Nithiwat Wannasiri
Saturday
คำปฏิญาณปราบกบฏ
ข้าพเจ้า(ชื่อ - นามสกุล) ขอปฏิญาณ ต่อหน้าอนุสรณ์สถาน แห่ง การปราบกบฏ ล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ มุ่งหมายรื้อฟื้นระบอบ กษัตริย์ปฏิเสธหลักเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ เชิดชูสม บูรณาญาสิทธิ์ อันมีกษัตริย์เป็นใหญ่ มีเสรีภาพและอภิสิทธิ์เหนือ ราษฎรทั้งหลาย
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้คำมั่นว่า จักสืบทอดเจตนารมย์แห่งการอภิ วัฒน์สยาม ให้ถึงที่สุด คือสถาปนาประชาธิปไตยสมบูรณ์ขจัด อำนาจนอกและเหนือรัฐธรรมนูญให้หมดสิ้นไป
ข้าพเจ้าเป็นพลเมืองของระบอบประชาธิปไตยข้าพเจ้าไม่ใช่ พลเมืองของระบอบการปกครองอื่นอันเติมแต่งคำขยายให้บิดพลิ้ว ไปจากเจตนารมย์เดิมแท้แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ข้าพเจ้าขอให้คำสัตย์ว่า จะปกป้องประชาธิปไตยอันจริงแท้ด้วย เลือด เนื้อ และวิญญาณเช่นเดียวกับบรรพบุรุษผู้วายชนม์ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายืนต่อหน้าอนุสรณ์แห่งท่านทั้งหลายเพื่อแสดงให้ศัตรูของ ประชาธิปไตยเห็นว่า เจตนารมย์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิได้สูญสิ้นไปแล้ว แต่จักถูกส่งถ่ายทอดมายังข้าพเจ้าและลูกหลาน ของข้าพเจ้า ตราบจนกว่าประเทศไทยจักกลายเป็นประเทศของ ราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าประเทศนี้เป็นของราษฎร มิใช่ของกษัตริย์ อย่างที่เขาหลอกลวง ใครที่มุ่งหมายให้ราษฎรลืมธาตุเดิมแท้ของ ตนเองมันเหล่านั่นย่อมเป็นกบฏมุ่งหมายรื้อฟื้นอำนาจอันเกินกว่า รัฐธรรมนูญให้แก่พวกเจ้าแหละมันเหล่านั้นย่อมเป็นศัตรูของ ข้าพเจ้าเช่นกัน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=321084111310632&set=a.101154469970265.2055.100002271364703
Saturday
คำปฏิญาณปราบกบฏ
ข้าพเจ้า(ชื่อ - นามสกุล) ขอปฏิญาณ ต่อหน้าอนุสรณ์สถาน แห่ง การปราบกบฏ ล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ มุ่งหมายรื้อฟื้นระบอบ กษัตริย์ปฏิเสธหลักเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ เชิดชูสม บูรณาญาสิทธิ์ อันมีกษัตริย์เป็นใหญ่ มีเสรีภาพและอภิสิทธิ์เหนือ ราษฎรทั้งหลาย
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้คำมั่นว่า จักสืบทอดเจตนารมย์แห่งการอภิ วัฒน์สยาม ให้ถึงที่สุด คือสถาปนาประชาธิปไตยสมบูรณ์ขจัด อำนาจนอกและเหนือรัฐธรรมนูญให้หมดสิ้นไป
ข้าพเจ้าเป็นพลเมืองของระบอบประชาธิปไตยข้าพเจ้าไม่ใช่ พลเมืองของระบอบการปกครองอื่นอันเติมแต่งคำขยายให้บิดพลิ้ว ไปจากเจตนารมย์เดิมแท้แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ข้าพเจ้าขอให้คำสัตย์ว่า จะปกป้องประชาธิปไตยอันจริงแท้ด้วย เลือด เนื้อ และวิญญาณเช่นเดียวกับบรรพบุรุษผู้วายชนม์ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายืนต่อหน้าอนุสรณ์แห่งท่านทั้งหลายเพื่อแสดงให้ศัตรูของ ประชาธิปไตยเห็นว่า เจตนารมย์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิได้สูญสิ้นไปแล้ว แต่จักถูกส่งถ่ายทอดมายังข้าพเจ้าและลูกหลาน ของข้าพเจ้า ตราบจนกว่าประเทศไทยจักกลายเป็นประเทศของ ราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าประเทศนี้เป็นของราษฎร มิใช่ของกษัตริย์ อย่างที่เขาหลอกลวง ใครที่มุ่งหมายให้ราษฎรลืมธาตุเดิมแท้ของ ตนเองมันเหล่านั่นย่อมเป็นกบฏมุ่งหมายรื้อฟื้นอำนาจอันเกินกว่า รัฐธรรมนูญให้แก่พวกเจ้าแหละมันเหล่านั้นย่อมเป็นศัตรูของ ข้าพเจ้าเช่นกัน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=321084111310632&set=a.101154469970265.2055.100002271364703
Oh Wong-Arthichart
Saturday
จุดเทียนชัยถวายพระพรเนื่องในวโรกาสครบรอบ54พรรษา เสด็จเจียมธีรสกุล
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151072504798939&set=a.10150290481858939.381964.553208938
Saturday
จุดเทียนชัยถวายพระพรเนื่องในวโรกาสครบรอบ54พรรษา เสด็จเจียมธีรสกุล
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151072504798939&set=a.10150290481858939.381964.553208938
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Saturday
บอกตรงๆว่า ยังเสียดายอยู่ งานระลึก 80 ปี 24 มิถุนา ที่จัดๆกัน so far 2-3 งาน รวมแล้ว หลาย sessions หลายสิบชั่วโมง
ยังไม่มีการ address (เจาะจงพูด) ประเด็นใหญ่ที่ควร address ในปริบทของรำลึก 24 มิถุนา อย่างชัดเจนตรงๆลงไป
"ทำอย่างไร จึงจะยกเลิกอำนาจสถาบันกษัตริย์ ที่ขัดกับประชาธิปไตย ในปัจจุบัน ทีคณะราษฎร เคยพยายามทำแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ?"
ผมยังเห็นว่า การ "รำลึก 80 ปี 24 มิถุนา" ที่ไม่นำไปสู่การ address ประเด็นนี้ ก็ออกจะเป็นการ "รำลึก" ที่ "เสียเวลาเปล่า" ไม่น้อย
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/372895082763777
Saturday
บอกตรงๆว่า ยังเสียดายอยู่ งานระลึก 80 ปี 24 มิถุนา ที่จัดๆกัน so far 2-3 งาน รวมแล้ว หลาย sessions หลายสิบชั่วโมง
ยังไม่มีการ address (เจาะจงพูด) ประเด็นใหญ่ที่ควร address ในปริบทของรำลึก 24 มิถุนา อย่างชัดเจนตรงๆลงไป
"ทำอย่างไร จึงจะยกเลิกอำนาจสถาบันกษัตริย์ ที่ขัดกับประชาธิปไตย ในปัจจุบัน ทีคณะราษฎร เคยพยายามทำแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ?"
ผมยังเห็นว่า การ "รำลึก 80 ปี 24 มิถุนา" ที่ไม่นำไปสู่การ address ประเด็นนี้ ก็ออกจะเป็นการ "รำลึก" ที่ "เสียเวลาเปล่า" ไม่น้อย
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/372895082763777
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Saturday
มันเป็น "ตลกร้าย" (irony) อย่างใหญ่หลวง เกี่ยวกับ 2475 (และเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่าสำคัญ คนที่ยกย่อง/รำลึก 2475 ควรตระหนัก)
ในทุกประเทศที่มีการ "ปฏิวัติ" เขาจะทำให้สิ่งที่เป็นข้อเรียกร้อง หรือแรงผลักดันของการปฏิวัติ ที่ในสมัยก่อนเกิดการปฏิวัติ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ได้ กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมาย หรือปฏิบัติได้
เช่น ถ้าเรียกร้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเสรี ที่ก่อนการปฏิวัติไม่มี ถ้าปฏิวัติสำเร็จ เขาก็จะทำให้สิ่งนั้น กลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ขึ้นมา
2475 เริ่มต้นด้วยการประกาศโจมตีกษัตริย์อย่างรุนแรง
แต่พอปฏิวัติสำเร็จ ไมมีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 98 ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ที่บังคับอยู่ในขณะน้้น)
ดังนั้น หลัง 2475 ในขณะที่ ร.7 ยังเป็นกษัตริย์อยู่ ถ้าพูดในแง่กฎหมายจริงๆ "ประกาศคณะราษฎร" หรือการวิพากษ์ ร.7 อย่างตรงไปตรงมาแบบนั้น ก็ยังต้องถือเป็นการ "ผิดกฎหมาย" อยู่
หลัง ร.7 สละราชย์ และมีกษัตริย์องค์ต่อๆมา 70 กว่าปี จนถึงปัจจุบัน
การวิพากษ์กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา (แบบ "ประกาศคณะราษฎร") ที่เป็น "จุดเริ่มต้น" และแรงผลักดันของ "การปฏิวัติ" 2475 ก็ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=373123772740908&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
Saturday
มันเป็น "ตลกร้าย" (irony) อย่างใหญ่หลวง เกี่ยวกับ 2475 (และเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่าสำคัญ คนที่ยกย่อง/รำลึก 2475 ควรตระหนัก)
ในทุกประเทศที่มีการ "ปฏิวัติ" เขาจะทำให้สิ่งที่เป็นข้อเรียกร้อง หรือแรงผลักดันของการปฏิวัติ ที่ในสมัยก่อนเกิดการปฏิวัติ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ได้ กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมาย หรือปฏิบัติได้
เช่น ถ้าเรียกร้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเสรี ที่ก่อนการปฏิวัติไม่มี ถ้าปฏิวัติสำเร็จ เขาก็จะทำให้สิ่งนั้น กลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ขึ้นมา
2475 เริ่มต้นด้วยการประกาศโจมตีกษัตริย์อย่างรุนแรง
แต่พอปฏิวัติสำเร็จ ไมมีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 98 ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ที่บังคับอยู่ในขณะน้้น)
ดังนั้น หลัง 2475 ในขณะที่ ร.7 ยังเป็นกษัตริย์อยู่ ถ้าพูดในแง่กฎหมายจริงๆ "ประกาศคณะราษฎร" หรือการวิพากษ์ ร.7 อย่างตรงไปตรงมาแบบนั้น ก็ยังต้องถือเป็นการ "ผิดกฎหมาย" อยู่
หลัง ร.7 สละราชย์ และมีกษัตริย์องค์ต่อๆมา 70 กว่าปี จนถึงปัจจุบัน
การวิพากษ์กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา (แบบ "ประกาศคณะราษฎร") ที่เป็น "จุดเริ่มต้น" และแรงผลักดันของ "การปฏิวัติ" 2475 ก็ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=373123772740908&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
KP Page
4:03 PM (edited) - Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Sunday
ผม "แวบ" ไอเดียอะไรบางอย่าง ระหว่างนั่งตามฟัง เวที นปช มา 5-6 ชม.
ไม่แน่ใจจะดี หรือมีประโยชน์อะไรแต่ไหน ลองโพสต์ให้คิดกันเล่นๆ
คือ เรื่องการ "ระดม" คนมาจากต่างจังหวัด ขนกันมาเป็นคันรถๆ น่ะครับ
ผมก็พอเข้าใจอยุ่ เรือ่งการ "ระดม-แสดงกำลัง" และส่วนหนึง ก็เห็นว่ามีข้อดี เป็นสิทธิ์ของ "คนต่างจังหวัด" จะมา "แสดงกำลัง" ในกรุงเทพ
แต่ผมคิดๆ ในอนาคต บางที นปช. น่าจะพิจารณา จัดเวที จัดอภิปราย โดยพุ่งเป้า ที่ "คนกรุงเทพ" (แม้แต่คนต่างจังหวัดในกรุงเทพ ทีมีไม่น้อย ที่เป็น "ฐาน" นปช.เอง แต่ทีสำคัญ ผมคิดถึงในแง่ "คนระดับชันกลาง" ทียังไมใช่ "ฐาน" มากกว่า)
ไม่ต้องระดมคนมา พยายามหาทาง "เข้าถึง" พุ่งเป้า คนกรุงเทพ นี่แหละ
บางที อาจจะมีประโยชน์เหมือนกัน แต่คงต้อง คิด ปรับเปลี่ยน รูปแบบ เนื้อหา เยอะเหมือนกัน
(ความจริง แม้แต่การขอเช่า อย่าง "หอใหญ่ มธ." อะไรแบบนี้ ก็น่าจะลองทำ)
ปัญหาคือ ผมคิดว่า ประเด็นหนึงคือ นปช. ต้อง "เปิดกว้าง" ในแง่ "เวที" ของตัวเองมากกว่านี้ด้วย
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/373567969363155
Sunday
ผม "แวบ" ไอเดียอะไรบางอย่าง ระหว่างนั่งตามฟัง เวที นปช มา 5-6 ชม.
ไม่แน่ใจจะดี หรือมีประโยชน์อะไรแต่ไหน ลองโพสต์ให้คิดกันเล่นๆ
คือ เรื่องการ "ระดม" คนมาจากต่างจังหวัด ขนกันมาเป็นคันรถๆ น่ะครับ
ผมก็พอเข้าใจอยุ่ เรือ่งการ "ระดม-แสดงกำลัง" และส่วนหนึง ก็เห็นว่ามีข้อดี เป็นสิทธิ์ของ "คนต่างจังหวัด" จะมา "แสดงกำลัง" ในกรุงเทพ
แต่ผมคิดๆ ในอนาคต บางที นปช. น่าจะพิจารณา จัดเวที จัดอภิปราย โดยพุ่งเป้า ที่ "คนกรุงเทพ" (แม้แต่คนต่างจังหวัดในกรุงเทพ ทีมีไม่น้อย ที่เป็น "ฐาน" นปช.เอง แต่ทีสำคัญ ผมคิดถึงในแง่ "คนระดับชันกลาง" ทียังไมใช่ "ฐาน" มากกว่า)
ไม่ต้องระดมคนมา พยายามหาทาง "เข้าถึง" พุ่งเป้า คนกรุงเทพ นี่แหละ
บางที อาจจะมีประโยชน์เหมือนกัน แต่คงต้อง คิด ปรับเปลี่ยน รูปแบบ เนื้อหา เยอะเหมือนกัน
(ความจริง แม้แต่การขอเช่า อย่าง "หอใหญ่ มธ." อะไรแบบนี้ ก็น่าจะลองทำ)
ปัญหาคือ ผมคิดว่า ประเด็นหนึงคือ นปช. ต้อง "เปิดกว้าง" ในแง่ "เวที" ของตัวเองมากกว่านี้ด้วย
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/373567969363155
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล · 16,971 subscribers
3 hours ago ·
เหอๆๆ อย่างนี้ต้องเรียกว่า "ได้ดิบได้ดี" จากการอ่านบทกวี "หน้าพระที่นัง" จริงๆ
"ตั้งแต่อ่านกวีบนเวทีในวันเสด็จฯทุ่งมะขามหย่องให้คนไทยทั่วประเทศได้รับฟังกันเมื่อปลายเดือนพฤษภา ดิฉันก็มีโอกาสใหญ่ๆให้ได้เผยแพร่ความงดงามของวรรณศิลป์ไทยอย่างต่อเนื่อง นี่เพิ่งกลับมาจากงานกวีนานาชาติที่สเปน ไปร่ายกวีให้ชาวเมืองฟังในหอประชุมและสวนสาธารณะ เสียงตอบรับดีมาก"
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/270945
พูดจริงๆ บางทีผมก็ไม่อยากพูดเรือ่ง "พี่จี๊ด" มากนะ พูดแล้วมันเศร้าลึกๆ
นึกไม่ออกว่า กลายเป็นคนที่รู้สึก "ภูมิอกภูมิใจ" กับเรือ่งประเภทนี้ ไปได้ยังไง
คือต้องอธิบายว่า กรณีพี่จี๊ด นี่ไม่เหมือนพี่เนาว์นะ พี่ เนาว์ แกเล่น "บทสองหน้า"มานาน (สมัยก่อน แกอยู่ใน "จัดตั้ง" พคท.นี่แหละ พูดกันตรงๆ แต่ก็เขียน "อาเศียรวาทสดุดี" ไปด้วย)
แต่อย่างกรณี่ "พี่จี๊ด" หรืออีกคนคล้ายกัน พี่ "คมทวน"
พวกนี้เขียนบทกวี ซ้ายอย่างเดียวตลอด ไม่เหมือนกรณีพี่เนาว์
ผมสงสัยว่า "จุดเปลี่ยน" ของ พีจี๊ด" นี่จะใช่ ตอนแกได้ "กวีซีไรท์" หรือเปล่าก็ไม่ทราบ คือ เริ่ม เข้าไป "กระทบไหล่ ไฮโซ" แล้วก็เลยเริ่มเปลี่ยน
(บทกวี สดุดีเจ้า อันแรกที่ผมเห็น ไมแน่ใจว่า เป็นอันแรกของแกหรือเปล่า เป็นบทกวีตอน "สมเด็จย่า" สิ้นพระชนม์ ปี 2538)
ทำไม อดีตฝ่ายซ้าย อย่างพี่จี๊ด พี่ "คมทวน" และอีกหลายต่อหลายตน จึงหันมา เชียร์เจ้า
เป็นปริศนา ที่ผมเองก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
คือต้องบอกว่า การที่อย่างกรณีพี่หงา (ดูกลอนในรูป-กระทู้ข้างล่างที่ Nithiwat Wannasiri โพสต์มาให้)
หรืออีกหลายคน เกลียดเสื้อแดง เพราะเรื่องทักษิณ นี่ "พอจะเข้าใจ" อยู่นะ
คือ มันมี "ความต่อเนื่อง" ในระดับสำคัญ กับ สมัยทีเป็นฝ่ายซ้ายอยู่ เรื่องการแอนตี้ ทุนนิยม น่ะ (แม้แต่ กรณีปรากฏการณ์ "สองไม่เอา" ตอนปี 2549 ก็มาจากเรื่องนี้)
แต่การหันไปเชียร์เจ้า จะหา "ความต่อเนื่อง" กับความเป็นซ้ายสมัยก่อนนี่ ไม่ได้เลย
ซ้ายไทย "โต" มากับ "โฉมหน้าศักดินาไทย" "ไทยกึ่งเมืองขึ้น" "นายผี" ทีล้วนแต่ด่า "ศักดินา" อย่างรุนแรง
ดังนั้น เรื่องเจ้า (ไม่เหมือนเรื่อง "ทุนนิยม"-"นายทุน") ต้องถือเป็นการ "หักลำความคิด" อย่างขนานใหญ่มากๆ
ยอมรับว่า งง เหมือนกัน หาคำอธิบายลำบาก
(จริงๆ ก็ไม่เชิง ไม่มีคำอธิบายทั้งหมดนะ พูดจริง แม้แต่กรณีนิธิ หรือ เกษียร ในช่วงทศวรรษก่อน รปห. 19 กันยา ในขณะที่ ไม่ถึงกับเป็นแบบ"พี่จี๊ด" ทีเห็นนี้ ในแง่การเมือง ก็"เอียง" ไปในทางที่ผมเรียกว่า "reconciliation with the monarchy" (คืนดีกับสถาบันกษัตริย์) ไม่น้อย ซึงผมเคยเรียกว่าเป็นการ shift ทีสำคัญมากๆ และเป็นเรืองชี้ขาดการเปลี่ยนแปลง
บางที อาจจะบอกว่า กรณี "นายทุน" หรือ "ทุนนิยม" เป็นตัวแปรสำคัญก็ได้ คือ ในช่วงทศวรรษ 2530-2540 ที่ กระแส "ขบวนการภาคประชาชน" มันออกมาทางนี้ ติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เลยทำให้เกิดการเปลี่ยนเรืองเจ้าไปด้วย)
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/251631951619608
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/374618275924791
3 hours ago ·
เหอๆๆ อย่างนี้ต้องเรียกว่า "ได้ดิบได้ดี" จากการอ่านบทกวี "หน้าพระที่นัง" จริงๆ
"ตั้งแต่อ่านกวีบนเวทีในวันเสด็จฯทุ่งมะขามหย่องให้คนไทยทั่วประเทศได้รับฟังกันเมื่อปลายเดือนพฤษภา ดิฉันก็มีโอกาสใหญ่ๆให้ได้เผยแพร่ความงดงามของวรรณศิลป์ไทยอย่างต่อเนื่อง นี่เพิ่งกลับมาจากงานกวีนานาชาติที่สเปน ไปร่ายกวีให้ชาวเมืองฟังในหอประชุมและสวนสาธารณะ เสียงตอบรับดีมาก"
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/270945
พูดจริงๆ บางทีผมก็ไม่อยากพูดเรือ่ง "พี่จี๊ด" มากนะ พูดแล้วมันเศร้าลึกๆ
นึกไม่ออกว่า กลายเป็นคนที่รู้สึก "ภูมิอกภูมิใจ" กับเรือ่งประเภทนี้ ไปได้ยังไง
คือต้องอธิบายว่า กรณีพี่จี๊ด นี่ไม่เหมือนพี่เนาว์นะ พี่ เนาว์ แกเล่น "บทสองหน้า"มานาน (สมัยก่อน แกอยู่ใน "จัดตั้ง" พคท.นี่แหละ พูดกันตรงๆ แต่ก็เขียน "อาเศียรวาทสดุดี" ไปด้วย)
แต่อย่างกรณี่ "พี่จี๊ด" หรืออีกคนคล้ายกัน พี่ "คมทวน"
พวกนี้เขียนบทกวี ซ้ายอย่างเดียวตลอด ไม่เหมือนกรณีพี่เนาว์
ผมสงสัยว่า "จุดเปลี่ยน" ของ พีจี๊ด" นี่จะใช่ ตอนแกได้ "กวีซีไรท์" หรือเปล่าก็ไม่ทราบ คือ เริ่ม เข้าไป "กระทบไหล่ ไฮโซ" แล้วก็เลยเริ่มเปลี่ยน
(บทกวี สดุดีเจ้า อันแรกที่ผมเห็น ไมแน่ใจว่า เป็นอันแรกของแกหรือเปล่า เป็นบทกวีตอน "สมเด็จย่า" สิ้นพระชนม์ ปี 2538)
ทำไม อดีตฝ่ายซ้าย อย่างพี่จี๊ด พี่ "คมทวน" และอีกหลายต่อหลายตน จึงหันมา เชียร์เจ้า
เป็นปริศนา ที่ผมเองก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
คือต้องบอกว่า การที่อย่างกรณีพี่หงา (ดูกลอนในรูป-กระทู้ข้างล่างที่ Nithiwat Wannasiri โพสต์มาให้)
หรืออีกหลายคน เกลียดเสื้อแดง เพราะเรื่องทักษิณ นี่ "พอจะเข้าใจ" อยู่นะ
คือ มันมี "ความต่อเนื่อง" ในระดับสำคัญ กับ สมัยทีเป็นฝ่ายซ้ายอยู่ เรื่องการแอนตี้ ทุนนิยม น่ะ (แม้แต่ กรณีปรากฏการณ์ "สองไม่เอา" ตอนปี 2549 ก็มาจากเรื่องนี้)
แต่การหันไปเชียร์เจ้า จะหา "ความต่อเนื่อง" กับความเป็นซ้ายสมัยก่อนนี่ ไม่ได้เลย
ซ้ายไทย "โต" มากับ "โฉมหน้าศักดินาไทย" "ไทยกึ่งเมืองขึ้น" "นายผี" ทีล้วนแต่ด่า "ศักดินา" อย่างรุนแรง
ดังนั้น เรื่องเจ้า (ไม่เหมือนเรื่อง "ทุนนิยม"-"นายทุน") ต้องถือเป็นการ "หักลำความคิด" อย่างขนานใหญ่มากๆ
ยอมรับว่า งง เหมือนกัน หาคำอธิบายลำบาก
(จริงๆ ก็ไม่เชิง ไม่มีคำอธิบายทั้งหมดนะ พูดจริง แม้แต่กรณีนิธิ หรือ เกษียร ในช่วงทศวรรษก่อน รปห. 19 กันยา ในขณะที่ ไม่ถึงกับเป็นแบบ"พี่จี๊ด" ทีเห็นนี้ ในแง่การเมือง ก็"เอียง" ไปในทางที่ผมเรียกว่า "reconciliation with the monarchy" (คืนดีกับสถาบันกษัตริย์) ไม่น้อย ซึงผมเคยเรียกว่าเป็นการ shift ทีสำคัญมากๆ และเป็นเรืองชี้ขาดการเปลี่ยนแปลง
บางที อาจจะบอกว่า กรณี "นายทุน" หรือ "ทุนนิยม" เป็นตัวแปรสำคัญก็ได้ คือ ในช่วงทศวรรษ 2530-2540 ที่ กระแส "ขบวนการภาคประชาชน" มันออกมาทางนี้ ติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เลยทำให้เกิดการเปลี่ยนเรืองเจ้าไปด้วย)
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/251631951619608
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/374618275924791
KP Page
1:04 PM (edited) - Public
อุดมการณ์ชาตินิยม ในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์
อุดมการณ์ชาตินิยม ของคณะผู้เคลื่อนไหว รศ.130 คือ ชาติ-ศาสนา-บ้านเมือง ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของความเป็นชาติ
เพ็ญพิสุทธิ์ ทองมี
สัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" อาทิตย์ 24 มิถุนายน2555
อุดมการณ์ชาตินิยม ของคณะผู้เคลื่อนไหว รศ.130 คือ ชาติ-ศาสนา-บ้านเมือง ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของความเป็นชาติ
เพ็ญพิสุทธิ์ ทองมี
สัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" อาทิตย์ 24 มิถุนายน2555
"เสียงไพร่กระฎุมพี คือจิ้งหรีดที่ในรู
ใช่เสียงที่เหล่าสู จะสนใจให้ป่วยการ
บัดพวกกระฎุมพี ก็บ่อาจจะทนทาน
จึงผลุนขึ้นเผาผลาญ ทุรภาพเป็นผุยผง
คือสี่ทหารเสือ ที่อุกอาจทะนงองค์
ผลุนปรี่เข้าไปปลง เอาทรากศพที่แสนโทรม
พวกทาสกสิกร ก็เป็นกลางบ่รุกโรม
จึงศักดินาโทม- มะนัสท้อฤทัยไท
ขอเอาอังคารมา แลบูชาด้วยอาลัย
สร้างศาลขึ้นสมใจ แลจะปองเป็นปรนผี
แล้วสี่ทหารเสือ เอาเจว็ดมาทันที
ไว้ศาลให้สมศรี ก็สำหรับจะเป็นกล
สมยอมแลขัดแย้ง อุตส่าห์แสร้งด้วยจำจน
จงล่วงจะลวงคน ให้กลัวเกรงอยู่ชั่วกาล
ฝ่ายหนึ่งเฝ้าปลุกผี จะให้โลดกำแหงหาญ
ฝ่ายหนึ่งขนาบศาล สำหรับล่อให้คนหลง"
กาพย์กลอนชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ของอัศนี พลจันทร (นายผี) เรื่อง "ความเปลี่ยนแปลง" (2495) ซึ่งบรรยายความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่าง พลังการเมืองฝ่ายต่างๆ ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไว้อย่างคลุมเครือมีเงื่อนงำชวนพิศวง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/168708
ใช่เสียงที่เหล่าสู จะสนใจให้ป่วยการ
บัดพวกกระฎุมพี ก็บ่อาจจะทนทาน
จึงผลุนขึ้นเผาผลาญ ทุรภาพเป็นผุยผง
คือสี่ทหารเสือ ที่อุกอาจทะนงองค์
ผลุนปรี่เข้าไปปลง เอาทรากศพที่แสนโทรม
พวกทาสกสิกร ก็เป็นกลางบ่รุกโรม
จึงศักดินาโทม- มะนัสท้อฤทัยไท
ขอเอาอังคารมา แลบูชาด้วยอาลัย
สร้างศาลขึ้นสมใจ แลจะปองเป็นปรนผี
แล้วสี่ทหารเสือ เอาเจว็ดมาทันที
ไว้ศาลให้สมศรี ก็สำหรับจะเป็นกล
สมยอมแลขัดแย้ง อุตส่าห์แสร้งด้วยจำจน
จงล่วงจะลวงคน ให้กลัวเกรงอยู่ชั่วกาล
ฝ่ายหนึ่งเฝ้าปลุกผี จะให้โลดกำแหงหาญ
ฝ่ายหนึ่งขนาบศาล สำหรับล่อให้คนหลง"
กาพย์กลอนชิ้นหนึ่งก่อนหน้านี้ของอัศนี พลจันทร (นายผี) เรื่อง "ความเปลี่ยนแปลง" (2495) ซึ่งบรรยายความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่าง พลังการเมืองฝ่ายต่างๆ ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไว้อย่างคลุมเครือมีเงื่อนงำชวนพิศวง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/168708
KP Page
10:17 AM (edited) - Public
ประเด็นสำคัญของ 24 มิถุนายน 2475 คือ "อธิปไตยเป็นของราษฏร" เพราะฉะนั้นแปลว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฏร เพราะฉะนั้นมันก็แปลต่ออีกว่า แผ่นดินนี้เป็นของใคร
ถ้าท่านเชื่อกฏหมายตราสามดวง ที่ตราขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ก็จะบอกว่า อันแผ่นดินนี้เป็นของพระมหากษัตริย์ แต่ให้ราษฏรอยู่อาศัย ราษฏรไม่ได้เป็นเจ้าของ
แต่ถ้าท่านเชื่อเหรียญอีกด้าน อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฏร เป็นของปวงชนชาวไทย แผ่นดินนี้ก็เป็นของปวงชนชาวไทย
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
สัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" อาทิตย์ 24 มิถุนายน2555
ถ้าท่านเชื่อกฏหมายตราสามดวง ที่ตราขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ก็จะบอกว่า อันแผ่นดินนี้เป็นของพระมหากษัตริย์ แต่ให้ราษฏรอยู่อาศัย ราษฏรไม่ได้เป็นเจ้าของ
แต่ถ้าท่านเชื่อเหรียญอีกด้าน อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฏร เป็นของปวงชนชาวไทย แผ่นดินนี้ก็เป็นของปวงชนชาวไทย
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
สัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" อาทิตย์ 24 มิถุนายน2555
อ.ชาญวิทย์ อธิบายว่า จะให้เรียกกันจริงๆ คงต้องใช้คำของ อ.ปรีดี ว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” หรือ “Constitutional Monarchy” หมายความว่ายังมีสถาบันกษัตริย์อยู่ แต่เป็นลักษณะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เพราะเจตนารมณ์ของประชาธิปไตยที่เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2475 คือมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อยู่ในวงจำกัด
“คณะราษฎรจะใช้คำว่า ‘กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ’ แต่รัชกาลที่ 7 ใช้คำเพื่อความประนีประนอมว่า ‘กษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ’ หรือ ‘กษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ’ ก่อนถูกแปลงภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนมีคำว่าประชาธิปไตยแบบไทยและประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นับเป็นการต่อสู้กันทางแนวความคิดประชาธิปไตยไทยนานถึง 80 ปี กระทั่งมาถึงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของประชาธิปไตยไทยแล้วในตอนนี้”
“คณะราษฎรจะใช้คำว่า ‘กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ’ แต่รัชกาลที่ 7 ใช้คำเพื่อความประนีประนอมว่า ‘กษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ’ หรือ ‘กษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ’ ก่อนถูกแปลงภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนมีคำว่าประชาธิปไตยแบบไทยและประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นับเป็นการต่อสู้กันทางแนวความคิดประชาธิปไตยไทยนานถึง 80 ปี กระทั่งมาถึงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของประชาธิปไตยไทยแล้วในตอนนี้”
ดร. ชาญวิทย์กล่าวว่ารัฐธรรมนูญที่กำหนดหลักแบ่งแยกอำนาจที่ดีที่สุดของไทยคือรัฐธรรมนูญ 2489 คือถวายรัฐธรรมนุญต่อร. 8 และลงพระปรมาภิไธย วันที่ 9 พ.ค. 2489 และอธิบายต่อมาว่ารัฐธรรมนูญนั้นต้องถวายก่อนแล้วจึงพระราชทานคืน ดังที่ปรากฏเป็นพานแว่นฟ้าบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายหลังลงพระปรมาภิไธยแล้วจากนั้น 9 มิ.ย. ก็เสด็จสวรรคต
โดยหลักแล้วความพยายามของคณะราษฎรจากที่เห็นจากบทบาทของปรีดี พนมยงค์ คือการสถาปนาการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย และอ.ปรีดีแปล Constitutional Monarchy ว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” ซึ่งน่าจะชัดเจนกว่า
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41066
โดยหลักแล้วความพยายามของคณะราษฎรจากที่เห็นจากบทบาทของปรีดี พนมยงค์ คือการสถาปนาการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย และอ.ปรีดีแปล Constitutional Monarchy ว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” ซึ่งน่าจะชัดเจนกว่า
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41066
No comments:
Post a Comment