2011-12-15

P-อากงกับ ม.112

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 11, 2011  -  Public
นิธิ เอียวศรีวงศ์ - อากงกับ ม.112

อากงกับ ม.112
ธันวาคม 9, 2011

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1634
หน้า 28
นิธิ เอียวศรีวงศ์

อากงกับ ม.112


สัก 20 ปีมาแล้ว ผมถามเพื่อนนักกฎหมายที่จบมาจากฮาร์วาร์ด และสอบเป็นทนายความในประเทศไทยมา 20 ปีว่า ม.112 ในกฎหมายอาญานั้น มุ่งจะปกป้องพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล หรือพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบัน

เขามองหน้าผมอย่างงงๆ สักพัก แล้วออกตัวว่า เขาถนัดแต่กฎหมายแพ่ง ไม่ถนัดกฎหมายอาญา แต่เขาคิดว่าน่าจะปกป้องพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคลมากกว่า

สอดคล้องกับที่ในระยะหลัง มีนักกฏหมายพูดว่าต้องมีกฎหมายปกป้องคุ้มครองประมุขของประเทศให้เหนือกว่า บุคคลธรรมดา ที่ไหนๆ เขาก็มีเหมือนกันทั้งนั้น

ผมก็เข้าใจอย่างนี้มาอย่างสองจิตสองใจสืบมา จนกระทั่งมาเจอคำพิพากษาจำคุก “อากง” 20 ปี จึงเกิดอาการช็อกจนต้องกลับไปเอาประมวลฯ มาอ่านเองใหม่อีกรอบ โดยไม่มีเพื่อนนักกฎหมายที่ไหนให้ปรึกษาเลย

ในฐานะชาวบ้าน ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาเหมือนคนอื่นๆ ผมน่าจะมีสิทธิ์ทำความเข้าใจกฎหมายตามความเห็นส่วนตัวบ้าง นักกฎหมายอาจชี้ให้เห็นได้ว่าความเข้าใจของผมผิดพลาดอย่างไร และต่อไปนี้ผมขออธิบายความเข้าใจของผมครับ

ผมเห็นว่า ม.112 ในกฎหมายอาญานั้น มุ่งจะปกป้องคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคลอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. มาตรานี้จัดอยู่ในความผิดลักษณะที่ 1 คือความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร พูดภาษาชาวบ้านแบบผมก็คือ การกระทำใดๆ ก็ตามที่จะล้มล้าง “ราชอาณาจักร” หรือรัฐที่มีพระราชาเป็นประมุข ภาษาขี้ประจบสมัยปัจจุบันคือระบอบประชาธิปไตย “อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

ดังนั้น มาตราต่างๆ (ม.107-112) ในลักษณะความผิดนี้ จึงเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์, พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการทั้งนั้น นับตั้งแต่ปลงพระชนม์ (หรือฆ่า) ไปจนถึงประทุษร้ายด้วยวาจา

ชัดเจนนะครับว่า เจตนารมณ์คือปกป้องคุ้มครองสถาบัน เพื่อมิให้มีการเปลี่ยนรัฐจากราชอาณาจักรไปเป็นอื่น

2. โทษทัณฑ์ที่กำหนดไว้ในลักษณะนี้ ล้วนเป็นโทษฉกรรจ์ทั้งสิ้น นับตั้งแต่ประหารชีวิต, จำคุกตลอดชีวิต ไปจนถึงจำคุก 3-15 ปี (ในแต่ละกระทงความผิด) เพราะการประทุษร้ายนั้น ไม่ใช่กระทบต่อบุคคลเท่านั้น แต่หมายถึงการเปลี่ยนระบอบปกครองของรัฐทีเดียว พูดง่ายๆ คือ “กบฏ” นั่นเอง เป็นเรื่องของการปกป้องสถาบัน เพราะการประทุษร้ายนั้น หากกระทำต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งอาจเป็นสามัญชน ก็ต้องระวางโทษอย่างเดียวกัน

3. อันที่จริงการกำหนดให้บุคคลใน 4 ตำแหน่งได้รับความคุ้มครองตามลักษณะนี้ ก็ชัดอยู่แล้วว่ามุ่งไปที่การปกป้องสถาบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าตำแหน่งพระราชินีก็ตาม รัชทายาทก็ตาม เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ใช่ เพราะอาจปรับเปลี่ยนได้ตามพระราชอัธยาศัย การขยายความคุ้มครองไปยังผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ยิ่งชัดมากขึ้นว่า เป็นการคุ้มครองสถาบันไม่ใช่องค์พระมหากษัตริย์

4. การกำหนดว่า ใครๆ ก็สามารถแจ้งความเอาผิดกับผู้ละเมิดความผิดในลักษณะนี้ได้ โดยไม่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เลย ก็เพราะความผิดลักษณะนี้เป็นความผิดต่อรัฐ ไม่ใช่ความผิดต่อบุคคล สอดคล้องกับการที่วางโทษไว้สูงในทุกมาตรา

ผมไม่ปฏิเสธหรอกครับว่า ในทางสังคม เราแยกพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคลออกจากพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันได้ยาก แต่ในทางกฎหมายจำเป็นต้องแยกให้ชัด มิฉะนั้น กระบวนการยุติธรรม (นับตั้งแต่กล่าวหาไปจนถึงตัดสิน) ก็จะรวนเรหมด เช่น ลงโทษหนักเกินสัดส่วนแห่งความผิด

หากความเข้าใจผมไม่ผิด การดำเนินคดีใน ม.112 นับตั้งแต่ตำรวจ, อัยการ ขึ้นไปถึงศาล ต้องใช้บรรทัดฐานว่าข้อกล่าวหานั้นมุ่งไปที่การล้มเลิกระบอบปกครอง “ราชอาณาจักร” หรือไม่ “การหมิ่นประมาท, ดูหมิ่น, หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” ของผู้ต้องหา แม้เป็นการกระทำต่อบุคคล แต่มีเจตนาจะล้มเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเพียงการล่วงละเมิดต่อบุคคลเท่านั้น

การวินิจฉัยว่าคดีมีความร้ายแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำความผิดว่า มุ่งจะล้มล้างระบอบปกครองของรัฐหรือไม่ หากการกระทำนั้นไม่ส่อให้เห็นเจตนาดังกล่าว ในทัศนะของผม ก็ดำเนินคดีไม่ได้ตั้งแต่ขั้นตำรวจแล้ว (ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า)

อย่างคดีที่ คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ เคยเผชิญมาทั้งหมดนั้น ผมคิดว่าไม่เข้าข่าย ม.112 สักครั้งเลย เพราะคุณสุลักษณ์ได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนสืบเนื่องมาอย่างไม่เปลี่ยนแปลงว่า ประเทศไทยต้องเป็น “ราชอาณาจักร” และความเป็น “ราชอาณาจักร” นั้นให้ประโยชน์แก่ประเทศไทยมากกว่าไม่เป็น หากคุณสุลักษณ์จะทำผิดกฎหมายอาญามาตราอื่น เช่น ม.326 หรือ 328 นั่นก็ว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง

อย่าว่าแต่คุณสุลักษณ์เลยครับ แม้คดี “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” (คำที่ไม่มีในกฎหมายนะครับ) อื่นๆ ที่ฟ้องร้องกันในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา หากเข้าใจ ม.112 เหมือนผม ตำรวจก็ไม่น่าจะรับแจ้งความมาแต่ต้นแล้ว เพราะไม่เข้าข่ายเสียเป็นส่วนใหญ่

ผมก็ไม่ทราบว่าข้อความที่ “อากง” ถูกกล่าวหาว่าส่งเอสเอมเอสนั้นคืออะไร แต่พฤติกรรมแค่ส่งเอสเอมเอสด้วยเงินส่วนตัวของคนที่ยากจนขนาดนั้น ย่อมไม่มีเจตนาที่จะล้มล้างระบอบปกครองของรัฐแน่ แม้ข้อความที่ส่งอาจ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” ก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ความผิดใน ม.112 อยู่นั่นเอง เพราะขาดองค์ประกอบสำคัญคือเจตนาที่จะล้มล้างระบอบปกครองของรัฐในฐานะ “ราชอาณาจักร”

ปัญหาที่ตามมาก็คือ ตามประมวลกฏหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ (พระราชินี, รัชทายาท, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ในฐานะบุคคลไม่ได้รับความคุ้มครองจากการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น มากไปกว่าบุคคลทั่วไปเลย นั่นคือจะต้องฟ้องร้องกล่าวโทษตามกระบวนการแก่บุคคลที่กระทำเช่นนั้น บุคคลอื่นจะฟ้องร้องแทนไม่ได้

หมายความว่าพระมหากษัตริย์ แม้ในฐานะบุคคลก็ตาม ต้องลงมาสู้ความกับประชาชนในศาล อันไม่เหมาะด้วยประการทั้งปวงแก่สถานะของประมุขประเทศ นอกจากนี้ยังดูไม่สอดคล้องกับมาตรา 8 แห่งรัฐธรรมนูญด้วย เพราะห้ามมิให้ผู้ใดกล่าวโทษหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ได้ แต่กลับเปิดให้พระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคลฟ้องร้องประชาชนได้ จึงดูไม่เป็นธรรม

ฉะนั้น จึงต้องจัดให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นโจทก์ในคดีหมิ่นประมาทแทนองค์พระมหากษัตริย์

กฎหมาย หมิ่นประมาทสำหรับบุคคลทั่วไปยังมีข้ออ่อนอีกอย่างหนึ่งในการใช้กับองค์พระ มหากษัตริย์ ประการแรกในฐานะบุคคลสาธารณะ ความที่ถือว่า “หมิ่นประมาท” ย่อมต้องจำกัดให้แคบลงเป็นธรรมดา ประการต่อมา ม.329 และ ม.330 จะยิ่งทำให้การต่อสู้คดีกระทบต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันได้มาก

ในความเข้าใจของผม กฎหมายหมิ่นประมาทสำหรับองค์พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะนั้น ยังไม่มีในประมวลกฎหมายอาญา และควรจะทำขึ้น

แต่จะต้องทำขึ้นด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. ต้องอิงกับหมวด 3 ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดโทษ, หรือน้ำหนักความร้ายแรงของคดี

2. ต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการฟ้องร้องแทนพระมหากษัตริย์ ในบางประเทศ ครม. ยังประกอบด้วยรัฐมนตรีกระทรวงวัง (หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในทางการเมือง การดำเนินคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงาน ประเภทนี้

ในเมืองไทยควรเป็นหน่วยงานใด หรือต้องสร้างหน่วยงานขึ้นใหม่คงเถียงกันได้ แต่ผมมีความเห็นส่วนตัวดังนี้คือ หน่วยงานนั้นต้องไม่ใช่หน่วยงานที่พระมหากษัตริย์ทรงรับผิดชอบโดยตรง เช่น องคมนตรี, สำนักพระราชวัง, หรือกองงานในพระองค์ ที่เหมาะที่สุดควรเป็นฝ่ายการเมือง เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องใช้วิจารณญาณทางการเมืองโดยแท้ มีอำนาจตัดสินใจได้ว่า ควรหรือไม่ควรอนุญาตให้ดำเนินคดีในกรณีใดบ้าง บางกรณีไม่ดำเนินคดีกลับจะช่วยปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้มากกว่า ก็ไม่อนุญาตให้ตำรวจ อัยการดำเนินคดี นี่เป็นความรับผิดชอบทางการเมือง ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อสภาฯ และประชาชน

ยิ่งกว่านี้ หน่วยงานนี้ยังต้องรับผิดชอบต่อคำวิพากษ์วิจารณ์สถาบันและองค์พระมหา กษัตริย์ทั้งหมด อธิบาย, ชี้แจง, ตอบโต้, ฟ้องร้อง, หรือถูกฟ้องร้อง แทนองค์พระมหากษัตริย์ จะเลือกวิธีใดก็เป็นวิจารณญาณทางการเมืองที่ต้องคิดให้ดี เพื่อปกป้องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ตามรัฐธรรมนูญ แน่นอนว่าย่อมเป็นหน่วยงานที่จะถูกโจมตีทั้งในและนอกสภาแทนองค์พระมหา กษัตริย์ด้วย

รัฐมนตรีที่ดูแลหน่วยงานนี้อาจถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา เพราะปกป้องสถาบัน อย่างโง่ๆ คือจับดะ, ฟ้องดะ, ปิดดะ, จนทำให้สถาบัน ถูกดูหมิ่นจากนานาชาติ เป็นต้น

โดยสรุปก็คือ หากไม่อยากแก้ ม.112 เลย ก็ต้องทำความเข้าใจว่า ม.112 ไม่ใช่กฎหมายหมิ่นประมาท แต่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของ “ราชอาณาจักร” การละเมิดกฎหมายมาตรานี้มีความร้ายแรงเท่ากับกบฏภายในพระราชอาณาจักร จึงไม่ใช่ความผิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนกฎหมายหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์นั้นยังไม่มี และต้องทำขึ้นให้ด้านหนึ่ง สมพระเกียรติยศ

แต่อีกด้านหนึ่ง ทำให้ทุกฝ่ายต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองต่อการกระทำหรือไม่กระทำของตนเองไปพร้อมกัน

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  - 9:15 AM  -  Public
ยังไม่มีใครในประเทศนี้ที่วิจารณ์เจ้าในความหมายดังกล่าวได้จริงๆ จังๆ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ทำได้ ...
เรามักเข้าใจผิดๆ ว่า อ.สุลักษณ์ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นต้น “วิจารณ์เจ้า” ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ยังไม่มีใครในประเทศนี้ที่วิจารณ์เจ้าในความหมายดังกล่าวได้จริงๆ จังๆ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ทำได...
ความรักในสังคมไทยจึงอยู่บนฐานของการไม่ยอมรับในความแตกต่างและการรับไม่ได้ในความหลากหลายของความคิด ภาพรวมใหญ่ๆของสังคมไทยทั้งหมดจึงเปรียบเสมือนกับข้อสอบปรณัยที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้สอบตอบคำถามได้มากเกินกว่าตัวเลือกที่ข้อสอบกำหนดเอาไว้ ดังนั้น ทางเลือกในการเป็น ทางเลือกในการคิดจึงมีขอบจำกัดที่ผู้คุมสอบหรือรัฐไทยเป็นผู้วางให้ไว้ทั้งหมด
  ไม่ใช่ตรรกะของความรักหรอกที่สังคมของเรากำลังมีปัญหา แต่เป็นคนที่ใช้และได้ใส่ความหมายให้มันต่างหากที่เป็นผู้สร้างความเกลียดชัง  
  -  Comment  -  Hangout  -  Share 

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  9:13 AM  -  Public
จะฟังขึ้น หรือ ฟังไม่ขึ้น ก็ลองพิจารณาดูกันเอาเอง แต่เขาก็รู้กันมานานแล้วว่า ศาลไทยซื้อได้ จะซื้ออะไร ก็คิดต่อกันเอาเองอีกเช่นกันhttp://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38314
โฆษกศาลยุติธรรม ตอบ 5 ประเด็น "คดีอากง" ศาลไทยเตรียมทำหนังสือถึงกท.ต่างประเทศอเมริกา-สื่อไทย-เทศ แจงข้อเท็จจริง หลังกระแสพิพากษาคดีหมิ่นฯ
  -  Comment  -  Hangout  -  Share
KP Page's profile photo
KP Page  -  11:22 AM  -  Public

จากบทความของโฆษกศาลยุติธรรม อาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ดำเนินการรายการเวคอัพไทยแลนด์ ก็แสดงความเห็นต่อบทความนี้ว่า ทำให้น่าตกใจ และเป็นเหมือนการปล...

  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  9:14 AM  -  Public
ส.ศิวรักษ์ - โครงสร้างในระบบยุติธรรมของไทยเราเป็นเผด็จการทั้งหมด ศาลก็เป็นเผด็จการ อัยการก็เป็นเผด็จการ เราต้องเลิกโครงสร้างเผด็จการทั้งหมด มาตรา 112 เป็นเพียงมาตราหนึ่งในโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นเผด็จการ
อาจารย์สุลักษณ์ ยังเห็นว่า วิธีการการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุด คือ การยึดหลัก "ทางสายกลาง" และ "ความโปร่งใส"

ขณะที่ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยอมรับว่า คดีอากง เป็นหนึ่งในหลาย ๆ คดีที่ปัญหาในกระบวนการพิจารณาคดีตั้งแต่ชั้น พนักงานสอบสวน อัยการ และผู้พิพากษา โดยต้องมองในมุมสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะตั้งแต่เกิดความแตกแยกทางความคิดในสังคมไทย มีการนำสถาบันมาขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสถาบัน และมีการอ้างสถาบันเพื่อความชอบธรรม เมื่อนำ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้ร่วมกับ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงกลายเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
http://shows.voicetv.co.th/intelligence/25386.html

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 12 ธ.ค. 2554 มองกรณี อากง ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายกรณีตัวอย่งที่สะท้อนปัญหาของการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ผ่านมุมมองของ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเคลื่อ...
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -   9:24 AM  -  Public
ใครยังไม่เข้าร่วมสังสรรค์ เชิญได้ เอาแบบเจ็บๆคันๆแบบรายนี้ก็น่าจะได้ ลองอ่านกันให้ดีๆ สนุกจัง

จัมโบ้ ไม่รักคนสั่งปฏิวัติ ##
เกลียดเมกาจัง จะเลิกใช้แม็ค ไอโพน ไอพอด ไอแพด ไอจูน เลิกเล่นเฟซบุ๊ค เลิกเล่นเน็ต ปิดประเทศ ถอนวีซ่าห้ามใครเข้า-ออก ซาบซึ้งอย่างเดียว ไม่นานเกินรอประเทศจะลอยได้เอง ไม่ต้องง้อเรือเหาะ ไม่ต้องง้อ โบว์อิ้ง ได้ขึ้นสวรรค์กันทุกคน ^_^

  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -   9:12 AM  -  Public
TOP10ข่าว-บทความยอดนิยม. แรง!เปลือยอกเรียกร้องปล่อยอากง. เหลิมปะทะเดือดสมจิตร7สีถึงขั้นงัด112ขู่ระวังคุก. รูปนี้สำหรับคนที่มองเห็นแค่"นม". ก็แค่สงสัย?ทำไมพวกมึงไม่รักในหลวง! เปิดเบื้องหน้าเบ...




Poll นี้ มีความหมาย
http://thaienews.blogspot.com/2011/12/blog-post_14.html

TOP10ข่าว-บทความยอดนิยม. แรง!เปลือยอกเรียกร้องปล่อยอากง. เหลิมปะทะเดือดสมจิตร7สีถึงขั้นงัด112ขู่ระวังคุก. รูปนี้สำหรับคนที่มองเห็นแค่"นม". ก็แค่สงสัย?ทำไมพวกมึงไม่รักในหลวง! เปิดเบื้องหน้าเบ...
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 12, 2011  -  Public
องค์กรระหว่างประเทศเหล่านี้
ไม่ได้รับงานทักษิณ
แต่ส่งสัญญาณถึงรัฐบาลไทย
เหมือนกันว่า...

"ต้องแก้!"
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  - Dec 11, 2011  -  Public
Junya Lek Yimprasert ##
10 ธันวาคม 2554: วันรัฐธรรมนูญไทย วันสิทธิมนุษยชนสากล กลายเป็นวันบรวงสรวงสัการะ ร. 7; คำประกาศคณะราษฎร 2475 ถูก YouTube ลบตามคำขอของรัฐบาลไทย;

10 ธันวาคม 2554: เราไม่สามารถยื่นจนดหมายและรายชื่อกว่าหมื่นรายชื่อกับนายกยิ่งลักษณ์ได้ เพราะอยู่ในพิธีรีตรอง "อันล่วงละเมิดมิได้" ต้องไปฝากหนังสือไว้กับเลขาประธานรัฐสภา

เราจะยังคงเปิดลงชื่อยกเลิกมาตรา 112 ต่อไป และจะต้องยื่นให้ถึงมือยิ่งลักษณ์ให้ได้

โปรดอ่าน และแชร์ - ACT4DEM แถลงข่าว 10 ธันวาคม2554

  -  Comment  -  Hangout  -  Share 

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 12, 2011  -  Public
อยากรู้จังว่า อานุภาพของการกด like จะทำให้นักท่องเที่ยวหายไปขนาดไหน ... สุดยอดจริงๆ เลยพี่ไทย รักเจ้ากันมากจริงๆ ... ขอร้องเถอะ ... ปิดประเทศไปเลย เอาแบบพม่าน่ะ ถอยหลังไปเลย 30 ปี ดีออก ... 3G น่ะ ขอร้อง ให้อยู่้แบบครึ่งๆ กลางๆ แบบนี้น่ะ ดีแล้ว ... เดี๋ยวมันจะไม่รู้จักความพอเพียง จะเรียกร้องเอา 4G อีก ... มันจะอะไรกันนักกันหนา ...

Welcome to ตอแหลแลน ...

ฝรั่งตื่นแพร่ข่าวกดlikeเฟซบุ๊คติดคุกคดีหมิ่นหากเดินทางเข้าไทย ซ้ำท่องเที่ยวทรุดหลังวูบหนักน้ำท่วม
TOP10ข่าว-บทความยอดนิยม. แรง!เปลือยอกเรียกร้องปล่อยอากง. เหลิมปะทะเดือดสมจิตร7สีถึงขั้นงัด112ขู่ระวังคุก. รูปนี้สำหรับคนที่มองเห็นแค่"นม". ก็แค่สงสัย?ทำไมพวกมึงไม่รักในหลวง! เปิดเบื้องหน้าเบ...
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 13, 2011 (edited)  -  Public
การเมืองเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจของใครบางคนอยู่ข้างล่าง ... เหตุผลหนึ่งของการปฏิวัตินายกชาติชาย เนื่องจากการให้ TPI ทำโรงปูนแข่งกับปูนซิเมนต์ไทย และ ชลประทานซีเมนต์
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 12, 2011  -  Public
youtube.com – เสวนาอ่านออกเสียง (จะ) 80 ปี ผ่านไปไวเหมือนโกหก วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2554 เวลา 16.00 - 18.00 น. ที่ร้าน Book Re:public โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี...

  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 12, 2011 (edited)  -  Public
คำคม

อย่าปรองดองนะ เพราะเจ้ามันจะดองเรา - สุรชัย แซ่ด่าน

เจ้าคือต้นเหตุปัญหาของการเมืองไทยทั้งหมด การวิเคราะห์เจ้า การวิจารณ์เจ้า รวมทั้งการด่าเจ้า มันคือจุดเริ่มต้นของขบวนการในการต่อสู้ของประชาชน

เสาร์เช้า ๙ ทันบอด ประจำวันที่ 10-12-54
คำคมประจำวันนี้
ก็เราถูกปราบมาตลอดไม่ใช่หรือ เราก็อยู่้กันมาได้ แล้วเราจะไปสนใจอะไร ถ้ารัฐบาลนี้หันมาเล่นงานเรา เราก็สู้กับรัฐบาลนี้ เราสู้กันในเกม เราสู้ด้วยการทำหน้าที่ ถ้ารัฐบาลทำหน้าที่มาปราบเรา เราก็ทำหน้าที่ให้ประชาชนหูตาสว่างและมายืนอยู่ฝ่ายเรา ถ้ารัฐบาลมาปราบเรา ประชาชนก็จะไปปราบรัฐบาลเอง ก็แค่นี้ ไม่เห็นจะต้องไปคิดอะไรให้มันเครียด หรือ คิดอะไรให้กดดัน


รายการ ทางออกประเทศไทยกับ ชูพงษ์ - เปลี่ยนระบอบ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2554
youtube.com – รายการ ทางออกประเทศไทยกับ ชูพงษ์ - เปลี่ยนระบอบ ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2554 รายการนี้ได้ทำการกระจายสัญญาณเสียงผ่านทาง Website NORPORCHOR USA.

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 12, 2011  -  Public
กำลังดูข่าว BBC มันส์มาก ถึงขนาดตั้งเป็นคำถามเลยว่า "How the British hate Europe?" ดันนึกถึงหม่อมเอ๋อขึ้นมาทันที ... คนนนท์ คนปทุม เดือดร้อนยังไง ไม่เกี่ยว ก็ฉันรับผิดชอบเฉพาะคนกทม. ... จริงๆ คาเมรอน อัซซาส และ ไอ้มาร์ค ... พันธุ์เ้ดียวกัน ... (ทิ้งค้างไว้แค่นี้)

Downing Street says the government will work with other EU members, as David Cameron prepares to explain his veto of EU treaty changes.
  -  Comment  -  Hangout  -  Share

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Dec 13, 2011  -  Public
โปรดฟังอีกครั้ง 38ปี -

จำคุก 38 ปี มือยิงอาร์พีจีใส่ "วัดพระแก้ว" ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้

http://www.nationchannel.com/main/news/crime/20111213/27817152/จำคุก38ปีมือยิงอาร์พีจีใส่วัดพระแก้ว/
นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ได้เดินทางไปประเทศสิงค์โปร์ว่า ตนตั้งใจเดินทางเพื่อไปเที่ยวและไปเยี่ยมพี่ชาย

Share |. ข่าวด่วน : เยาวภา วงศ์สวัสดิ์บินเยี่ยมทักษิณ-ปัดคุยปรับครม. นายกฯประชุมครม.สัญจรครั้งแรกที่เชียงใหม่16มค.55 สัตว์-พืชใหม่ลุ่มน้ำโขง200ชนิด พัฒนาวัคซีนต้านมะเร็ง70% ไว-ไฟใหม่แรงกว่าเกิดปีหน้า ...
Add a comment...

KP Page


No comments:

Post a Comment