สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
Subscribed · 12 minutes ago
หนังสือเฉลิมพระเกียรติ 2493-2549
......................
ผมขออธิบายความเป็นมา และตั้งข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกราฟนี้ ดังนี้
แหล่งข้อมูลซึ่งเป็นที่มาของกราฟนี้ คือ "สหบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งจัดทำโดย "สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในปี 2549
คุณ ปรากการ กลิ่นฟุ้ง ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำข้อมูลดังกล่าว มาทำเป็นตาราง ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา เรื่อง "การเสด็จพระราชดำเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2493-2530" (ปี 2551) หน้า 215 โดยคุณปราการ เป็นผู้แยกแยะข้อมูลดังกล่าว ออกมาเป็นแต่ละปีว่า มีหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการตีพิมพ์กี่เล่ม และได้ตรวจสอบว่า ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา มีกี่เล่มที่ใช้ภาพ "พระเสโท" เป็นภาพหน้าปก
ต่อมา คุณกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำตารางของคุณปราการ มาทำเป็นกราฟ ที่เห็นนี้ โดยคุณกิตติศักดิ์ ได้ค้นคว้าข้อมูลสำหรับปี 2549 เพิ่มเติม (ใน "สหสารานุกรม" ที่คุณปราการ นำมาทำเป็นตาราง ครอบคลุมถึงปี 2549 แบบไม่ครบถ้วน) โดยคุณกิตติศักดิ์ เอาข้อมูลปี 2549 มาจาก "บรรณานุกรมแห่งชาติ" สำหรับปีนั้น "บรรณานุกรมแห่งชาติ" สำหรับปี 2550 ถึงปัจจุบัน ยังไม่ออกมา กราฟที่คุณกิตติศักดิ์ ทำขึ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของบทความวิชาการของเขา เรื่อง "คำพ่อสอน: ความเปลี่ยนแปลงในการเฉลิมพระเกียรติผ่านหนังสือพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ซึ่งจะนำเสนอในการสัมมนาที่ภาควิชา ในวันอังคารที่ 2 ตุลาคม ที่จะถึงนี้)
ผมขอขอบคุณทั้ง 2 ท่านอย่างสูงมา ณ ที่นี้
.........................
โดยส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวเลขข้อมูลจำนวนหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี 2493-2549 ที่ สำนักหอสมุดฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ จัดทำ น่าจะไม่ครบถ้วน พูดง่ายๆคือ น่าจะมีหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงดังกล่าว มากกว่านี้ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2490-2510
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ถ้าเรามองตัวเลขเหล่านี้ ในลักษณะเป็น "ภาพกว้างๆ" ในแง่ดู "ทิศทาง" หรือ "เทรนด์" ของการตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือเฉลิมพระเกียรติ ก็น่าจะพอใช้ได้
คือ จะเห็นว่า ขณะที่ ก่อนทศวรรษ 2530 หนังสือเฉลิมพระเกียรติจริงๆ ในแต่ละปี มีตัวเลขอยู่ที่ "หลักหน่วย" (ยกเว้นปี 2514 ซึ่งเป็นปี "รัชดาภิเษก" หรือ ครองราชย์ 25 ปี) ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ตัวเลขดังกล่าว จะอยู่ที่ "หลักสิบ" หรือบางปี เป็น "หลักร้อย" นั่่นคือ มีการเพิ่มขึ้น "หลายเท่า" ของหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา
นี่คือช่วงเวลาที่ผมเคยเรียกว่าเป็นช่วง The Rise of King Bhumibol หรือ ช่วง The Rise of Mass Monarchy คือช่วงที่ กระแส "กษัตริย์นิยม" อย่างทีเรารู้จักในปัจจุบัน ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ประเทศไทย เปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรมโดยพื้นฐาน และ "ชนชั้นกลาง" พัฒนาเติบโตขึ้นโดยแท้จริง
นัยยะเชิง polemical หรือเชิง วิวาทะ ในข้อเสนอเรื่องนี้ของผมคือ ช่วงสำคัญจริงๆ ของกระแส กษัตริย์นิยม อย่างทีเห็นกันในปัจจุบัน เป็นอะไรที่ "ใหม่" กว่าที นักวิชาการชอบพูดๆกัน คือ ไมใช่ ช่วงสฤษดิ์ หรือ หลัง 14 ตุลา ใหม่ๆ แต่คือช่วงทศวรรษ 2530 (ผมเคยเสนอว่า ช่วงที่เป็น crucial years หรือปีทีสำคัญ คือประมาณ 10 ปี ระหว่าง 2535-2545) ในแง่การมองประวัติศาสตร์พัฒนาการเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของไทย ผมก็เห็นว่า ช่วงที่สำคัญชี้ขาดจริงๆ สำหรับความเข้าใจ "ปัจจุบัน" คือช่วงตังแต่ปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้น เมือ่เศรษฐกิจสังคมของไทย "เทค-อ๊อฟ" take-off ในการเป็นอุตสาหกรรม ...
องค์ประกอบ หรือ เนื้อหา สำคัญๆ เกียวกับ ความเชื่อหรือการโฆษณาเชียร์เจ้า ที่ชนช้ันกลางที่มีการศึกษาในเมือง "ฟูมฟาย" กันทุกวันนี้ ("น้ำตาจะไหล จะแชร์ นะคะ") นั้น แท้จริงแล้ว จัดว่าเป็น "ประวัติศาสตร์ ที่เพิ่งสร้าง" คือ เป็นอะไรที่ "ใหม่" ที่เพิ่งมามีการโฆษณาชวนเชื่อกัน ในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษหลังนี้เอง โดยเฉพาะประเด็นสำคัญอย่าง "ทรงงานหนัก" หรือ "เรารักในหลวง"
เหล่านี้ เป็น "ตีม" (themes) ใหม่ ที่ เกิดมาพร้อมกับ ชนช้ันกลางใหม่ ของไทย ในทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา
ก่อนหน้านั้น แม้แต่ในช่วงสำคัญ อย่าง 14 ตุลา - 6 ตุลา (อย่าลืมว่า กม.หมิ่น ปัจจุบัน มาจากช่วงนั้น) สถาบันกษัตริย์ มีลักษณะสำคัญๆ คนละอย่าง ไม่ว่าจะในประเด็นสำคัญ ที่นักวิชาการสมัยใหม่เรียกวา representations ("การนำเสนอ") หรือ ในแง่ บทบาท ความสัมพันธ์กับการเมือง กลุ่มการเมือง และสังคมในวงกว้าง)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=407761812610437&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/407764369276848
Collapse this postSubscribed · 12 minutes ago
หนังสือเฉลิมพระเกียรติ 2493-2549
......................
ผมขออธิบายความเป็นมา และตั้งข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับกราฟนี้ ดังนี้
แหล่งข้อมูลซึ่งเป็นที่มาของกราฟนี้ คือ "สหบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งจัดทำโดย "สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในปี 2549
คุณ ปรากการ กลิ่นฟุ้ง ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำข้อมูลดังกล่าว มาทำเป็นตาราง ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา เรื่อง "การเสด็จพระราชดำเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2493-2530" (ปี 2551) หน้า 215 โดยคุณปราการ เป็นผู้แยกแยะข้อมูลดังกล่าว ออกมาเป็นแต่ละปีว่า มีหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ได้รับการตีพิมพ์กี่เล่ม และได้ตรวจสอบว่า ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา มีกี่เล่มที่ใช้ภาพ "พระเสโท" เป็นภาพหน้าปก
ต่อมา คุณกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำตารางของคุณปราการ มาทำเป็นกราฟ ที่เห็นนี้ โดยคุณกิตติศักดิ์ ได้ค้นคว้าข้อมูลสำหรับปี 2549 เพิ่มเติม (ใน "สหสารานุกรม" ที่คุณปราการ นำมาทำเป็นตาราง ครอบคลุมถึงปี 2549 แบบไม่ครบถ้วน) โดยคุณกิตติศักดิ์ เอาข้อมูลปี 2549 มาจาก "บรรณานุกรมแห่งชาติ" สำหรับปีนั้น "บรรณานุกรมแห่งชาติ" สำหรับปี 2550 ถึงปัจจุบัน ยังไม่ออกมา กราฟที่คุณกิตติศักดิ์ ทำขึ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของบทความวิชาการของเขา เรื่อง "คำพ่อสอน: ความเปลี่ยนแปลงในการเฉลิมพระเกียรติผ่านหนังสือพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ซึ่งจะนำเสนอในการสัมมนาที่ภาควิชา ในวันอังคารที่ 2 ตุลาคม ที่จะถึงนี้)
ผมขอขอบคุณทั้ง 2 ท่านอย่างสูงมา ณ ที่นี้
.........................
โดยส่วนตัว ผมคิดว่า ตัวเลขข้อมูลจำนวนหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี 2493-2549 ที่ สำนักหอสมุดฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ จัดทำ น่าจะไม่ครบถ้วน พูดง่ายๆคือ น่าจะมีหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงดังกล่าว มากกว่านี้ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2490-2510
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ถ้าเรามองตัวเลขเหล่านี้ ในลักษณะเป็น "ภาพกว้างๆ" ในแง่ดู "ทิศทาง" หรือ "เทรนด์" ของการตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือเฉลิมพระเกียรติ ก็น่าจะพอใช้ได้
คือ จะเห็นว่า ขณะที่ ก่อนทศวรรษ 2530 หนังสือเฉลิมพระเกียรติจริงๆ ในแต่ละปี มีตัวเลขอยู่ที่ "หลักหน่วย" (ยกเว้นปี 2514 ซึ่งเป็นปี "รัชดาภิเษก" หรือ ครองราชย์ 25 ปี) ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ตัวเลขดังกล่าว จะอยู่ที่ "หลักสิบ" หรือบางปี เป็น "หลักร้อย" นั่่นคือ มีการเพิ่มขึ้น "หลายเท่า" ของหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา
นี่คือช่วงเวลาที่ผมเคยเรียกว่าเป็นช่วง The Rise of King Bhumibol หรือ ช่วง The Rise of Mass Monarchy คือช่วงที่ กระแส "กษัตริย์นิยม" อย่างทีเรารู้จักในปัจจุบัน ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ประเทศไทย เปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรมโดยพื้นฐาน และ "ชนชั้นกลาง" พัฒนาเติบโตขึ้นโดยแท้จริง
นัยยะเชิง polemical หรือเชิง วิวาทะ ในข้อเสนอเรื่องนี้ของผมคือ ช่วงสำคัญจริงๆ ของกระแส กษัตริย์นิยม อย่างทีเห็นกันในปัจจุบัน เป็นอะไรที่ "ใหม่" กว่าที นักวิชาการชอบพูดๆกัน คือ ไมใช่ ช่วงสฤษดิ์ หรือ หลัง 14 ตุลา ใหม่ๆ แต่คือช่วงทศวรรษ 2530 (ผมเคยเสนอว่า ช่วงที่เป็น crucial years หรือปีทีสำคัญ คือประมาณ 10 ปี ระหว่าง 2535-2545) ในแง่การมองประวัติศาสตร์พัฒนาการเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของไทย ผมก็เห็นว่า ช่วงที่สำคัญชี้ขาดจริงๆ สำหรับความเข้าใจ "ปัจจุบัน" คือช่วงตังแต่ปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้น เมือ่เศรษฐกิจสังคมของไทย "เทค-อ๊อฟ" take-off ในการเป็นอุตสาหกรรม ...
องค์ประกอบ หรือ เนื้อหา สำคัญๆ เกียวกับ ความเชื่อหรือการโฆษณาเชียร์เจ้า ที่ชนช้ันกลางที่มีการศึกษาในเมือง "ฟูมฟาย" กันทุกวันนี้ ("น้ำตาจะไหล จะแชร์ นะคะ") นั้น แท้จริงแล้ว จัดว่าเป็น "ประวัติศาสตร์ ที่เพิ่งสร้าง" คือ เป็นอะไรที่ "ใหม่" ที่เพิ่งมามีการโฆษณาชวนเชื่อกัน ในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษหลังนี้เอง โดยเฉพาะประเด็นสำคัญอย่าง "ทรงงานหนัก" หรือ "เรารักในหลวง"
เหล่านี้ เป็น "ตีม" (themes) ใหม่ ที่ เกิดมาพร้อมกับ ชนช้ันกลางใหม่ ของไทย ในทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา
ก่อนหน้านั้น แม้แต่ในช่วงสำคัญ อย่าง 14 ตุลา - 6 ตุลา (อย่าลืมว่า กม.หมิ่น ปัจจุบัน มาจากช่วงนั้น) สถาบันกษัตริย์ มีลักษณะสำคัญๆ คนละอย่าง ไม่ว่าจะในประเด็นสำคัญ ที่นักวิชาการสมัยใหม่เรียกวา representations ("การนำเสนอ") หรือ ในแง่ บทบาท ความสัมพันธ์กับการเมือง กลุ่มการเมือง และสังคมในวงกว้าง)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=407761812610437&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/407764369276848
KP Page
Yesterday 4:04 PM - Public
Nus Nusy
เรื่องข้าวๆวิเคราะห์ตามปัญญาน้อยนิด
รัฐบาลปูทำเรื่องจำนำข้าวถือว่าเป็นเรื่องที่กล้ามากๆเพราะข้าวส่งออกมีพ่อค้ารายใหญ่ไม่กี่รายและกลุ่มอำมาตย์กินนิ่มๆมานานหลายสิบปี เป็นของตายเฉลี่ยก็ห้าล้านตันต่อปี ตันละไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท แต่มาปีนี้กลุ่มพ่อค้าได้มีการตกลงซื้อขายล่วงหน้ากันไว้แล้วที่ราคาจำนำ(15,000)หรือต่ำกว่าเล็กน้อย เรื่องของพ่อค้าผูกขาด การเท่าทุนคือ ความหายนะ ขาดทุนเล็กน้อยคือเรื่องสิ้นชาติ ตรงกันข้ามกับชาวนาซึ่งเหนื่อยยากแสนสาหัส กำไรเป็นเรื่องประหลาด ขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดา มาตลอด 60 ปี ปีนี้ฝ่ายพ่อค้าผูกขาดจะกำไรน้อยหน่อย หรือเท่าทุน หรือขาดทุนนิดหน่อย มันก็น่าจะชิวๆ และปรับกลยุทธ์ใหม่ในการทำการค้าปีต่อไป แต่เรื่องนี้ทำให้กลุ่มพ่อค้าแทบจะกระอักเลือดตาย นี่คือสันดานของอะไรก็ไม่ต้องบอก ใครมีเพื่อนแบบนี้มากเกินหนึ่งคนก็แทบจะหมดอนาคตแล้ว แล้ว ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้เพียงไม่กี่หยิบมือ นั่งกุมบังเหียนเพื่อชี้เป็นชี้ตาย
ระวังเรื่องจำนำข้าวจะเป็นประเด็นให้คนกลุ่มนี้พยายามทุ่มสรรพกำลังเพื่อล้มรัฐบาล แต่เที่ยวนี้คิดหรือว่าชาวนาจะยอมง่ายๆเหมือนที่ผ่านมา และถ้าชาวนาลุกฮือขึ้นมา เรื่องเล็กๆแค่เปลี่ยนผ่านจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ แล้วระวังกระพี้ใส่สูททั้งหลายจะไม่มีแผ่นดินจะอยู่
https://www.facebook.com/nusy.nus.7/posts/4675039922671
เรื่องข้าวๆวิเคราะห์ตามปัญญาน้อยนิด
รัฐบาลปูทำเรื่องจำนำข้าวถือว่าเป็นเรื่องที่กล้ามากๆเพราะข้าวส่งออกมีพ่อค้ารายใหญ่ไม่กี่รายและกลุ่มอำมาตย์กินนิ่มๆมานานหลายสิบปี เป็นของตายเฉลี่ยก็ห้าล้านตันต่อปี ตันละไม่ต่ำกว่าห้าพันบาท แต่มาปีนี้กลุ่มพ่อค้าได้มีการตกลงซื้อขายล่วงหน้ากันไว้แล้วที่ราคาจำนำ(15,000)หรือต่ำกว่าเล็กน้อย เรื่องของพ่อค้าผูกขาด การเท่าทุนคือ ความหายนะ ขาดทุนเล็กน้อยคือเรื่องสิ้นชาติ ตรงกันข้ามกับชาวนาซึ่งเหนื่อยยากแสนสาหัส กำไรเป็นเรื่องประหลาด ขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดา มาตลอด 60 ปี ปีนี้ฝ่ายพ่อค้าผูกขาดจะกำไรน้อยหน่อย หรือเท่าทุน หรือขาดทุนนิดหน่อย มันก็น่าจะชิวๆ และปรับกลยุทธ์ใหม่ในการทำการค้าปีต่อไป แต่เรื่องนี้ทำให้กลุ่มพ่อค้าแทบจะกระอักเลือดตาย นี่คือสันดานของอะไรก็ไม่ต้องบอก ใครมีเพื่อนแบบนี้มากเกินหนึ่งคนก็แทบจะหมดอนาคตแล้ว แล้ว ประเทศไทยมีคนกลุ่มนี้เพียงไม่กี่หยิบมือ นั่งกุมบังเหียนเพื่อชี้เป็นชี้ตาย
ระวังเรื่องจำนำข้าวจะเป็นประเด็นให้คนกลุ่มนี้พยายามทุ่มสรรพกำลังเพื่อล้มรัฐบาล แต่เที่ยวนี้คิดหรือว่าชาวนาจะยอมง่ายๆเหมือนที่ผ่านมา และถ้าชาวนาลุกฮือขึ้นมา เรื่องเล็กๆแค่เปลี่ยนผ่านจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ แล้วระวังกระพี้ใส่สูททั้งหลายจะไม่มีแผ่นดินจะอยู่
https://www.facebook.com/nusy.nus.7/posts/4675039922671
KP Page
Yesterday 4:02 PM (edited) - Public
Nithiwat Wannasiri
โอยเพิ่งทราบข่าว ไม่กี่วันก่อน มีคนโดนจับคดี 112 เพิ่มอีกคนแล้ว จากจ.เชียงใหม่ ตอนนี้อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ...
ตอนนี้มีนักโทษทางความคิด เหยื่อคดี 112 ในคุกเพิ่ม จาก 7 คน เป็น 8 คนแล้วนะครับ(รายล่าสุดจากเชียงใหม่ถูกจับภายใต้รัฐบาลนี้)
...ผมพูดอะไรไม่ออกนะ ตราบใดที่รัฐบาลที่ผมให้คะแนนเสียงไปเขามองไม่เห็นว่าม.112มันเป็นปัญหาสำคัญ ก็จะยังคงมีคนโดนจับเพิ่มขึ้นอีกไม่รู้จบ
https://www.facebook.com/nithiwat.wannasiri/posts/357477031004673
โอยเพิ่งทราบข่าว ไม่กี่วันก่อน มีคนโดนจับคดี 112 เพิ่มอีกคนแล้ว จากจ.เชียงใหม่ ตอนนี้อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ...
ตอนนี้มีนักโทษทางความคิด เหยื่อคดี 112 ในคุกเพิ่ม จาก 7 คน เป็น 8 คนแล้วนะครับ(รายล่าสุดจากเชียงใหม่ถูกจับภายใต้รัฐบาลนี้)
...ผมพูดอะไรไม่ออกนะ ตราบใดที่รัฐบาลที่ผมให้คะแนนเสียงไปเขามองไม่เห็นว่าม.112มันเป็นปัญหาสำคัญ ก็จะยังคงมีคนโดนจับเพิ่มขึ้นอีกไม่รู้จบ
https://www.facebook.com/nithiwat.wannasiri/posts/357477031004673
โอยเพิ่งทราบข่าว... | Facebook »
Nithiwat Wannasiri wrote: โอยเพิ่งทราบข่าว ไม่กี่วันก่อน... Join Facebook to connect with Nithiwat Wannasiri and others you may know.
No comments:
Post a Comment