2012-04-18

P.Juan Carlos


KP Page7:58 PM  -  Public
สื่อสเปนวิจารณ์กษัตริย์ฮวน คาร์ลอสล่าสัตว์ที่แอฟริกา ขณะประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ
Mon, 2012-04-16 17:35

แปลโดย ภาคภูมิ แสงกนกกุล
แปลจาก Le Parisien.fr, L’Espagne est en crise, son roi chasse l’éléphant en Afrique, 15.04.2012

เว็บไซต์ Le Parisien ของฝรั่งเศสรายงานว่าฮวน คาร์ลอส กษัตริย์แห่งสเปนทรงมีอาการดีขึ้นจากพระอาการสะโพกหักที่ประเทศบอตสวานา หลังจากที่ทรงรับการผ่าตัดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แพทย์รักษาโดยการผาตัดใส่ อวัยวะเทียมให้ และระบุว่า “พระอาการของเป็นที่น่าพอใจ” อย่างไรก็ตามข่าวเกี่ยวกับพระองค์กลับไม่จางหายไปตามพระอาการ เพราะชาวสเปนเริ่มตั้งข้อสงสัยถึงความเหมาะสมที่พระองค์ออกไปล่าช้างที่ แอฟริกาในขณะที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติ

ตามรายงานข่าวของสเปน กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส พระชนมายุ 74 พรรษา เสด็จไปบอตสวานาพร้อมกับคณะเพื่อล่าช้าง โดยเป็นที่เข้าใจว่า บอตสวานาอนุญาตให้มีการล่าช้างได้โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมระหว่าง 7,000 ถึง 30,000 ยูโร (ประมาณ 300,000 บาท ถึง 1,300,000 บาท) และแม้ว่าราชสำนักจะปฏิเสธข่าวดังกล่าว และยืนยันว่าพระองค์เสด็จประพาสส่วนพระองค์ กระนั้นก็ตาม หนังสือพิมพ์หลายฉบับตีพิมพ์ได้พากันตีเผยแพร่ภาพของพระองค์เมื่อปี 2549 ที่ทรงฉายโดยประทับยืนถือปืนอยู่หน้าซากช้าง

ภาพที่กษัตริย์ออกไปล่าช้างที่แอฟริกาในขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจดำเนินอยู่ในประเทศเรายั่วยุให้เกิดปัญหากับคนสเปน” “ภาพที่ไม่แยแสและทรงออกไปเล่นสำราญส่วนพระองค์ ในฐานะประมุขของประเทศแล้วไม่ควรแสดงออกมา” พาด หัวข่าวของหนังสือพิมพ์เอียงขวาอย่าง El Mundo ระบุ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ขิ่งขึ้นอีก เพราะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศสเปนต้องแถลงนโยบายรัดเข็มขัดอย่างไม่ เคยมีมาก่อน

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กษัตริย์ฮวน คาร์ลอสได้เรียกร้องข้าราชการให้รัดเข็มขัดและทำงานหนักเพื่อแสดงตนเป็น ตัวอย่าง ข้อเรียกร้องนี้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวที่ ราชบุตรเขยของกษัตริย์คาร์ลอส Inaki Urdangarin เข้าไปพัวพันกับคดีคอร์รัปชั่นที่ส่งผลให้ต้องขึ้นศาลเมื่อกุมภาพันธ์ที่ ผ่านมา

ความเคลือบแคลงต่อการประพาสต่างประเทศเป็นการส่วนพระองค์

Le Parisien ระบุว่า ความกังวลที่จะปกป้องภาพลักษณ์ของราชวงศ์ ทำให้ราชสำนักยกเลิกพิธีการประจำปีในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และแสดงความโปร่งใสโดยการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของราชวงศ์เป็นครั้งแรกต่อ สาธารณชน แต่สำหรับหนังสือพิมพ์ El Pais แล้วมันยังไม่พอ ยังคงมีความเคลือบแคลงต่อกรณีการเสด็จไปต่างประเทศเพื่อท่องเที่ยวส่วนตัว แต่กลับไปในฐานะประมุขของรัฐ “ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่เคยรายงานต่อรัฐบาล ต่อสภาหรือต่อสาธารณชน”

หนังสือพิมพ์อนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมอย่าง ABC พาดหัวข่าววันอาทิตย์ว่า “เป็นปีที่รุนแรงที่สุด” ของกษัตริย์ตั้งแต่ทรงครองราชย์เมื่อปี 2518 ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังมีรายงานข่าวด้วยว่า Felipe Juan Marichalar Bourbon นัดดาของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสวัย13ปี ได้รับบาดเจ็บที่เท้าขวาจากการฝึกยิงปืน ซึ่งการฝึกยิงปืนนี้ได้รับอนุญาตเฉพาะคนที่อายุ 14 ปีขึ้นไป

กษัตริย์ชราภาพ
Le Parisien ระบุว่า นี่เป็นครั้งที่สี่ในรอบสองปีที่กษัตริย์ฮวน คาร์ลอสทรงรับการผ่าตัด โดยครั้งแรกนั้นทรงรับการผ่าตัดเนื้องอกไม่ร้ายแรงที่ปอดเมื่อพฤษภาคม 2554 และ ผ่าตัดใส่เข่าขวาปลอมและผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเอ็นร้อยหวายเมื่อเดือนกันยายน และในเดือนพฤศจิกายนพระองค์ใส่แว่นดำเพื่อปิดบังร่องรอยฟกช้ำที่ตา อุบัติเหตุเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพของกษัตริย์ชราภาพพระองค์นี้ และเกิดคำถามกับชาวสเปนในช่วงเปลี่ยนผ่านถ่ายทอดอำนาจให้กับองค์รัชทายาท เจ้าชาย Felipe ซึ่งใกล้เข้ามาทุกที

นี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อระบอบกษัตริย์ในอนาคต ในประเทศที่ผลโพลระบุว่าชาวสเปนให้ความนิยมต่อ ฮวน คาร์ลอสในลักษณะตัวบุคคลมากกว่าสถาบัน หรือนัยหนึ่งพวกเขาเป็นพวก “ฮวน คาร์ลอส นิยม” มากกว่า “กษัตริย์นิยม”

ภาพถ่ายเมื่อปี 2549 ของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส แห่งสเปน ถ่ายคู่กับซากช้างที่บอตสวานาเมื่อปี 2549 ภาพนี้ถูกสื่อมวลชนสเปนหลายฉบับนำมาตีพิมพ์ซ้ำเมื่อวันอาทิตย์ (15 เม.ย.) (ที่มา: Le Parisien)

Source : http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40090 

KP Page7:55 PM (edited)  -  Public
Pavin Chachavalpongpun shared a link.Today
กษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ของสเปน ถูกประนามกรณีการล่า (และสังหาร) ช้างในอัฟริกา (เยี่ยงงานอดิเรก) ซึ่งเพิ่งถูกเปิดโปงต่อสาธารณชน ประเด็นนี้ แม้ผู้ล่าจะไม่ใช่กษ้ตริย์ก็สมควรถูกประนาม แต่พอเป็นกษัตริย์แล้วยิ่งไม่น่าให้อภัยเข้าไปใหญ่ แทนที่จะทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ดี กลับทำตัวน่ารังเกียจ
http://www.guardian.co.uk/world/2012/apr/15/spain-king-juan-carlos-hunting

KP // ฮวน คาลอส มีคุุณต่อสเปน ในฐานะของการต่อต้านการรัฐประหารในปี 1981


ลอร์ดจีจีี้ บีบตรูดหมีด้วยมือเปล่า
เรื่องที่ King Juan carlos ไม่รับรองกานรัฐประหารครานั้น กับเรื่องครานี้ พิสูจน์ได้ชัดเจนแล้วว่า ผู้ที่ดำรงค์ตำแหน่งประมุขของรัฐ สามารถชื่นชมและวิจารน์การกระทำที่ไม่เหมาะสม(ผิดกฏหมาย)ได้อย่างชอบธรรม

แต่ไม่ใช่แถวนี้ T^T

https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/223131301121829
Spain's King Juan Carlos under fire over elephant hunting trip »
Juan Carlos's expensive trip to Botswana – from which he was flown home injured – arouses anger in recession-hit country

Voice TV5:57 PM  -  Public
นักสิทธิสัตว์เรียกร้องกษัตริย์สเปนคืนตำแหน่งปธ.WWF
นักสิทธิสัตว์เรียกร้องกษัตริย์สเปนคืนตำแหน่งปธ.WWF »
กลุ่มนักคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ในสเปน รวมตัวกันหน้าโรงพยาบาลที่กษัตริย์ของสเปนพักรักษาพระวรกาย หลังบาดเจ็บจากการล่าสัตว์ โดยเรียกร้องให้พระองค์คืนตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์กองทุนสัตว์ป่าโลก กลุ่...
KP Page8:28 PM  -  Public
อุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขัดขวางย่างก้าวประชาธิปไตยสเปนยังคงอยู่ครบถ้วนเหมือนสมัยฟรังโก้ครองอำนาจ ได้แก่สถาบันทางอำนาจทั้ง 4 ประเภทคือ

กองทัพเต็มที่ด้วยทหารขวาจัดที่พร้อมจะทำรัฐประหาร
ศาสนจักรโรมันคาธอลิกที่นิยมความรุนแรงและมีเครือข่ายลึกลับโดยเฉพาะกลุ่ม Opus Dei (กลุ่มที่นิยาย Da Vinci Code ระบุว่าเป็นผู้ร้ายครองโลก)ที่มีอายุทำการยาวนานมากกว่า 200 ปีแล้ว
กลุ่มนิยมกษัตริย์ที่ต่อต้านรัฐสภาและการเลือกตั้งทุกชนิดกลุ่มปัญญาชนอนุรักษ์ที่เกลียดชังขบวนการกรรมกร ลัทธิสังคมนิยม และต่างชาติ

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://siamfed.com/?p=101
โมเดลสเปน สร้างประชาธิปไตย กลยุทธ์ฝ่าข้ามภูเขา 4 ลูก | SIAMFED »
โมเดลสเปน สร้างประชาธิปไตย. กลยุทธ์ฝ่าข้ามภูเขา 4 ลูก. ศิวะ รณยุทธ์. 17 เมษายน 2552 ………………… สเปน เคยเป็นชาติหนึ่งในโลกที่นักรัฐศาสตร์ร่วมลงความเห็นพ้องกันว่า มีวัฒนธรรมการเมืองที่ไม่เหมาะจะเป็นประชาธิ...

KP Page9:32 PM (edited)  -  Public
หึหึ ... Spain รวยกว่าไทยแน่นอน แม้ว่าตอนนี้จะเจ๊กอั๊กก็ตาม ... กษัตริย์สเปน รับเงินจากประชาชนปีละ 12 ล้านบาท ซึ่งรวมกับเงินค่าใช้จ่ายสำหรับปฎิบัติกรณียกิจ

... ส่วนตอแหลแลนของเรา รับไปเท่าไหร่ ใครรู้ช่วยบอกที มีทั้งงานส่วนตัว งานราษฏร์ งาน PR งานทวงบุญคุณ สารพัดงานที่ชนชาวตอแหลแลนต้องตอบแทน จะได้สำนึกในบุญคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ จนกว่าจะตายจากกันไปข้างหนึ่ง

... ฮ่วย ทุเรศสิ้นดี ...
http://thaienews.blogspot.com/2011/12/12.html
http://prachatai.com/journal/2012/03/39614
Thai E-News: สเปนเปิด"รายได้"ราชวงศ์เป็นครั้งแรก หลังกระแสสังคมกดดัน คิงคาร์ลอสรับ"12 ล้านบาท/ปี »
ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทยที่คุณไม่อาจหาอ่านได้จากสื่อ หยัดยืนชูธงสัจธรรมโต้กระแสทวน ปรับขบวนก้าวรุดไป สู่ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตย ประเทศไทยต้องมีธรรม. เปิดจองพร้อมกันทั่วโลก หนังสือต้องอ่าน โดยนักเขีย...

KP Page8:41 PM  -  Public
เรารักการรัฐประหาร · 160 like thisSeptember 29, 2011 at 5:55pm ·
รัฐประหารสเปน แต่น่าเสียดายที่ทำไม่สำเร็จ เพราะอะไร ดูช่วงหลัง
LA IMAGEN DE TU VIDA - El 23F (1981)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=197779903626763&id=221030824624964

50 aniversario Televisión Española (TVE) "La imagen de tu vida" GOLPE DE ESTADO (23 de Febrero de 1981) Durante la sesión de investidura de Leopoldo Calvo Sotelo, el teniente coronel Antonio Tejero irrumpe en el Congreso de los Diputados con varios soldados. Las cámaras de televisión fueron testigos del golpe, hecho que hizo que las imágenes dieran la vuelta al mundo. Tropas golpistas ocuparon ese día las instalaciones de Televisión Española. Afortunadamente la intervención que hace el Rey por la madrugada desmarcándose de los golpistas echa por tierra este atentado contra una entonces jóven democracia. Días después, el pueblo español sale a las calles manifestándose y reivindicando la democracia.


KP Page8:36 PM  -  Public
สหภาพยุโรปได้สร้างกฎเหล็กขึ้นมาสำหรับชาติสมาชิกและคู่ค้าทั่วโลกเรียกว่า “ฉันทามติบรัสเซลส์” (Brussels Concensus) ที่ระบุว่า สหภาพยุโรปจะไม่คบค้ากับชาติที่มีรัฐบาลเป็นเผด็จการทุกรูปแบบ โอกาสที่สเปนจะกลับไปสู่ยุคเผด็จการขวาจัดอีกจึงกลาย เป็นแค่ตำนานในฝัน อย่างมากจะเป็นได้คือขวาประชาธิปไตยเท่านั้น

http://www.social-europe.eu/2010/08/two-decades-of-the-brussels-consensus/
Two decades of the Brussels Consensus — Social Europe Journal »
There was a time when progressive economists derided the 'Washington Consensus', that infamous combination of deflationary fiscal policy, deregulation and privatisation which the Fund and the ...


KP Page8:30 PM  -  Public
เที่ยงวันของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 คณะทหารขวาจัดนำโดยอันโตนิโอ เทเฮโร นำรถถังและทหารติดอาวุธครบ พากันเข้ายึดรัฐสภาขณะมีการประชุม ประกาศล้มรัฐธรรมนูญ จับกุมนักการเมืองในสภาควบคุมตัว ในขณะที่ประชาชนสเปนจำนวนมากที่รักประชาธิปไตย ประกาศนัดชุมนุมต่อต้านตามท้องถนน

การกระทำดังกล่าว ศาสนจักรโรมันคาธอลิกที่อนุรักษ์และสนับสนุนพวกขวาจัดมาตลอดวางเฉย เพราะนโยบายของวาติกันขณะนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความพยายามสร้างภาพเป็นผู้สนับสนุนเสรีภาพและประชาธิปไตยของสันตะปาปาจอห์น พอลที่ 2 ที่มาจากโปแลนด์ทำให้พวกขวาจัดเสียแนวร่วมนี้ไปอย่างมาก

ทหารขวาจัดยังเชื่อว่า กษัตริย์ฮวน คาร์ลอสจะสนับสนุนพวกเขา แต่คืนนั้นกษัตริย์กลับแต่งเครื่องแบบนายทหารเต็มยศออกโทรทัศน์ ประกาศว่า การทำรัฐประหารผิดกฎหมาย และต่อต้านประชาธิปไตย จึงไม่ทรงสนับสนุนการกระทำดังกล่าว หลังจากนั้นหนึ่งชั่วโมง คณะรัฐประหารก็มอบตัวยอมแพ้ราบคาบแก่ประชาชนเรือนล้านที่ออกมาล้อมรัฐสภาและแยกในเมืองมาดริดเอาไว้

หลังจากนั้นอีก 6 เดือน รัฐบาลชั่วคราวได้จัดเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลลัพธ์คือ แรงสนับสนุนเคลื่อนตัวไปสู่พรรคสังคมประชาธิปไตยอย่างท่วมท้น

หลังจากทรงทราบผลการเลือกตั้ง กษัตริย์ ฮวน คาร์ลอส ทรงเรียกตัวนาย ฟิลิปเป้ กอนซาเลซ ผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยสเปนเข้าพบอย่างไม่เป็นทางการ พร้อมตั้งคำถามว่า “พรรคของคุณต้องการจะยกเลิกสถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นสาธารณรัฐหรือไม่?”

นายกอนซาเลซตอบทันทีว่า”ตราบใดที่ต้นทุนการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ต่ำกว่าการเป็นสาธารณรัฐ พรรคของข้าพเจ้าจะยังสนับสนุนให้สเปนมีสถาบันกษัตริย์ต่อไปไม่มีกำหนด” คำตอบแบบมีเงื่อนไขดังกล่าวซึ่งทำความพอใจให้กับทุกฝ่ายนี้ แพร่กระจายไปจนเป็นที่เลื่องลือ และถูกนำไปใช้อ้างอิงไปทั่วโลกอย่างผิดๆถูกๆจนถึงปัจจุบัน


“ ราชบังลังค์สเปน ไม่สามารถอดทนอดกลั้น
ต่อการกระทำ หรือความพยายามในรูปแบบใด
ที่ยุติกระบวนการประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ...ที่ประชาชนสเปนให้ความเห็นชอบในการลงมติ ”
สุรเสียงพระเจ้าฆวน คาร์ลอส ที่ ๑ มีพระราชดำรัสปฏิเสธการรัฐประหาร
http://independentppr.blogspot.com/2011/05/1981.html 

KP Page  

ประเทศสเปนก็จะมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องนี้ที่พระมหากษัตริย์จะพ้นไปจากความรับผิด ห้ามฟ้องร้อง ห้ามกล่าวโทษ ถามว่าเขาตีความอย่างบ้านเราไหม เขาไม่ได้ตีความอย่างบ้านเรา อย่างที่ได้พูดถึงไปแล้วว่าบัญญัติให้สอดคล้องกับหลักที่ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทำอะไร มีคนอื่นทำให้ แต่ไมได้หมายความว่าจะแตะต้อง พูดถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์ในทางสุจริตไม่ได้เลย

ทีนี้มันมีคดีหนึ่งที่เกิดขึ้น มีการฟ้องร้องกันไปที่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป คนที่ฟ้องเป็นคนสเปนคดีที่เกิดขึ้นข้อเท็จจริงสั้น ๆ เลยก็คือ เกิดขึ้นในยุคกษัตริย์ฮวน คาลอส มีอยู่วันหนึ่งเป็นวันที่กษัตริย์ไปเปิดศูนย์การไฟฟ้า แคว้นบาสก์ ในปี ค.ศ.2003 ผู้กล่าวถึงกษัตริย์เป็นโฆษกของกลุ่มสมาชิกรัฐสภา ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เป็นความน่าละอายทางการเมืองอย่างแท้จริง ที่กษัตริย์ฮวน คาลอสเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยพิทักษ์ความปลอดภัยของหน่วยพลเรือนและหน่วยทหารสเปน แล้วปรากฏว่ารัฐบาลสเปนได้จำคุกผู้พยายามปลดปล่อยแคว้นบาสก์ จำคุกแล้วก็มีการทรมาน

ข้อเท็จจริงก็คือ บุคคลผู้นี้พูดในทำนองบอกว่ากษัตริย์ไปสนับสนุนรัฐบาลสเปนในการกดขี่นักโทษชาวบาสก์ที่ถูกกักขังอยู่ เหตุการณ์เกิดขึ้นราวปีค.ศ. 2003 รัฐบาลสเปนจึงฟ้องบุคคลผู้นี้ในฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรง ฟ้องศาล ปรากฏว่าศาลสเปนสั่งจำคุก บอกว่าเป็นเรื่องที่เป็นการหมิ่นประมาทจริง ๆศาลสเปนตัดสินลงโทษจำคุก 1 ปี ระงับสิทธิในการลงสมัครเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตาม รอลงอาญาไว้ คือยังไม่จำคุกทันที แต่มีการตัดสินลงโทษจำคุก 1 ปี ก็มีการอุทธรณ์ฎีกาขึ้นไป ศาลฎีกาก็ยืนตามคำนี้ว่าจะต้องลงโทษ มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญก็ยืนยันว่ามาตราที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงนี้ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แต่ปรากฏว่ามันไม่จบแค่ตรงนั้น บุคคลที่โดนฟ้องร้องได้มีการร้องเรียนคำพิพากษาของศาลสเปนต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ปรากฏว่าศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าศาลสเปนตัดสินเป็นเรื่องที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เขาให้เหตุผลที่น่าสนใจที่น่าจะเทียบเคียงกันได้กับมาตรา 8 ของเรา ขออนุญาตอ่านนะคะ “วันที่ 3 กรกฎาคม ปี ค.ศ.2006 ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปพิจารณาเห็นว่าหลักการที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ในปัญหาว่าด้วยการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดแก่การให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับได้ในกรณีระบอบราชาธิปไตยเช่นที่เป็นอยู่ในสเปนซึ่งพระองค์ดำรงสถานะในทางสถาบันอันมีลักษณะพิเศษ แม้ว่าสถาบันกษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐ แต่สถานะซึ่งได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายนี้ ย่อมมิอาจปกป้องพระองค์จากข้อวิจารณ์อันชอบธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างรัฐธรรมนูญมเชื่อรแทนยรัฐธรรมนูยการมบัติ จึง็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวงแห่งรัฐสเปนได้ ศาลอุทธรณ์แห่งแคว้นบาสก์ได้อ้างเหตุผลในเรื่องนี้ไว้ว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นย่อมมีได้ในการวิพากษ์วิจารณ์โครงสร้างเช่นว่านี้ แต่ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ยืนยันว่าเสรีภาพดังว่านี้ย่อมมีค่ามากยิ่งขึ้นไปอีกในกรณีที่แสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงหรือคัดค้านต่อระบบที่มีอยู่ของสเปน ข้อเท็จจริงที่ว่ากษัตริย์ย่อมปราศจากความรับผิดใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดในทางอาญา โดยผลของรัฐธรรมนูญสเปนที่บัญญัติไว้แล้ว จะให้มีผลรวมถึงการจำกัดคำวิพากษ์วิจารณ์โดยอิสระต่อความรับผิดของกษัตริย์อันมิมีขึ้นได้ในทางสถาบัน หรือแม้ในทางสัญลักษณ์ด้วยนั้น หาอาจกระทำได้ไม่ ทั้งนี้ ภายในขอบเขตอันเป็นไปเพื่อปกป้องพระเกียรติในฐานะที่เป็นประมุข ซึ่งเป็นบุคคลคนหนึ่ง”

สรุปได้อย่างนี้ว่าศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปยืนยันชัดเจนว่าบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันกับมาตรา 8 ของเราดังตัวอย่างของประเทศสเปน แท้ที่จริงแล้วเป็นบทบัญญัติแค่เพียงบอกหรือว่ายืนยันสถานภาพของพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่มิใช่บทบัญญัติที่จะมาปกป้องคุ้มครองไม่ให้ประชาชนในประเทศนั้นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ในเชิงสถาบันหรือในเชิงสัญลักษณ์ โดยสรุปก็คือว่ามาตรา 8 นี้ไม่ได้มีผลในการที่จะเอามาตีความมาตรา 112 เลย ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลย สรุปก็คือว่าประชาชนคนไทย ในทางที่ถูกต้องแล้ว ควรที่จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย
"รัฐประหาร"... | Facebook »
Benz Gawain ได้เขียน: "รัฐประหาร" คือสัญลักษณ์ของความเป็นไทย... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับ Benz Gawain และคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก


KP Page 

Benz Gawainposted toเรารักการรัฐประหาร
September 27, 2011
"รัฐประหาร" คือสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพการรัฐประหาร ด้วยความภาคภูมิใจในความหน้าด้าน และความกระสันอยากได้อำนาจของนายพลไทย



https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=221043204623726&id=221030824624964 
รัฐประหารนิยม Coup d" etat-ism »
รัฐประหารนิยม Coup d" etat-ism. โดย นพ.เหวง โตจิราการ มติชนรายวัน วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10625. เมื่อเร็วๆ นี้ผู้ที่มีบทบาทในการก่อให้เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550...

KP Page8:20 PM (edited)  -  Public
โทษที่แรงมาก ๆ ไม่ว่าจะ 20 ปี 10 ปี 8 ปี หรืออะไรก็ตาม ในที่สุดก็อภัยโทษอยู่ดี จะไปลดโทษทำไม?

วาด รวี:
วิธีคิดเรื่องการอภัยโทษ เป็นวิธีคิดแบบระบอบกษัตริย์ แต่ในระบอบประชาธิปไตย คนต้องมีสิทธิเสรีภาพ การอภัยโทษทีหลัง แต่ลงโทษหนักแบบไม่ได้สัดส่วน ผิดหลักความยุติธรรมและละเมิดสิทธิเสรีภาพ ประเด็นอยู่ที่เราไม่เอาการตบหัวแล้วลูบหลัง เราเอาสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก

ถ้าบริสุทธิ์จริงทำไมไม่ไปต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทยหรืออย่างไร?

วาด รวี:
ที่ผ่านมาศาลไทยไม่เคยต่อต้านการรัฐประหารเลย นอกจากไม่เคยต่อต้าน ยังคล้อยตามและยอมรับ นอกจากคล้อยตามและยอมรับ ยังมีผู้พิพากษาในระดับสูงไปรับใช้ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของศาลไทยสะท้อนอุดมการณ์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ขณะที่คดีความที่เกิดจากการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กลับถือสาเอาความอย่างจริงจังและลงโทษอย่างรุนแรง มันสะท้อนว่าศาลไทยมีอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบเก่า จะไม่มีความเชื่อมั่นในความยุติธรรมของศาลไทยจนกว่าศาลไทยจะมีอุดมการณ์ที่เป็นประชาธิปไตยและเคารพสิทธิเสรีภาพ
http://www.ccaa112.org/web/?p=421 
FAQ กับ “ครก. 112” ตอนที่2 | คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 »
ทำไมต้องคิดตามฝรั่ง คนไทยมีศรัทธาในแบบของเราเองไม่ได้หรือ? วาด รวี: คนไทยคิดตามฝรั่งมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคำนวณสุริยุปราคา นั่นก็คือเลียนตามฝรั่ง คืออย่างนี้ โครงสร้างการ...


KP Page8:17 PM (edited)  -  Public
จริงๆ แล้วการแก้ไขมาตรา112 เป็นแค่ข้ออ้างของพวกไม่เอาเจ้า เพราะต้องการดูหมิ่นเจ้าอย่างเสรี?
อ.ยุกติ: จริง ๆ เรื่องเอาเจ้า ไม่เอาเจ้า ผมคิดว่ามันไม่เป็นประเด็นอีกต่อไปแล้ว เพราะคณะผู้เสนอให้แก้ไข ไม่ได้เสนอให้มีการลบล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ข้อเสนอของคณะรณรงค์มีการเสนอว่าให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นข้อตกลงที่ผมคิดว่าพวกเราเห็นพ้องต้องกัน

อย่างที่ได้เรียนเมื่อสักครู่นี้ก็คือว่าเรากลับไปไกลแค่ 2475 ซึ่งมันตลกนะครับ เรากำลังก้าวไปข้างหน้า แต่จริง ๆ แล้วเราจะต้องย้อนกลับไป กลับไปรื้อฟื้นในสิ่งที่คณะราษฎรได้เคยทำมาแล้ว แต่ว่าที่ผ่านมาประวัติศาสตร์ไทยได้ทำลายญัตติของคณะราษฎรไปเสีย ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตก็คือว่า ประเด็นที่ผมเรียนเมื่อสักครู่นี้ว่าสิทธิในการแสดงออก และเสรีภาพในการแสดงออกมันมีไม่เท่ากัน เมื่อมีไม่เท่ากันแสดงว่ากฎหมายนี้ไม่ได้ให้หลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพอีกต่อไป เพราะว่าถ้าคุณอ่านข้อมูลในวิกิลีกส์ คุณก็จะพบว่ามันมีคนบางกลุ่มที่มีชื่อเสียงในสังคม วิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯได้โดยเปิดเผยด้วยวิธีของเขา ในขณะที่คนอื่นวิจารณ์ไม่ได้ อันนี้หมายความว่ามีคนบางคนเท่านั้นหรือเปล่าที่จะมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ
ถึงที่สุดแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ และควรจะทำ แต่ว่าทำอย่างไรให้สามารถทำในที่เปิดเผย แล้วทำให้ขนาดไหนก็ตาม ผมคิดว่ามันไม่ได้มีผลที่จะทำลายสถาบันกษัตริย์ เพราะว่ารัฐธรรมนูญก็รับรองอยู่ ทุกคนที่ดำเนินการในการขอแก้ไขในครั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลที่จะพิทักษ์ทั้งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและปกป้องสถาบันกษัตริย์

http://www.ccaa112.org/web/?p=170 
FAQ กับ “ครก. 112” ตอนที่1 | คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 »
คำถามที่พบบ่อยในการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112. นักวิชาการและนักเขียนซึ่งร่วมกันเสนอแก้ไข ม.112 ในนาม “คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112 (ครก. 112)” ร่วมตอบคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการรณรงค์ให้แก้ไขมาตราดังกล่าว เช...

No comments:

Post a Comment