Open Letter to Dr. Somkid and all Rectors of Thailand
by Charnvit Ks on Sunday, June 17, 2012 at 7:13am ·
จดหมายเปิดผนึก จากอดีตอธิการบดี ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
Open Letter to All Rectors in Thailand (to become Siam)
17 มิถุนายน 2555
ตลิ่งชัน ธนบุรี สยามประเทศไทย
เรื่อง ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของกฏหมายอาญา มาตรา 112
เรียน ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย”
อาคารจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม 10330
cupt@chula.ac.th, www.cupt-thailand.net,
สำเนา ส่งอธิการบดีทุกท่าน
สืบเนื่องจากการที่ท่าน และผู้ที่ได้รับสำเนา
นี้ ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อรับผิดชอบในงานวิชาการและงานบริหาร สถาบันการศึกษาระดับสูงทั่วประเทศ และสืบเนื่องจากการที่ประเทศของเรา กำลังเผชิญปัญหาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กับ “การสมานฉันท์” ในชาติ ทั้งนี้โดยมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน กับหลักการณ์และการบังคับใช้ กฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้อง ทั้งในด้านตัวบทกฎหมาย ทั้งในด้านวิชาการ ทั้งในการแก้ไขร่วมกันในหมู่่อธิการบดี ครูบาอาจารย์ ของประเทศ และเพื่อจักได้ดำเนินการให้นิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนของชาติ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของชาติ ที่สำคัญยิ่งยวดต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอดจนความจำเป็น ที่จะต้องมีการปฏิรูปแก้ไข กฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์สุขของชาติ และราษฎรไทย ผมใคร่ขอเรียนเสนอความเห็น ที่ทั้งได้ประมวลมาจากมิตรสหายที่เป็นครูบาอาจารย์ และที่เป็นนักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นส่วนบุคคลของผม ความทราบแล้วนั้น จึงใคร่ขอรวบรวมและเสนอมา ดังต่อไปนี้
(หนึ่ง) จากการศึกษาและจากการสอน “วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม/ไทย” มาเป็นเวลานานปีผมได้พบว่า ขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆกับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ “คณะเจ้า” ก็กล่าวกันว่า “คณะราษฎร” ใจร้อน ชิงสุกก่อนห้าม แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ “คณะราษฎร” ก็เชื่อกันว่า “คณะเจ้า” นั่นแหละ ล่าช้า อืดอาด ไม่ทันโลก ผ่านจาก “การปฎิรูป พ.ศ. 2435/1893) รัชกาลที่ 5 (ตรงกับสมัยจักรพรรดิเมจิ) ก็แล้ว จนถึงรัชการที่ 6 (ทดลองดุสิตธานีก็แล้ว) รัชกาลที่ 7 (ทรงให้ที่ปรึกษาต่างชาติ ร่างรัฐธรรมนูญก็แล้ว) ก็ยังไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญเสียที จึงมี “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์” ที่จะต้องมี “การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เพื่อเปลี่ยน “ระบอบราชาธิปไตย” ให้เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
ปัญหาที่สังคมและประชาชนไทย เผชิญอยู่ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ก็คือ เราจะสามารถปฏิรูป และแก้ไข “กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112” ได้ช้า หรือได้เร็ว และจะทันท่วงทีกับสถานการณ์ของการเมืองภายในของเราเอง กับสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ นี่คือปัญหา ของ “เหรียญสองด้าน” ที่เราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างด้านหัว กับด้านก้อย ระหว่าง “กลุ่มอำนาจเดิม-พลังเดิม” กับ “กลุ่มอำนาจใหม่-พลังใหม่”
(สอง) จากการศึกษาของผม พบว่ามีข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับ ปัญา กม.หมิ่นฯ ม. 112 ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ที่ ฯพณฯอานันท์ปันยารชุน เป็นประธานรวบรวมและจัดพิมพ์ ในวโรกาศ 84 พรรษา ชื่อเรื่อง King BhumibolAdulyadej: A Life's Work หนา 383 หน้าราคา 1, 235 บาท หรือ 40 US$ มีนักเขียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการ เช่นคริสเบเกอร์-พอพันธ์ อุยยานนท์-เดวิด สเตร็กฟุส ร่วมด้วย
ในหนังสือเล่มนี้บทที่ว่าด้วย “กฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย...” หน้า 303-313 (The Law of Lese Majeste) มีข้อความถอดเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
“จากปีพ.ศ. 2536 (1993) ถึงปี พ.ศ. 2547 (2004) เป็นเวลาถึง 11 ปี โดยยเฉลี่ยแล้ว จำนวนคดีหมิ่นฯใหม่ๆ ลดลงครึ่งหนึ่ง
และก็ไม่มีคดีหมิ่นฯเลย ในปี 2545 (2002).......
อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมาเร็วๆนี้
จำนวนคดีหมิ่นฯที่ผ่านเข้ามาในระบบศาลของไทยนั้น เพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต
ในปีพ.ศ. 2552 (2009) มีคดีฟ้องร้องที่ส่งไปยังศาลชั้นต้น สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 165.....
(สาม) ข้อความดังกล่าวยังขยายความต่ออีกว่า
“ขณะนี้ประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นฯ
ที่มีโทษรุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปี
เทียบได้ก็แต่ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นในสมัยสงคราม (โลกครั้งที่ 2) เท่านั้น
โทษขั้นต่ำสุด (ของไทย) เท่ากับโทษสูงสุดของจอร์แดน
และเป็นสามเท่าของโทษในประเทศระบอบกษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญในยุโรป....
นี่นับได้ว่าสูงสุดในมาตรฐานสากลของอารยประเทศ ซึ่งก็ทำให้ “ราชอาณาจักรไทย” สมัยรัชกาลปัจจุบันนี้ มีคดีหมิ่นฯขึ้นโรงขึ้นศาล มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเช่นกัน
ผมคิดว่าข้อมูลเชิงประจักษ์จากหนังสือสำคัญเล่มนี้ ก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เราๆท่านๆทั้งหลาย จักต้องนำมาพิจารณาเพื่อปฏิรูปปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงคดีที่ ค้างคากันอยู่จำนวนมาก รวมทั้งกรณีของ “อากง” (ที่เสียชีวิตไปแล้วในคุก) และ/หรือ “จีรนุช/สมยศ/ดาตอร์ปิโด/ก้านธูป” ฯลฯ
(สี่) ข้อเสนอของ “ครก. 112” “คณะนิติราษฎร์” และ“กลุ่มสันติประชาธรรม ”ตลอดจนคนหนุ่มคนสาว นักคิดนักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนธรรมดาๆโดยทั่วไป ให้ปฏิรูปแก้ไข กม.หมิ่น ม. 112 นั้น เป็นข้อเสนอที่ผมได้ไตร่ตรองทางวิชาการ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนิติศาสตร์แล้ว และเห็นพ้องด้วย ควรสนับสนุน จึงได้ลงนามร่วมไปกับทั้งบรรดาอาจารย์ และบุคคลทั้งหลาย จำนวนมากหลายต่อหลายหมื่นชื่อ
ข้อเสนอของ“ครก. 112” “คณะนิติราษฎร์” และ “กลุ่มสันติประชาธรรม ”ตลอดจนคนหนุ่มคนสาว นักคิดนักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนธรรมดาๆโดยทั่วไป ถ้าสามารถผลักดันให้ดำเนินการให้ผ่านสภาฯได้ มี สส. สว. ที่มีทัศนะกว้างไกล มีความกล้าหาญทางจริยธรรมทางการเมือง รับลูกที่จะดำเนินการต่อในกรอบของกฎหมาย ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ก็จะช่วยให้สังคมไทยของเรา มีสันติสุข และจะทำให้สถาบันกษัตริย์ของเรา มั่นคง สถาพร และที่สำคัญคือได้มาตรฐานสากล ดังเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร และยุโรปตะวันตก ไม่ทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ เกิดปัญหาภายใน และล่มสลายไปอย่างในยุโรปตะวันออก ในตะวันออกกลาง ในเอเชียตะวันออก และ/หรือเอเชียใต้
(ห้า) จากการศึกษาทางวิชาการของผม พบว่าสหราชอาณาจักร ยุโรปตะวันตก (อาจรวมหรือไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่แพ้สงคราม และถูกสหรัฐฯยึดครอง กับเขียนรัฐธรรมนูญบังคับใช้)ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคง สถาพร เพราะต่างได้ปฏิรูป แก้ไขให้สถาบันกษัตริย์ เป็นสถาบันที่ใช้ “พระคุณ” ที่กอร์ปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ยังให้เกิดความรัก ความเชื่อ ความศรัทธามากกว่าการใช้ “พระเดช” ที่ทำให้เกิดความกลัว ความเกลียดชัง และข่มขู่ด้วยคุก ด้วยตาราง
หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรง เข้าประหัตประหาร ทำลายชีวิตกัน
เราได้เห็นมาแล้วในโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ของเรา (และเหยื่อในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8) กับดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือเหยื่อในเหตุการณ์ “6 ตุลาวันมหาวิปโยค 2519” กับเหยื่อในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต 2553” หรืออีกหลายๆเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชนบท หรือผู้คนชายแดนชายขอบ ที่ห่างไกล และหลุดไปจากหน้าประวัติศาสตร์ กับความทรงจำของคนแบบเราๆ ท่านๆ ในเมืองหลวง ฯลฯ
แน่นอน ผมทราบดีว่าบรรดาอารยประเทศในยุโรปตะวันตก ส่วนใหญ่ก็มี “กม หมิ่นฯ” เช่นกัน แต่ทั้งการลงโทษ กับการบังคับใช้ ก็หาได้รุนแรง สาหัสสากรรจ์ พร่ำเพรื่อ และที่สำคัญคือ ปล่อยให้ ม. 112 กลายเป็นเครื่องมือ “ทางการเมือง” ของนักการเมืองทั้งในหรือนอกเครื่องแบบ หรือสวมสูท ผูกเน็คไทใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการทำลายฝ่ายตรง
(หก) ผมอยากจะขยายความต่ออีกว่า ถ้าเราจะรักษาสถาบันประชาธิปไตย ควบคู่กันไป กับการรักษาสถาบันกษัตริย์ เราต้องปฏิรูป กม.หมิ่นฯ ม. 112 เราต้องดูตัวอย่างของประเทศ ที่มี “สถาบันประชาธิปไตย” อยู่ร่วมกันได้ กับ “สถาบันกษัตริย์” เราต้องดูประเทศที่ศิวิไลซ์ ที่เป็นอารยะ ไม่ดูประเทศที่ล้าหลัง เราต้องดูที่ที่เป็นมาตรฐานของโลก ซึ่งในเรื่องนี้ เราหนีไม่พ้นที่จะต้องดูแบบของอังกฤษ (ที่เราเรียนรู้และลอกเลียนแบบมานับแต่ คำขวัญ-สีธงชาติ-เพลงสรรเสริญพระบารมี-เครื่องแบบราชการ-เครื่องราชฯ-สายสะพาย-การถวายคำนับ-การถอนสายบัน นานานับประการ)
หรือแบบของประเทศในยุโรปตะวันตก (ที่ตามแบบของอังกฤษ) ที่รักษา “สถาบันกษัตริย์” ไว้ได้
ทำให้ “สถาบันกษัตริย์” กับ “สถาบันประชาธิปไตย/ประชาชน” อยู่คู่กันไปไม่ใช่ทำให้ “สถาบันกษัตริย์” ขัดแย้งกับ “สถาบันประชาธิปไตย”
สังคมไทย ถึงจุดที่กำลังถูกท้าทายอย่างมาก เราต้องไม่ฝืนกระแสโลก ยิ่งทุกวันนี้ การสื่อสารเร็วขึ้น มีโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีเฟซบุ๊ค มียูทูบ ถ้าไม่ดูปัจจัยภายนอกเลย เรามีสิทธิพังได้ง่ายๆ
การที่มีนักวิชาการ ผู้คนจำนวนไม่น้อย บอกว่าสังคมไทยของเรานั้น ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบ กับสังคมประเทศอื่นใดเลยนั้น สังคมไทย แม้จะมีลักษณะพิเศษก็จริง แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ ถ้าเราดูในโลกนี้ องค์การสหประชาชาติ มีประเทศสมาชิก 193 ประเทศ ผมถามว่าประเทศส่วนใหญ่ เป็นระบบสถาบันกษัตริย์ หรือระบบประธานาธิบดี คำตอบคือประมาณ15เปอร์เซ็นต์ หรือ 30 ประเทศเท่านั้น เป็นระบอบกษัตริย์ ในขณะที่ระบอบสาธารณรัฐ หรือ ประธานาธิบดีมีถึง 85 เปอร์เซ็นต์ หรือ 163 ประเทศ (โปรดดูรูปถ่ายงาน Diamond Jubilee ของควีนอลิซาเบท อังกฤษ เมื่อเร็วๆนี้)
เราต้องดูโลกใบใหญ่ให้เห็นว่าโลกใบนี้ เป็นอย่างไร เราฝืนกระแสโลกไม่ได้ ถ้าเราทำให้ “สถาบันกษัตริย์” กับ “สถาบันประชาธิปไตย” ขัดแย้งกัน สังคมไทยจะมีปัญหาแน่ๆ แต่ถ้าเราสามารถทำให้สองสถาบันนี้ อยู่ร่วมกัน ควบคู่กันไปได้ สังคมนี้ก็จะมีความหวัง ไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรง เหมือนที่เคยเกิดรบราฆ่าฟันกันมาหลายต่อหลายยก ไม่ว่าจะเป็น“วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516”, “วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519”, “วันพฤษภาเลือด 2535 (ขอย้ำว่าไม่ใช่ “พฤษภาทมิฬ” เพราะชนชาติทมิฬจำนวนหลายสิบล้านคนในอินเดียใต้ ผู้ให้กำเนิดอักษร และตัวเลขมอญ/พม่า/เขมร/ไทย/ลาวหาได้มีส่วนกับการรบราฆ่าฟันของ “ไทยกับไทย” ที่ราชดำเนิน หรือราชประสงค์ไม่”) รวมถึงเหตุการณ์ “เมษาพฤษภาอำมหิต 2553” ด้วย
(เจ็ด) ท้ายที่สุด ผมค่อนข้างเป็นห่วงว่าการปฏิรูปแก้ไข กม.หมิ่นม. 112 นี้ คงจะยากเย็นเข็ญใจยิ่งเพราะมีแรงต้านทานจาก“พลังเดิม-อำนาจเดิม” ที่เต็มไปด้วย“โลภะโทสะโมหะและอวิชชา”สูง ส่วน“พลังใหม่-อำนาจใหม่” ก็มีทั้งที่เฉื่ยยชา เมินเฉย “ได้ดีแล้วก็ทำเป็น (วัว) ลืม (ตีน)” บางคน“เกี้ยเซี๊ยะ” บางคน “มือไม่พายแล้ว (แถม)ยังเอาเท้าราน้ำ” คนจำนวนไม่น้อย ที่อยู่ในสังคมชั้นสูง
ที่ผมจำเป็นต้องพบปะเป็นครั้งคราว คุยกันทีไร ก็มักบอกกับผมว่า “เห็นด้วยๆๆ” แต่ก็มีน้อยคนที่ในที่แจ้ง ในที่สาธารณะ จะกล้าออกมาพูด มาแสดงความคิดเห็น ขีดเขียนเพื่อสังคม
ผมจึงเป็นห่วงว่า ถ้าเป็นกันแบบนี้ โอกาสที่สังคมนี้จะแตกหัก ไปไกลจนถึงนองเลือดเหมือนๆ “พฤษภาเลือด 2535” หรือ “เมษา/พฤษภาอำมหิต 2553” เกิด “กาลียุค” ดังที่ปรากฏอยู่ใน“เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา” และบนหน้าบันกับทับหลัง“ปราสาทเขาพนมรุ้ง กับ ปราสาทเขาพระวิหาร” (ปางทำลายล้างโลกของ “ศิวนาฏราช” กับปางสร้างโลกใหม่ของ” นารายณ์บรรทมสินธุ์”)
ถ้ามองตามกาลานุกรมประวัติศาสตร์ ที่ผมได้เล่าเรียนมา สังคมไทยของเรา ก็ยังพอมีโอกาส ที่จะ “ปลดล๊อค” ปลดเงื่อนไขการนองเลือด หรือ“กาลียุค”ได้ แต่ก็นั่นแหละ สังคมนี้ก็ต้องการผู้ที่มี “ความกล้าหาญทางจริยธรรม” สูงมากในการทำภารกิจนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเสียสละของผู้ที่อยู่ในปีกของ“พลังเดิม”กับ“อำนาจเดิม”
(แปด) การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆ ของไทย และของสากลโลก ก็ใช้ผู้คนจำนวนไม่มาก บางทีก็เพียงสิบ บางทีก็เพียงร้อย ที่จะก้าวขึ้นมาเป็น“ผู้ก่อการ” ในการเปลี่ยนแปลง
แน่นอน “ผู้ก่อการ” จำนวนไม่มากนักนั้นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมจากผู้คนส่วนใหญ่ ที่เป็น “ตัวจริงของจริง” จึงจะทำการณ์ได้สำเร็จ
ผมอยากจะเชื่อว่า ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศไทยเรามี “ตัวจริงของจริง” มีประชาชนที่หลากหลายจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งในกรุง ในเมือง ในชนบทอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่พร้อมแล้ว สำหรับการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและปฏิรูป กม.หมิ่น ม. 112 ที่จะทำให้ทั้ง“สถาบันประชาธิปไตย-ประชาชน” และ“สถาบันกษัตริย์” อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ในกรอบของ“เสรีภาพเสมอภาค และภราดรภาพ” ต้องตามเจตนารมณ์ และจิตวิญญาณของ “กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” เมื่อ 100 ปีที่แล้ว กับ “ปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เมื่อ 80 ปีที่แล้ว และ“ปฏิวัติประชาชน 14 ตุลาคม 2516” เมื่อ 39 ปีที่แล้ว
“คบเพลิงของการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย เพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน”ได้ถูกส่งต่อมายังคนรุ่นเราๆ ท่านๆ ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่าเช่น “รุ่นตุลา 2519” หรือ รุ่นกลางเก่ากลางใหม่ “รุ่นพฤษภา 2535” หรือรุ่นล่าสุด “รุ่นเมษา/พฤษภา 2553”
ขอแสดงความนับถือ
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมายเหตุ
ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ ให้อยู่มั่นคง คู่กับ สถาบันประชาธิปไตย (ของสยามประเทศไทย.) ท่านต้องปฎิรูป กม. หมิ่น มาตรา 112 และปลดปล่อย นักโทษการเมือง ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ให้สถาพร มั่นคง เช่น ในสหราชอาณาจักร และ ยุโรปตะวันตก ท่านต้องปฎิรูป กม. หมิ่น มาตรา 112 และปลดปล่อย นักโทษการเมือง
https://www.facebook.com/notes/charnvit-ks/open-letter-to-dr-somkid-and-all-rectors-of-thailand/401558506561728
by Charnvit Ks on Sunday, June 17, 2012 at 7:13am ·
จดหมายเปิดผนึก จากอดีตอธิการบดี ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
Open Letter to All Rectors in Thailand (to become Siam)
17 มิถุนายน 2555
ตลิ่งชัน ธนบุรี สยามประเทศไทย
เรื่อง ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของกฏหมายอาญา มาตรา 112
เรียน ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย”
อาคารจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม 10330
cupt@chula.ac.th, www.cupt-thailand.net,
สำเนา ส่งอธิการบดีทุกท่าน
สืบเนื่องจากการที่ท่าน และผู้ที่ได้รับสำเนา
นี้ ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อรับผิดชอบในงานวิชาการและงานบริหาร สถาบันการศึกษาระดับสูงทั่วประเทศ และสืบเนื่องจากการที่ประเทศของเรา กำลังเผชิญปัญหาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กับ “การสมานฉันท์” ในชาติ ทั้งนี้โดยมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน กับหลักการณ์และการบังคับใช้ กฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้อง ทั้งในด้านตัวบทกฎหมาย ทั้งในด้านวิชาการ ทั้งในการแก้ไขร่วมกันในหมู่่อธิการบดี ครูบาอาจารย์ ของประเทศ และเพื่อจักได้ดำเนินการให้นิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนของชาติ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของชาติ ที่สำคัญยิ่งยวดต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอดจนความจำเป็น ที่จะต้องมีการปฏิรูปแก้ไข กฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์สุขของชาติ และราษฎรไทย ผมใคร่ขอเรียนเสนอความเห็น ที่ทั้งได้ประมวลมาจากมิตรสหายที่เป็นครูบาอาจารย์ และที่เป็นนักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นส่วนบุคคลของผม ความทราบแล้วนั้น จึงใคร่ขอรวบรวมและเสนอมา ดังต่อไปนี้
(หนึ่ง) จากการศึกษาและจากการสอน “วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม/ไทย” มาเป็นเวลานานปีผมได้พบว่า ขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆกับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ “คณะเจ้า” ก็กล่าวกันว่า “คณะราษฎร” ใจร้อน ชิงสุกก่อนห้าม แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ “คณะราษฎร” ก็เชื่อกันว่า “คณะเจ้า” นั่นแหละ ล่าช้า อืดอาด ไม่ทันโลก ผ่านจาก “การปฎิรูป พ.ศ. 2435/1893) รัชกาลที่ 5 (ตรงกับสมัยจักรพรรดิเมจิ) ก็แล้ว จนถึงรัชการที่ 6 (ทดลองดุสิตธานีก็แล้ว) รัชกาลที่ 7 (ทรงให้ที่ปรึกษาต่างชาติ ร่างรัฐธรรมนูญก็แล้ว) ก็ยังไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญเสียที จึงมี “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์” ที่จะต้องมี “การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เพื่อเปลี่ยน “ระบอบราชาธิปไตย” ให้เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
ปัญหาที่สังคมและประชาชนไทย เผชิญอยู่ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ก็คือ เราจะสามารถปฏิรูป และแก้ไข “กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112” ได้ช้า หรือได้เร็ว และจะทันท่วงทีกับสถานการณ์ของการเมืองภายในของเราเอง กับสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ นี่คือปัญหา ของ “เหรียญสองด้าน” ที่เราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างด้านหัว กับด้านก้อย ระหว่าง “กลุ่มอำนาจเดิม-พลังเดิม” กับ “กลุ่มอำนาจใหม่-พลังใหม่”
(สอง) จากการศึกษาของผม พบว่ามีข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับ ปัญา กม.หมิ่นฯ ม. 112 ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ที่ ฯพณฯอานันท์ปันยารชุน เป็นประธานรวบรวมและจัดพิมพ์ ในวโรกาศ 84 พรรษา ชื่อเรื่อง King BhumibolAdulyadej: A Life's Work หนา 383 หน้าราคา 1, 235 บาท หรือ 40 US$ มีนักเขียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการ เช่นคริสเบเกอร์-พอพันธ์ อุยยานนท์-เดวิด สเตร็กฟุส ร่วมด้วย
ในหนังสือเล่มนี้บทที่ว่าด้วย “กฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย...” หน้า 303-313 (The Law of Lese Majeste) มีข้อความถอดเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
“จากปีพ.ศ. 2536 (1993) ถึงปี พ.ศ. 2547 (2004) เป็นเวลาถึง 11 ปี โดยยเฉลี่ยแล้ว จำนวนคดีหมิ่นฯใหม่ๆ ลดลงครึ่งหนึ่ง
และก็ไม่มีคดีหมิ่นฯเลย ในปี 2545 (2002).......
อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมาเร็วๆนี้
จำนวนคดีหมิ่นฯที่ผ่านเข้ามาในระบบศาลของไทยนั้น เพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต
ในปีพ.ศ. 2552 (2009) มีคดีฟ้องร้องที่ส่งไปยังศาลชั้นต้น สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 165.....
(สาม) ข้อความดังกล่าวยังขยายความต่ออีกว่า
“ขณะนี้ประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นฯ
ที่มีโทษรุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปี
เทียบได้ก็แต่ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นในสมัยสงคราม (โลกครั้งที่ 2) เท่านั้น
โทษขั้นต่ำสุด (ของไทย) เท่ากับโทษสูงสุดของจอร์แดน
และเป็นสามเท่าของโทษในประเทศระบอบกษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญในยุโรป....
นี่นับได้ว่าสูงสุดในมาตรฐานสากลของอารยประเทศ ซึ่งก็ทำให้ “ราชอาณาจักรไทย” สมัยรัชกาลปัจจุบันนี้ มีคดีหมิ่นฯขึ้นโรงขึ้นศาล มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเช่นกัน
ผมคิดว่าข้อมูลเชิงประจักษ์จากหนังสือสำคัญเล่มนี้ ก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เราๆท่านๆทั้งหลาย จักต้องนำมาพิจารณาเพื่อปฏิรูปปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงคดีที่ ค้างคากันอยู่จำนวนมาก รวมทั้งกรณีของ “อากง” (ที่เสียชีวิตไปแล้วในคุก) และ/หรือ “จีรนุช/สมยศ/ดาตอร์ปิโด/ก้านธูป” ฯลฯ
(สี่) ข้อเสนอของ “ครก. 112” “คณะนิติราษฎร์” และ“กลุ่มสันติประชาธรรม ”ตลอดจนคนหนุ่มคนสาว นักคิดนักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนธรรมดาๆโดยทั่วไป ให้ปฏิรูปแก้ไข กม.หมิ่น ม. 112 นั้น เป็นข้อเสนอที่ผมได้ไตร่ตรองทางวิชาการ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนิติศาสตร์แล้ว และเห็นพ้องด้วย ควรสนับสนุน จึงได้ลงนามร่วมไปกับทั้งบรรดาอาจารย์ และบุคคลทั้งหลาย จำนวนมากหลายต่อหลายหมื่นชื่อ
ข้อเสนอของ“ครก. 112” “คณะนิติราษฎร์” และ “กลุ่มสันติประชาธรรม ”ตลอดจนคนหนุ่มคนสาว นักคิดนักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนธรรมดาๆโดยทั่วไป ถ้าสามารถผลักดันให้ดำเนินการให้ผ่านสภาฯได้ มี สส. สว. ที่มีทัศนะกว้างไกล มีความกล้าหาญทางจริยธรรมทางการเมือง รับลูกที่จะดำเนินการต่อในกรอบของกฎหมาย ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ก็จะช่วยให้สังคมไทยของเรา มีสันติสุข และจะทำให้สถาบันกษัตริย์ของเรา มั่นคง สถาพร และที่สำคัญคือได้มาตรฐานสากล ดังเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร และยุโรปตะวันตก ไม่ทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ เกิดปัญหาภายใน และล่มสลายไปอย่างในยุโรปตะวันออก ในตะวันออกกลาง ในเอเชียตะวันออก และ/หรือเอเชียใต้
(ห้า) จากการศึกษาทางวิชาการของผม พบว่าสหราชอาณาจักร ยุโรปตะวันตก (อาจรวมหรือไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่แพ้สงคราม และถูกสหรัฐฯยึดครอง กับเขียนรัฐธรรมนูญบังคับใช้)ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคง สถาพร เพราะต่างได้ปฏิรูป แก้ไขให้สถาบันกษัตริย์ เป็นสถาบันที่ใช้ “พระคุณ” ที่กอร์ปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ยังให้เกิดความรัก ความเชื่อ ความศรัทธามากกว่าการใช้ “พระเดช” ที่ทำให้เกิดความกลัว ความเกลียดชัง และข่มขู่ด้วยคุก ด้วยตาราง
หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรง เข้าประหัตประหาร ทำลายชีวิตกัน
เราได้เห็นมาแล้วในโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ของเรา (และเหยื่อในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8) กับดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือเหยื่อในเหตุการณ์ “6 ตุลาวันมหาวิปโยค 2519” กับเหยื่อในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต 2553” หรืออีกหลายๆเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชนบท หรือผู้คนชายแดนชายขอบ ที่ห่างไกล และหลุดไปจากหน้าประวัติศาสตร์ กับความทรงจำของคนแบบเราๆ ท่านๆ ในเมืองหลวง ฯลฯ
แน่นอน ผมทราบดีว่าบรรดาอารยประเทศในยุโรปตะวันตก ส่วนใหญ่ก็มี “กม หมิ่นฯ” เช่นกัน แต่ทั้งการลงโทษ กับการบังคับใช้ ก็หาได้รุนแรง สาหัสสากรรจ์ พร่ำเพรื่อ และที่สำคัญคือ ปล่อยให้ ม. 112 กลายเป็นเครื่องมือ “ทางการเมือง” ของนักการเมืองทั้งในหรือนอกเครื่องแบบ หรือสวมสูท ผูกเน็คไทใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการทำลายฝ่ายตรง
(หก) ผมอยากจะขยายความต่ออีกว่า ถ้าเราจะรักษาสถาบันประชาธิปไตย ควบคู่กันไป กับการรักษาสถาบันกษัตริย์ เราต้องปฏิรูป กม.หมิ่นฯ ม. 112 เราต้องดูตัวอย่างของประเทศ ที่มี “สถาบันประชาธิปไตย” อยู่ร่วมกันได้ กับ “สถาบันกษัตริย์” เราต้องดูประเทศที่ศิวิไลซ์ ที่เป็นอารยะ ไม่ดูประเทศที่ล้าหลัง เราต้องดูที่ที่เป็นมาตรฐานของโลก ซึ่งในเรื่องนี้ เราหนีไม่พ้นที่จะต้องดูแบบของอังกฤษ (ที่เราเรียนรู้และลอกเลียนแบบมานับแต่ คำขวัญ-สีธงชาติ-เพลงสรรเสริญพระบารมี-เครื่องแบบราชการ-เครื่องราชฯ-สายสะพาย-การถวายคำนับ-การถอนสายบัน นานานับประการ)
หรือแบบของประเทศในยุโรปตะวันตก (ที่ตามแบบของอังกฤษ) ที่รักษา “สถาบันกษัตริย์” ไว้ได้
ทำให้ “สถาบันกษัตริย์” กับ “สถาบันประชาธิปไตย/ประชาชน” อยู่คู่กันไปไม่ใช่ทำให้ “สถาบันกษัตริย์” ขัดแย้งกับ “สถาบันประชาธิปไตย”
สังคมไทย ถึงจุดที่กำลังถูกท้าทายอย่างมาก เราต้องไม่ฝืนกระแสโลก ยิ่งทุกวันนี้ การสื่อสารเร็วขึ้น มีโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีเฟซบุ๊ค มียูทูบ ถ้าไม่ดูปัจจัยภายนอกเลย เรามีสิทธิพังได้ง่ายๆ
การที่มีนักวิชาการ ผู้คนจำนวนไม่น้อย บอกว่าสังคมไทยของเรานั้น ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบ กับสังคมประเทศอื่นใดเลยนั้น สังคมไทย แม้จะมีลักษณะพิเศษก็จริง แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ ถ้าเราดูในโลกนี้ องค์การสหประชาชาติ มีประเทศสมาชิก 193 ประเทศ ผมถามว่าประเทศส่วนใหญ่ เป็นระบบสถาบันกษัตริย์ หรือระบบประธานาธิบดี คำตอบคือประมาณ15เปอร์เซ็นต์ หรือ 30 ประเทศเท่านั้น เป็นระบอบกษัตริย์ ในขณะที่ระบอบสาธารณรัฐ หรือ ประธานาธิบดีมีถึง 85 เปอร์เซ็นต์ หรือ 163 ประเทศ (โปรดดูรูปถ่ายงาน Diamond Jubilee ของควีนอลิซาเบท อังกฤษ เมื่อเร็วๆนี้)
เราต้องดูโลกใบใหญ่ให้เห็นว่าโลกใบนี้ เป็นอย่างไร เราฝืนกระแสโลกไม่ได้ ถ้าเราทำให้ “สถาบันกษัตริย์” กับ “สถาบันประชาธิปไตย” ขัดแย้งกัน สังคมไทยจะมีปัญหาแน่ๆ แต่ถ้าเราสามารถทำให้สองสถาบันนี้ อยู่ร่วมกัน ควบคู่กันไปได้ สังคมนี้ก็จะมีความหวัง ไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรง เหมือนที่เคยเกิดรบราฆ่าฟันกันมาหลายต่อหลายยก ไม่ว่าจะเป็น“วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516”, “วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519”, “วันพฤษภาเลือด 2535 (ขอย้ำว่าไม่ใช่ “พฤษภาทมิฬ” เพราะชนชาติทมิฬจำนวนหลายสิบล้านคนในอินเดียใต้ ผู้ให้กำเนิดอักษร และตัวเลขมอญ/พม่า/เขมร/ไทย/ลาวหาได้มีส่วนกับการรบราฆ่าฟันของ “ไทยกับไทย” ที่ราชดำเนิน หรือราชประสงค์ไม่”) รวมถึงเหตุการณ์ “เมษาพฤษภาอำมหิต 2553” ด้วย
(เจ็ด) ท้ายที่สุด ผมค่อนข้างเป็นห่วงว่าการปฏิรูปแก้ไข กม.หมิ่นม. 112 นี้ คงจะยากเย็นเข็ญใจยิ่งเพราะมีแรงต้านทานจาก“พลังเดิม-อำนาจเดิม” ที่เต็มไปด้วย“โลภะโทสะโมหะและอวิชชา”สูง ส่วน“พลังใหม่-อำนาจใหม่” ก็มีทั้งที่เฉื่ยยชา เมินเฉย “ได้ดีแล้วก็ทำเป็น (วัว) ลืม (ตีน)” บางคน“เกี้ยเซี๊ยะ” บางคน “มือไม่พายแล้ว (แถม)ยังเอาเท้าราน้ำ” คนจำนวนไม่น้อย ที่อยู่ในสังคมชั้นสูง
ที่ผมจำเป็นต้องพบปะเป็นครั้งคราว คุยกันทีไร ก็มักบอกกับผมว่า “เห็นด้วยๆๆ” แต่ก็มีน้อยคนที่ในที่แจ้ง ในที่สาธารณะ จะกล้าออกมาพูด มาแสดงความคิดเห็น ขีดเขียนเพื่อสังคม
ผมจึงเป็นห่วงว่า ถ้าเป็นกันแบบนี้ โอกาสที่สังคมนี้จะแตกหัก ไปไกลจนถึงนองเลือดเหมือนๆ “พฤษภาเลือด 2535” หรือ “เมษา/พฤษภาอำมหิต 2553” เกิด “กาลียุค” ดังที่ปรากฏอยู่ใน“เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา” และบนหน้าบันกับทับหลัง“ปราสาทเขาพนมรุ้ง กับ ปราสาทเขาพระวิหาร” (ปางทำลายล้างโลกของ “ศิวนาฏราช” กับปางสร้างโลกใหม่ของ” นารายณ์บรรทมสินธุ์”)
ถ้ามองตามกาลานุกรมประวัติศาสตร์ ที่ผมได้เล่าเรียนมา สังคมไทยของเรา ก็ยังพอมีโอกาส ที่จะ “ปลดล๊อค” ปลดเงื่อนไขการนองเลือด หรือ“กาลียุค”ได้ แต่ก็นั่นแหละ สังคมนี้ก็ต้องการผู้ที่มี “ความกล้าหาญทางจริยธรรม” สูงมากในการทำภารกิจนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเสียสละของผู้ที่อยู่ในปีกของ“พลังเดิม”กับ“อำนาจเดิม”
(แปด) การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆ ของไทย และของสากลโลก ก็ใช้ผู้คนจำนวนไม่มาก บางทีก็เพียงสิบ บางทีก็เพียงร้อย ที่จะก้าวขึ้นมาเป็น“ผู้ก่อการ” ในการเปลี่ยนแปลง
แน่นอน “ผู้ก่อการ” จำนวนไม่มากนักนั้นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมจากผู้คนส่วนใหญ่ ที่เป็น “ตัวจริงของจริง” จึงจะทำการณ์ได้สำเร็จ
ผมอยากจะเชื่อว่า ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศไทยเรามี “ตัวจริงของจริง” มีประชาชนที่หลากหลายจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งในกรุง ในเมือง ในชนบทอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนที่พร้อมแล้ว สำหรับการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและปฏิรูป กม.หมิ่น ม. 112 ที่จะทำให้ทั้ง“สถาบันประชาธิปไตย-ประชาชน” และ“สถาบันกษัตริย์” อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ในกรอบของ“เสรีภาพเสมอภาค และภราดรภาพ” ต้องตามเจตนารมณ์ และจิตวิญญาณของ “กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” เมื่อ 100 ปีที่แล้ว กับ “ปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เมื่อ 80 ปีที่แล้ว และ“ปฏิวัติประชาชน 14 ตุลาคม 2516” เมื่อ 39 ปีที่แล้ว
“คบเพลิงของการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย เพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน”ได้ถูกส่งต่อมายังคนรุ่นเราๆ ท่านๆ ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่าเช่น “รุ่นตุลา 2519” หรือ รุ่นกลางเก่ากลางใหม่ “รุ่นพฤษภา 2535” หรือรุ่นล่าสุด “รุ่นเมษา/พฤษภา 2553”
ขอแสดงความนับถือ
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมายเหตุ
ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ ให้อยู่มั่นคง คู่กับ สถาบันประชาธิปไตย (ของสยามประเทศไทย.) ท่านต้องปฎิรูป กม. หมิ่น มาตรา 112 และปลดปล่อย นักโทษการเมือง ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ให้สถาพร มั่นคง เช่น ในสหราชอาณาจักร และ ยุโรปตะวันตก ท่านต้องปฎิรูป กม. หมิ่น มาตรา 112 และปลดปล่อย นักโทษการเมือง
https://www.facebook.com/notes/charnvit-ks/open-letter-to-dr-somkid-and-all-rectors-of-thailand/401558506561728
บางส่วนจากการสัมมนา "บทบาททางการเมืองที่ควรจะเป็นของขบวนการแรงงานไทยในสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน" ที่ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 17 มิ.ย. 55
20100617 seminar on political stance of labour movement [highlighted]
20100617 seminar on political stance of labour movement [highlighted]
"จะพากันไปตาย หากกึ่งสู้กึ่งคุกเข่าเขลางมงาย?" รายการชวนคิดชวนคุย ณhttp://tprud.org มหาวิทยาลัยประชาชน โดย ดร. เพียงดิน รักไทย ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2555 ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.mediafire.com/?rey6nmptfl15duw
No comments:
Post a Comment