2012-10-01

ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง


KP Page

1 Oct 2012  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง: การเรียกในหลวงว่า "พ่อ"
...................

การเรียกหรือพาดพิงถึงในหลวง ด้วยคำว่า "พ่อ" ที่แพร่หลายในหมู่คนรักเจ้าชนช้้นกลางไทยในปัจจุบัน จนถึงขั้น มีการทำเป็น สติ๊กเกอร์ ติดหลังรถ "พ่อกู ชื่อภูมิพล" เป็นต้น

เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในระยะประมาณ 1 ทศวรรษเศษ ถึง 2 ทศวรรษ ที่่ผ่านมานี้เอง (อันที่จริง แม้แต่การเรียกพระนามในหลวงตรงๆ ว่า "ภูมิพล" ในที่สาธารณะแบบนี้ ก็เป็นอะไรที่ใหม่มาก)

ในบทความวิชาการเรื่อง "คำพ่อสอน: ความเปลี่ยนแปลงในการเฉลิมพระเกียรติผ่านหนังสือพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ของคุณกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์ ที่จะนำเสนอในการสัมมนาของภาควิชาประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในวันอังคารนี้ มีข้อมูลที่สะท้อนเรื่องนี้ที่น่าสนใจ ซึ่งผมขอนำมาให้ดูต่อไปนี้ (ขอบคุณ คุณกิตติศักดิ์ มา ณ ที่นี้)

......................

-- ในช่วงทศวรรษ 2530 โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษ เริ่มปรากฏการเรียกในหลวงว่า "พ่อหลวง" ขึ้น แต่ตอนแรกยังไม่มากนัก เช่น ในบรรดากิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวา ที่จัดขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ในปี 2530 มีเพียงกิจกรรมระดับอำเภอ (ชัยบาดาล) ที่ลพบุรี แห่งเดียว ที่ตั้งชื่อว่า "ป่าประชาอาสาพ่อหลวง"

ในช่วงใกล้ๆกัน (2530-2531) ความเรียงเฉลิมพระเกียรติ ที่ส่งเข้าประกวด (จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ) มีผู้เขียนความเรียงบางคนใช้คำว่า "พ่อหลวง"


ในปี 2539 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวา ตามจังหวัดต่างๆ ก็ยังมีเพียงกิจกรรมเดียวที่ใช้ชื่อทำนองนี้ คือ การจัดทำสารคดี โดยกองทัพบก โดยใช้ชื่อ "พระราชกรณียกิจพ่อหลวงของไทย"

(คำว่า "พ่อหลวง" เอง ในช่วงปี 2517 เมื่อมี นสพ.รายงานข่าวว่า ชาวเขาทางภาคเหนือ นิยมเรียกในหลวงว่า "พ่อหลวง" ก็ยังต้องมีคำบรรยายประกอบว่า "พระองค์ก็มิได้ถือพระองค์แต่ประการใด" ที่ถูกเรียกเช่นนี้ แสดงว่า นี่เป็นอะไรที่ยัง "แปลก" สำหรับคนอ่านทั่วไป จนหนังสือพิมพ์ต้องอธิบายเพิ่มเติม จนถึงต้นทศวรรษ 2540 ก็ยังมีคนเขียนมาแย้งว่า คำว่า "พ่อหลวง" ในภาษาทางเหนือ แปลว่า "ผู้ใหญ่บ้าน" ซึ่งไม่เหมาะสำหรับเรียกในหลวง)



-- อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิ้นทศวรรษ 2530 และเริ่มทศวรรษ 2540 นี้เอง ที่เริ่มมีการใช้คำว่า "พ่อ" มาเรียกหรือพาดพิงถึงในหลวงอย่างกว้างขวาง

เพลง "ต้นไม้ของพ่อ" ("...จากวันนี้สักหมื่นปี ต้นไม้ที่พ่อปลูก...") ถูกผลิตขึ้นมาในปี 2539

ต่อมา ในปี 2542 มีเพลง "ของขวัญจากก้อนดิน" ("...เราก็รู้ พ่อต้องเหนื่อยสักเพียงไหน...")

และในปีเดียวกัน มีการจัดทำละครเฉลิมพระเกียรติ 6 ตอน ชุด "พ่อ" ออกเผยแพร่ (ตอนที่ 1 ชื่อ "เพลงของพ่อ")

ในปี 2542 เช่นกัน มีการจัดคอนเสิร์ต "เพลงของพ่อในสวนของพ่อ" โดยวิทยุคลื่น เอฟ เอ็ม 94.5 และ โครงการ "รอยยิ้มของพ่อ" โดย กระทรวงศึกษาธิการ

คุณกิตติศักดิ์ เสนอว่า เหตุการณ์ที่มีความสำคัญ ต่อการเรียกหรือพาดพิงถึงในหลวงด้วยคำว่า "พ่อ" ในทีสาธารณะอย่างแพร่หลาย คือ การจัดพิมพ์หนังสือชื่อ "คำสอนพ่อ" ในปีเดียวกันนั้น (2542)

หนังสือเล่มนี้ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์ซ้ำ รวม 5 ครั้ง (2542, 2543, 2544, 2550, 2550) จำนวนพิมพ์รวมทั้งหมดถึง 135,000 เล่ม

ในปีต่อๆมา หลังจากหนังสือ "คำสอนพ่อ" เล่มแรกออกมา ยังมีการพิมพ์หนังสือ ในชื่อเดียวกันนี้ ออกมาอีก 2 เล่ม คือ "คำสอนพ่อ" เกี่ยวกับ "ความสุขในการดำเนินชีวิต" (2549) และ "คำสอนพ่อ" เกี่ยวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" (2552 เล่มแรก พิมพ์รวม 6 ครั้ง จำนวนรวม 85,000 เล่ม ส่วนเล่มหลัง พิพม์มาแล้ว 3 ครั้ง จำนวนรวม 32,000 เล่ม - พูดอีกอย่างคือ เฉพาะหนังสือชื่อ "คำสอนพ่อ" 3 เล่มนี้ มียอดพิมพ์ถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 252,000 เล่ม

ในช่วงเวลาเดียวกัน กับที่มีหนังสือ "คำสอนพ่อ" ออกมา ผู้จัดพิมพ์หนังสือ (มูลนิธิโตโยต้า) ยังได้จัดกิจกรรมประกอบ โดยใช้ชื่อเดียวกันหลายกิจกรรม เช่น รายการทอล์คโชว์กึ่งละคร "คำสอนพ่อ" โดยนักพูดชื่อดัง (จตุพล, สุขุม, เสรี ฯลฯ) ในปี 2543, ประกวดทอล์คโชว์ ระดับอุดมศึกษา "คำสอนพ่อ" ในปี 2544 และ ประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ ระดับอุดมศึกษา และการเขียนเรียงความ ระดับมัธยมศึกษา "คำสอนพ่อ" ในปี 2547

ในปี 2549 มีการจัดพิมพ์ "สมุดบันทึกคำสอนพ่อ" และ จัดทำรายการสารคดีวิทยุ "คำสอนพ่อ" ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ (ร่วมกับวิทยุจุฬา)

ในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติปี 2549 สโลแกนหนึ่งของงานคือ "พ่อสอนอะไร พบคำสอนของพ่อในงานมหกรรมหนังสือ" ในปีต่อมา (2550) มีการใช้ คอนเซปต์งาน ว่า "คิดทำตามคำพ่อสอน"

มาถึงจุดนี้ หนังสือที่ตั้งชื่อ โดยมีคำว่า "พ่อ" เรียกหรือพาดพิงถึงในหลวง ก็มีให้เห็นอีกหลายเล่ม "แผ่นดินทองแผ่นดินธรรมตามคำสอนพ่อ" (2549), "เลิศล้ำคำพ่อ ก่อสุขและสำเร็จ" (2554) "สร้างเด็กดี มีคุณธรรม ตามคำสอน พ่อ" (2554) "บันทึกตามรอย 84 คำสอนพ่อ" (2554) "มองโลกอย่างผู้ชนะ ตามรอยเท้า พ่อ" (2555)
.....................

ปล. ข้อมูลนี้ ในบทความของคุณกิตติศักดิ์ ไม่ได้กล่าวถึงไว้ แต่ผมจำได้เองว่า ในช่วงประมาณต้นทศวรรษ 2540 "แอ๊ด คาราบาว" ยืนยง โอภากุล ได้ออกหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ "บ้านพ่อ" เล่าถึง วังสวนจิตรลดา จำได้ว่า ตอนนั้น การเรียกในหลวงว่า "พ่อ" ยังเป็นของใหม่อยู่ และเมื่อหนังสือออกมาก็สร้างความ "ฮือฮา" ในหมู่ แอ๊คติวิสต์ พอสมควร ในแง่ที่ นักร้อง "เพลงเพื่อชีวิต" หันมาเขียร์เจ้า ซึ่งตอนน้้น ก็ยังจัดวา เป็นเรื่องใหม่เช่นกัน
Like ·  · Share · 5 minutes ago

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=408107349242550&set=a.137616112958343.44289.100001298657012  

KP Page

1 Oct 2012  -  Public
เสรีชน คนใต้พลัดถิ่น's photo.
about an hour ago

เดือนตุลา มาบรรจบ ครบอีกรอบ
แต่ระบอบ ประชาธิปไตย ยังล้าหลัง
หัวหน้าใหญ่ ยังคงนั่ง ครองบัลลังก์
เหล่าขี้ข้า ต้องนิ่งฟัง คำบัญชา

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=310343959073121&set=a.155480907892761.32782.100002925573907 





No comments:

Post a Comment