2011-03-01

P ความจริงย่อมลอยขึ้น 9B

"ความจริงย่อมลอยขึ้นเหนือน้ำ เหนือฟ้าเสมอ" พงศาวดารกระซิบ ภาคผนวก


การขูดรีดของกษัตริย์

การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกษัตริย์นั้น ส่วนใหญ่จะกระทำผ่านสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คนจำนวนมากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับสำนักงานทรัพย์สินฯ เพราะโดยมากเมื่อเห็น รมต.คลังเป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ก็คิดว่ารัฐบาลเป็นผู้ควบคุมและเก็บเอาผลประโยชน์จากสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นรายได้ของแผ่นดิน แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเด็ดขาด
ตามพรบ.จัดทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ นั้น ได้แยกทรัพย์สินของกษัตริย์ดังนี้

๑. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินของกษัตริย์ก่อนครองราชย์ กฎหมายระบุให้การจัดการหาผลประโยชน์ตาม “พระราชอัธยาศัย”
๒. ทรัพย์สินสาธารณะสมบัติส่วนแผ่นดินเช่นพระราชวัง กฎหมายให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดูแล
๓. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของกษัตริย์

นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว เป็นสมบัติก้อนใหญ่ เกิดจากการขูดรีดประชาชนมานับร้อยๆปี กฎหมายให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ดูแล แน่นอนผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริงในสำนักงานนี้ก็คือกษัตริย์ เพราะว่าตามกฎหมายดังกล่าว คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สิน และแม้ว่ากฎหมายจะให้รมต.คลังเป็นประธานกรรมการ แต่กรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๔ คน ก็มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ (ดูมาตรา ๔ ตรี) ซึ่งในจำนวน ๔ คนนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารงานโดยตรงก็คือผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สิน ซึ่งแต่งตั้งโดยกษัตริย์ อาจมีคำถามอีกว่า รายได้จากสำนักงานทรัพย์สินรินไหลเข้ากระเป๋าใคร มาตรา ๖ และ ๗ ของกฎหมายดังกล่าว ตอบว่า รายได้จากสำนักงานทรัพย์สินจะนำไปใช้ทางใดทางหนึ่งได้ ก็เมื่อได้รับคำอนุญาตจากกษัตริย์แล้ว และยังชี้อีกว่ากษัตริย์เท่านั้นที่มีอำนาจนำรายได้นี้ไปใช้จ่าย ทางใดก็ได้ตามใจชอบ พวกศักดินาเองพยายามปกปิดผู้อื่นตลอดมา เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้ว่ากษัตริย์เป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดในสำนักงานทรัพย์สิน บริษัทปูนซีเมนต์ไทยของกษัตริย์ผู้ผลิตปูนกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ราคาขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนทำให้ทรัพย์สินในปี ๒๔๕๖ เพียง ๑ ล้านบาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๔ หมื่นกว่าล้านบาทในปี ๒๕๒๐ และ ๙ หมื่นกว่าล้านบาทในปี ๒๕๒๒ และไม่อยากให้ประชาชนรู้ว่าที่ดินสลัมของคนนับหมื่นนับแสนในกรุงเทพฯต้องชำระค่าเช่าให้กษัตริย์ และกระทั่งไม่อยากให้รู้ว่ากษัตริย์เป็นผู้เฉดหัวประชาชนหาเช้ากินค่ำที่ยากไร้แทบเลือดตากระเด็น ออกจากที่ดินของตน เพื่อแปรสภาพเป็นศูนย์การค้า ดังในกรณีของชาวสลัมคลองเตยเป็นต้น
นี่เป็นธรรมชาติของผู้ที่ตลบตะแลง ตอแหล กลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว อย่าว่าแต่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เลย กระทั่งทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินของรัชกาลที่ ๙ โดยตรงอันได้รับสืบทอดมาจากพ่อและแม่ กฎหมายที่กล่าวแล้วกำหนดว่า ให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ขึ้นมาดูแลทรัพย์สินส่วนพระองค์ และเมื่อใดมีความจำเป็นที่ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์มีความจำเป็นต้องสัมพันธ์กับผู้อื่นในเรื่องของทรัพย์สินส่วนพระองค์ ห้ามมิให้ระบุชื่อกษัตริย์ หรือข้อความใดที่อนุมานได้ว่ากษัตริย์เป็นคู่ความ ให้อ้างเพียงชื่อผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์เท่านั้น (ดูมาตรา ๕ ทวิ) นี่แหละคือสัญชาติผู้ร้ายที่มักจะคลุมหัวเป็นไอ้โม่งในเวลาที่ปล้นทรัพย์สินผู้อื่น เมื่อรู้ว่ากษัตริย์เป็นผู้เดียวที่ได้ประโยชน์จากสำนักงานทรัพย์สินแล้ว ข้อที่น่าจะดูต่อไปก็คือ พิเคราะห์ว่า กษัตริย์ขูดรีดโดยวิธีการใดบ้าง ซึ่งปรากฏรายละเอียดดังนี้

การขูดรีดค่าเช่า
กษัตริย์มีที่นาที่ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครปฐม เพชรบุรี สระบุรี นครนายก อยุธยา ปทุมธานี ตามที่รัฐบาลเปิดเผย ๕๓,๖๘๓ ไร่ กษัตริย์นำเอาที่นาเหล่านี้มาเล่นละครตลก โดยแจกสิ่งที่เรียกว่า “เอกสารสิทธิการเช่าที่ดิน” ๔๓,๑๔๓ ไร่ ที่ดินที่เหลือยังเป็นของเขาต่อไป
ส่วนที่ดินในกรุงเทพฯนั้นมีอยู่เกือบครึ่งเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณศูนย์การค้า เช่น ท่าพระจันทร์ สองข้างถนนราชดำเนิน นางเลิ้ง หัวลำโพง ราชเทวี ประตูน้ำ สำเพ็ง ราชวงศ์ เยาวราช สีลม สี่พระยา บางรัก วงเวียนใหญ่ และที่สำคัญคือเป็นเจ้าของที่ดินอันเป็นที่ตั้งของสนามม้าหลายร้อยไร่ แหล่งการพนันที่ใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ กษัตริย์จะได้ค่าเช่าจากสนามม้า ปีละมหาศาลเป็นจำนวนเท่าใดไม่มีใครรู้ได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือกษัตริย์สนับสนุนการแข่งม้ามาก ถึงกับประทานถ้วยให้ม้าแข่งชนะเลิศถึง ๔-๕ ถ้วย เพื่อให้คนเล่นการพนันแข่งม้ามากๆ ตนเองจะได้ค่าเช่ามากๆ
นอกจากนี้ คนยากจนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็ยังอาศัยในที่ดินของกษัตริย์ โดยต้องยอมถูกขูดรีดเอาค่าเช่าอันเป็นเลือดและน้ำตา อันเป็นทรัพย์สินสุดท้ายที่เขามี ดังจะเห็นได้จากการสำรวจของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเปิดเผยทางหน้า นสพ.ว่ามีสลัม คนกรุงเทพฯอยู่ในสลัมถึง ๘ แสนคน เกือบทั้งหมดต้องเช่าที่ดินอยู่ และกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินของทางราชการและสำนักงานทรัพย์สิน ปกติแล้วทางราชการมีที่ดินให้คนเช่าไม่มาก ดังนั้นกษัตริย์จึงเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นสลัมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่ดินของกษัตริย์ที่กล่าวมานี้ เป็นทรัพย์สินก้อนใหญ่ที่ทำประโยชน์ให้แก่เขามหาศาล และไม่มีใครกล้าแตะต้องยุ่งเกี่ยวด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ มีส.ส.จำนวนหนึ่ง เสนอ พรบ.ควบคุมการถือครองที่ดินของเอกชน แม้การกระทำของส.ส.เหล่านี้จะมีความปรารถนาดีต่อประเทศ ประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่กล้าเสนอให้ใช้กฎหมายถือปฏิบัติกับที่ดินของกษัตริย์(๑)

การเป็นนายทุนใหญ่
กิจการสำคัญของกษัตริย์ ก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ผูกขาดปูนซีเมนต์กว่า ๘๐%ของตลาด) บริษัทเหล็กสยาม(ผูกขาดเหล็กเส้น เป็นบริษัทเหล็กเส้นที่ใหญ่อันดับ ๑ ของประเทศ) ทั้ง ๒ บริษัทนี้ผูกขาดวัสดุเกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งประเทศเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องมุงหลังคา ท่อพลาสติก ท่อแอสเบสตอสซีเมนต์ เสาตอม่อ เสาไฟฟ้า เสาเข็ม ท่อคอนกรีตบล็อก อิฐทนไฟ และกระเบื้องยาง
นอกจากนี้แล้วกษัตริย์ยังมีบริษัทศรีมหาราชา ขมือบป่าไม้ของชาติและลงทุนร่วมกับนายทุนต่างชาติ เป็นตัวกระทำการสำคัญร่วมมือกับต่างชาติ ให้ขนเงินตราออกนอกประเทศ เช่น ร่วมมือกับตระกูลล่ำซำ เพื่อลงทุนร่วมกับบริษัทยางไฟร์สโตน ผลิตยางรถยนต์เป็น ๑ ใน ๓ บริษัทที่ผูกขาดการผลิตยางรถยนต์
ร่วมมือกับออสเตรเลียและเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ตั้งบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย ผูกขาดการผลิตแก้วและเป็นผู้ที่ผลิตแก้วมากที่สุดในประเทศ
สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว(หุ้น๑๒๕) บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตัลโฮเต็ล(หุ้น ๒๗% ร่วมกับต่างชาติ) ค้าสากลซีเมนต์(๗๐%) อ่างขามไทย(หุ้น ๒๖%ร่วมกับต่างชาติ) สยามบรรจุภัณฑ์(หุ้น๕๘%) ศรีมหาราชา(๙๘%) สยามเคมี(๑๑%ร่วมกับญี่ปุ่น) ไทยเซโรแกร์ฟฟิกซิสเทมส์(๑๐%) ธรากร(๙๘%) ฮิทอลงเวลโรลินส์ไทยแลนด์(๒๐%ร่วมกับต่างชาติ) วาย เค เค ซิปเปอร์(๓๖%ร่วมกับญี่ปุ่น) โรงแรมราชดำริ(๑๒%) ราชาแอบด์กัล์ฟ(๓๐%ร่วมกับเยอรมัน) ไทยอินด์สเตรียลฟอร์จจิวล์(๓๐%) ทุ่งคาฮาเบอร์(๓๐%) สหศีนิมา(๙๑%) แสนสุรัตน์(๔๘%) โรงแรมไทยและท่องเที่ยว(๑๒%) เอช แอล อาร์รี(๒๕%) ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า(๔๐%) ดุสิตธานี(๑๘%) นอกจากนี้ยังมีศีลวัฒน์, ศรีธรณี, สยามคราฟท์, อุตสาหกรรมกระดาษไทย, ไทยคอนแทรคเตอร์คอนซอร์เทียม, เอช แอล อาร์ เอ็ม พลอยย์เบเนฟิทส์, รวมทั้งหมด ๔๖ บริษัท มีรายรับปีละ ๑๗,๐๖๑,๗๔๑ ล้านบาท(๒) (ไม่รวมยอดหนีภาษี)

หมายเหตุ : หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นในปี ๒๕๒๕ ข้อมูลปัจจุบันหาได้จากอินเตอร์เน็ท (ผู้พิมพ์ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๐)

รายได้จากการขูดรีดภาษี
แม้ว่ารายได้ที่มาจากสำนักงานทรัพย์สินของกษัตริย์ดังกล่าว ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด (ดู พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายมหากษัตริย์มาตรา ๘) กษัตริย์ก็ยังไม่พอใจในรายได้ที่มีอยู่ กลับพยายามเบียดเบียนงบประมาณแผ่นดินของประชาชนอีก รัฐบาลต้องจัดงบประมาณให้กษัตริย์ทุกปี เช่น ในปีงบประมาณ ๒๕๒๑ รัฐต้องจัดงบประมาณสำหรับสำนักพระราชวังปีละ ๑๐๓,๗๘๕,๐๐๐ บาท งบสำนักราชเลขาธิการ ๕,๐๐๘,๕๐๐ บาท งบเหล่านี้เป็นไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับนางกำนัล ค่าตกแต่งวังของกษัตริย์ อันเป็นการบำรุงบำเรอความสุขของกษัตริย์ นอกจากนี้ ยังมีงบต้อนรับประมุขจากต่างประเทศสำหรับกษัตริย์อีก ๒๐๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท น่าสังเกตว่าเมื่อรัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ และส่งให้คณะกรรมการวิสามัญของสภาปฏิรูปยุคธานินทร์ องคมนตรีในปัจจุบัน คณะกรรมการสภาปฏิรูปกลับเพิ่มงบให้สำนักพระราชวังอีก ๓,๕๙๕,๙๓๐ บาท เพื่อให้ถูกใจผู้ที่ก่อกรณี ๖ ตุลาคม อันทำให้พวกตนได้กลายเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป “ที่ทรงเกียรติ” ไป

๑. สถาบันวิจัยสังคม-จุฬา อนาคตเกษตร พรบ.ที่ดิน หน้า ๖
๒. เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เรื่องเดิม ภาคผนวกที่หนึ่ง หน้า ๑๖-๑๙

No comments:

Post a Comment