสร้างหลังเล็กประมาณ 5 แสนบาท แบบสองชั้นประมาณ 1.5 ล้านบาท

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนและความชื้นเข้าสู่ตัวอาคารจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของบ้านพอเพียง ผนังบ้านทั้งหมดจึงใช้วัสดุเม็ดโฟมคอนกรีตที่ทำจากโฟมรีไซเคิล มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ต้านทานแรงลมได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นฉนวนกันความร้อนและความชื้นได้ดีกว่าผนังอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐฉาบปูน 10-12 เท่า

ประตูและหน้าต่างทุกบานเป็นกระจกให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้าสู่ตัวบ้านและลดการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน โดยใช้กระจกลามิเนตติดฟิล์มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ยูวี) และมีคุณสมบัติเดียวกับกระจกรถยนต์ คือ ไม่แตกง่าย เมื่อแตกแล้วเศษกระจกจะไม่กระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กรอบประตูและหน้าต่างทำจากพลาสติกยูพีวีซีที่แข็งแรง ทนทานต่อรังสียูวีมากกว่าพีวีซีธรรมดา และมีระบบล็อคหลายจุดที่มีความปลอดภัยต่อการงัดแงะสูงกว่า

หลังคาเป็นระบบผสมผสานโครงสร้าง ฝ้าเพดาน และคุณสมบัติฉนวนกันความร้อนที่กันความร้อนได้ดีกว่าหลังคากระเบื้องคอนกรีตถึง 24 เท่า โดยไม่ต้องมีโครงสร้างขื่อและแป จึงสร้างได้รวดเร็ว น้ำหนักเบากว่า 10 เท่า ไม่มีปัญหาน้ำรั่วซึม และสามารถใช้พื้นที่ภายในใต้หลังคาได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาเพียง 90 วัน ก็สามารถสร้างบ้านพอเพียงได้ 1 หลังที่มีขนาด 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ 1 ห้องพระ 1 ห้องรับแขก และ 1 ห้องรับประทานอาหาร บนพื้นที่ใช้สอยราว 140 ตารางเมตร และมีน้ำหนักอาคารลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับบ้านทั่วไปขนาดเดียวกันที่ต้องใช้เวลาก่อสร้างนาน 240-360 วัน

บ้านพอเพียงติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู แค่เครื่องเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้บ้านทั้งหลังเย็นสบาย เพราะใช้ระบบท่อกระจายความเย็นถึงทุกห้องภายในบ้าน สามารถเปิดได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เปลืองไฟ และทำให้ในบ้านมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียสตลอดปี เพราะผนังและหลังคาบ้านที่มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี และการปรับสภาพแวดล้อมภายนอกบ้านให้มีอุณหภูมิต่ำลงกว่าปกติ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 60%

นอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้ว อุณหภูมิภายในบ้านพอเพียงยังค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีอากาศบริสุทธิ์ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา และไม่มีรังสียูวีเล็ดลอดเข้าสู่ในบ้าน ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีโอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยน้อยลง สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ยุบข้อความนี้ลบ

สภาวิจัยแห่งชาติหนุน 4 ล้านให้จุฬาฯสร้างตัวอย่างบ้านพอเพียงสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง ออกแบบพิเศษสร้างเสร็จเร็ว 90 วัน ลดค่าไฟฟ้าถึง 3 เท่า - หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

บ้าน คือที่ที่เราอยู่แล้วมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ แต่ถ้าจะให้ดียิ่งกว่าและทันสมัยยิ่งขึ้น บ้านในยุคนี้ต้องช่วยเจ้าของบ้านประหยัดพลังงานได้ และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีอายุยืนยาวขึ้นด้วย...
ความคิดเห็น
ชอบ


kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
บ้านประหยัดพลังงาน

20 แม่ไม้สำคัญ ในการเลือกบ้านประหยัดพลังงาน

1. อย่าใส่แหล่งความร้อน(ลานคอนกรีต)ในบ้าน

ภายในบริเวณบ้านไม่ควรมี ลานคอนกรีตในทิศทางรับแสงแดดจัด เช่น ทิศใต้และทิศตะวันตก เนื่องจากในเวลากลางวันคอนกรีตจะกลายเป็นมวลสารสะสมความร้อน (Thermal mass)

มีการสะสมความร้อนไว้ใน เวลากลางวันในปริมาณมาก ด้วยคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุและจะถ่ายเทความร้อนกลับสู่บ้านของท่าน ในเวลากลางคืน จึงทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านและตัวบ้านมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย การจัดวางตำแหน่งพื้นคอนกรีตเพื่อเป็นที่จอดรถยนต์หรือชานหรือระเบียงที่ดี ควรเลือกวางในทิศที่ไม่ถูกแสงแดดมาก เช่น ทิศเหนือ ทิศตะวันออกและควรมีร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดปริมาณแสงแดด

2. รั้วบ้าน...ต้องโล่ง...โปร่ง...สบาย

รั้วบ้านไม่ควรออกแบบให้มีลักษณะทึบตัน เนื่องจากรั้วทึบจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของลมเข้าสู่ตัวบ้านทำให้ภายในตัว บ้านอับลมนอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำรั้วบางชนิด เช่น อิฐมอญ คอนกรีต เสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก ยังมีคุณสมบัติสะสมความร้อนไว้ในตัวเองในเวลากลางวันและคายกลับสู่สภาพแวด ล้อมและตัวบ้าน ในเวลากลางคืน

3. อย่าลืม!!ต้นไม้ให้ร่มเงา

การปลูก ต้นไม้ในบริเวณบ้านนอกจากจะสร้างความร่มรื่นและความสดชื่นสบายตาสบายใจแก่ ผู้อาศัยในบ้านแล้วใบไม้หลากรูปทรงและสีสันที่แผ่กิ่งก้านสาขายังสามารถลด แสงแดดที่ตกกระทบตัวบ้านและให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็น อย่างดีนอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดต้นไม้ใบหญ้าทั้งหลายยังช่วยลดความร้อนจากสภาพแวดล้อม ด้วยการคายไอน้ำผ่านทางปากใบได้อีกด้วยซึ่งควรพิจารณาตำแหน่งการปลูกต้นไม้ ใหญ่น้อยในบริเวณบ้านให้สัมพันธ์กับร่มเงาที่เกิดขึ้นกับตัวบ้านไว้ล่วงหน้า

ข้อควรระวัง! การปลูกไม้ใหญ่ใกล้บ้านเกินไป ต้องระวังรากของต้นไม้ใหญ่จะสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างของบ้านจึงควรดูความเหมาะสมของชนิดต้นไม้

4. ก่อนสร้าง อย่าลืม!!! พื้นชั้นล่างปูแผ่นพลาสติก

บ้านพักอาศัยทั่วไปในปัจจุบันทั้งชั้น ล่างและชั้นบนมักติดตั้ง เครื่องปรับอากาศให้ความเย็นและลดความชื้นภายในพื้นที่ กันเป็นจำนวนมาก การเตรียมการก่อสร้างบ้านในส่วนโครงสร้างพื้นชั้นล่างควรปูแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกัน ความชื้นที่ระเหยขึ้นจากผิวดิน ซึ่งเป็นผลให้มีความเสียหายที่วัสดุปูพื้นชั้นล่าง และประเด็นที่สำคัญด้านพลังงานคือเกิดการสะสมความชื้นภายในพื้นที่ชั้นล่าง ของตัวบ้านเป็นที่มาของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นใน ที่สุด สิ่งที่ควรระวังระหว่างการก่อสร้างส่วนดังกล่าว คือ การฉีกขาดเสียหาย ของพลาสติกเนื่องจากเหล็กที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้าง จึงต้องมีการเตรียมก่อสร้างไว้ล่วงหน้าเช่นกัน

5. หันบ้านให้ถูกทิศ(ลม-แดด-ฝน) จิตแจ่มใส

การออกแบบบ้านเรือนในประเทศไทยไม่ควรหลง ลืมปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนสู่ตัวบ้าน นั่นคือส่วนใหญ่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทางทิศใต้(แดดอ้อมใต้)เป็นเวลา 8-9 เดือนและด้วยมุมกระทำของดวงอาทิตย์ต่อพื้นโลกมีค่าน้อย (มุมต่ำ) จึงทำให้การป้องกันแสงแดดทำได้ยากเป็นผลให้ทิศทางดังกล่าวได้รับอิทธิพลจาก แสงแดดรุนแรงเกือบตลอดปี การวางตำแหน่งบ้านและการออกแบบ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำ (ลมมรสุม)ที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่อง หน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย

6. มีครัวไทยต้องไม่เชื่อมติดตัวบ้าน

การทำครัวแบบไทย นอกจากจะได้อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนถูกปากคนไทยแล้วยังก่อให้เกิดความร้อนสะสม ขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณมากอีกด้วย อันเนื่องมาจากอุปกรณ์และกิจกรรมการทำครัวต่างๆซึ่งแตกต่างจากครัวฝรั่งโดย สิ้นเชิงความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องครัวที่ติดกับตัวบ้านจะสามารถถ่ายเทเข้า สู่พื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็วในลักษณะสะพานความร้อน (Thermal Bridge) และหากห้องติดกันเป็นพื้นที่ปรับ อากาศจะยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นของห้องดังกล่าวมากขึ้นโดยใช่ เหตุ แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมระหว่างห้องครัวกับตัวบ้าน เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น

7.ประตูหน้าต่างต้องมีทางลมเข้าออก

การ ระบายความร้อนภายในบ้านโดยใช้ลมธรรมชาติพัดผ่านหน้าต่าง ภายในห้องต้องมีช่องทางให้ลมเข้าและลมออกได้อย่างน้อย 2 ด้านมิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่อง หน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อน เกิดขึ้นมากที่สุด นอกจากนี้การวางตำแหน่งช่องหน้าต่างต้องตอบรับทิศทางการเคลื่อนที่ของลม ประจำด้วยแต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าลมที่นำเข้าสู่อาคารต้องทำให้เป็นลมเย็น เสียก่อนจึงจะทำให้การลดความร้อนมีประสิทธิผล

การออกแบบให้ลมไหลผ่านตัวบ้านได้ดีมีข้อควรระวังได้แก่

1.ต้องติดตั้งมุ้งลวดเพื่อกรองฝุ่นละอองเกสรที่จะเข้าบ้าน

2.การติดช่องหน้าต่างในตำแหน่งเยื้องกันจะช่วยบังคับให้ลมไหลผ่านห้องต่าง ๆ ตามตำแหน่งที่ต้องการได้

8. ผังเฟอร์นิเจอร์ต้องเตรียมไว้ก่อน ไม่ร้อนและประหยัดพลังงาน

บ้านที่ดีควรมีการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ ในแต่ละห้องไว้ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมตำแหน่งติดตั้ง ปลั๊ก สวิทช์ ไว้ให้ เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในบ้าน นอกจากนี้การเตรียมการดังกล่าวไว้ล่วงหน้าจะตรวจสอบได้ว่าตำแหน่งใดในบ้านมี เฟอร์นิเจอร์วางกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสลมหรือไม่หรือตอบรับแสงสว่าง ธรรมชาติและกระแสลมธรรมชาติมากน้อยเพียงใดและควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรให้ดี ขึ้น ควรแยกอุปกรณ์ที่จะสร้างความร้อนออกนอกห้องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น เครื่องต้มน้ำ

9. อย่า!!!มีบ่อน้ำหรือนำพุในห้องปรับอากาศ

คุณสมบัติทางอุณหภูมิของเครื่องปรับ อากาศ คือ การลดอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พื้นที่ห้องต่าง ๆ อยู่ในสภาวะสบาย ซึ่งการตกแต่งประดับพื้นที่ภายในห้องด้วยน้ำพุ น้ำตก อ่างเลี้ยงปลา หรือแจกันดอกไม้ ย่อมทำให้ภายในห้องมีแหล่งความชื้นเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและทำให้เครื่อง ปรับอากาศต้องใช้พลังงานในการลดความชื้นมากกว่าปกติ

10. ช่องอากาศที่หลังคาพาคลายร้อน...

หลังคาที่ดีนอกจากจะสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ได้ ยังต้องมีคุณสมบัติ ในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกด้วย ภายในช่องว่างใต้หลังคา เป็นพื้นที่เก็บกักความร้อนที่แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ก่อนถ่ายเทเข้าสู่ พื้นที่ส่วนต่างๆภายในบ้านดังนั้นการออกแบบให้มีการระบายอากาศ (ร้อน) ภายในหลังคาออกไปสู่ภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องลมบริเวณจั่วหลังคาหรือระแนงชายคาจึงเป็นเรื่องที่ดีต่อการ ลดความร้อนในบ้าน แต่พึงระวังให้การระบายอากาศร้อนดังกล่าวอยู่เหนือฉนวนภายในฝ้าเพดาน มิฉะนั้นความร้อน จะสามารถถ่ายเทลงสู่ตัวบ้านได้อยู่ดี

ข้อควรระวัง คือ

1. ต้องมีการติดตั้งตาข่ายป้องกันนก แมลง เข้าไปทำรังใต้หลังคาด้วย

2. ต้องมีการป้องกันฝนเข้าช่องเปิดระบายอากาศด้วย

11. ต้องใส่"ฉนวน"ที่หลังคาเสมอ

ฉนวนกันความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถ กั้นหรือป้องกัน ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงแดดไม่ให้เข้าสู่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นจากส่วนผนังหรือหลังคาบ้าน แต่ช่องทางที่ความร้อนจากแสงแดดถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้มากที่สุดในเวลากลาง วันคือพื้นที่หลังคา ดังนั้นการลดความร้อนจาก จากพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการใช้ฉนวนซึ่งมีรูปแบบและการติดตั้งที่เหมาะสมกับพื้นที่ สอดคล้องกับการใช้งานจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการลดการใช้พลังงานภายใน บ้าน

12. กันแสงแดดดีต้องมีชายคา

กันสาดหรือชายคาบ้านเป็นอุปกรณ์ที่มี ความสำคัญกับอาคาร บ้านเรือนในเขตร้อนเช่นประเทศไทย เนื่องจากมีคุณสมบัติการ ป้องกันแสงแดด(ความร้อน)ไม่ให้ตกกระทบผนังและส่องผ่านเข้าสู่ช่องแสงและ หน้าต่างได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตำแหน่ง และทิศทางการติดตั้งกันสาดที่มีความจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านที่มีแสงแดดรุนแรง ได้แก่ ทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ ข้อดีอีกประการของการติดตั้งชายคาและกันสาด คือ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันฝนเข้าสู่ ตัวบ้านอีกด้วย

13. ห้องไหนๆติดเครื่องปรับอากาศ อย่าลืมติดฉนวน

การลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับ อากาศที่สำคัญ คือ ลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านและพื้นที่ใช้สอย ดังนั้น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนในพื้นที่ห้องที่ปรับอากาศเพื่อลดความร้อนนอกจาก จะทำให้ห้องเย็นสบายจากแสงแดดและ ป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้านแล้วยังทำให้สภาพภายในห้องปรับลดอุณหภูมิลงอย่าง รวดเร็วเนื่องจากมีความร้อนสะสมอยู่ภายในห้องน้อยจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าของ เครื่องปรับอากาศได้

14. บานเกล็ด บานเปิด บานเลื่อน ต้องใช้ให้เหมาะสม

หน้าต่างแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการใช้ สอยที่แตกต่างกันตามความต้องการ จึงควรเลือกชนิดของหน้าต่างให้ เหมาะสมกับพื้นที่ภายในห้อง...หน้าต่างบานเปิดมีประสิทธิภาพในการรับกระแสลม สูงที่สุด...แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจัดวางให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของกระแสลมด้วย นอกจากนี้พึงระวังการใช้หน้าต่างบานเกล็ดในห้อง ปรับอากาศ เพราะหน้าต่างชนิดนี้มีรอยต่อมาก ทำให้อากาศภายนอกรั่วซึมเข้ามาได้ง่าย จึงส่งผลให้ความร้อนและ ความชื้นถ่ายเทสู่ภายในห้องได้สะดวกเช่นกัน ซึ่งเป็นผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

15. ทาสีผนังให้ใช้สีอ่อน ไม่ร้อนดี แต่ถ้าเปลี่ยนสี(เข้ม)ต้องมีฉนวน

สีผนังมีผลต่อการสะท้อนแสงแดดและความ ร้อนเข้าสู่อาคารมากน้อยต่างกัน สีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม เป็นต้น เพื่อช่วยสะท้อนความร้อน ในทางกลับกันหากต้องการทาสีผนังภายนอกบ้านเป็นสีเข้มก็สามารถ กระทำได้ แต่ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่โดนแสงแดดหรือต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใน บริเวณนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนเป็นการชดเชย นอกจากสีภายนอกอาคารแล้ว การทาสีภายในอาคารด้วยสีอ่อน จะช่วยสะท้อนแสงภายในห้อง เพิ่มความสว่างภายในบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้โคมไฟมากเกินไป

16. ห้องติดเครื่องปรับอากาศต้องไม่ไร้บังใบประตูหน้าต่าง

ความชื้นในอากาศที่รั่วซึมเข้าภายใน อาคารบ้านเรือน (Air Infiltration) เป็นสาเหตุของภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาด้วยการออกแบบที่กระทำได้ไม่ลำบากคือ การเลือกใช้ประตูและหน้าต่างห้องในบ้านที่มีการบังใบวงกบ เพื่อลดการรั่วซึมของ อากาศร้อนและความชื้นจากภายนอกที่ไหลผ่านรอยต่อวงกบ ประตู หน้าต่าง เข้าสู่ภายใน

กรณีบานหน้าต่างสามารถใช้ซิลิโคนสีใส ช่วยปิดช่องอากาศรั่วได้ ส่วนกรณีบานประตูก็สามารถซื้อแผ่นพลาสติกปิดช่องอากาศรั่วมาติดเพิ่มเติม ได้ในภายหลัง โดยควรเลือกชนิดพลาสติกจะทำความสะอาดและกันลมรั่วได้ดีกว่าแบบผ้า

17. ห้องน้ำดีต้องมีแสงแดด

ผนังห้องน้ำ เป็นพื้นที่ ไม่กี่จุดในบ้านที่ควรจัดวางให้สัมผัสแสงแดดมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยและเพื่อลดความชื้นสะสมภายในตัวบ้าน นอกจากนี้การเลือกวางตำแหน่งห้องน้ำทางด้าน ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ยังมีข้อดีในการเป็นพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างแสงแดดกับพื้นที่ในบ้านได้อีกด้วย

นอกจากจะต้องมีช่องแสงแดดที่มากแล้ว ควรมีช่องลมในปริมาณที่มากพอ เพื่อระบายความชื้นภายในห้องน้ำด้วยซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ติดตาข่ายป้องกันแมลงที่ช่องลมด้วย

18. รับแสงเหนือเพื่อประหยัดแสงไฟ

ช่องแสงหรือหน้าต่างภายในบ้านควรออกแบบ จัดวางให้เอื้อต่อการนำแสงธรรมชาติส่องเข้ามาภายในห้องได้ ทุกๆห้อง ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องอาหาร หรือแม้แต่ห้องน้ำ ห้องเก็บของและบันได เพื่อลด การใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าในบ้าน เนื่องจากแสงธรรมชาติเป็นแสงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดและไม่เสีย ค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากับแสงธรรมชาติ คือความร้อน ดังนั้นทิศทางช่องแสงหรือหน้าต่างในบ้าน ที่ดีที่สุด คือทิศเหนือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลความร้อนของแสงแดดน้อยที่สุดในรอบปี (ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือเพียง 3 เดือน) และมีลักษณะความสว่างคงที่ (Uniform) ในแต่ละวัน

19. คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ...ต้องวางให้ถูกที่

การวางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ นอกจากจะพิจารณาเรื่องความ สวยงามแล้วยังมีผลอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ปรับอากาศและการทำความเย็นภายในห้อง จึงควรเลือกวางตำแหน่ง เครื่องให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องใน ปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น

20. ไม่ใช้หลอดไส้..หลอดร้อนหลากสี.. ชีวีเป็นสุข

หลอดไฟฟ้าชนิดหลอดไส้ (Incandescent Lamp) หลอด ฮาโลเจน (Halogen Lamp) ที่มีสีสันสวยงามเหล่านี้เป็นดวงโคม ที่นอกจากจะให้ความสว่างแล้วยังปล่อยความร้อนสู่พื้นที่ภายในห้องใน ปริมาณมาก เมื่อเทียบกับหลอดผอมหรือหลอดฟลูออเรสเซนท์ และหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนท์หรือหลอดตะเกียบ ซึ่งมี ประสิทธิภาพทางพลังงาน (Efficacy) สูงกว่า คือให้ความสว่างมาก แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า ในห้องที่มีการปรับอากาศ การใช้งาน หลอดตระกูลหลอดไส้เหล่านี้ ทำให้ห้องมีความร้อนเพิ่มมากขึ้น และเครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

ที่มา : สำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.)

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

ยุบข้อความนี้ลบ
ความคิดเห็น






kanj 2010 - Buzz - สาธารณะ
การใช้สวนลอยฟ้ามีแพร่หลายอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมัน และสิงคโปร์ได้มีการส่งเสริม และในบางกรณีก็ยังเป็นกฎหมายที่สนับสนุนสวนลอยฟ้าเพื่อผลทางด้านสภาพแวดล้อม อีกด้วย เช่น

อุปกรณ์

1. ถาด/กระบะชนิดด้านข้างยกสูง (พลาสติก, อลูมิเนียม, แสตนเลส) โดยเลือกขนาดตามความต้องการ หากเป็นกระบะพลาสติกต้องเลือกลักษณะที่สามารถทนต่อความร้อนได้ดี โดยสามารถเลือกใช้กระบะที่เคลือบด้วยสารป้องกันรังสียูวี

2. ถาดชนิดแบน (ใช้รองน้ำที่ไหลออกมา)

3. ถาดหลุมพลาสติก, ถ้วยพลาสติก, ถาดพาย ฯลฯ

4. ตระแกรงชนิดรูเล็ก

5. แผ่นไฟเบอร์ตู้ปลา, เศษผ้าเหลือใช้ แผ่นไฟเบอร์นั้นมีคุณสมบัติในการยึดรากของต้นพืชและเป็นตัวกลางช่วยให้ต้น พืชสามารถดูดน้ำในระบบได้

6. ปุ๋ย

ลักษณะปุ๋ยที่ดีต่อการทำ Green Roof คือ มีแร่ธาตุครบและสามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว

7. เมล็ดพันธุ์พืช

พันธุ์พืชที่เลือกนำมาเพาะปลูกนั้นสามารถเป็นได้ทั้ง ไม้ดอก ไม้ประดับขนาดเล็ก ไม้ในร่ม พืชสวนครัว และพืชคลุมดิน

- พืชสวนครัวที่แนะนำ คือ พืชตระกูลถั่ว โหระพา สะระแหน่ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องอาศัยการดูแลรักษามาก

- พืชคลุมดินที่แนะนำ คือ กระดุมทอง เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายและรวดเร็ว มีความทนทานต่อสภาพดินน้ำอากาศ

- หญ้าที่แนะนำ คือ หญ้ามาเลย์ และหญ้านวลน้อย

ทั้งนี้ พันธุ์พืชที่เลือกนำมาสร้าง Green roof นั้นจะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการควบคุมอุณหภูมิใต้หลังคา หากพันธุ์พืชมีลักษณะไม่สูงมากนัก ระยะห่างระหว่างต้นพืชเยอะ การระบายความร้อนจะเป็นไปได้น้อย หากพันธุ์พืชมีลักษะฟู ใบมีความหนา การระบายความร้อนจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

ขั้นตอนการทำ

1. เจาะรูด้านล่างของกระบะหรือถาดชนิดด้านข้างยกสูงขึ้นให้แต่ละรูห่างกัน 1.5 นิ้ว ให้เป็นรูระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังในกระบะ

2. วางถาดหลุมพลาสติกซ้อนทับกระบะดังกล่าว หากใช้ถ้วยพลาสติก นำถ้วยพลาสติกประมาณ 2-3 ถ้วย กะประมาณให้รับน้ำหนักของดินชั้นบนได้ วางเรียงชิดกันจนทั่วกระบะหรือถาดชนิดยกข้างสูง

3. ตัดตระแกรงให้มีขนาดพอเหมาะกับกระบะหรือถาดชนิดยกขางสูง แล้ววางคลุมถาดหลุมพลาสติก เพื่อเป็นฐานให้รากของพรรณไม้ที่จะใช้ปลูกเกาะ

4. วางแผ่นไฟเบอร์ประมาณ 2-3 แผ่นซ้อนทับแผ่นตระแกรงอีกชั้นหนึ่ง เพื่อสร้างระบบกักเก็บน้ำ ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น อุ้มน้ำอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณดินที่จะใช้ในการสร้าง Green roof

หากไม่สามารถหาแผ่นไฟเบอร์ เศษผ้าเหลือใช้ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ทดทนกันได้

5. เทปุ๋ยลงไปบนแผ่นไฟเบอร์ แล้วเกลี่ยให้เรียบ

- เนื่องจากชั้นดินในการทำ DIY-Green roof นั้นไม่หนามาก การใช้ปุ๋ยโดยไม่ผสมดินจะทำให้พืชมีได้รับสารอาหารมากขึ้น

- อีกทางเลือกหนึ่งคือผสมดินและปุ๋ยในอัตราส่วน 50:50

6. เสร็จสิ้นการทำ DIY Green roof พร้อมสำหรับการปลูกพืช

ยุบข้อความนี้ลบ

No comments:

Post a Comment