2011-02-27

P.02.26 - "สุธาชัย--คำ ผกา"



"สุธาชัย-จอม-คำ ผกา" วิเคราะห์เบื้องหลัง "6 ตุลา 2519"
ผ่านแง่มุมปวศ.-สื่อ-สลิ่มการเมือง

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 22:30:00 น.

คำ ผกา



สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ



จอม เพชรประดับ




เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" มีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คำ ผกา นักคิดนักเขียนชื่อดัง และ นายจอม เพชรประดับ สื่อมวลชน เข้าร่วมอภิปราย

นายสุธาชัยกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ยังมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ ในฐานะเหตุการณ์ที่ยังไม่กระจ่างชัดเจน หรือยังทำให้ชัดเจนไม่ได้ ใครก่อหรืออยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ เพราะไม่กล้าค้นข้อมูลหรือไม่กล้านำเสนอข้อมูล  

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา ถือเป็นความพ่ายแพ้ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม กล่าวคือแม้ฝ่ายประชาชนอาจพ่ายแพ้ในวันนั้น แต่มาวันนี้ตนขอยืนยันว่านักศึกษาไม่ได้แพ้ เพราะเมื่อย้อนกลับไปวันนั้น ฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมรู้สึกดีใจ พอใจในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 6 ตุลา แต่ทันทีที่รัฐบาลชุดดังกล่าวขึ้นบริหารประเทศ ภาพก็ติดลบทันที เนื่องจากนานาชาติไม่เอาด้วย จนต้องส่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้นคือนายสมัคร สุนทรเวช ไปพูดคุยกับรัฐบาลต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ระหว่างที่รัฐบาลธานินทร์อยู่ในอำนาจก็มีแต่คนเกลียดรัฐบาล จึงเกิดรัฐประหารโค่นรัฐบาลธานินทร์ และได้รัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งมี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี นำมาสู่การออกนโยบายผ่อนปรน นิรโทษกรรมนักโทษ ฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อ ในเหตุการณ์ 6 ตุลา

การเกี่ยวข้องกับ 6 ตุลา จึงไม่ได้เป็นเกียรติประวัติ วีรกรรม แต่เป็นความพ่ายแพ้จริงๆ ของฝ่ายขวาที่ต้องซ่อนพฤติกรรมของตัวเองเมื่อครั้งนั้นของพวกตนเอาไว้ว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และพยายามทำให้ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาหายไป แต่ก็หายไม่สนิทเพราะมีคนมาจัดงานรำลึกถึงทุกปี เป็นการสร้างอนุสรณ์ ในลักษณะ "หนามยอกอก"

นายสุธาชัยเสนอว่า 6 ตุลา ในทางประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่อิหลักอิเหลื่อ ขัดแย้งกับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นเรื่องวีรกรรมการสร้างชาติของชนชั้นนำ ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนนั้นประชาชนไม่ต้องทำอะไร คอยตามแล้วจะดี  แต่ปัญหาของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 คือ ไม่สามารถเข้ากับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนบอกเราว่าประวัติศาสตร์มักตกแต่งอดีตให้งดงาม และกลบเกลื่อนความเป็นจริงเอาไว้ ปัญหาสำคัญตอนนี้ก็คือประชาชนไม่เชื่อในโครงเรื่องประวัติศาสตร์แบบนี้อีกต่อไป และประวัติศาสตร์ที่เคยถูกเขียนขึ้นนั้นก็ใกล้จบลงแล้ว

นายจอมกล่าวว่า สื่อในปัจจุบันมีจุดกำเนิดที่เติบโตมาจากฐานความคิดแบบชนชั้นนำ ผู้ปฎิบัติงานสื่อจึงไม่สามารถลุกขึ้นมาหักล้างหรือคัดค้านกับฐานความคิดดังกล่าวได้ การที่จะมีคนลุกขึ้นมาสุดท้ายก็แพ้ ทุกคนก็ไม่อยากเจ็บตัว ไม่อยากอยู่ในสถานะสิ้นไร้ไม้ตอก โอกาสที่สะท้อนความเป็นจริงก็เป็นแค่ข่าวเชิงสร้างภาพลักษณ์ แต่เชิงความจริงใจในเรื่องการให้ประชาชนสะท้อนความเดือดร้อนได้นั้นทำไม่ได้ในสื่อหลัก เพราะไม่สามารถโต้เถียงกับกลุ่มทุน หรือฝ่ายทางการเมือง

"ความจริง" ที่ปรากฎในสื่อจึงเป็นการพยายามครอบงำประชาชนให้อยู่ร่วมกับชนชั้นนำโดยไม่กระทบกันมากกว่า แต่ปัจจุบันมีสื่อทางเลือกที่มีสิทธิมีเสียง สามารถให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นนำได้มากขึ้น ซึ่งน่าเป็นช่องทางที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้ในอนาคตและสถานการณ์จะเป็นแบบนี้ไปพักใหญ่จนกว่าจะเกิดการกดดันให้ประเทศมีความเปลี่ยนแปลง เราจึงไม่สามารถคาดหวังอะไรได้มากในสื่อกระแสหลัก ส่วนสื่อพวกกระแสรองก็ยังเป็นเพียงทางเลือก ทั้งนี้ ตนมองว่าสื่อในไทยยังอยู่ในความกลัว และไม่กล้าที่จะพังกำแพงความกลัวออกไป

ด้านคำ ผกา เสนอว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นกำเนิดของ "สลิ่ม" 2 จำพวกในสังคมไทย สลิ่มไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว แต่เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยสามารถจัดแบ่ง "สลิ่ม" ออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

"สลิ่ม" พวกแรก เรียกว่าพวกไร้อุดมการณ์ ที่มาของพวกนี้คือ ชนชั้นกลางที่ถูกดึงให้เป็นพันธมิตรกับอุดมการณ์ขวาจัด ถูกสอนให้เบื่อหน่ายการประท้วงของนักศึกษา กลัวความเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน กลัวคอมมิวนิสต์ จากนั้นขบวนการขวาจัดก็ได้ปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมนั่นคือ สร้างโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยว่าดินแดนไทยเป็นสิ่งที่ถูกปกป้องมายาวนาน

คีย์เวิร์ดที่กลุ่มนี้ใช้ คือ สิ่งชั่วร้าย, คอมมิวนิสต์, อนาธิปัตย์, ทรยศต่อชาติ และเครื่องมือทางอุดมการณ์ คือ "ทุกอย่าง" ตั้งแต่ระบบการศึกษา  แบบเรียน เพลงปลุกใจ และสารคดี สื่อ โทรทัศน์

ส่วน "สลิ่ม" กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ดูมีความน่ากลัวกว่ากลุ่มแรก  เพราะมีกลวิธีการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมขวาจัดที่แนบเนียนกว่า กำเนิดของสลิ่มกลุ่มที่สองเป็นสลิ่มที่อยู่ตรงกลาง คือสิ่งมีชีวิตที่กลายพันธุ์กลุ่มนี้เคยถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้าย เคยอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายขวา เช่น กลุ่มผู้นำนักศึกษา คนเคยเข้าป่า นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นน้ำดี ศิลปินเพื่อชีวิต

จุดเชื่อมต่อของคนเหล่านี้ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นซ้ายเข้ากับฝ่ายขวา ก็คือ ในขณะที่ฝ่ายขวาชูอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม อีกฝ่ายหนึ่งที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้ายก็ชูอุดมการณ์ชนบทนิยม ชุมชนนิยม ซึ่งดูเหมือนจะแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนี้คือ ทั้งสองกลุ่มต่างแชร์อุดมการณ์การต่อต้านเสรีนิยมใหม่ เพราะว่า อุดมการณ์ของทั้งสองฝ่ายนี้ยึดถือแท้จริงแล้วเป็นอุดมการณ์จารีตนิยมเหมือนกัน

"สลิ่ม" เหล่านี้มักอวตารอยู่ในร่างเอ็นจีโอ ที่ทำงานในเครือข่ายทรัพยากร นักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานเพื่อคนยากจน  นักวิชาการที่โหยหาวิถีชนบท สิ่งที่คนเหล่านี้แสวงหาคือ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ซึ่งไม่เหมือนกับที่โลกเขาเป็นกัน

นักเขียนดังสรุปความเห็นว่า การต่อสู้ทางการเมืองไทยตอนนี้ คือการต่อสู้ระหว่างชาตินิยมสองแบบ คือ "ชาตินิยมที่เน้นราชาธิปไตย" กับ "ชาตินิยมที่เน้นประชาชน" ซึ่งคือกระบวนการของคนเสื้อแดง อุปสรรคของชาตินิยมประชาชนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาคือ ฝ่ายอำมาตย์ และฝ่ายขวาจัดหัวรุนแรง แต่ศัตรูที่น่ากลัวกว่าคนสองกลุ่มดังกล่าวก็คือ"พันธุ์อวตารของขวาจัดที่ทำงานในร่างซ้ายเก่า" ที่ทำงานในกลุ่มประชาสังคม เอ็นจีโอ ซึ่งต่อต้านนักการเมืองชั่วและทุนสามานย์นั่นเอง

เพราะฉะนั้น สื่อที่น่ากลัวไม่ใช่สื่อที่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เป็นสื่อในนามความหวังของประชาชน สื่อของชนชั้นล่าง เพราะสื่อเหล่านี้ได้กระทำและผลิตไปบนความปราถนาดีต่อชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบ คนเหล่านี้อยากรื้อฟื้นจิตวิญญาณของสังคมไทยที่ถูกลืมเลือนไป ในสายตาของสื่อเหล่านี้ชาวบ้านคือลูกแกะหลงทาง ที่ต้องต้อนกลับมา กลุ่มทุนเหล่านี้มักมองไม่เห็นหรือทำเป็นมองไม่เห็นว่าทุนนิยมจารีตนั้นแทบเป็นเนื้อเดียวกับทุนโลกาภิวัฒน์ที่สูบกินทรัพยากรของชาติมากกว่าทุนนักการเมืองหรือทุนต่างชาติไร้เส้นสายรวมกัน

ดังนั้น สำหรับฝ่ายขวาจัดที่อวตารมาในร่างผู้คนปกป้องชาวบ้านและคนจน มีข่ายแหความเกื้อกูล แฃะพิทักษ์โลกสีเขียว จึงน่ากลัวกว่าฝ่ายขวาจัดมากมาย

คลิก อ่านคำอภิปรายโดยละเอียดของผู้อภิปรายทั้งสามคน ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้





"ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ" ชำแหละประวัติศาสตร์ 6 ตุลาซัด "ฆ่าผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุด"(ฉบับเต็ม)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298709380

"ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ" ชำแหละประวัติศาสตร์ 6 ตุลาซัด
"ฆ่าผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุด"(ฉบับเต็ม)

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 15:55:13 น.




เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" โดยมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ คำ ผกา, วัฒน์ วรรลยางกูร,ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, จอม เพชรประดับ และ วิภา ดาวมณี

ก่อนเริ่มงานนายวัฒน์ ได้ร้องเพลงกับเพื่อน รำลึกหกตุลาร่วมนำอดีตมาสู่ปัจจุบัน และย้ำว่าตนไม่ได้โกรธ เกลียด หรือเคียดแค้น แต่ไม่เคยลืมและแถลงข่าว การแสดงคอนเสิร์ต "35 ปี 6 ตุลา จากภูพานถึงลานโพธิ์" ที่จัดขึ้นในวันที่  20 มีนาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา คลิกรับชมคลิปบรรยากาศ

ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ผ่านไปแล้ว 35 ปี เหตุการณ์นี้อยู่ในฐานะประวัติศาสตร์ ซึ่งขอเล่าว่าเวลาพูดถึงประวัติศาสตร์ สาเหตุเริ่มจากความขัดแย้งในทางอุดมการณ์ในสังคมที่นักศึกษาปัญญาชนกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับอุดมการณ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม เพราะรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง ก่อนหน้านี้ ปัญญาชนชั้นนำพูดว่าจักรพรรดินิยม ศักดินานิยม ทุนนิยมนั้นเป็นสิ่งดี แต่นักศึกษาไม่รับสามสิ่งนี้ เพราะนักศึกษาไปรับอุดมการณ์สังคมนิยมที่ให้คุณค่ากับประชาชน เน้นเศรษฐกิจวางแผน ไม่รับศักดินา และจักรวรรดิ

ต้องยอมรับก่อนว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ ความขัดแย้งนี้สามารถแก้ได้ด้วยสันติวิธี ถ้าชนนั้นนำไทยคิดแบบนี้ เหตุการณ์หกตุลาคงไม่เกิด ปัญหาคือคนชนชั้นนำไม่คิดแบบประชาธิปไตย แต่คิดด้วยความอำมหิต ในที่สุดแล้วก็เริ่มใช้กระบวนการกวาดล้าง และใช้กระบวนการอื่นๆร่วมไปด้วยอย่างการใช้กลุ่มฝ่ายขวาใช้ความรุนแรงต่อนักศึกษา นอกจากตั้งกลุ่มขวาจัดแล้วก็มีการปิดกั้นสื่อฝ่ายนักศึกษา และใช้สื่อข้างเดียวโจมตีใส่ร้ายนักศึกษา พอได้ที่ก็ก่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม2519 ขึ้น 

19 กันยายน ปีพ.ศ. 2519 ได้มีการเอาจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลับเข้ามาบวชที่วัดบวรนิเวศ จากนั้นนักศึกษาก็เคลื่อนไหวต่อต้าน ประเด็นที่เรียกร้องคือขอให้เอาจอมพลถนอมมาลงโทษทางกฎหมาย ไม่ได้เรียกร้องขับไล่ ในระหว่างการเคลื่อนไหวถนอม กลุ่มฝ่ายขวาก็สร้างเรื่องว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีภาพ"การแขวนคอ" ในที่สุดก็มีการเข่นฆ่า จับกุมในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม เอาตำรวจมาล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยิงโดยไม่มีการปราศรัย มีผู้เสียชีวิต 42 คน บาดเจ็บ 150 คน ถูกจับกุม 3,094 คน ถูกดำเนินคดี 19 คน

กล่าวได้ว่า เช้าหกตุลาเป็นการฆ่าผู้บริสุทธิ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จุดที่เป็นที่สุดคือการปูทางไปสู่การก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจที่เรียกว่า คณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดิน สถาปนาอำนาจเผด็จการโดยเอานายธานินทร์ กรัยวิเชียรขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี การรัฐประหารครั้งนี้ ได้มีการตระเตรียมอย่างน้อยสักแปดเดือน ตามหลักฐานที่มี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ชนชั้นนำได้มีการหารือกันว่าจะทำรัฐประหารเพราะเห็นว่าบ้านเมืองมีสถานการณ์วุ่นวาย

หลังจากนั้นได้มีการเชิญนายธานินทร์มาคุย ธานินทร์ก็ได้นำเสนอ "สภาปฎิรูป" และได้มีการสร้างกระแสมาเรื่อยๆ ทั้งแนวคิดสภาปฎิรูป หรือรัฐบาลปฎิรูป รัฐบาลหลังรัฐประหารวันที่ 6 ตุลา จึงมีการตระเตรียมกันมาก่อน แปลว่า การปราบปรามวันที่ 6 ตุลาคม ไม่ได้ทำโดยสะเปะสะปะ

ทั้งนี้ รัฐบาลที่เป็นอุดมคติคือ รัฐบาลที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างสุดขั้ว ขวาได้ใจ เป็นเผด็จการเต็มรูป ล้มการเลือกตั้งทุกระดับ เปลี่ยนเป็นการแต่งตั้งยกเว้นกทม. นอกนั้นก็ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง  เอารัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้ ซึ่งใช้กันยาว 12 ปีเป็นอย่างน้อย โดยอ้างว่าประชาชนใช้ประชาธิปไตยไม่เป็น ให้มีการวางแผนโดยไม่มีการเลือกตั้งไปสี่ปี และรัฐบาลธานินทร์มีแผนฟื้นฟูประชาธิปไตยในสิบสองปี จึงไม่ได้มีการตั้งคณะร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลธานินทร์ยังเป็นรัฐบาลที่ออกทำสื่อมวลชนเองเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ทำหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ประกาศว่าหนังสือพิมพ์อื่นโกหกหมด แต่ผลคือ เจ๊ง! ไม่มีใครซื้อ น่าเสียดายที่วางแผนจะปกครอง 12 ปีแต่อยู่ได้ปีเดียวก็เกิดรัฐประหาร

เมื่อผ่านไป 35 ปีแล้วมีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ตัวละครต่างๆตายไปเกือบหมด ซึ่งสิ่งที่เหมือนเดิมคือทุกวันนี้รัฐยังเป็นประชาธิปัตย์ แต่ที่เปลี่ยนแปลงคือความเหี้ยมโหด อำมหิต รัฐบาลปัจจุบันยินดีมอบอำนาจให้ทหาร แต่สมัยนั้นไม่ยินยอมประกาศภาวะฉุกเฉิน

คิดว่าหกตุลายังมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ในฐานะเหตุการณ์ที่ยังไม่กระจ่างชัดเจน หรือทำให้ชัดเจนยังไม่ได้ ใครก่อเหตุการณ์นี้เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ หรือใครอยู่เบื้องหลัง 14 ตุลา ประเด็นในทางประวัติศาสตร์คือไม่ได้ตอบด้วยข้อมูล แต่ที่บอกว่าตอบไม่ได้นั้น เป็นเพราะไม่กล้าค้นข้อมูล หรือไม่กล้าเสนอ  

ประเด็นที่กล่าว คือ หกตุลาเป็นความพ่ายแพ้ของอนุรักษ์นิยม ฝ่ายประชาชนอาจแพ้ในวันนั้น วันนี้ยืนยันว่านักศึกษาไม่ได้แพ้ ย้อนไปเมื่อวันนั้น อนุรักษ์ฝ่ายขวานั้นดีใจ พอใจในรัฐบาลธานินทร์ แต่ทันทีที่ขึ้นบริหารประเทศนั้นภาพติดลบทันที คือนานาชาติไม่เอาด้วย  ต้องส่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้นคือนายสมัคร ไปพูดคุยทุกประเทศ 

ระหว่างที่อยู่ในอำนาจก็มีแต่คนเกลียดรัฐบาล เพราะฉะนั้น จึงเกิดรัฐประหารโค่นรัฐบาลธานินทร์ ในที่สุดจึงได้รัฐบาลชุดใหม่ มีพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ มาเป็นนายกฯ เห็นว่าต้องผ่อนปรน นิรโทษนักโทษ ฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อ แต่ที่น่าเสียดายคือยังไม่ได้นิรโทษกรรมฝ่ายฆาตกร จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการนิรโทษกรรม

การเกี่ยวข้องกับหกตุลานั้นไม่ได้เป็นเกียรติประวัติ วีรกรรม นี่คือเป็นความพ่ายแพ้จริงๆของฝ่ายขวาต้องซ่อนพฤติกรรมของตัวเอง  พวกอนุรักษ์นิยมคุยไม่ได้ พวกนี้ก็ซ่อนว่าตัวเองไม่เกี่ยว ทำให้ประวัติศาสตร์หายไป แต่ไม่หายเพราะมีคนมาจัดงานทุกปี เป็นการสร้างอนุสรณ์ เป็นหนามยอกอก

ประเด็นสุดท้ายคือ จากวันนั้นสู่วันนี้ ให้บทเรียนสำคัญ คือ จากวันนั้นถึงวันนี้ชนชั้นปกครองไม่เปลี่ยน สะท้อนว่าสังคมไทยเป็นเมืองพุทธ คิดใช้ความรุนแรงกับประชาชนเสมอ ชนชั้นกลางไทยถูกปลูกฝังให้โง่ หกตุลาโหดตรงที่ประชาชนจำนวนหนึ่งปรบมือ ร้องเพลง ในขณะที่มีการฆ่านักศึกษา คนที่ปรบมือทำเพราะไม่รู้ คิดว่า คนหมิ่นฯก็สมควรแล้ว ภาพนี้เป็นภาพสะท้อนช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งนั้นชนชั้นกลางไทยถูกครองด้วยระบบศักดินา และสงวน "การฆ่า" ถ้าคิดว่ามันนำมาซึ่งเสถียรภาพตราบใดที่ทำมาหากินได้ปกติ เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์รักษาเสถียรภาพได้ก็ไม่ต้องออก ซึ่งถ้ามีการเลือกตั้งใหม่เชื่อว่าจะกลับมาอีกครั้งเพราะฝ่ายอำมาตย์ได้เลือกเฟ้นมาอย่างดีแล้ว แม้ว่าอภิสิทธิ์จะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ก็ตาม

ชนชั้นปกครองเหมือนกับสมัยนี้คือไม่ได้คิดแบบประชาธิปไตย แต่เห็นว่าจะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ถ้ามีเสถียรภาพก็ใช้  เมื่อสังคมไม่มีระเบียบ ชนชั้นปกครองก็ไม่เคารพกติกาและรัฐธรรมนูญแม้ว่าตัวเองเป็นคนร่างก็ตาม และใช้กฎหมายด้านเดียวกับประชาชนเสมอ ชนชั้นปกครองก็ไม่มีการแก้ปัญหาคนที่คิดต่างนอกจาก "การฆ่า" จึงไม่แปลกที่ตั้งแต่หกตุลา ชนชั้นปกครองทำลายประชาธิปไตยเสมอ เพียงแต่ทุกวันนี้มันไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อน ประชาชนวันนี้ ไม่ยอมให้ถูกทำลาย กระแสการต่อสู้นั้นไม่ยอมให้ชนชั้นนำทำลายได้ง่ายๆอีกต่อไป

กรณีหกตุลา เอาข้อหาหมิ่นฯมาเป็นข้ออ้างในการเข่นฆ่าประชาชน และชนชั้นปกครองก็ใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือมาจนถึงปัจจุบัน

สรุปได้ว่า หกตุลาในทางประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่อิหลักอิเหลื่อ ขัดแย้งกับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นเรื่องวีรกรรมการสร้างชาติของชนชั้นนำ ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนนั้นประชาชนไม่ต้องทำอะไร คอยตามแล้วจะดี  แต่ปัญหาของหกตุลาเข้าโครงเรื่องกับเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าไม่ได้ ก็สะท้อน บอกเราว่าประวัติศาสตร์ตกแต่งอดีตให้งดงาม กลบเกลื่อนความเป็นจริง แล้วที่ผ่านมาเราไม่มีทางรู้ว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาปกปิดอะไรไว้บ้าง ปัญหาหนักตอนนี้คือประชาชนไม่เชื่อโครงเรื่องประวัติศาสตร์แบบนี้ และประวัติศาสตร์ที่เคยถูกเขียนขึ้นนั้นมันก็ใกล้จบลงแล้ว

"ขณะนี้ เรากำลังอยู่ในวิกฤติการเมืองยาว อยู่ท่ามกลางวิกฤติ ดังนั้น ทางออกที่ชัดเจนเราอาจยังมองไม่เห็น วิกฤติที่เกิดไม่ใช่วิกฤติของประชาชนเลย





"จอม เพชรประดับ" รับสื่อเป็นเครื่องมือชนชั้นนำ ไม่มีใครลุกสู้ ไม่อยากเจ็บตัว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298720839

"จอม เพชรประดับ" รับสื่อเป็นเครื่องมือชนชั้นนำ
ไม่มีใครลุกสู้ ไม่อยากเจ็บตัว

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 18:55:31 น.








เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" โดยมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ คำ ผกา, วัฒน์ วรรลยางกูร, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, จอม เพชรประดับ และ วิภา ดาวมณี

นายจอม กล่าวว่า เบื้องหน้าประชาธิปไตยที่ได้สัมผัสจากการทำงานทางสื่อ ถ้าเราศึกษาถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 นั้นเป็นจุดสำคัญที่ชนชั้นนำมีความคิดที่นำไปสู่การวางแผนว่าการดำรงอยู่ในอำนาจนั้นทำอย่างไร แม้ว่าจะเป็นความพ่ายแพ้ ซึ่งยุทธศาสตร์ที่จะดำรงอยู่ในอำนาจนั้นก็ดำรงเรื่อยมา

หนึ่งในยุทธศาสตร์ คือเรื่องเศรษฐกิจ ในช่วงพ.ศ. 2475 หรือ 14 ตุลานั้นอาจเห็นไม่ชัด แต่ปรากฎชัดในยุคพลเอกชาติชาย ยุคนั้นสิ่งที่ทำให้สังคมไทยตื่นตัวมีความคิดมากขึ้นเมื่อปากท้องอิ่ม ไม่ต้องยากจน แต่สุดท้ายก็ถูกปฎิวัติแม้ว่าจะมีเรื่องคอร์รัปชั่น เมื่อเศรษฐกิจของประเทศดีนั้นนำไปสู่เรื่องสื่อ ในวงการสื่อมีความคึกคักมาก มีการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ขยายตัวกว้างขวาง มีทุน และเริ่มเข้มแข็ง ประชาชนก็เริ่มมีสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นนำกลัว แม้ว่าสื่อจะเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำตั้งแต่เริ่ม แต่เมื่อพัฒนามาสู่เรื่องเศรษฐกิจก็เริ่มมีความเข้าใจ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

ช่วงพฤษภา 2535 นั้นมีกระแสสังคมเรียกร้องขึ้น  การที่คนไปชุมนุมนั้นก็เป็นเพราะการปิดกั้นสื่อ สุดท้ายก็มีการเรียกร้องสื่อเสรี แต่ในช่วงยุคไอทีวี อยู่ได้ไม่กี่ปีก็พัง สื่อตัวนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยทุนของคุณทักษิณ แน่นอนว่าชนชั้นนำรู้ว่ามันมีอิทธิพลในอนาคต แต่ไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไร พอไอทีวีหลุดจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คุณทักษิณก็เข้ามาซื้อ และก็ถูกจับตา เมื่อถึงจุดหนึ่ง แนวคิดหรือวิธีการของคุณทักษิณกำลังไปง้างกับชนชั้นนำและอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ลดบทบาท สิ่งที่เกิดคือ สื่อเสรีถูกจับตามองมากขึ้น

ทุกประเด็นก็ขมวดเข้ามาสู่การปฎิวัติปีพ.ศ. 2549 โมเดลแรกที่ต้องการให้เป็นนั้นคือการเป็นแบบช่อง 11 แต่คนไม่ยอมเบื้องหลังก็คือไม่ต้องการให้ไอทีวีเป็นของเอกชน อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้ประชาชนมีอิสระ มีสื่อที่แสดงความคิดเห็นมากขึ้น แต่การต่อสู้เพื่อการแสดงความคิดเห็นของประชาชนก็ยังมีขวากหนาม สุดท้ายแล้วชนชั้นนำก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงความพยายาม ปรากฎการณ์แบบนี้น่ามาจากข้ออ้างอะไรบางอย่างที่ชนชั้นนำต้องการคุมอะไรไว้ได้

ที่สุดแล้วชนชั้นนำไทยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่ามีความกดดันภายนอกที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นก็ตาม

เมื่อมองไปสู่สื่อปัจจุบัน ในเมื่อจุดกำเนิดของสื่อเติบโตมาจากฐานความคิดชนชั้นนำ เจ้าของทุน ผู้ปฎิบัติงานสื่อจึงไม่สามารถลุกขึ้นมาหักล้างหรือคัดค้าน การที่จะมีคนลุกขึ้นมาสุดท้ายก็แพ้ ทุกคนก็ไม่อยากเจ็บตัว ไม่อยากอยู่ในสถานะสิ้นไร้ไม้ตอก โอกาสที่สะท้อนความเป็นจริงก็เป็นแค่ข่าวเชิงสร้างภาพลักษณ์ แต่เชิงความจริงใจในเรื่องการให้ประชาชนสะท้อนความเดือดร้อนได้นั้นทำไม่ได้ในสื่อเชิงหลัก ไม่สามารถโต้เถียงกับกลุ่มทุน ฝ่ายทางการเมือง

ความจริงที่ปรากฎในสื่อจึงเป็นการพยายามครอบงำให้อยู่ร่วมกับชนชั้นนำโดยไม่กระทบมากกว่า ซึ่งปัจจุบันก็มีสื่อทางเลือกที่มีสิทธิมีเสียง สามารถให้ประชาชนวิจารณ์ได้มากขึ้นก็น่าเป็นช่องทางที่ประชาชนจำเป็นต้องใช้ในอนาคตและเป็นส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ว่าเป็นแบบนี้ไปพักใหญ่จนกว่าจะกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ มันจึงไม่สามารถคาดหวังอะไรได้มากในสื่อกระแสหลัก ส่วนสื่อพวกกระแสรองก็เป็นทางเลือก ทั้งนี้ ก็มีบางมุมมองว่าสื่อกระแสหลักกลายเป็นสื่อกระแสรอง สื่อกระแสรองกลายเป็นสื่อกระแสหลักแล้วก็มี ซึ่งสื่อในไทยยังอยู่ในความกลัว ไม่กล้าที่จะพังกำแพงความกลัวออกไป 







"คำ ผกา" แรง ผ่าพวกชาตินิยม แบ่งประเภท"สลิ่ม"การเมือง ถามใครกันแน่คือทุนนิยมสามานย์ !?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298722032

"คำ ผกา" แรง ผ่าพวกชาตินิยม แบ่งประเภท"สลิ่ม"การเมือง
ถามใครกันแน่คือทุนนิยมสามานย์ !?

aaaaaa


มื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดเสวนา "เบื้องหลัง 6 ตุลา เบื้องหน้าประชาธิปไตยไทย" โดยมีวิทยากรเข้าร่วมงานได้แก่ คำ ผกา, วัฒน์ วรรลยางกูร, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, จอม เพชรประดับ และ วิภา ดาวมณี


คำ ผกา กล่าวว่า จริงๆแล้วเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เชื่อว่าเป็นชัยชนะของประชาชน เป็นความเข้าใจผิด เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ชัยชนะของนักศึกษา หรือประชาชน แต่ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดในแง่ที่สถาบันจารีตได้รับความนิยมชมชอบอย่างหมดจด

เหตุการณ์หกตุลาเป็นด้านกลับของชัยชนะครั้งนี้ เป็นต้นกำเนิดของสลิ่มสองจำพวกในสังคมไทย สลิ่มไม่ได้เกิดจากการสลายชุมนุมคนเสื้อแดงแต่เกิดจากทศวรรษ 70 ในที่นี้ กล่าวว่า สลิ่มแบ่งได้เป็นสองแบบ

สลิ่มพวกแรก เรียกว่าพวกไร้อุดมการณ์ (เสื้อเหลือง) ที่มาของพวกนี้คือ ชนชั้นกลางที่ถูกดึงให้เป็นพันธมิตรกับอุดมการณ์ขวาจัด ถูกสอนให้เบื่อหน่ายการประท้วงของนักศึกษา กลัวความเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน กลัวคอมมิวนิสต์ จากนั้นขบวนการขวาจัดก็ได้ปลุกอุดมการณ์ชาตินิยมนั่นคือ สร้างโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของไทยว่าดินแดนไทยเป็นสิ่งที่ถูกปกป้องมายาวนาน

คีย์เวิร์ดที่กลุ่มนี้ใช้ คือสิ่งชั่วร้าย, คอมมิวนิสต์, อนาธิปัตย์, ทรยศต่อชาติ และเครื่องมือทางอุดมการณ์ คือ "ทุกอย่าง" ตั้งแต่ระบบการศึกษา  แบบเรียน เพลงปลุกใจ และสารคดี สื่อ โทรทัศน์ เสริมจุดนี้ว่า สื่อมวลชนของไทยเคยมีเสรีภาพมากสุดคือช่วง 2475 เนื่องจากไทยยังอยู่ในสิทธิเสรีภาพนอกอาณาเขต เนื่องจากยังมีคนบางกลุ่มที่อยู่ในบังคับของฝรั่งเศส หรืออังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย จากข้อได้เปรียบดังกล่าวของสื่อไทย หากใครอยากด่าผู้มีอำนาจก็จะไปจ้างแขก หรือใครก็ได้ที่อยู่ในอังกฤษ ฝรั่งเศสมาวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน

การสร้างสลิ่มขึ้นมาในสังคมไทย เห็นได้จากว่าชุดคำพูดเหล่านี้ เป็นชุดคำที่พันธมิตรเอามาใช้อย่างสม่ำเสมอและกระบวนการนี้ยังมากับวาทกรรมรังเกียจนักการเมือง 

ส่วนกลุ่มที่สองเรียกว่า เป็นกลุ่มที่มีอุดมการณ์ แต่ดูมีความน่ากลัวกว่ากลุ่มแรก  เพราะมีกลวิธีการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายขวาจัดที่แนบเนียนกว่า กำเนิดของสลิ่มกลุ่มที่สองเป็นสลิ่มที่อยู่ตรงกลาง คือสิ่งมีชีวิตที่กลายพันธ์จากกลุ่มนี้เคยถูกมองว่าเป็นซ้าย คือกลุ่มที่เคยอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายขวา ซึ่งสลิ่มกลุ่มนี้หมายถึง กลุ่มผู้นำนักศึกษา อย่างคนเคยเข้าป่า นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นน้ำดี ศิลปินเพื่อชีวิต กล่าวได้ว่า เสกสรรค์ ประเสิรฐกุล และจิรนันท์ พิตรปรีชา ก็เป็นคนที่กลายพันธุ์เหล่านี้ จุดเชื่อมต่อของคนเหล่านี้ ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นซ้ายและฝ่ายขวา คือคนที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้าย ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งชูอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม อีกฝ่ายหนึ่งที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นซ้ายก็ชูอุดมการณ์ชนบทนิยม ชุมชนนิยม แต่ทั้งหมดนี้แชร์การต่อต้านเสรีนิยมใหม่ เพราะว่า อุดมการณ์ของทั้งสองฝ่ายนี้แท้จริงแล้วเป็นอุดมการณ์จารีตนิยม

สลิ่มเหล่านี้มักอวตารอยู่ในร่างเอ็นจีโอ ที่ทำงานในเครือข่ายทรัพยากร นักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม คนที่ทำงานเพื่อคนยากจน  นักวิชาการที่โหยหาวิถีชนบท สิ่งที่คนเหล่านี้แสวงหาคือ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ซึ่งไม่เหมือนกับที่โลกเขาเป็นกัน

โดยสรุป มองว่าการต่อสู้ทางการเมืองไทยตอนนี้ คือการต่อสู้ระหว่างชาตินิยมสองแบบ คือ "ชาตินิยมที่เน้นราชาธิปไตย" กับ "ชาตินิยมที่เน้นประชาชน" ซึ่งคือกระบวนการของคนเสื้อแดง อุปสรรคของชาตินิยมประชาชนที่เพิ่งเกิดขึ้นมาคือ ฝ่ายอำมาตย์, ขวาจัดหัวรุนแรง แต่ศัตรูที่น่ากลัวกว่าคือ พันธุ์อวตารของขวาจัดที่ทำงานในร่างซ้ายเก่าที่ทำงานในกลุ่มประชาสังคม เอ็นจีโอ ที่ต่อต้านนักการเมืองชั่ว ทุนสามานย์

เพราะฉะนั้น สื่อที่น่ากลัวไม่ใช่สื่อที่เซ็นเซอร์ตัวเอง แต่เป็นสื่อในนามความหวังของประชาชน สื่อของชนชั้นล่าง เพราะสื่อเหล่านี้ได้กระทำ และผลิตไปบนความปราถนาดีต่อชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาส คนชายขอบ คนเหล่านี้อยากรื้อฟิ้นจิตวิญญาณของสังคมไทยที่ถูกลืมเลือนไป ในสายตาของสื่อเหล่านี้ชาวบ้านคือลูกแกะหลงทาง ที่ต้องต้อนกลับมา กลุ่มทุนเหล่านี้มักมองไม่เห็นหรือทำเป็นมองไม่เห็นว่าทุนนิยมจารีตนั้นแทบเป็นเนื้อเดียวกับทุนโลกาภิวัฒน์ที่สูบกินทรัพยากรของชาติมากกว่าทุนนักการเมืองหรือทุนต่างชาติไร้เส้นสายรวมกัน

ฝ่ายขวาจัดที่อวตารมาในร่างผู้คนปกป้องชาวบ้านและคนจน มีข่ายแหความเกื้อกูล พิทักษ์โลกสีเขียว สำหรับตนแล้ว กลุ่มนี้น่ากลัวกว่าฝ่ายขวาจัดมากมาย

ทางออกที่น่าทำได้คือ ดูสิ่งที่ขาดหายไปในประวัติศาสตร์ เราขาดการศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและ สำคัญที่สุดคือ การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเราไม่มีการศึกษาประวัติศาสตร์กลุ่มทุน เพื่อที่จะรื้อถอนมายาคติเกี่ยวกับ นักการเมือง นายทุน นักการเมือง เจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพล เพื่อที่จะใช้ข้อมูลเหล่านี้มายืนยันว่าใครกันแน่คือทุนสามานย์ตัวจริง

"อุดมการณ์ที่ต้องรู้ทันเช่น ศาสนา เราจะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ได้เอาสิ่งที่เรียกว่าเป็นศาสนาประจำชาติออก เราต้องทำให้คนมั่นใจตัวเองในฐานะศักยภาพที่เป็นมนุษย์"

No comments:

Post a Comment