2011-01-03

F. Triumph of Frederik Hendrik




  • ชื่อภาพ“ชัยชนะของเฟรเดริค เฮ็นดริค” (ค.ศ. 1651)
    ศิลปิน จอร์แดงส์
    ลักธิ บาโรก

    “ชัยชนะของเฟรเดริค เฮ็นดริค” (The Triumph of Frederik Hendrik) เขียนในปี ค.ศ. 1651 เป็นภาพของคนกว่าห้าสิบคนล้อมรอบ เจ้าชายเฟรเดริค เฮ็นดริคและพระญาติ ที่เขียนเพื่อเป็นเกียรติแก่เฟรเดริค เฮ็นดริค เจ้าชายแห่งออเรนจ์

    และเป็นภาพที่จ้างโดยพระชายาอมาเลียแห่งโซล์มส อมาเลียจ้างให้เขียนงานเพื่อเป็นเกียรติแก่เฟรเดริค เฮ็นดริคที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1647

    การสร้างงานเขียนประเภทนี้เป็นที่นิยมกันในสมัยนั้นเพื่อที่จะแสดงความกล้าหาญและเป็นการสรรเสริญผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วแทนที่จะบรรยายเหตุการณ์โดยใช้ภาพหรือรูปสัญลักษณ์ตามปกติ

    จอร์แดงส์ใช้อุปมานิทัศน์โดยให้เฟรเดริค เฮ็นดริคนั่งบนบัลลังก์ที่เป็นการแสดงความเป็นวีรบุรุษและเป็นผู้ทรงคุณธรรมภาพนี้ตั้งแสดงในห้องส้มที่ Huis ten Bosch (บ้านในป่า) ที่เป็นที่ประทับนอกเมืองของอมาเลีย จอร์แดงส์ได้รับเลือกให้เป็นผู้เขียนเพราะเป็นจิตรคนสำคัญหนึ่งในสามของสามเฟล็มมิชที่รวมทั้งปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และแอนโทนี แวน ไดค์ ในภาพนี้เฟรเดริค เฮ็นดริคอย่างเทพบนรถม้าแห่งชัยชนะ และแสดงความเป็นผู้ที่นำมาซึ่งความสงบและความอุดมสมบูรณ์ที่เห็นได้จากช่อมะกอกและกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์[1]เหนือพระเศียรของเฟรเดริค ทั้งสองข้างของภาพเป็นภาพเหมือนของผู้ถือสิ่งต่างๆ จากทั้งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกและตะวันตก ที่ทำให้มีความรู้สึกว่าเฟรเดริคเป็นบุคคลสำคัญผู้เดียวที่มีนำมาซึ่งชัยชนะทางทหารและความมั่งคั่งอันล้นเหลือของสาธารณรัฐภาพ “ชัยชนะของเฟรเดริค เฮ็นดริค” เป็นภาพที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก แม้แต่นักวิชาการปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จอร์แดงส์ใช้ในภาพ และยังเห็นกันว่าเป็นภาพที่ยากที่จะตีความหมาย แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ยากที่จะทราบว่าความหมายหลักที่จอร์แดงส์ต้องการจะสื่อ

    4 hours ago ·  ·  · Share


  • ศิลปิน : วินเซนต์ แวน โก๊ะ ปี ค.ศ.1888 ขนาด 72.5 x 92 ซม. เทคนิค : สีน้ำมัน          แสดงถึงภาพของดวงดาวที่ส่องแสงเจิดจร...

    4 hours ago ·  ·  · Share

  • Thks Suchada Wattayanon

    ภาพ The Centenary of Independence (ปี1892)
    ศิลปิน อ็องรี รูสโซ (Henri Rousseau)
    เทคนิค Oil on canvas
    ลัทธินาอีฟ


    เป็นภาพที่แสดงการเฉลิมฉลองงานเลี้ยงของเสรีภาพและความเสมอภาค ความเป็นพี่เป็นน้องของประชาชนในกรุงปารีส หลังจากสงครามของเหล่าสาธารณรัฐ โดยมีการปะทะกันนองเลือดของพลเรือนในปารีสประเทศฝรั่งเศส ภาพมีองค์ประกอบในมุมกว้าง มุมมองการนำเสนอมีลักษณะเฉพาะของรุสโซ ที่เน้นใช้สีแบบฉูนฉาด ทำให้ภาพสดใส สนุกสนาน

    โดยภาพของรุสโซมีลักษณะการเขียนแบบศิลปะนาอีฟ ลักษณะการวาดของรูโซที่ดูราบและที่มีลักษณะเหมือนวาดโดยเด็กทำให้ได้รับการวิจารณ์ และมักทำให้ผู้ดูออกจะตกตลึง หรือเย้ยหยัน นักวิจารณ์กล่าวว่าแม้ว่าจะมีลักษณะที่ดูง่ายคล้ายการเขียนของเด็ก แต่ก็เป็นลักษณะที่แสดงความมีความสามารถสูง งานจิตรกรรมของรูโซมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อศิลปินแวนการ์ดอีกหลายชั่วคนต่อมา ที่เริ่มต้นด้วยปีกัสโซ และฌอง อูโก, แฟร์นองด์ เลแชร์ และ แม็กซ์ เบ็คมันน์ และ ลัทธิเหนือจริง ตามความเห็นของโรเบิร์ตา สมิธนักวิพากษ์ศิลปะของ “เดอะนิวยอร์กไทมส์” “ตัวอย่างเช่นภาพเหมือนตนเองอันน่าทึ่งของเบ็คมันน์ มีรากฐานมาจากลักษณะการเขียนอันเข้มข้นของภาพเหมือนของนักเขียนปิแยร์ โลตีโดยรูโซ”



    นางสาว ปารมี นวลวี Cer.D R12s รหัสนักศึกษา : 53-3846-821-7

No comments:

Post a Comment