ใช้ชีวิตทั้งหมดด้วย “ อานาปานัสสติ ” (คำสอนของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)
“ อานาปานัสสติ ” คือการระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกในปัจจุบันแต่ละขณะ
ตามคำสอนของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวราราม อ.ไทรโยค
จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายใกล้ตัว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
พระอาจารย์มิตซูโอะ กล่าวไว้ว่า ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ จงอยู่ด้วยอานาปานัสสติ ทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ทำครัว ทำความสะอาดบ้าน นั่งอยู่ในรถ ทำงานทุกชนิด เดินเล่น พักผ่อน พยายามให้มีสติ ระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เบาๆ สบายๆ ติดต่อกัน ต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลืม ไม่เผลอ
แม้แต่ขณะที่เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัส ไม่ให้ส่งจิตคิดออกไปตาม
ความรู้สึกยินดียินร้าย ระลึกรู้ลมหายใจเบาๆ สบายๆ เป็นการรักษาใจให้สงบ รักษาสุขภาพใจดี ของเรา ซึ่งพูดได้ว่า ชีวิตทั้งหมดนี้ให้อยู่ด้วยอานาปานัสสติ
อย่างไรก็ตาม ในอิริยาบทบางอย่างไม่สะดวกที่จะกำหนดรู้ลมหายใจ เช่น ขณะกำลังขับรถบนถนน บนทางด่วน เราไม่ต้องกังวล คือไม่ต้องระลึกลมหายใจ แต่ให้อยู่ในหลักอานาปานัสสติให้ครบถ้วน คือ เอาใจใส่ ทำหน้าที่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด เพราะปัจจุบันสำคัญ เรื่องอดีตไม่สำคัญ ไม่ต้องคิดถึง เรื่องอนาคตไม่สำคัญ ไม่ต้องคิดถึง
เรื่องคนอื่นไม่สำคัญ โดยเฉพาะความชั่วของคนอื่น เราไม่ควรแบกไว้ ตัวเราเองทำดีทำถูกต่างหากเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างเช่น ตั้งใจขับรถให้ดีที่สุด อย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใครที่ขับรถไม่ดี ไม่เคารพกฎจราจร แซงตัดหน้าเราจนเกือบชน หรือเกือบมี อุบัติเหตุ น่าโมโห แต่ก็ช่างมัน เป็นความชั่วของเขา ขอเพียงเราไม่โมโห อย่าให้เสียใจ และอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวเรารักษาใจให้เป็นปกติและทำหน้าที่ให้ด ีที่สุด
เมื่อเราเจริญอานาปานัสสติ เป็นประจำ เราจะมีสติตลอดเวลา สามารถจัดการกับงานหลายอย่างที่ประดังเข้ามาในเวลาเดียวกันได้อย่างราบรื่น เพราะเมื่อเรารู้สึกวุ่นวาย สติจะกำกับให้กลับมาที่ลมหายใจโดยอัตโนมัต ิ จิตจะเริ่มสงบและรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ทำให้เกิดปัญญาที่จะแก้ไขหรือจัดการกับงาน เหล่านี้ให้สำเร็จที่ละอย่าง และเมื่อทำงานแล้วเสร็จ สติจะกำกับให้กลับมาที่ลมหายใจทันทีที่ว่า งจากงาน เป็นการพักผ่อนด้วยอานาปานัสสติ หากใครทำได้อย่างนั้นแล้ว ชีวิตทั้งหมดจะอยู่ด้วยอานาปานัสสติ คือ ทำหน้าที่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด ด้วยใจดี สุขใจ
คำสอนตามหลักอานาปานัสสติ เชื่อว่าหากใครนำไปปฏิบัติแล้ว จะมีสติในทุกย่างก้าว ทำการงานด้วยความรอบคอบ เป็นความสุขที่หาได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร แต่ผลที่ได้คุ้มค่า สมกับคำกล่าวที่ว่า “ ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจของเรา ” หากเรามีสติ ใจเราก็จะคิดดี ทำดี เป็นคนดีอีกคนหนึ่งในสังคม
Series of Dhamma talk by Ajahn Mitsuo Gavesako in ENGLISH.http://www.youtube.com/view_play_list?p=5B2BEA4110BA0588
Ajahn Mitsuo Gavesako (Japanese) of Wat Sunandavanaram, Kanchanaburi, Thailand พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดสุนันทวนาราม
- Comment - Hang out - Share
Venerable Ajahn Mitsuo Gavesako is a senior monk and highly respected meditation teacher in the tradition of Venerable Ajahn Chah.
He was born in Japan and took ordination as a Theravadan Buddhist monk with Venerable Ajahn Chah in 1976.
Venerable Ajahn Gavesako is currently abbot of Sunantavanarama Buddhist Monastery in Kanchanburi Province, Thailand.http://angsila.cs.buu.ac.th/~suwanna/mambo/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=24&Itemid=39
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15745
He was born in Japan and took ordination as a Theravadan Buddhist monk with Venerable Ajahn Chah in 1976.
Venerable Ajahn Gavesako is currently abbot of Sunantavanarama Buddhist Monastery in Kanchanburi Province, Thailand.http://angsila.cs.buu.ac.th/~suwanna/mambo/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=24&Itemid=39
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15745
The Seven Practice for a Healthy Mind Translate by Maya Gotami Foundation Edited by Bruce Evans Front Cover and Illustration by Amnart Klanpracha All rights reserved. Any reproduction, in whole or par...
"ผิดก่อน-ผิดมาก"
ปัจจุบันธรรม
--ทำเหตุดีในปัจจุบัน อนาคตก็จะดี ผลผลิตก็ดี เป็นสุข --
การศึกษาธรรม ท่านให้ศึกษาปัจจุบันธรรม บุคคลไม่ควรตามความคิดถึงสิ ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย ไม่ควรพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไ ม่ถึง การปฏิบัติของเรา ท่านให้ปล่อยวางสัญญาอารมณ์ ต่าง ๆ ไม่ให้คิดถึงอดีต อนาคต ให้กำหนดรู้ปัจจุบัน คิดถึงอยู่แต่อารมณ์ปัจจุบั นเท่านั้น เพื่อรู้ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
กิเลส อนุสัยเป็นของเก่า เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง อายตนะภายใน อายตนะภายนอกกระทบกันก็จะเก ิดอารมณ์ปัจจุบัน ยินดี ยินร้าย สุข ทุกข์ เป็นผล เรากำลังเห็นผลในปัจจุบันแต ่สามารถสาวหารู้เหตุในอดีตไ ด้
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นเพียงการกระตุ้นเอาของเ ก่าออกมา ขี้ละโมบโลภมาก ขี้โกรธ ขี้น้อยใจ ขี้เสียใจ ขี้เกียจ ขี้อิจฉา ขี้สงสัย ขี้กลัว ขี้อาย ขี้หลง ขี้วิตกกังวล ขี้ฟุ้งซ่าน เป็นต้น เราเคยสร้างสมนิสัย กิเลส อนุสัยอย่างไร อาการเหล่านี้ก็จะโผล่ขึ้นม าเป็นผล อดีตเป็นเหตุ อาศัยปัจจัยสนับสนุน คือเห็นรูปสวย ไม่สวย เสียงไพเราะ ไม่ไพเราะ เป็นต้น
เมื่อเห็นอารมณ์ปัจจุบันได้ เช่นนี้ เรามีโอกาสที่จะปฏิบัติได้ 2 วิธี
วิธีเก่า คือ ปล่อยตามอำเภอใจ ปล่อยให้คิดไปตามความเคยชิน ตามกิเลสตัณหา อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็เป็นอย่างนั้น อนาคตก็จะเป็นอย่างนั้น มีแต่เต็มไปด้วย"ขี้" ขี้น้อยใจ ขี้กลัว ฯลฯ เป็นทุกข์ตลอดไป
วิธีใหม่ คือ ตั้งเจตนาให้ถูกต้อง เป็นศีล ด้วยอาศัยสติ ปัญญา พยายามไม่ให้ยินดียินร้าย ไม่ให้เกิดอารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี ถ้าเกิดยินดียินร้าย ก็รีบตั้งเจตนาให้ถูกต้อง คือ ระงับอารมณ์ ระงับยินดียินร้าย ทำใจเป็นปกติคือสงบนั่นแหละ ทวนกระแสกิเลส ทวนนิสัยเก่า ๆ ที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษเสียห าย ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น วิธีใหม่นี้เรียกว่าทำเหตุด ีในปัจจุบัน อนาคตก็จะดี ผลผลิตก็ดี เป็นสุข
อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล เพราะฉะนั้นปัจจุบันเป็นที่ รวมของเหตุผล เหตุในปัจจุบันเราสามารถทำเ หตุดีได้ ละเหตุชั่ว ทำแต่เหตุดี หน้าที่ของพวกเราก็คือการปฏ ิบัติธรรม อยู่จุดนี้ตลอดไป ปล่อยวางอดีตและอนาคต ยึดในปัจจุบัน แต่อย่าหมายมั่น รู้แล้วปล่อย ๆ ๆ โดยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นสัมมาปฏิปทา คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้ งหลาย ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตก็รวมกันอยู่ที่จุด นี้
Kanj Love ジャスミン หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย ทำใจสบายๆ
Religious Organization:1,958 people like this.
No comments:
Post a Comment