นาฏการ-วรรณกรรม : ละครชาตรี เรื่อง มโนห์รา
จัดแสดงโดย ชมรมเราคือคนไทย
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536
ณ โรงละครแห่งชาติ
ละครชาตรี เรื่อง มโนห์รา-1
จัดแสดงโดย ชมรมเราคือคนไทย
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2536
ณ โรงละครแห่งชาติ
ละครชาตรี เรื่อง มโนห์รา-1
มโนห์รา1 .wmv
การแสดงละครชาตรีเรื่อง พระสุธนมโนห์รา ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 เวลา 13.30 น.
การแสดงละครชาตรีเรื่อง พระสุธนมโนห์รา ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 เวลา 13.30 น.
KP Muzika
7:44 AM (edited) - Publicเป็นชุดการแสดงที่กองการสังคีต กรมศิลปากร ปัจจุบันคือสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ ได้สร้างสรรค์ขี้นเพื่อนำไปเผยแพร่ในต่างประเทศ
ท่าน ผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ ตัดตอนปรับปรุงท่ารำมาจากการแสดงละครเรื่องมโนห์รา ตอนนางกินรีเล่นน้ำที่สระโบกขณี ซึ่งจัดแสดงให้ประชาชน ณ โรงละครศิลปากร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยปรับปรุงท่ารำให้กลมกลืนกับท่วงทำนองเพลงเชิดจีนผสมกับท่าเหินบินของ กินรี ต่อมาได้เพิ่มเติมนำลีลาท่ารำบูชายัญของนางมโนห์รามารำต่อท้ายเพลงเชิดจีน
KP Muzika
7:43 AM (edited) - Public
รำมโนห์ราบูชายัญ เป็นการรำเดี่ยวที่มีลีลาอ่อนช้อยงดงาม ของนางกินรีที่มีชื่อว่า "มโนห์รา" ในตอนหนึ่งของละครเรื่องมโนห์ราที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นใหม่ กล่าวถึงนางมโนห์ราถูกปุโรหิตผู้ริษยากราบทูลยุยงท้าวอาทิตยวงศ์ ให้พระสุธนไปปราบศึกและจับนางกินรีมโนห์รามาบูชายัญ เพื่อสะเดาะพระเคราะห์ท้าวอาทิตยวงศ์ นางมโนห์ราจึงอุบายทูลขอปีกหางและนำมาสวมใส่แล้วร่ายรำตามแบบกินรีให้ทอดพระเนตรเป็นครั้งสุดท้าย การรำตอนนี้เองที่เรียกว่า มโนห์ราบูชายัญ จากนั้นนางก็บินหนีกลับไปยังนครไกรลาศ
รำมโนห์ราบูชายัญ-รำซัดชาตรี
รำมโนห์ราบูชายัญ-รำซัดชาตรี
ซัดชาตรี SAT-CHA-TREE
ซัดชาตรี โดย
อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
อาจารย์ขวัญใจ คงถาวร (ครูจูน)
รำซัดชาตรี เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทย ปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา
ซัดชาตรี โดย
อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
อาจารย์ขวัญใจ คงถาวร (ครูจูน)
รำซัดชาตรี เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทย ปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา
KP Muzika
7:49 AM (edited) - Public
ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ วนศ.ร้อยเอ็ด
เป็นการฟ้อนที่ได้ตัดตอนเนื้อหามาจากวรรณกรรมพื้นเมืองอีสาน-ล้านช้าง เรื่อง ท้าวสีทน-มโนราห์ หรือในท้องที่ภาคกลางของไทยรู้จักในเรื่อง พระสุธน มโนราห์ อันเป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดกทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายอย่างมาก ทั้งไทยและลาว
เป็นการฟ้อนที่ได้ตัดตอนเนื้อหามาจากวรรณกรรมพื้นเมืองอีสาน-ล้านช้าง เรื่อง ท้าวสีทน-มโนราห์ หรือในท้องที่ภาคกลางของไทยรู้จักในเรื่อง พระสุธน มโนราห์ อันเป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดกทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายอย่างมาก ทั้งไทยและลาว
No comments:
Post a Comment