2012-04-19

P.นิทานเรื่องประชาธิปไตยแบบไทย ๆ


KP Page

Apr 19, 2012  -  Public
Kasian Tejapira shared a link.
Yesterday
นิทานเรื่องประชาธิปไตยแบบไทย ๆ (๑): ภาวะธรรมชาติและการทำสัญญาประชาคมก่อตั้งรัฐ/สังคม
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

(ข้อคิดที่นำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้มีที่มาจากฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ของคุณปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโทรัฐศาสตร์ ที่กำลังค้นคว้าทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ผมต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ส่วนการตีความย่อมเป็นความรับผิดชอบของผมเอง)

หากสังเคราะห์จากข้อมูลกรอบคิดประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่คุณปฤณประมวลคัดสรรเรียบเรียงมาอย่างเป็นระบบระเบียบ (แม้ว่าเราพอจะเห็นเค้ารอยข้อเสนอทำนองเดียวกันนี้มาก่อนแล้วในงานของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, ธงชัย วินิจจะกูล, สายชล สัตยานุรักษ์, เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวณิช, สมเกียรติ วันทะนะ เป็นต้น) ก็พอกล่าวได้ว่าฐานคิดประชาธิปไตยแบบไทยที่ล้อเลียนแล้วพลิกกลับตาลปัตร (พลิกคดี?) แนวคิดเสรีประชาธิปไตยของตะวันตก วางอยู่บนกลเม็ดวาทกรรม ๒ อย่างคือ

๑) virtual representation of the people via formal rituals i.e. อเนกนิกรสโมสรสมมุติ (ขณะที่ประชาธิปไตยตะวันตกใช้การเลือกตั้งเป็นที่มาของการเลือกผู้แทน)

๒) virtual limitation of power by Dhamma i.e. หลักทศพิธราชธรรมและตำราพระธรรมศาสตร์ (ขณะที่ประชาธิปไตยตะวันตกจำกัดอำนาจรัฐด้วยหลักสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลพลเมืองและรัฐธรรมนูญ)

งานเขียนที่สะท้อนตำนานฐานรากภาวะธรรมชาติและการทำสัญญาก่อตั้งรัฐ/สังคม ของประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ปรากฏในข้อเขียนของศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ประเภทปรัชญา สาขาวิชาตรรกศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง "มาจาก-เป็นของ" (๒๕๔๐) ดังที่ท่านได้อธิบายไว้ว่า:

"สาเหตุที่รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ใช้ว่า “มาจาก” นั้น คงมีที่มาจากข้อความใน “อัคคัญญสูตร” คัมภีร์ทีฆนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก ที่ได้กล่าวถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดมีกษัตริย์หรือพระราชาขึ้นมาในโลกไว้ว่า เดิมทีเดียวมนุษย์ทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน แต่ในหมู่มนุษย์นั้นก็มีทั้งคนดี-คนชั่ว คนฉลาด-คนโง่ คนขยัน-คนเกียจคร้าน ฯลฯ ต่อมา คนบางคนที่เกียจคร้าน ก็ไปลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น เพราะขี้เกียจทำมาหากิน ประชาชนจึงได้ประชุมกัน แล้วคัดเลือกบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะดีที่สุด เฉลียวฉลาดและมีคุณธรรม ขึ้นเป็นหัวหน้า โดยมอบอำนาจในการตัดสินคดีต่าง ๆ ได้เต็มที่ บุคคลผู้นี้เรียกกันว่า ผู้ที่ประชาชนสโมสรสมมุติให้เป็นผู้ปกครอง และมอบอำนาจของตนให้หัวหน้าผู้นี้ใช้แทนตนได้อย่างเด็ดขาด เมื่อบุคคลที่ประชาชนสโมสรสมมุติให้เป็นหัวหน้านี้ตัดสินคดีต่าง ๆ ได้โดยชอบธรรมและยุติธรรมเป็นที่ชื่นชมยินดีของประชาชน จึงได้รับนามว่า “ราชา” แปลว่า “ผู้ที่ทำให้ประชาชนพอใจ” และมอบอำนาจให้ดูแล จัดสรรที่ทำไร่นาให้แก่ประชาชนโดยยุติธรรม ต่อมาจึงได้นามว่า “กษัตริย์” คือเป็น “เจ้าแห่งเกษตร” ซึ่งก็คือ “พระเจ้าแผ่นดิน” นั่นเอง"

ข้อสังเกตก็คือ

๑) กรอบการอ้างอิงตำนานฐานรากของประชาธิปไตยแบบไทย ๆ คือพุทธศาสนา

๒) ลักษณะของตำนานฐานรากที่เล่าละม้ายคล้ายคลึงกับทฤษฎีสัญญาประชาคมของ Thomas Hobbes ในหนังสือ Leviathan ซึ่งรองรับระเบียบการเมืองแบบสัมบูรณาญาสิทธิ์ (ดังคุณจำนงค์เขียนย้ำว่าประชาชน "มอบอำนาจ", "ยกอำนาจ" "ถวายอำนาจของตนให้เป็นสิทธิ์ขาด" แก่พระมหากษัตริย์ ฯลฯ)

๓) แม้จะอ้างอิงถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ (กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ประชาชนเปลี่ยนจากไพร่กลายเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิเสรีภาพของตนเอง ฯลฯ) แต่หลายตอนคุณจำนงค์เขียนราวกับว่าการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วนั้น เหมือนไม่เคยเกิดขึ้นเลย เพราะไม่ปรากฏผลสืบเนื่องอันเกี่ยวแก่อำนาจอธิปไตยจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕ เลย คล้ายกับว่าหลักอำนาจอธิปไตยเดิมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เคยเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้นอยู่ในความเข้าใจของคุณจำนงค์ (ผมนึกขึ้นได้ว่าอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ก็เคยวิจารณ์ข้อคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของอ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไว้ทำนองเดียวกันนี้ด้วย)

ถ้าเชื่อตำนานฐานรากดังกล่าว ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ก็สมเหตุสมผลและ"การถวายพระราชอำนาจคืน" แก่พระมหากษัตริย์ก็เป็นสิ่งที่ทำได้โดยชอบไม่ขัดตรรกะเหตุผลภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1002

Source : https://www.facebook.com/kasian.tejapira/posts/336609926410729 
 

KP Page

Apr 19, 2012  -  Public
Kasian Tejapira
11 hours ago
นิทานเรื่องประชาธิปไตยแบบไทย ๆ (๒): มหาสมมุติที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
(โน๊ตชุดนี้พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ของคุณปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโทรัฐศาสตร์ ที่กำลังค้นคว้าทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ผมต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ส่วนการตีความย่อมเป็นความรับผิดชอบของผมเอง)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้สัมภาษณ์นายซิมเมอร์แมน ผู้แทนนิตยสาร Look ของอเมริกา ซึ่ง คุณธานินทร์ กรัยวิเชียร อ้างอิงมาลงในหนังสือ "พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย" ว่า:

“โดยแท้จริงแล้ว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ก็โดยที่ประชาชนเลือกกันขึ้นมา ดังนั้น หากประชาชนของพระองค์ไม่ปรารถนาในพระองค์อีกต่อไปแล้ว ประชาชนนั่นแหละจะเป็นผู้อัญเชิญเสด็จให้พระองค์ออกไป และก็เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า เมื่อนั้นก็จะทรงเป็นคนว่างงานนั่นเอง”

ที่ตรัสว่า "...ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ก็โดยที่ประชาชนเลือกกันขึ้นมา" นั้นย่อมมิได้หมายถึงการลงสมัครรับเลือกตั้งปกติธรรมดาของระบบการเมือง หากทรงมุ่งหมายถึงคติ "อเนกนิกรสโมสรสมมุติ" ของราชประเพณีไทยแต่เดิม ดังที่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิบายไว้ในปาฐกถาเรื่อง "ประชาธิปไตยแบบไทย" ณ หอประชุม ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อปี ๒๕๐๘ ว่า

"“ตามพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกที่ข้าพเจ้ากล่าวอ้างมาข้างต้นนั้นเห็นได้ชัดว่า ประชาชนมอบเศวตฉัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอได้ทรงรับแล้ว แผ่นพระราชอาณาปกเกล้าฯ ประชาชนเป็นพระบรมนาถ จัดการคุ้มครองรักษาป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป แล้วพระมหากษัตริย์ก็ทรงรับตามนั้น ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เป็นเสมือนสัญญาระหว่างประชาชนผู้อยู่ในความปกครองกับพระมหากษัตริย์ผู้ปกครอง

“ยิ่งกว่านั้น พระปรมาภิไธย ตามประเพณีนิยมมีคำว่า อเนกนิกรสโมสรสมมต ซึ่งแปลว่า “ด้วยความยินยอมของที่ประชุมหมู่มาก” จริงอยู่ในกรณีรัชกาลที่ 7 ไม่มีคำที่ว่านี้ แต่เมื่อมีตามประเพณีนิยมก็ถือกันว่าเป็นแบบไทยได้ความยินยอมของประชาชนเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย ดังที่ข้าพเจ้าจะแสดงต่อไป...”

ซึ่งหากจะสืบสาวต้นธารของการอธิบายว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นตัวแทนของมหาชนทั้งมวล ไม่ใช่โดยการเลือกตั้ง หากโดยหลักอเนกนิกรสโมสรสมมุติ แล้ว ย่อมมาจากงานของ Prince Dhani Nivat หรือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ในข้อเขียนสำคัญเรื่อง "The Old Siamese Conception of the Monarchy" (ค.ศ.๑๙๔๖) ความตอนหนึ่งว่า:

“A Siamese monarch succeeds to the Throne theoretically by election. The idea is of course recognizable as coming form the old Buddhist scriptures in the figure of King Mahasammata, ‘The Great Elect’.”

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ฐานรากอย่างหนึ่งของประชาธิปไตยแบบไทยคือข้อถกเถียงเชิง virtual representation of the people via formal rituals (เสมือนการแทนตนประชาชนผ่านพิธีกรรมทางการ) นั่นเอง

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3738758710428&set=p.3738758710428 
 

KP Page

Apr 19, 2012  -  Public
Philippe Vaccaro originally shared this post:
President Obama sits on the bus where Rosa Parks' protest began the historic Montgomery Bus Boycott.


KP Page

Apr 18, 2012  -  Public
Wall Photos
ผีเน่ากับโลงผุ
By: เจเจ สาทร
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=358812174169687&set=a.113695095348064.18095.100001227226028
Add a comment...

KP Page

Apr 18, 2012  -  Public
Wall Photos
‎"..การเกลียดคนคนหนึ่งมากเกินกว่าเหตุ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์แยกแยะว่าส่วนไหนเขาทำถูก ส่วนไหนทำไม่ถูก แต่กลายเป็นว่าทุกอย่างที่ทำผิดหมด จึงอยากถามว่าจะปรองดองอะไร เพราะการปรองดองต้องเริ่มจากความจริงก่อน"
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 18 เม.ย.55

ที่มา : สัมภาษณ์พิเศษ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เข็นนิติราษฎร์ฝ่ากระแส วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7811 ข่าวสดรายวัน http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNakU0TURRMU5RPT0%3D

ขอบคุณที่มาภาพประกอบ bangkokbiznews.com
By: วิวาทะ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=270559799701005&set=a.243596202397365.56873.243575105732808
Add a comment...

KP Page

Apr 18, 2012  -  Public
Wall Photos
เอามาฝากแฟนเพจ..การแต่งกายของผู้นำที่ขึ้นชื่อพัฒนาแล้ว อาิทิเช่น อเมริกา เมื่อมีการเดินทางไปเยือนประเทศใด ก็ต้องแต่งกายให้สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติกัน..แต่น่าแปลก..กลับมีหญิงใจสามานย์ต่ำช้า ที่คอยตามอิจฉาริษาไม่หยุดหย่อน ภาพบน จากเพจบ้านนี้ สีฟ้า..นำไปเสียดสีโดยอ้างว่า นายกแต่งกายกี่เพ้า..โธ่ อีควาย ขนาดกี่เพ้ายังไม่รู้จัก เอามาโยงมั่วซั่ว..มิน่า ผัวถึงตกกระป๋องกลายเป็นอดีตรัฐมนตรีคลั่ง(เงา) ตินั่น วิจารณ์นี่ ไปวันๆ ถุยส์ กระจอกฉิบหาย..ใครเป็นแฟนเพจบ้านนี้..ฝากนำไปบอกมันด้วยนะคะ..ว่า อย่าโชว์โง่ เอามันส์ไปวันๆ ให้มันมีสาระหน่อย มิเช่นนั้น พรรคผัวหัวดอ ก็จะถูกกระทืบจมตรีนลงทุกๆวัน
By: ประชาธิปัตย์ ชื่อเดียว ล่มจมได้ทั้งประเทศ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=393722607315415&set=a.111054625582216.11221.111052175582461
Add a comment...

KP Page

Apr 18, 2012  -  Public
อานนท์ นำภา
จริงๆแล้ว ผมอยากเรียกตัวเองว่า "ทนายสลิ่ม" มากกว่า... อันนี้ดราม่าหน่อยแต่อยากระบายเฉยๆ

เกือบทุกเดือนผมต้องเดินทางไปว่าความคดีท่อแก๊สไทย-มาเลเซีย ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นคดีของสภาทนายความ ทำกับรุ่นพี่ทนายอีกหลายๆคน ถ้าจะพูดกันจริงๆก็ของพี่น้องเสื้อเหลืองก้ได้ และคู่กรณีก็คือนายตำรวจหลายๆคน เหตุเกิดในช่วงรัฐบาลทักษิณ ๑ และอีกกลุ่มก็คือกลุ่มชาวบ้านที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์ทั้งที่ จ.สระบุรี และที่จังหวัดประจวบฯ ทั้งสองกลุ่มไม่ใช่เสื้อแดงแน่นอน แต่ก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากรัฐเหมือนๆกัน

บ่อยครั้งที่ได้รับฟังจากชาวบ้านที่ไม่พอใจรัฐบาลคุณทักษิณผมก็รับรู้ได้นะ เพราะหลายๆนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนา สร้างโรงไฟฟ้า โรงถลุงเหล้ก ฯลฯ มันก็เป็นแนวนโยบายของรัฐจริงๆ และการกระทำที่ละเมิดสิทธิชองชาวบ้านก้เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงรัฐบาลคุณทักษิณจริงๆ... ในส่วนคดีก็ว่ากันไป

ที่กล่าวมานี้เพียงแค่อยากบอกว่า ในทุกรัฐบาลนั้นมันก็มีทั้งเรื่องดี และไม่ดีนั่นแหละ มันไม่สารถบริหารให้ถูกใจทุกคนหรอก ในส่วนที่ดีเราก็สนับสนุน แต่ในส่วนที่มันไม่เข้าท่าเราก็ต้องติติง ซึ่งนี่ก็เป็นความงดงามของวิถีประชาธิปไตย

วันที่ผมไปหย่อนบัตรเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยนั้น เจตจำนงผมคือต้องการยืนยันว่าการสั่งฆ่าคนของรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้นไม่ไม่ถูกต้อง และการช่วยเหลือคดีเสื้อแดงก็เพราะคนเสื้อแดงไม่ได้รับความเป็นธรรม โอเคอาจช่วยได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ผมก็ได้ทำจนเต็มความสามารถแล้ว และอะไรที่มันไม่ไหวจริงผมก้ได้ขอความช่วยเหลือไปยังเพื่อนๆพี่ๆทนายที่ผมเคยร่วมงานแล้ว เราก็ทำกันเต็มที่แล้ว

ทว่าความเห็นตอนนี้ของผมกับพี่น้องเสื้อแดงหลายๆคนมันต่างกัน ผมเห็นว่าควรนิรโทษกรรมให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งหมด แต่ไม่ควรนิรโทษให้ระดับแกนนำทั้งสองฝ่าย รวมทั้งคุณทักษิณด้วย ซึ่งช่องที่จะออกสำหรับคุณทักษิณนั้นควรไปตามข้อเสนอของนิติราษฎร ที่เสนอให้ล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร

เราจะเดินกันไปได้อย่างไรถ้าเรายอมรับให้คนสั่งฆ่าประชาชนพ้นผิดครั้งแล้วครั้งเล่า ผมไม่เข้าใจจริงให้ตายเหอะ

สุดท้ายขอเรียกร้องให้เราเปิดใจฟังข้อเสนอ ขอคัดค้านของคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวการนิรโทษกรรมแบบ "เจ๊ากัน" ทั้งสองฝ่าย และหยุดด่ากันในเรื่องที่มันไม่จริงเอามากๆเสียที

เหนื่อยใจว่ะครับ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=415764575117651&id=100002271364703
Collapse this post

No comments:

Post a Comment