สงสัย 'เห็ดขี้ควาย' ปมตายปริศนานักท่องเที่ยวพีพี
http://news.voicetv.co.th/thailand/42275.html
กรมควบคุมมลพิษ ส่งทีมงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลหาสารพิษ ปมตายปริศนาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ราย คาด 'เห็ดขี้ควาย' ชนวนน่าสงสัย เชื่อพิษรุนแรงถึงตาย !!!
หลังเกิดเหตุนักท่องเที่ยวสาวชาวแคนาดา 2คน คือ น.ส.โนเอมิ และ น.ส.ออเดรย์ เบเลนเจอร์ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เสียชีวิตปริศนาในโรงแรมพีพีปาล์ม เรสซิเดนซ์ หมู่7ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดวันนี้(19 มิ.ย.)ผู้เชี่ยวชาญสำรนักระบาดวิทยา กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้า ในย่านชุมชนบริเวณเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ เพื่อสำรวจหาสารอันตราย และเก็บหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสถานที่พักซึ่งอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวทั้ง 2ราย และจะนำไปตรวจสอบในห้องทดลองอีกครั้ง
ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าทั้งสองได้เดินทางไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต มาด้วย สาเหตุการเสียชีวิตมีความเป็นไปได้หลายอย่าง แต่ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการรับประทานสารหนูผสมสารเสพติด ยาฆ่าแมลง เห็ดพิษ หรือปลาปักเป้าเข้าไปก็ได้ ทั้งนี้ต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งจึงจะสามารถสรุปผลที่ชัดเจนได้
ด้านผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะพีพีรายหนึ่ง กล่าวว่า สาเหตุที่นักท่องเที่ยวทั้ง 2 รายเสียชีวิตนั้น จากสภาพศพที่ตายมีลักษณะอาเจียน รวมถึงเขียวคล้ำตามเล็บ เบื้องต้นคาดว่า น่าจะกินสิ่งของที่เป็นพิษเข้าไป โดยเฉพาะเห็ดขี้ควายที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว แม้พื้นที่เกาะพีพีจะไม่มีเห็ดในลักษณะดังกล่าว เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ที่เกาะสมุย แต่ก็สามารถนำมาที่เกาะพีพีได้ อาจจะมีผู้ประกอบการบางราย นำมาผสมในเครื่องดื่ม เพื่อให้เกิดอาการเมา แต่หากนักท่องเที่ยวมีโรคประจำตัว หรือกินเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้เสียชีวิตได้
สำหรับ "เห็ดขี้ควาย" ที่มีหลายฝ่ายคาดว่าจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวชาวแคนาดาทั้ง 2 คน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Psilocybe cubensis Earle มีลักษณะเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่บนมูลควาย พบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของเห็ดขี้ควาย คือ หมวกเห็ดเมื่อบานใหม่ๆ รูปคล้ายร่ม เมื่อบานเต็มที่จะโค้งขึ้น ตรงกลางเว้าตื้น ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกสีน้ำตาล อมเหลือง ครีบสีน้ำตาลดำ ใต้หมวกมีแอนนูลัสสีขาวนวลแผ่เป็นแผ่นบางห้อยติดกับก้าน
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมว่า สถานบันเทิงหลายแห่งทั้งในเกาะพีพีและเกาะลันตา ได้มีเมนูใหม่ที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว โดยการนำเห็ดขี้ควาย มาปรุงเป็นเมนู เช่น ไข่เจียวเห็ด และเห็ดปั่นผสมเหล้า หรือคอกเทล โดยนักท่องเที่ยวรายหนึ่งเล่าว่า เมนูดังกล่าวมีมากที่เกาะพะงัน และเกาะสมุย และได้กระจายมายังเกาะพีพี หากผู้ที่รับประทาน มีร่างกายไม่แข็งแรง หรือไม่สามารถต้านทานฤทธิ์ของเห็ดได้ ก็จะมีอาการมึนเมาอย่างรุนแรง
ตัวอย่างผู้ป่วย
ในปี 2528 มีรายงานการนำเห็ดขี้ควายมารับประทานและเกิดอาการพิษ โดย โรงพยาบาลที่เกาะสมุยได้รับคนไข้ชาวต่างชาติซึ่งมีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจาก รับประทานเห็ดชนิดนี้ นอกจากนี้ยังพบว่านักท่องเที่ยว บางกลุ่มที่มายัง เกาะสมุยและเกาะพงัน จะนิยมเสพหรือบริโภคเห็ดขี้ควาย ทำให้เกิดอาการมึนเมา
สารที่ทำให้เกิดพิษ
สารพิษที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือประสาทหลอนในเห็ดขี้ควาย คือ psilocybin ซึ่งเมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็น psilocin ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้าย serotonin จึงไปรบกวนการทำงานของ serotonin ขนาดของสาร psilocybin ที่ทำให้เกิดอาการพิษ คือ 3.5-12 มก. (หรือ 4-8 มก.) หรือรับประทานเห็ดแห้ง 1-4 กรัม ซึ่งจะเทียบเท่ากับเห็ด 15-20 ดอก
อาการพิษ
ภายใน 10-30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป จะมีอาการกระวนกระวาย เครียด มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และมักจะหาว กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หนาวๆ ร้อนๆ แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ริมฝีปากชา คลื่นไส้ โดยทั่วไปไม่อาเจียน ภายใน 30-60 นาที จะมีอาการผิดปกติของตา เช่น เห็นเป็นสีต่างๆ ขณะที่ปิดตา ระบบการรับรู้เรื่องเวลาผิดไป มีอาการเคลิ้มฝัน และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น รู้สึกเศร้า มีความรู้สึกเหมือนฝัน และเปลี่ยนบุคลิก ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง เหงื่อแตก หาว น้ำตาไหล หน้าแดง ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ใน 1-2 ชั่วโมง ความผิดปกติของตาจะเพิ่มมากขึ้น มีอาการฝันต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 2-4 ชั่วโมง แต่บางรายอาการอาจจะนานถึง 6-8 ชั่วโมง อาการจะหายไปเองโดยไม่มีอาการค้าง นอกจากอาจมีอาการปวดหัวหรืออ่อนเพลีย มีน้อยมากที่พบอาการซิโซฟรีเนีย ในเด็กอาการที่พบมีม่านตาขยาย ไข้สูง โคม่า และมีอาการชัก
การรักษา
1. ให้ syrup of ipecac หรือล้างท้องภายใน 30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป
2. เนื่องจากอาการพิษไม่รุนแรง โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้การรักษาพิเศษยกเว้นในเด็กควรระวังเรื่องไข้ โคม่า และชัก
3. ในผู้ป่วยที่มีอาการตื่นตระหนก สับสน อาจใช้วิธีปลอบใจเช่นเดียวกับคนเมากัญชา
4. อาจจำเป็นต้องให้ยาสงบประสาท
โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
Source : infoquest.co.th,thairath.co.th,kapook/ biogang.net(Image)
http://medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/hedkheek.htm
http://news.voicetv.co.th/thailand/42275.html
กรมควบคุมมลพิษ ส่งทีมงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลหาสารพิษ ปมตายปริศนาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ราย คาด 'เห็ดขี้ควาย' ชนวนน่าสงสัย เชื่อพิษรุนแรงถึงตาย !!!
หลังเกิดเหตุนักท่องเที่ยวสาวชาวแคนาดา 2คน คือ น.ส.โนเอมิ และ น.ส.ออเดรย์ เบเลนเจอร์ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เสียชีวิตปริศนาในโรงแรมพีพีปาล์ม เรสซิเดนซ์ หมู่7ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุดวันนี้(19 มิ.ย.)ผู้เชี่ยวชาญสำรนักระบาดวิทยา กรมควบคุมมลพิษ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้า ในย่านชุมชนบริเวณเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ เพื่อสำรวจหาสารอันตราย และเก็บหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสถานที่พักซึ่งอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวทั้ง 2ราย และจะนำไปตรวจสอบในห้องทดลองอีกครั้ง
ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าทั้งสองได้เดินทางไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต มาด้วย สาเหตุการเสียชีวิตมีความเป็นไปได้หลายอย่าง แต่ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการรับประทานสารหนูผสมสารเสพติด ยาฆ่าแมลง เห็ดพิษ หรือปลาปักเป้าเข้าไปก็ได้ ทั้งนี้ต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งจึงจะสามารถสรุปผลที่ชัดเจนได้
ด้านผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะพีพีรายหนึ่ง กล่าวว่า สาเหตุที่นักท่องเที่ยวทั้ง 2 รายเสียชีวิตนั้น จากสภาพศพที่ตายมีลักษณะอาเจียน รวมถึงเขียวคล้ำตามเล็บ เบื้องต้นคาดว่า น่าจะกินสิ่งของที่เป็นพิษเข้าไป โดยเฉพาะเห็ดขี้ควายที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว แม้พื้นที่เกาะพีพีจะไม่มีเห็ดในลักษณะดังกล่าว เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ที่เกาะสมุย แต่ก็สามารถนำมาที่เกาะพีพีได้ อาจจะมีผู้ประกอบการบางราย นำมาผสมในเครื่องดื่ม เพื่อให้เกิดอาการเมา แต่หากนักท่องเที่ยวมีโรคประจำตัว หรือกินเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะทำให้เสียชีวิตได้
สำหรับ "เห็ดขี้ควาย" ที่มีหลายฝ่ายคาดว่าจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวชาวแคนาดาทั้ง 2 คน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Psilocybe cubensis Earle มีลักษณะเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่บนมูลควาย พบได้ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของเห็ดขี้ควาย คือ หมวกเห็ดเมื่อบานใหม่ๆ รูปคล้ายร่ม เมื่อบานเต็มที่จะโค้งขึ้น ตรงกลางเว้าตื้น ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกสีน้ำตาล อมเหลือง ครีบสีน้ำตาลดำ ใต้หมวกมีแอนนูลัสสีขาวนวลแผ่เป็นแผ่นบางห้อยติดกับก้าน
อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมว่า สถานบันเทิงหลายแห่งทั้งในเกาะพีพีและเกาะลันตา ได้มีเมนูใหม่ที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว โดยการนำเห็ดขี้ควาย มาปรุงเป็นเมนู เช่น ไข่เจียวเห็ด และเห็ดปั่นผสมเหล้า หรือคอกเทล โดยนักท่องเที่ยวรายหนึ่งเล่าว่า เมนูดังกล่าวมีมากที่เกาะพะงัน และเกาะสมุย และได้กระจายมายังเกาะพีพี หากผู้ที่รับประทาน มีร่างกายไม่แข็งแรง หรือไม่สามารถต้านทานฤทธิ์ของเห็ดได้ ก็จะมีอาการมึนเมาอย่างรุนแรง
ตัวอย่างผู้ป่วย
ในปี 2528 มีรายงานการนำเห็ดขี้ควายมารับประทานและเกิดอาการพิษ โดย โรงพยาบาลที่เกาะสมุยได้รับคนไข้ชาวต่างชาติซึ่งมีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจาก รับประทานเห็ดชนิดนี้ นอกจากนี้ยังพบว่านักท่องเที่ยว บางกลุ่มที่มายัง เกาะสมุยและเกาะพงัน จะนิยมเสพหรือบริโภคเห็ดขี้ควาย ทำให้เกิดอาการมึนเมา
สารที่ทำให้เกิดพิษ
สารพิษที่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือประสาทหลอนในเห็ดขี้ควาย คือ psilocybin ซึ่งเมื่อเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็น psilocin ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้าย serotonin จึงไปรบกวนการทำงานของ serotonin ขนาดของสาร psilocybin ที่ทำให้เกิดอาการพิษ คือ 3.5-12 มก. (หรือ 4-8 มก.) หรือรับประทานเห็ดแห้ง 1-4 กรัม ซึ่งจะเทียบเท่ากับเห็ด 15-20 ดอก
อาการพิษ
ภายใน 10-30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป จะมีอาการกระวนกระวาย เครียด มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และมักจะหาว กล้ามเนื้อกระตุก สั่น หนาวๆ ร้อนๆ แขนขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ริมฝีปากชา คลื่นไส้ โดยทั่วไปไม่อาเจียน ภายใน 30-60 นาที จะมีอาการผิดปกติของตา เช่น เห็นเป็นสีต่างๆ ขณะที่ปิดตา ระบบการรับรู้เรื่องเวลาผิดไป มีอาการเคลิ้มฝัน และการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น รู้สึกเศร้า มีความรู้สึกเหมือนฝัน และเปลี่ยนบุคลิก ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ถูกต้อง เหงื่อแตก หาว น้ำตาไหล หน้าแดง ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ใน 1-2 ชั่วโมง ความผิดปกติของตาจะเพิ่มมากขึ้น มีอาการฝันต่างๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 2-4 ชั่วโมง แต่บางรายอาการอาจจะนานถึง 6-8 ชั่วโมง อาการจะหายไปเองโดยไม่มีอาการค้าง นอกจากอาจมีอาการปวดหัวหรืออ่อนเพลีย มีน้อยมากที่พบอาการซิโซฟรีเนีย ในเด็กอาการที่พบมีม่านตาขยาย ไข้สูง โคม่า และมีอาการชัก
การรักษา
1. ให้ syrup of ipecac หรือล้างท้องภายใน 30 นาที หลังจากรับประทานเห็ดเข้าไป
2. เนื่องจากอาการพิษไม่รุนแรง โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้การรักษาพิเศษยกเว้นในเด็กควรระวังเรื่องไข้ โคม่า และชัก
3. ในผู้ป่วยที่มีอาการตื่นตระหนก สับสน อาจใช้วิธีปลอบใจเช่นเดียวกับคนเมากัญชา
4. อาจจำเป็นต้องให้ยาสงบประสาท
โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
Source : infoquest.co.th,thairath.co.th,kapook/ biogang.net(Image)
http://medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/hedkheek.htm
แหม +++ มีมาตั้งนานแล้ว นึกไงเพิ่งคิดจะมาประท้วง ความรู้สึกช้าไปหน่อยนะ ... สมัยอภิรักษ์มีรถโฆษณาขนาดใหญ๋ที่สยาม เปิดโฆษณาเสียงดังมาก ไม่เห็นจะมีหมาตัวไหนออกมาเห่า ... แปลกจริงๆ ...
http://prachatai.com/journal/2012/06/41123
http://prachatai.com/journal/2012/06/41123
No comments:
Post a Comment