2011-02-23

Fx.หุ้นโภคภัณฑ์



ThaiValueInvest: "บทเรียนหุ้นโภคภัณฑ์ " ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR
MatichonOnline: เปิดโควต้า-ผู้ถือหุ้น 10บริษัทผลิตน้ำมันปาล์ม ล้วน"ขาใหญ่-ตระกูลดัง" ?


 หุ้นที่ร้อนแรงและมีสีสันที่สุดกลุ่มหนึ่งในตลาดหุ้น ผมคิดว่า คือ หุ้นที่ผลิต หรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นครั้งเป็นคราว
โดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจร้อนแรงอย่างในช่วงเร็วๆ นี้ หุ้นโภคภัณฑ์บางตัวหรือบางกลุ่มจะปรับตัวหรือวิ่งขึ้นหวือหวามาก ราคาหุ้นอาจขึ้นไปได้เป็น 5-10 เท่าอย่างง่ายๆ  ในเวลาเดียวกัน อาจจะมีหุ้นโภคภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง ที่ปรับตัวลงเหลือครึ่งเดียวหรือต่ำกว่านั้น  
 นี่ไม่ใช่เฉพาะราคาที่ปรับตัวขึ้น แต่มันมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงลิ่วเป็นร้อย หรือเป็นพันล้านบาทต่อวัน หลายๆ ตัว มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดสิบอันดับแรกเกือบทุกวัน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ ดังนั้น หุ้นโภคภัณฑ์ต้องถือว่าเป็นหุ้น "ยอดนิยม" ในตลาดหุ้นไทย
 ลองนึกดูย้อนหลังไปเพียงไม่นาน ธุรกิจเรือเทกองเคยเป็นขวัญใจของนักเล่นหุ้นเกือบทุกคน และก็อาจจะรวมถึง  "VI" หลายๆ คน ที่วิเคราะห์ด้วย "หลักการแบบ VI" แล้วก็สรุปว่าหุ้นเรือนั้น  Undervalued หรือมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก แม้ว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปหลายเท่าแล้ว ผมคงไม่ต้องพูดว่า นั่นคือ ความผิดพลาดของการวิเคราะห์ เพราะว่าหุ้นเรือต่างก็ "จมลง" นั่นคือ ราคาที่เคยสูงลิ่วตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่กำไรของบริษัทยังดีน่าประทับใจ จนถึงขณะนี้ที่กำไรเริ่มตกต่ำลงอย่างมาก ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็ลดลงไปเรื่อยๆ และคนก็เลิกพูดกันเรื่องเกี่ยวกับเรือ และหันไปเล่นหุ้นโภคภัณฑ์ตัวอื่นต่อไป
 หุ้นผลิตฟิล์มสำหรับบรรจุอาหาร ในอดีตแทบไม่มีคนสนใจเลย เพราะกำไรของบริษัทไม่มีอะไรน่าประทับใจ การเติบโตก็ไปเรื่อยๆ ผมคิดว่านักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่ใคร่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทหน้าตาเป็นอย่างไร แต่แล้วจู่ๆ ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นราวกับติดจรวด สักระยะหนึ่งปริมาณการซื้อขายก็ตามมา หุ้นหลายตัวในกลุ่มกลายเป็นหุ้นยอดนิยม แม้แต่ "VI" จำนวนไม่น้อย ก็ยังคิดว่าหุ้นเหล่านี้ยังถูก และมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปอีกมาก หลังจากที่มันได้กระโดดขึ้นไปแล้วหลายเท่า เหตุผล ก็คือ จากการวิเคราะห์ด้วย "หลักการแบบ VI" แล้ว หุ้นยังคุ้มค่าที่จะซื้อเพราะราคาหุ้นนั้นยังถูกมาก กำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้นมากและเพิ่มต่อไปแบบก้าวกระโดด การวิเคราะห์เรื่องกำไรนั้นดูเหมือนว่าจะถูกต้อง กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น "มโหฬาร" ดังคาด แต่ราคาหุ้นกลับถดถอยลงอย่าง "ผิดคาด"
 หุ้นโภคภัณฑ์หลายตัวหรือหลายกลุ่ม ยาง เป็นตัวอย่างที่กำลัง "แสดงอยู่บนเวที" นั่นคือ ราคาหุ้นกำลังดีดตัวถึงขีดสุด กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนไม่น่าเชื่ออานิสงส์จากราคายางในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดน่าจะในประวัติศาสตร์ ปริมาณการซื้อขายหุ้นติดอันดับสูงสุดสิบอันดับเป็นว่าเล่นทั้งที่ไม่ใช่เป็นหุ้นตัวใหญ่ เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าหุ้นจะไปทางไหนหลังจาก "จบการแสดง"
 ทำไมหุ้นที่วิเคราะห์ตาม "หลักการแบบ VI" และพบว่ามันเป็นหุ้นที่ถูก  มี  Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยสูง แต่ราคากลับลดต่ำลงไปมาก  ตลาดผิดหรือคนวิเคราะห์ผิดกันแน่ เรามาดูกัน
 หุ้นโภคภัณฑ์ที่หวือหวาทั้งหลายที่กล่าวถึงนั้น ช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปหลายเท่าแล้วนั้น  บางทีจะพบว่า ข้อแรก ค่า PE หรือราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้นนั้นยังต่ำมากเพียง 3-4 เท่าก็มี  ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นที่ "ถูกมาก" ซื้อหุ้นแล้ว "เพียง  3-4 ปี ก็คืนทุนแล้ว" แต่นี่อาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะหุ้นโภคภัณฑ์นั้น กำไรมักไม่สม่ำเสมอ กำไรที่เห็นนั้นคือกำไรที่มากกว่าปกติมากและไม่ยั่งยืน กำไรโดยเฉลี่ยที่จะรักษาอยู่ได้นั้นอาจจะต่ำกว่าหลายเท่า  
 ดังนั้น การเอาปีที่กำไรดีผิดปกติมาใช้วัดค่า PE  จึงใช้ไม่ได้ หุ้นที่จะสามารถใช้ค่า PE เป็นตัววัดความถูกความแพง ควรจะเป็นกิจการที่มีกำไรสม่ำเสมอ หรือ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้น ในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์แบบนี้ ค่า PE จึงมีประโยชน์น้อย การบอกว่าค่า PE ต่ำแสดงให้เห็นว่าเป็นหุ้นถูกจึงอาจจะไม่ถูกต้อง นี่เป็น ข้อแรก
 ข้อสอง หุ้นโภคภัณฑ์ที่กำลังร้อน นอกจาก PE ต่ำแล้ว ค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชี  ซึ่งเป็นตัวชี้ความถูกความแพงอีกตัวหนึ่งก็อาจจะต่ำด้วย บางทีต่ำกว่า 1 เท่าหรือไม่เกิน 2 เท่า นี่เป็นการ "ยืนยัน" อีกจุดหนึ่งว่าหุ้นร้อนตัวนั้น "ยังถูกมาก" นี่ก็อาจจะมีส่วนจริงบ้างถ้าคิดว่ามูลค่าทรัพย์สินทางบัญชี อาจจะเป็นมูลค่าของทรัพย์สินจริงๆ ที่สามารถขายได้ในกรณีเลิกกิจการ แต่ในความเป็นจริง ก็คือ ไม่มีบริษัทไหนคิดจะเลิกกิจการ และผมก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเลิกจริงๆ สินทรัพย์จะมีราคาอย่างที่ว่าจริงไหม เพราะบ่อยครั้ง เวลาเลิกกิจการ โรงงานมักจะกลายเป็นเศษเหล็กที่แทบไม่มีค่าเลย นอกจากนั้น มูลค่าทางบัญชี ก็ลดลงได้ในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนในอนาคต เนื่องจากราคาของโภคภัณฑ์ที่ลดลงก็ได้ สรุปแล้ว ค่า PB ก็ไม่ได้บอกอะไรที่มีความหมายมากนักในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์ที่เป็นโรงงาน
 ข้อสาม ค่า Dividend Yield หรือผลตอบแทนเงินปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้น ของหุ้นโภคภัณฑ์ที่กำลังร้อนแรง มักจะสูงลิ่ว บางทีมากกว่า 6-7% ต่อปี ซึ่งเป็นปันผลที่งดงามมาก นี่เป็นตัวยืนยันความถูกของหุ้นในสไตล์หุ้น "ห่านทองคำ" ซึ่งเป็นแนวของนักลงทุนแบบ VI  ที่ "อนุรักษนิยมมาก" ในกลุ่ม VI ด้วยกัน ดังนั้น นี่เป็นการยืนยันความปลอดภัยของหุ้นอีกจุดหนึ่ง แต่นี่ก็อาจจะเป็นการวิเคราะห์ที่ผิดพลาดอีกเช่นกัน
 เหตุผล ก็คือ ปันผลที่เห็น เป็นปันผลที่คิดจากกำไร ถ้าในอนาคตกำไรลดลง ปันผลก็ต้องลดลง ผลตอบแทนที่บอกว่า 6-7% จึงเป็นปันผลเพียงครั้งเดียว ในอนาคตอาจจะน้อยลงหรือไม่มีก็ได้ ดังนั้น  Dividend Yield ในกรณีของหุ้นโภคภัณฑ์จึงไม่ได้บอกว่าหุ้นถูกหรือแพง
 สุดท้ายฐานะการเงินของหุ้นโภคภัณฑ์ในยามร้อนแรงก็อาจจะดีเยี่ยม บางทีมีเงินสดเหลือเฟือด้วยซ้ำ แต่นี่ก็อาจจะเป็นภาพลวงตา เพราะเงินสด ไม่ได้นำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น บางทีอนาคตก็อาจจะหมดไปกับการลงทุนหรืออะไรต่างๆ ที่ไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับบริษัท ดังนั้น เงินสดก็อาจจะมีความหมายไม่มาก ถ้าเจ้าของเขาไม่อยากแจกคืนให้ผู้ถือหุ้น
 ข้อสรุปรวบยอดของผม ก็คือ ตัวเลขและการวิเคราะห์ตามหลักการ "แบบ VI"  ใช้ไม่ได้กับหุ้นโภคภัณฑ์ วิธีการที่ผมคิดว่าดีที่สุดสำหรับการเล่นหุ้นโภคภัณฑ์ ก็คือ  ซื้อหุ้นก่อนที่วัฏจักรราคาสินค้าจะเป็น "ขาขึ้น" อย่างน้อย 2-3 เดือนโดยที่ราคาหุ้นยังไม่ได้ขยับขึ้น หรือปรับตัวขึ้นก็เพียงเล็กน้อย ขายหุ้นเมื่อทุกอย่างกำลังร้อนแรงสุดๆ และราคาหุ้นขึ้นไปสูงมากจนไม่น่าเชื่อ ทั้งหมดนี้ ผมคิดว่าคนที่รู้ดีที่สุด ก็คือ เจ้าของหรือผู้บริหารกิจการ ดังนั้น คนที่ได้เปรียบ ก็คือ คนในหรือคนที่ใกล้ชิด หรือได้ข้อมูลก่อนคนอื่น 

เปิดโควต้า-ผู้ถือหุ้น 10บริษัทผลิตน้ำมันปาล์ม ล้วน"ขาใหญ่-ตระกูลดัง" 



มติชน เปิด รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 บริษัทที่ได้รับโควต้าจัดสรรน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ ที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซียล็อตแรก 30,000 ตัน จากองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ หลังคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ ประกาศนำเข้าน้ำมันปาล์มหลังเกิดภาวะการขาดแคลนอย่างหนัก เมื่อต้นปี 2554



1.บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 5,865.33 ตัน เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 4,491,608 ลิตร    ส่งมอบไปแล้ว 2,668,152 ลิตร คงเหลือการผลิต 1,826,456 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นายประกิต ตริยานนท์, นายเกรียงศักดิ์ ตริยานนท์, นายต่อพงศ์ ตริยานนท์, นายต้นพงศ์ ตริยานนท์, นายมงคล ตริยานนท์, นายกิจจาศักดิ์ ตริยานนท์, น.ส.เจตกัญญา ตริยานนท์, นายศาณินทร์ ตริยานนท์, น.ส.กรุณา ตริยานนท์ และนางฉันทนันธ์ เอี่ยมนิรัตน์



2.บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 3,908.72 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 2,916,000 ลิตร ส่งมอบ 1,446,288 ลิตร คงเหลือ 1,469,712 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - บริษัท ล่ำสูง โฮลดิ้ง จำกัด, Hap Seng Consolidated Berhad, Cimb-Gk Securities Pte.Ltd., Lam Soon Cannery Private Limited, นายสมชัย จงสวัสดิ์ชัย, Cimb Securities (HK) Limited., Hsbc Private Bank (Suisse) Sa, นายสุวิทย์ เลาหะพลวัฒนา นางเพ็ญนิภา ตวงสิทธิสมบัติ และนายสุรพันธ์ พัฒนพิฑูรย์


3.บริษัท โอลีน จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 3,593.35 ตัน


เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 2,635,123 ลิตร ส่งมอบ 2,682,096 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นางล้วนมณี อัศวานนท์, นายอนุตร์ อัศวานนท์, เอ แอนด์ แอล โฮลดิ้ง จำกัด, นายประวิตร อัศวานนท์, นางสาวศรีสุรางค์ อัศวานนท์, นายศุภลักษณ์ อัศวานนท์, เด็กหญิงนุสรี อัศวานนท์, นางสาวนุสริน อัศวานนท์ และนางสุภาภัศร อัศวานนท์


4.บริษัท ปาล์ม ออยล์ เอ็นเนอร์ยี่ อินดัสทรี จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 1,950.00 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 1,450,000 ลิตร ส่งมอบ 1,285,620 ลิตร คงเหลือ 164,380 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นายมานิตย์ รักพานิชแสง, น.ส.นิรมล ไลยยางกูร, นายอนุ วรรณพุก, นายวสันต์ เมฆกระบัว และนางภัสร์ศุภดา ฐานะวร


5.บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันพืช จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 1,700.00 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 1,270,000 ลิตร ส่งมอบ 1,268,898 ลิตร คงเหลือ 1,102 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นางสุภาภรณ์ จินตนาเลิศ, นายชนะ จินตรัตนวงศ์, นายเชวง จินตนาเลิศ, นายศุภชัย จินตนาเลิศ, นายสมศักดิ์ จินตนาเลิศ, นายถาวร จินตนาเลิศ, นายสมชาย จินตนาเลิศ, นายโกเมนทร์ จินตนาเลิศ, นายพจน์ จินตนาเลิศ และนางเง็ก ตั๊นวิเศษ


6.บริษัท กลุ่มปาล์มธรรมชาติ จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 1,200.00 ตัน


เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 928,381 ลิตร ส่งมอบ 690,804 ลิตร คงเหลือ 237,577 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นายไพศาล ควรทรงธรรม, น.ส.พรทิพา ควรทรงธรรม, นายโกวิท ควรทรงธรรม, น.ส.ชลธิชา ควรทรงธรรม และ น.ส.จินตนา ควรทรงธรรม

7.บริษัท ที เอส อุตสาหกรรมน้ำมัน จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 1,198.75 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 927,972 ลิตร ส่งมอบ 537,360 ลิตร คงเหลือ 390,612 ลิตร

ผู้ถือหุ้น - นายปรีชา อรรถวิภัชน์, นายประภาส ชุติมาวรพันธ์, นายพงศ์ ชินธรรมมิตร, นายชนะชัย ชุติมาวรพันธ์, นายณรงค์ เจนลาภวัฒนกุล, นายจเด็จ อินสว่าง, นายวินย์ ชินธรรมมิตร,นายชลัช ชินธรรมมิตร์, นายสมชาย ชินธรรมมิตร์ และนายธนดล สุจิภิญโญ


8.บริษัท เหล่าธงสิงห์ จำกัด ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 995.44 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 754,000 ลิตร ส่งมอบ 261,768 ลิตร คงเหลือ 492,232 ลิตร


ผู้ถือหุ้น - นายสุเทพ เลาหวินิจ, นายสุวรรณ เลาหวินิจ, นางสุดสยาม จุลกทัพพะ, นางสาวสุดสงวน เลาหวินิจ, นางสาวสุดสวาท เลาหวินิจ, นายอรัญ เลาหวินิจ, นางเพ็ญศรี เลาหวินิจ, นางศิริรัตน์ เลาหวินิจ และนางกาญจนา เลาหวินิจ


9.บริษัท มรกต อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 5,000.00 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 3,854,300 ลิตร ส่งมอบ 3,577,325 ลิตร คงเหลือ 276,975 ลิตร

ผู้ถือหุ้น - ไซม์-มรกต โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย), ไชนา เอนยิเนียส์ (ประเทศไทย), พล.ต.เสรี สุทธิกุล, พล.อ.สุจินดา คราประยูร, นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล, นายอนันต์ อาศิระวิชัย, พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล, นายชัยโรจน์ กมลรัตนา, นายหาญชัย ฑีฆธนานนท์ และนายธำรงค์ ยงยิ่งศักดิ์ถาวร

10.บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ได้รับจัดสรรน้ำมันปาล์มดิบ 4,550.00 ตัน

เป้าหมายการผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 3,432,000 ลิตร ส่งมอบ 1,339,668 ลิตร คงเหลือ 2,092,322 ลิตร

ผู้ถือหุ้น - บจ.ชุมพรโฮลดิ้ง, นายสมเกียรติ ถวิลเติมทรัพย์, บมจ.กรุงเทพประกันภัย, นายไพศาล ฉัตรเลขวนิช, นายศุภชล นิธิวาสิน, นายพรชัย เดชวัฒนสุข, นายโกศล นันทิลีพงศ์, Citibank Nominees Singapore Pte Led-Bk Julius Baer & Co Ltd, นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช และนายชูศักดิ์ ปรัชญางศ์ปรีช

No comments:

Post a Comment