2012-02-18

P.มาตรา 8

KP Page's profile photo
KP Page  -  5:36 PM  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล shared a link.
Tuesday
บทกำหนดเกี่ยวกับกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญประเทศประชาธิปไตย และข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีญี่ปุ่น

กระทู้นี้ เป็นกระทู้ต่อเนื่องเกี่ยวกับประเด็น มาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน ("องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ / ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้") ที่ผมโพสต์ในระยะ 1-2 วันนี้

ข้างล่างนี้ คือบทกำหนดในรัฐธรรมนูญประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ผมไม่รวม ลักเซมเบอร์ก ไว้ด้วย เพราะเป็นประเทศเล็กมาก (พลเมืองครึ่งล้าน) องค์ Grand Duke มีฐานะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย แม้จะได้ชื่อว่าประเทศ constitutional monarchy แต่ผู้สนใจ ดูได้ที่นี่http://www.servat.unibe.ch/icl/lu00000_.html

ขออภัยที่ผมไม่มีเวลาแปลเป็นภาษาไทยให้

ผมอยากตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีญี่ปุ่นอีกเล็กน้อย ดังที่ผมโพสต์ในกระทู้ก่อนนี้ และที่ผมพูดมาหลายครั้งในการดีเบตกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ ผมเห็นว่า ถ้าเราจะ "ศึกษา" หรือ "เอาแบบ" ประเทศใด ผมคิดว่า กรณีญี่ปุ่นเป็นกรณีที่เหมาะสมที่สุด ไม่เพียงเพราะว่า มาตรา 8 ของเรามีต้นกำเนิดมาจากการเลียนแบบ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญเมอิจิ ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ที่สำคัญ จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางเชิงอุดมการณ์แบบเดียวกับไทย ทิศทางการเมืองสำคัญๆ รวมถึงการเข้าร่วมสงครามโลกอันหายนะ ล้วนทำไปภายใต้การอ้างอิงสถาบันกษัตริย์ ไม่ต่างกับที่เราทุกวันนี้ ที่ต้องอ้างอิงสถาบันกษัตริย์ในทุกปริมณฑลของชีวิตสังคม

จะสังเกตได้ว่า ญี่ปุ่น และสเปน เป็น 2 ประเทศที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ละเอียดที่สุด (ทั้งคู่เป็นประเทศฟัสซิสต์ระหว่างสงครามโลก) แต่ญี่ปุ่นมีความละเอียดและรัดกุมมากกว่า และมากที่สุดในบรรดาข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริยในประเทศประชาธิปไตย

เช่น ในหลายประเทศ จะระบุเพียงแค่ว่า The king's person is inviolable; his ministers are responsible (เบลเยี่ยม) หรือ
The King's person is sacred; he cannot be censured or accused. The responsibility rests with his Council. (เนเธอร์แลนด์)

ที่ประเทศเหล่านี้ เพียงกำหนดเท่านี้ เพราะประเพณีประชาธิปไตยของพวกเขาได้สถาปนามั่นคงมาเป็นศตวรรษๆแล้ว นั่นคือ ประเพณีที่ถือว่า การที่กษัตริย์ "ละเมิดมิได้" และ รัฐมนตรี (ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ) เป็นผู้รับผิดชอบนั้น แท้จริง หมายความ (ก) กษัตริย์ไม่มีอำนาจทำอะไร (ข) "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" คือผู้มีอำนาจแท้จริง คือผู้เป็นเจ้าของไอเดีย เจ้าของโครงการ นโยบาย ฯลฯ ที่ประกาศในนามกษัตริย์ การลงนาม "รับสนองพระบรมราชโองการ" ไมใช่แค่การ "ลงนามรับผิดแทน" แบบในกรณีประเทศไทย แม้การกระทำนั้น (เช่น "โครงการในพระราชดำริ" ต่างๆ) เป็นอำนาจจริงของกษัตริย์


ในกรณีญี่ปุ่น เนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวข้างต้น ทำให้สหรัฐและชนชั้นนำเสรีนิยมของญี่ปุ่นหลังสงครามโลก ร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดอย่างชัดเจนและละเอียดว่า จักรพรรดิ ทำอะไรได้

มีการระบุชัดเจนว่า จักรพรรดิจะทำอะไรได้ ก็แต่โดย "การแนะนำและอนุญาต" (advice and approval) ของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น

ผมจึงยืนยัน เหมือนที่ยืนยันเรื่อง 112 (ซึ่งในกฎหมายอาญาญี่ปุ่น เคยมี แต่เลิกไปสิ้นเชิงเช่นกัน) ว่า มาตรา 8 ต้องยกเลิกโดยสิ้นเชิง และถ้าจะเขียน ต้องเขียนในลักษณะที่ชัดเจนแบบนี้ (ดูกระทู้แลกเปลี่ยนกับ อ. Piyabutr Saengkanokkul ข้างล่าง )
........

Belgium
http://www.servat.unibe.ch/icl/be00000_.html

Article 88 [Responsibility]
The King's person is inviolable; his ministers are responsible.
..................................................

Denmark
http://www.servat.unibe.ch/icl/da00000_.html

Section 13 [Responsibility of Ministers]

The King shall not be answerable for his actions; his person shall be sacrosanct. The Ministers shall be responsible for the conduct of the government; their responsibility shall be determined by Statute.

...................................................

Japan
http://www.servat.unibe.ch/icl/ja00000_.html

Article 1 [Symbol of State]
The Emperor shall be the symbol of the State and of the unity of the people, deriving his position from the will of the people with whom resides sovereign power.


Article 4 [Rule of Law for Emperor]
(1) The Emperor shall perform only such acts in matters of state as are provided for in this Constitution and he shall not have powers related to government.
(2) The Emperor may delegate the performance of his acts in matters of state as may be provided by law.


Article 7 [Functions]
The Emperor, with the advice and approval of the Cabinet, shall perform the following acts in matters of state on behalf of the people:
1. Promulgation of amendments of the constitution, laws, cabinet orders and treaties.
2. Convocation of the Diet.
3. Dissolution of the House of Representatives.
4. Proclamation of general election of members of the Diet.
5. Attestation of the appointment and dismissal of Ministers of State and other officials as provided for by law, and of full powers and credentials of Ambassadors and Ministers.
6. Attestation of general and special amnesty, commutation of punishment, reprieve, and restoration of rights.
7. Awarding of honors.
8. Attestation of instruments of ratification and other diplomatic documents as provided for by law.
9. Receiving foreign ambassadors and ministers.
10. Performance of ceremonial functions.
................................................

Netherlands
http://www.servat.unibe.ch/icl/nl00000_.html

Article 42
(1) The Government shall comprise the King and the Ministers.
(2) The Ministers, and not the King, shall be responsible for acts of government.

...............................................

Norway
http://www.servat.unibe.ch/icl/no00000_.html

Article 5 [Immunity of the King]
The King's person is sacred; he cannot be censured or accused. The responsibility rests with his Council.

...............................................

Spain
http://www.servat.unibe.ch/icl/sp00000_.html


Article 56 [Head of State]
(1) The King is the Head of State, the symbol of its unity and permanence. He arbitrates and moderates the regular functioning of the institutions, assumes the highest representation of the Spanish State in international relations, especially with the nations of its historical community, and exercises the functions expressly attributed to him by the Constitution and the laws.
(2) His title is that of "King of Spain" and he may use the others which belong to the Crown.
(3) The person of the King is inviolable and is not subject to responsibility. His acts shall always be in the manner established in Article 64 and shall lack validity without that countersignature, except as provided for by Article 65 (2).


Article 64 [Countersignature]
(1) The actions of the King shall be countersigned by the President of the Government and, when appropriate, by the competent ministers. The nomination and appointment of the President of the Government and the dissolution provided for in Article 93 shall be countersigned by the President of the House of Representatives.
(2) The persons who countersign the acts of the King shall be responsible for them.

Article 65 [Remuneration]
(1) The King receives an overall amount from the State budget for the maintenance of his Family and Household and disposes it freely.
(2) The King freely appoints and relieves the civilian and military members of his Household.

...............................................


Sweden
http://www.servat.unibe.ch/icl/sw00000_.html


Chapter 5 The Head of State


Article 7
The King cannot be prosecuted for his act or omissions. A Regent cannot be prosecuted for his act or omissions as Head of State.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=242684262483184&id=100001298657012
Collapse this post

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้เขียนว่าบทกำหนดเกี่ยวกับกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญประเ... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก  

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  5:34 PM  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Tuesday
ว่าด้วย มาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญ (เพิ่มเติม)

มาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 (ที่กล่าวกันว่าปรีดีเขียนคนเดียว) กำหนดว่า

"กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญาในโลกศาลมิได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย"

มาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 (ที่คณะราษฎรยอมประนีประนอมกับฝ่ายเจ้าระดับหนึ่ง) ระบุว่า:

"องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"

ซึ่งคุณ Phuttipong Ponganekgul เสนอว่า "มีความหมายเดียวกัน" "เป็นเรื่องเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีเขียน"

แต่ผมแย้ง (ดูในกระทู้ล่างๆลงไป) ว่า ความจริง "ฐาน" หรืออุดมการณ์เบื้องหลังของ 2 มาตรานี้ เป็นคนละอย่างกัน แม้ว่า ถ้าดูเฉพาะในส่วนหลังของมาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวา ("ผู้ใดจะละเมิดมิได้") อาจจะมีความหมายทำนองเดียวกันกับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนา ในแง่การตีความเชิงกฎหมายล้วนๆ (ดูกระทู้แลกเปลี่ยนกับ อ. Piyabutr Saengkanokkul ข้างล่าง)

แตว่า ความจริง มาตรา 3 ของ 10 ธันวา "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน) มีความแตกต่างอย่างสำคัญมากๆ กับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนา

ซึ่งความจริง เป็นประเด็นที่ชัดเจนและสำคัญมาก แต่ผมไม่เคยเห็นคนพูดกันเท่าไร (ผมนึกไม่ออกว่ามีใครพูด)

นั่นคือ

ในรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 นั้น

ไม่มีตรงไหนเลย ที่กำหนดว่า ราษฎร ต้อง "รู้สึก" อย่างไรกับกษัตริย์

ไม่มีบอกเลยว่า ต้อง "เคารพสักการะ" - ไม่มีเลยทั้งสิ้น

คือเป็นการกำหนดในเชิงเทคนิคทางกฎหมายแบบเพียวๆว่า "กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญาในโลกศาลมิได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย" เท่านั้น

จริงอยู่ ประโยคนี้ ถ้าเขียนอย่างสั้นๆ อาจจะได้ว่า "ละเมิดมิได้" คือ ฟ้องร้องมิได้ (ดูกระทู้แลกเปลี่ยนกับ อ.ปิยบุตร)

แต่อันนี้ ไม่ได้หมายความว่า ราษฎรจะต้อง "เคารพสักการะ" หรือรู้สึกในทางใดกับกษัตริย์

ซึงตรงตามหลักการประชาธิปไตยที่เป็นสิทธิของราษฎรที่จะคิด หรือรู้สึกอย่างไรกับผู้ดำรงตำแหน่งประมุขของตน

ไม่ต้องมีการบังคับในรัฐธรรมนูญว่า ทุกคนต้อง "เคารพสักการะ" กษัตริย์เลย

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=297982420255044&id=100001298657012
Collapse this post

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้เขียนว่าว่าด้วย มาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญ... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก  

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  5:33 PM  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Tuesday
ว่าด้วยความเป็นมาของ มาตรา 8 ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน (""องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้") : พระยามานวราชเสวี ผู้เสนอให้เลียนแบบรัฐธรรมนูญ เมอิจิ ของญี่ปุ่น


ถ้าใครตามโพสต์เรื่องนี้ของผม คงทราบแล้วว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ของเรา (วรรคแรก - วรรคสองทีว่า "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้" มีที่มาต่่างหาก ในปี 2492)

เลียนแบบมาจาก มาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญ เมอิจิ ของญี่ปุ่น ทีว่า

"องค์จักรพรรดิเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"
The Emperor is sacred and inviolable

หรือในภาษาญี่ปุ่น ดังนี้ 天皇は神聖不可侵である。

ซึ่งคุณ August Ha Return กรุณาให้วิธีอ่านว่า "เท็นโนอุ วะ ชินเซอิ ฟุกาชิน เดะ อารุ"

โดยที่ข้อความนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 (ซึงเป็นรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎร ยอมประนีประนอมกับพวกเจ้าในระดับหนึ่ง)


ในปี 2519 ตณะผู้จัดทำ "วารสารกฎหมาย" ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2519 คือ ธงทอง จันทรางศุ กับ วิมลศิริ ชำนาญเวช (ซึ่งหลังจากนี้ไม่กี่เดือน เกิด 6 ตุลา ขึ้น เธอก็ได้เป็น รมต.ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร) ได้ไปสัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น และตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ในวารสารดังกล่าว

ในตอนต้นของการสัมภาษณ์ พระยามานวราชเสวี ได้กล่าวแสดงความชื่นชม เยอรมันนี ("ปรัสเซีย") ที่มี The Spirit of Patriotism "คือมีความรักชาติ .. สามัคคีกลมเกลียวกัน มอบกายถวายชีวิตทำตามคำสั่งบังคับบัญชาของมูลนายทุกชั้น"

หลังจากนั้น พระยามานวราชเสวี กล่าวว่า

"นอกจากเยอรมันแล้ว ผมชอบญี่ปุ่น .... คนญี่ปุ่น..มีความเคารพสักการะพระมหากษัตริย์ เคารพประเทศและชาติ มี The Spirit of Patriotism เช่นเดียวกับเยอรมัน คือความรักชาติมอบกายถวายชีวิต ทำการให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญทุกแผนก สามารถรบกับประเทศจีนได้ ต่อมาตีรัสเซียพายแพ้ทีปอร์ตอาเทอร์"


หลังจากนั้น ธงทองและวิมลศิริ ได้ถามเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้

.................


[พระยามานวราชเสวี] เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ทหารมาคุมตัวผม บอกว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดให้เชิญ ผมถามว่าไปรถผมได้ไหม เขาว่าไม่ได้ ให้ไปรถทหาร นั่งกลางไป ผมขอโทรศัพท์บอกทางบ้านว่าทหารเอาตัวไปแล้ว พอไปถึงพวกผู้ใหญ่ในคณะราษฎร์ผมรู้จักกับเขา บอกเขาว่า ผมมารายงานตัวแล้ว จะทำอะไร ในใจนั้นนึกว่าเขาจะเอาไปขัง เขาบอกว่าไม่ได้ให้ไปคุม ให้ไปเชิญมา จะขอร้องให้เขียนหนังสือสักฉบับ ถามว่าหนังสืออะไร เขาบอกว่าให้ร่างรัฐธรรมนูญ ผมถามว่า หลวงประดิษฐ์ฯเขาเป็นคนใหญ่คนโต เขาเขียนธรรมนูญการปกครองอยู่แล้ว ทำไมไม่ให้เขาเขียน เขาก็ยังยืนยันจะให้ผมเขียน ถามว่าจะให้เขียนรูปใด เขาว่าเขียนมาก็แล้วกัน ให้เวลา 2 เดือน ทำได้ไหม ผมบอกว่าได้ แต่ดีหรือไม่ ไม่รับรอง

เมืองไทยเวลานั้น รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ไม่มีใครมี ผมมีอยู่เล่มเดียว เพื่อนเขาส่งมาให้ เวลานั้นเปิดเผยไม่ได้ ต้องใส่ตู้หนังสือซ่อนไว้ นานๆก็เอาออกมาอ่านทีหนึ่ง


[ธงทอง และ วิมลศิริ] คงจะเหมือนเอกสารเผยแพร่ลัทธิคอมมูนิสต์ ซึ่งเป็นเอกสารต้องห้ามสมัยนี้

[พระยามานวราชเสวี] ก็ทำนองนั้น รัฐธรรมนูญเล่มที่ผมมีนั้นเป็นของไอริช เขาแปลรัฐธรรมนูญทุกประเทศเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าไม่มีเล่มนี้ก็คงเขียนไม่ได้ ถามเขาว่าอยากจะควบคุม ก็เอาอย่างเยอรมันหรือญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นลอกมาจากเยอรมัน แต่เอามาดัดแปลง ตรงไหนยากเขาตัดทิ้งเลย

ญี่ปุ่นให้เกียรติยศพระเจ้าแผ่นดิน บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าองค์พระมหากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ก็หมายความว่าเป็นที่เคารพนั่นเอง พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่โบราณกาลก็ได้ช่วยชาติบ้านเมืองมาตลอด ผมจึงเอามาเขียนถวายพระเกียรติในรัฐธรรมนูญ เพื่อจะให้คนทั่วไปรู้ ในใจผมนั้นมิใช่แต่เคารพพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมืองไทยเราเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยควรจะเคารพคนทุกคน รวมทั้งครูบาอาจารย์ เพื่อจะได้ถึงซึ่งความเจริญรุ่งเรืองอย่างเยอรมัน อย่างญี่ปุ่น ผมคิดอย่างนั้นนะ แต่ไม่ได้บอกใคร เมื่อคุณมาถามก็บอกให้

เรื่องความเคารพ เทอดเกียรติประมุขของรัฐนั้น เยอรมันมิได้เขียนในรัฐธรรมนูญอย่างญี่ปุ่น แต่ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น สอนตามมหาวิทยาลัย ของญี่ปุ่นบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ของไทยก็บัญญัติไว้เช่นเดียวกัน และมีอยู่ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ตลอดมาจนปัจจุบันว่า องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ

..........................


ปล. สำหรับท่านที่สนใจอยากดู "หน้าตา" ของรัฐธรรมนูญเมอิจิ ของญี่ปุ่น มีให้ดูทีเว็บไซต์ "หอจดหมายเหตุแห่งชาติญี่ปุ่น" ที่นี่ (คำบรรยายภาษาอังกฤษ)http://www.digital.archives.go.jp/gallery/view/detail/detailArchivesEn/0000000005 และ (คำบรรยายภาษาญี่ปุ่น http://www.digital.archives.go.jp/gallery/view/detail/detailArchives/0000000005 )

ภาพประกอบ พระยามานวราชเสวี ผมเอามาจากเว็บไซต์ "วิกิพีเดีย" ไทย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=298042026915750&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
Collapse this post

No comments:

Post a Comment