เมื่อราว 10 ปีก่อน ตอนที่ผมเขียนบทความ "เราสู้" เสร็จ ผมก็เอาให้นักวิชาการ+นักศึกษาบางคนดู แล้วปรึกษาทำนองว่า มัน "แรง" ไปไหม? เสี่ยงไปไหม
(อาจจะเป็นเรื่องยากจะคาดคิดแล้วตอนนี้ แต่แม้แต่ประเด็นที่ดู "เล็กๆ" แล้วในตอนนี้ คือคำว่า "สถาบันกษัตริย์" สมัยนั้น ก็ไมมีนักวิชาการตนไหนใช้กันนะครับ นี่ฟังดูแปลกแล้วตอนนี้ แต่ตอนนั้น แค่จะพูดว่า "สถาบันกษัตริย์" ไม่ใช่ "สถาบันพระมหากษัตริย์" ยังเป็นเรื่องใหญ่
นะ ประเภทให้ความรุ้สึก "ไม่เคารพ" อะไรกันแล้ว ... ผมจำเรื่องนี้ ได้ดี เพราะตัวเอง จงใจใช้คำนี้ เลย "สถาบันกษัตริย์" แม้จะต้องคิดอยู่นานทีเดียวว่า มันทำให้ดู "แรง" ไปหรือไม่ ... อันนี้ ยกตัวอย่งรูปธรรม จริงๆแน่นอนว่า มันมีเนื้อหาที่ "แรง" กว่าประเด็นนี้เยอะ แต่ยกให้ดูว่า แม้แต่เรื่อง "เล็กๆ" แบบนี้ ในสมัยนั้น ก็เป็นเรื่องใหญ่)
แทบทุกคนที่ได้อ่าน ก็รู้สึกว่าอาจจะ "แรง" ไป เสี่ยงเกินไป บางคน ก็เสนอให้แก้โน่น แก้นี่ ฯลฯ
หลังจากคิดหนัก ผมก็ตัดสินใจ พิมพ์โดยไม่แก้ตามที่มีคนเสนอ ....
ผมคิดว่า คงไมใช่เป็นการพูดเข้าข้างตัวเองมากไป ที่จะประเมินว่า อย่างน้อย บทความที่ว่า มีส่วนในการ "ผลัก" การอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันฯ ในทิศทางที่ถูกต้อง ที่ควรจะเป็นยิ่งขึ้น รวมทั้งในกรณี 6 ตุลาเอง
(ที่สำคัญ ก็คือเรื่องที่วันก่อน คุณ Chaithawat Tulathon โพสต์เป็นกระทู้ไว้ คือ การที่ การอภิปรายสถาบันฯ ตลอดเวลายาวนาน แม้แต่ ปรีดี สุพจน์ ไม่ต้องพูดถึงสุลักษณ์ จะต้องพูดในลักษณะ "ภายใต้กรอบ" หรือ ด้วย "ภาษา" ประเภท "จงรักภักดีต่อสถาบันฯ" ด้วย นี่เป็นประเด็นใหญ่ที่ผมตั้งใจ แต่แรกที่จะ break ประเพณีแบบนี้)
ความจริง ผมมี "เรื่องเล่า" ประเภทนี้ เยอะ เพราะแต่ละบทความ ที่เขียนเกียวกับสถาบันฯ ต้องใช้เวลา ในการคิด ในการประเมินเยอะมากๆ ว่า แค่ไหน จึงจะไม่เสี่ยงเกินไป แต่ขณะเดีวกัน ก็ไม่ใช่ จำกัดอยู่ในแบบที่เขียนๆกัน ซึ่งแทบไม่มีอะไร (รวมทั้งในประเด็น "กรอบ จงรักภักดี" ที่กล่าวข้างต้น)
แต่ให้ผม "ข้าม" มาเรื่องเร็วๆนี้ เลยดีกว่า
ปีกลาย ตอนที่ผมเตรียมการอภิปราย 10 ธันวาคม นั้น ผมใช้เวลาเตรียมนานมากหลายสัปดาห์ คิด เตรียม ทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ว่าจะพูดอะไรแค่ไหน
ผมไม่ต้องการให้การพูดนั้น เป็นเหมือนๆกับที่เคยๆพูดกันมา (เคยมีการจัดอภิปรายในเรื่องทีเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็น 112 ก่อนหน้านั้น 1-2 ครั้ง) เพราะผมเห็นว่า ไม่ได้ทำให้มีความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการอภิปรายเรื่องนี้
ขณะเดียวกัน เรื่องความเสี่ยง ผมก็ตระหนักดีอยู่ว่า ถ้าพูดเกิน ต่าง ออกไป จากที่เคยพูดๆกันมาแล้ว - ซึงดูเหมือนจะเป็น limit ที่พูดกันได้ - ก็จะมีความเสียงมาก
ตลอดเวลาในการเตรียม แม้ผมจะคุยกับเพื่อน 2-3 คน แบบกว้างๆ แต่จริงๆ เนื้อหาว่าจะพูดอะไร ผมไม่ได้บอกใคร ไม่ได้อธิบายให้ใครฟัง
ผมเชื่อว่า สมมุติ ถ้าผมบอกคนรู้จักว่าจะพูดอะไรยังไง ทุกคน คงให้ความเห็นว่า พูดไม่ได้ เสี่ยงไป ฯลฯ
แต่ในที่สุด ผมก็ตัดสินใจพูดไปอย่างทีพูด (อันที่จริง ผม "ลดระดับ" จากทีเตรียมไว้บ้างด้วยซ้ำ เพราะ จริงๆ แม้แต่คุยแบบกว้างๆ กับบางคน ทุกคนก็ออกมาในแนว ให้ "ระวังๆ" .. ถ้าพูดแบบ่ที่เตรียมเต็มที่ทั้งหมด จะ "แรง" กว่านั้น)
ผมอยากจะคิดว่า ผลจากการพูดนั้น มีผลด้านบวกอยู่ในการผลักดันการอภิปรายเรืองสถาบันฯ
.......................
ประเด็น ของ "เรื่องเล่า" 2 เรื่องทีว่า ก็เพียงจะบอกว่า ผมมี guide line ส่วนตัว ในเรื่องนี้ ในลักษณะนี้มาโดยตลอด คือ
ในประเด็นเรื่องสถาบันฯ นั้น จะต้องพยายาม "ผลัก" "พรมแดน" หรือ "ขอบเขต" ของ "สิ่งที่พูดได้" "สิ่งที่ทำได้" ออกไปมากขึั้นๆ
ซึงการทำเช่นนั้นได้ การทำเพียงแต่ ที่ "เคยทำๆกันมาแล้ว" (อย่างในเรื่อง การพูดแบบ "จงรักภักดี" "เพื่อรักษาความมันคงของสถาบันฯ" ฯลฯ) ไม่มีทางทำให้เกิดผลดังกล่าวได้
แต่แน่นอน guide line หรือ หลักคิดแบบนี้ มันมีด้านที่ "เสี่ยง" อยู่ เพราะถ้าเราเพียงพูด หรือเขียน หรือทำ ในสิ่งทีทำๆกันมา มันก็เพียง "ผลิตซ้ำ" หรือ "วนเวียน" อยู่กับกรอบทีเป็นอยู่เท่านั้น ไม่สามารถ "ขยายพื้่นที่" ทางวัฒนธรรม ในเรื่องนี้ออกไปได้
ในความเห็นของผม ผมจึงยืนยันว่า ถ้านักวิชการระดับของประเทศ จะรวมกัน ทำอะไรเรื่อง 112 อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
จะต้อง ทำในลักษณะ maximum ของสิ่งที่ทำได้ คือ เสนอให้เลิก ไมใช่แค่ แก้-ลดโทษ
อันทีจริง ถ้าเปรียบเทียบกับ "เรือ่งเล่า" ที่ผมยกมาข้างต้น การเสนอให้เลิก เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะนับว่า เสียง ด้วยซ้ำ เพราะทุกคนย่อมทราบดีว่า การเสนอให้เลิก 112 ไม่มีความผิด เข้าข่าย 112 แต่อย่างใด .. ต่างกับกรณีตัวอย่างที่ผมเล่ามา ซึงมีความเสี่ยงในเรื่องความผิด 112 อยู่จริงๆ
No comments:
Post a Comment