KP Politics - Mar 12, 2012 - Public
Status Update
By สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
[หมายเหตุ: ผมโพสต์ link ไม่ได้อีกแล้ว จะแยกไปโพสต์ใน comment แต่จริงๆ คงเข้าใจว่า หมายถึงบทความไหน]
คุณ Phuttipong Ponganekgul
ผมเห็นบทความนี้ของคุณตั้งแต่ที่คุณทำเป็น note แล้ว tag มาถึงผมเมื่อเช้า มีบางอย่างทีอยากจะทัก แต่บังเอิญผมออกนอกบ้านทั้งวัน ตอนเห็นก็เห็นบนมือถือ ไม่สะดวกจะเขียน เย็นกลับมา จึงเห็นว่าไปลงประชาไทด้วย
คืออย่างนี้นะครับ ที่คุณทำปีนี้ ต่อจากปีที่แล้วก็ดีนะ แต่ว่าปีนี้ ที่คุณเพิ่มเติมโดยเชือมโยงกับเงินงบประมาณประเภทหนึ่งที่มีถึงปี 2501 ที่เรียกว่า ""เงินงบพระมหากษัตริย์" หรือที่คุณยกไพโรจน์ ชัยนามมาเรียกว่า "'เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ' นั้น - มันมีปัญหาอยู่ตรับ
คือจริงๆ เงินที่ยกมาในปีนี้ และปีที่แล้ว (พวกงบ "แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์" ในหน่วยราชการต่างๆในปัจจุบัน) มันไม่ใช่อันเดียวกับ "งบพระมหากษัตริย์" ในช่วง 2475-2501 นะครับ
เงิน "งบพระมหากษัตริย์" 2475-2501 นี้ เป็นเงินงบประมาณที่มีความต่อเนื่องมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช คือ ตั้งแต่มีการแบ่งเงินส่วนกลาง เป็น "พระคลังมหาสมบัติ" กับ "พระคลังข้างที่" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการกำหนดให้เงิน "พระคลังมหาสมบัติ" (เทียบกับเงินงบประมาณแผ่นดินปัจจุบัน) ไปให้กับ "พระคลังข้างที่" พูดง่ายๆคือ พระมหากษัตริย์จะ "ตัดยอด" งบประมาณแผ่นดินส่วนหนึง มาไว้ในงบส่วนพระองค์ (พระคลังข้างที่)
ตอนแรก กำหนดไว้ที่ 15% ต่อมาเปลี่ยนเป็นยอดตายตัวที่ 6 ล้านบาท
แต่พอรัชกาลที่ 6 ทรงมีค่าใช้จ่าย พระคลังข้างทีมาก ก็เพิ่มเป็น 9 ล้าน
สมัย ร.7 กลับมาที่ 6 ล้าน
ทีนี พอเกิด 2475 ก็มีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลใหม่กับ ร.7 ซึงถ้าผมจำไม่ผิด ได้กำหนดเงินส่วนนี้ไว้ที่ 3 ล้านบาท (สมัยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ร.7 ก่อน 2475 ดูเหมือนจะอยู่ทีจำนวนนี้เหมือนกัน ตังแต่ก่อนเกิด 2475)
หลัง ร.7 ลาออก ร.8 อยู่ต่างประเทศส่วนใหญ่ ดูเหมือนเงินจำนวนนี้ จะลดมาเหลือ 2 ล้านบาท
(ขออภัยที่ผมไม่มีเวลาเช็คตัวเลขแน่นอนให้ เล่าเป็นไอเดียเฉยๆ คือ หลัง 2475 จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ล้านนี่แหละ)
เงินจำนวนนี้ คือเงินทีเรียกว่า "งบพระมหากษัตริย์" หรือที่ไพโรจน์ (และหยุด) เรียกทำนองว่า "เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ" อะไรแบบนั้น
ทีนี้ ทุกปี ในงบประมาณแผ่นดิน จะมีระบุงบนี้ไว้ จนถึงปี 2501 ปีต่อมา 2502 เป็นปีแรก ที่งบนี้หายไปจาก พรบ.งบประมาณ
ผมรู้เรื่องนี้มาหลายปี และพยายามจะหาหลักฐานมาอธิบายว่า ทำไมจึงเกิดการ "หาย" ไปของงบนี้ ใน พรบ.งบ แต่หาไม่เจอ ไปอ่าน รายงาน ครม.สมัยสฤษดิ์ ในช่วงนั้น ก็ไม่เจอ (หรือยังไม่เจอ)
เงินทีว่านี้ ถ้าพูดกันในภาษาชาวบ้าน ก็อาจจะเรียกว่าเป็น "เงินเดือน" พระมหากษัตริย์อะไรทำนองนั้นแหละครับ
ทีนี้ เงินส่วนทีใช้จ่ายในการ (ถ้าใช้ภาษาชาวบ้าน) "โปรโมท" สถาบันฯ ที่คุณยกมาในปีนี้ และปีกลาย นั้น ไมใช่ "งบพระมหากษัตริย์" ที่วานี้นะครับ เป็นคนละอัน อันทีคุณยกมาพวกนี เป็นงบประเภท PR (ประชาสัมพันธ์) อะไรแบบนั้น ไมใช่งบถวาย "สำหรับรักษาพระเกียรติ" (ตามชื่อบทความของคุณ) อะไรแบบนั้น มันคนละประเภท
...........
อย่างทีบอกว่า ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไม "งบพระมหากษัตริย์" หรือ "เงินเดือน" พระมหากษัตริย์ ที่มีการระบุชัดเจน ในแต่ละปี หลัง 2475 จนถึง 2501 นั้น ทำไม จู่ๆ จึง "หาย" ไปจาก พรบ.งบประมาณ
และไม่รู้ว่า ที่จริง ยังมีการ "ถวาย" อยู่หรือไม่ หลัง 2501
ผมมี "ทฤษฎี" หรือสมมุติฐานแบบยังยืนยันไม่ได้ อยู่อันหนึงคือ ผมเข้าใจว่า หลังจากมี พรบ. จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ปี 2479 แล้ว หรือหลังจากที่มีการ จัดระเบียบเรือ่งทรัพย์สินที่เกียวกับกษัตริย์แน่นอนแล้ว เงิน "งบพระมหากษัตริย์" ทีว่านี้ อาจจะ (ย้ำ อาจจะ) เอามาจาก "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ที่ กระทรวงการคลังเป็นคนควบคุมอยู่ ("สนง.ทรัพย์สินฯ" ตอนแรกมีฐานะเป็นกองหนึง ของ กรมคลัง กท.การคลัง)
ใน พรบ. 2479 มีการกำหนดไว้ว่า ให้นำรายได้ จากทรัพย์สินฯ ถวาย "ให้ทรงใช้จายในฐานะทีเป็นประมุข" - ผมสันนิษฐานว่า นี่คือ "งบพระมหากษัริย์" หรือ "เงินเดือน" ที่ระบุไว้จนถึงปี 2501
ทีนี้ มันมีความเปลี่ยนแปลง พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินในปี 2491
ตาม "ทฤษฎี" ของผมคือ การถวาย"งบพระมหากษัตริย์" นี้ อาจจะยังดำเนินต่อไป (คือจนถึง 2501) แต่ว่า พอไปสักระยะหนึง โดยเฉพาะเมือสฤษดิ์ขึนสู่อำนาจ เนืองจากว่า ตาม พรบ.2491 เท่ากับ โอนอำนาจในการควบคุม รายได้ของ สนง.ทรัพย์สินฯ ไปทีพระมหากษัตริย์ทังหมด อยู่แล้ว ดังนั้น จึงอาจจะเลิกส่วนที่ รบ.ถวาย ทีปรากฏใน พรบ.งบประมาณไป คือให้ สนง.ทรัพย์สินฯ ไป "ถวาย" เอง (เพราะจริงๆ ก็อยู่ในความควบคุมของพระมหากษัตริย์แล้วไมใช่อยู่ที กท.การคลังอีกต่อไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=313173738735912&id=100001298657012
Collapse this postBy สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
[หมายเหตุ: ผมโพสต์ link ไม่ได้อีกแล้ว จะแยกไปโพสต์ใน comment แต่จริงๆ คงเข้าใจว่า หมายถึงบทความไหน]
คุณ Phuttipong Ponganekgul
ผมเห็นบทความนี้ของคุณตั้งแต่ที่คุณทำเป็น note แล้ว tag มาถึงผมเมื่อเช้า มีบางอย่างทีอยากจะทัก แต่บังเอิญผมออกนอกบ้านทั้งวัน ตอนเห็นก็เห็นบนมือถือ ไม่สะดวกจะเขียน เย็นกลับมา จึงเห็นว่าไปลงประชาไทด้วย
คืออย่างนี้นะครับ ที่คุณทำปีนี้ ต่อจากปีที่แล้วก็ดีนะ แต่ว่าปีนี้ ที่คุณเพิ่มเติมโดยเชือมโยงกับเงินงบประมาณประเภทหนึ่งที่มีถึงปี 2501 ที่เรียกว่า ""เงินงบพระมหากษัตริย์" หรือที่คุณยกไพโรจน์ ชัยนามมาเรียกว่า "'เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ' นั้น - มันมีปัญหาอยู่ตรับ
คือจริงๆ เงินที่ยกมาในปีนี้ และปีที่แล้ว (พวกงบ "แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์" ในหน่วยราชการต่างๆในปัจจุบัน) มันไม่ใช่อันเดียวกับ "งบพระมหากษัตริย์" ในช่วง 2475-2501 นะครับ
เงิน "งบพระมหากษัตริย์" 2475-2501 นี้ เป็นเงินงบประมาณที่มีความต่อเนื่องมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช คือ ตั้งแต่มีการแบ่งเงินส่วนกลาง เป็น "พระคลังมหาสมบัติ" กับ "พระคลังข้างที่" ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการกำหนดให้เงิน "พระคลังมหาสมบัติ" (เทียบกับเงินงบประมาณแผ่นดินปัจจุบัน) ไปให้กับ "พระคลังข้างที่" พูดง่ายๆคือ พระมหากษัตริย์จะ "ตัดยอด" งบประมาณแผ่นดินส่วนหนึง มาไว้ในงบส่วนพระองค์ (พระคลังข้างที่)
ตอนแรก กำหนดไว้ที่ 15% ต่อมาเปลี่ยนเป็นยอดตายตัวที่ 6 ล้านบาท
แต่พอรัชกาลที่ 6 ทรงมีค่าใช้จ่าย พระคลังข้างทีมาก ก็เพิ่มเป็น 9 ล้าน
สมัย ร.7 กลับมาที่ 6 ล้าน
ทีนี พอเกิด 2475 ก็มีการตกลงกันระหว่างรัฐบาลใหม่กับ ร.7 ซึงถ้าผมจำไม่ผิด ได้กำหนดเงินส่วนนี้ไว้ที่ 3 ล้านบาท (สมัยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ร.7 ก่อน 2475 ดูเหมือนจะอยู่ทีจำนวนนี้เหมือนกัน ตังแต่ก่อนเกิด 2475)
หลัง ร.7 ลาออก ร.8 อยู่ต่างประเทศส่วนใหญ่ ดูเหมือนเงินจำนวนนี้ จะลดมาเหลือ 2 ล้านบาท
(ขออภัยที่ผมไม่มีเวลาเช็คตัวเลขแน่นอนให้ เล่าเป็นไอเดียเฉยๆ คือ หลัง 2475 จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ล้านนี่แหละ)
เงินจำนวนนี้ คือเงินทีเรียกว่า "งบพระมหากษัตริย์" หรือที่ไพโรจน์ (และหยุด) เรียกทำนองว่า "เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ" อะไรแบบนั้น
ทีนี้ ทุกปี ในงบประมาณแผ่นดิน จะมีระบุงบนี้ไว้ จนถึงปี 2501 ปีต่อมา 2502 เป็นปีแรก ที่งบนี้หายไปจาก พรบ.งบประมาณ
ผมรู้เรื่องนี้มาหลายปี และพยายามจะหาหลักฐานมาอธิบายว่า ทำไมจึงเกิดการ "หาย" ไปของงบนี้ ใน พรบ.งบ แต่หาไม่เจอ ไปอ่าน รายงาน ครม.สมัยสฤษดิ์ ในช่วงนั้น ก็ไม่เจอ (หรือยังไม่เจอ)
เงินทีว่านี้ ถ้าพูดกันในภาษาชาวบ้าน ก็อาจจะเรียกว่าเป็น "เงินเดือน" พระมหากษัตริย์อะไรทำนองนั้นแหละครับ
ทีนี้ เงินส่วนทีใช้จ่ายในการ (ถ้าใช้ภาษาชาวบ้าน) "โปรโมท" สถาบันฯ ที่คุณยกมาในปีนี้ และปีกลาย นั้น ไมใช่ "งบพระมหากษัตริย์" ที่วานี้นะครับ เป็นคนละอัน อันทีคุณยกมาพวกนี เป็นงบประเภท PR (ประชาสัมพันธ์) อะไรแบบนั้น ไมใช่งบถวาย "สำหรับรักษาพระเกียรติ" (ตามชื่อบทความของคุณ) อะไรแบบนั้น มันคนละประเภท
...........
อย่างทีบอกว่า ผมไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไม "งบพระมหากษัตริย์" หรือ "เงินเดือน" พระมหากษัตริย์ ที่มีการระบุชัดเจน ในแต่ละปี หลัง 2475 จนถึง 2501 นั้น ทำไม จู่ๆ จึง "หาย" ไปจาก พรบ.งบประมาณ
และไม่รู้ว่า ที่จริง ยังมีการ "ถวาย" อยู่หรือไม่ หลัง 2501
ผมมี "ทฤษฎี" หรือสมมุติฐานแบบยังยืนยันไม่ได้ อยู่อันหนึงคือ ผมเข้าใจว่า หลังจากมี พรบ. จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ปี 2479 แล้ว หรือหลังจากที่มีการ จัดระเบียบเรือ่งทรัพย์สินที่เกียวกับกษัตริย์แน่นอนแล้ว เงิน "งบพระมหากษัตริย์" ทีว่านี้ อาจจะ (ย้ำ อาจจะ) เอามาจาก "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ที่ กระทรวงการคลังเป็นคนควบคุมอยู่ ("สนง.ทรัพย์สินฯ" ตอนแรกมีฐานะเป็นกองหนึง ของ กรมคลัง กท.การคลัง)
ใน พรบ. 2479 มีการกำหนดไว้ว่า ให้นำรายได้ จากทรัพย์สินฯ ถวาย "ให้ทรงใช้จายในฐานะทีเป็นประมุข" - ผมสันนิษฐานว่า นี่คือ "งบพระมหากษัริย์" หรือ "เงินเดือน" ที่ระบุไว้จนถึงปี 2501
ทีนี้ มันมีความเปลี่ยนแปลง พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินในปี 2491
ตาม "ทฤษฎี" ของผมคือ การถวาย"งบพระมหากษัตริย์" นี้ อาจจะยังดำเนินต่อไป (คือจนถึง 2501) แต่ว่า พอไปสักระยะหนึง โดยเฉพาะเมือสฤษดิ์ขึนสู่อำนาจ เนืองจากว่า ตาม พรบ.2491 เท่ากับ โอนอำนาจในการควบคุม รายได้ของ สนง.ทรัพย์สินฯ ไปทีพระมหากษัตริย์ทังหมด อยู่แล้ว ดังนั้น จึงอาจจะเลิกส่วนที่ รบ.ถวาย ทีปรากฏใน พรบ.งบประมาณไป คือให้ สนง.ทรัพย์สินฯ ไป "ถวาย" เอง (เพราะจริงๆ ก็อยู่ในความควบคุมของพระมหากษัตริย์แล้วไมใช่อยู่ที กท.การคลังอีกต่อไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=313173738735912&id=100001298657012
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้เขียนว่า [หมายเหตุ: ผมโพสต์ link ไม่ได้อีกแล้ว... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก
- Comment - Hang out - Share
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
17 hours ago
[หมายเหตุ: กระทู้นี้ ลองอ่านประกอบกับกระทู้ข้างล่างที่ผมอภิปรายเรื่อง "งบพระมหากษัตริย์]
A nice little story: the US Bangkok Embassy explained to Washington Her Majesty the Queen of Thailand's well-deserved reputation as one of the world's best-dressed women
เรื่องเล็กๆอันชวน "ซาบซึ้ง": สถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพอธิบายให้วอชิงตันเข้าใจถึงการฉลองพระองค์อันมีชื่อเสียงของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ (พ.ศ.2510)
.............
ผมอ่านพบเรื่องนี้ใน "ตอนที่ 4" ของ "บทวิจารณ์" หนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work ของคุณ Andrew MacGregor Marshall
รู้สึก "ซาบซึ้ง" มาก อดไม่ได้ต้องมาเล่าต่อ
ในปี 2510 ในหลวงกับพระราชินีมีหมายกำหนดการจะเสด็จเยือนสหรัฐ
นิตยสาร Time ได้ตีพิมพ์รายงานว่า พระราชินีทรงใช้จ่ายเรื่องฉลองพระองค์ปีละ .... [เซ็นเซอร์] .... ดอลล่าร์สหรัฐ
ก็ปรากฏว่า มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคนหนึงในรัฐแคลิฟอร์เนีย เขียนจดหมาย [เซ็นเซอร์] ส่งถึง รัฐบาลสหรัฐ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนของเขตแคลิฟอร์เนีย
สส.ดังกล่าว ก็ผ่านหนังสือนั้น มาที่รัฐบาลสหรัฐ
รัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงการต่างประเทศก็มีโทรเลขมาถึงสถานทูตของตนในกรุงเทพ บอกให้ช่วยคอมเม้นต์เกี่ยวกับรายงานของ Time
ทางสถานทูตในกรุงเทพ จึงมีโทรเลขตอบไป
โทรเลขสอบถามของกระทรวงการต่างประเทศ (ภาพโทรเลขสีชมพูแก่ด้านซ้ายของภาพ) มีข้อความ ดังนี้
............
ขอให้สถานทูตแสดงความเห็นกลับมาภายในสิ้นสุดวันทำงาน วันที่ 25 พฤษภาคมนี้ เกี่ยวกับรายงานในนิตยสาร Time ว่า พระราชินีสิริกิติ์ ทรงใช้จ่ายประมาณ ..... [เซ็นเซอร์] .... ต่อปี ในเรื่องฉลองพระองค์. เราต้องการความเห็นเรื่องนี้เพื่อตอบจดหมายจาก สส. กุ๊บเซอร์ แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ส่งผ่านหนังสือ ... [เซ็นเซอร์] ... ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคนหนึง (นาง โจเซฟ พี ลอง) ต่อเงินช่วยเหลือทั้งจากรัฐบาลและเอกชนสหรัฐต่อประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับเรื่องนี้
..............
ทางสถานทูตในกรุงเทพ ได้มีโทรเลขตอบกลับ ดังนี้
..............
1. เรามีความมั่นใจในความสามารถของกระทรวงต่างประเทศที่จะร่างหนังสือตอบอันเหมาะสมต่อข้อซักถามของ สส.กุ๊บเซอร์ โดยที่ไม่ต้องให้เราช่วยเหลือ. อย่างไรก็ตาม ในเมื่อถามความเห็นเรามา เราก็ขอเสนอต่อไปนี้
2. เงินงบประมาณสาธารณะที่รัฐบาลไทยมอบให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ไทย ทั้งหมด เป็นจำนวน 243,072.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี. เราไม่รู้ว่าราชวงศ์ได้ใช้จ่ายส่วนพระองค์จากเงินที่เป็นรายได้ส่วนพระองค์นี้ ในทางใดที่ราชวงศ์เห็นสมควรบ้าง. แต่พวกท่านสามารถทำได้.
อย่างไรก็ตาม, อาจจะเป็นเรื่องที่ควรตระหนักว่า ในหลวงและพระราชินีเป็นที่รักและเคารพสักการะอย่างสูงของประชาชนไทย ผู้ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากกับการที่พระราชินีของพวกเขาทรงมีชื่อเสียงอันสมควรแล้วในฐานะสตรีที่แต่งตัวดีที่สุดคนหนึงของโลก. และอาจจะเป็นเรื่องที่ควรตระหนักว่า ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ในหลวงและพระราชินีเป็นผู้ที่ทรงบริจาคเงินช่วยเหลือในกิจการสาธารณะต่างๆทั้งทางการศึกษา, ศาสนา, วัฒนธรรม และการกุศลอื่นๆ มากที่สุดในประเทศ.
3. แน่นอน กระทรวงการต่างประเทศคงเข้าใจดีว่า ในการตอบข้อซักถามของ สส.ดังกล่าว กระทรวงฯจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาพลักษณ์ออกมาในลักษณะที่ว่ากำลังอธิบายแก้ [apologizing] ให้กับเรื่องค่าใช้จ่ายฉลองพระองค์ของพระราชินี ไม่ว่าค่าใช้จ่ายนั้นจะเป็นจำนวนเท่าใด.
4. ข้อนี้เป็นข้อมูลสำหรับคุณเอง [FYI] - แน่นอนว่า เราไม่มีตัวเลขที่แน่นอนในเรื่องนี้ แต่ว่าเป็นเรื่องตลก [ridiculous] อย่างชัดเจนที่จะเสนอว่า พระราชินีทรงใช้จ่าย ... [เซ็นเซอร์] .... ต่อปีเรื่องฉลองพระองค์.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=313471065372846&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
Collapse this post17 hours ago
[หมายเหตุ: กระทู้นี้ ลองอ่านประกอบกับกระทู้ข้างล่างที่ผมอภิปรายเรื่อง "งบพระมหากษัตริย์]
A nice little story: the US Bangkok Embassy explained to Washington Her Majesty the Queen of Thailand's well-deserved reputation as one of the world's best-dressed women
เรื่องเล็กๆอันชวน "ซาบซึ้ง": สถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพอธิบายให้วอชิงตันเข้าใจถึงการฉลองพระองค์อันมีชื่อเสียงของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ (พ.ศ.2510)
.............
ผมอ่านพบเรื่องนี้ใน "ตอนที่ 4" ของ "บทวิจารณ์" หนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life's Work ของคุณ Andrew MacGregor Marshall
รู้สึก "ซาบซึ้ง" มาก อดไม่ได้ต้องมาเล่าต่อ
ในปี 2510 ในหลวงกับพระราชินีมีหมายกำหนดการจะเสด็จเยือนสหรัฐ
นิตยสาร Time ได้ตีพิมพ์รายงานว่า พระราชินีทรงใช้จ่ายเรื่องฉลองพระองค์ปีละ .... [เซ็นเซอร์] .... ดอลล่าร์สหรัฐ
ก็ปรากฏว่า มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคนหนึงในรัฐแคลิฟอร์เนีย เขียนจดหมาย [เซ็นเซอร์] ส่งถึง รัฐบาลสหรัฐ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนของเขตแคลิฟอร์เนีย
สส.ดังกล่าว ก็ผ่านหนังสือนั้น มาที่รัฐบาลสหรัฐ
รัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงการต่างประเทศก็มีโทรเลขมาถึงสถานทูตของตนในกรุงเทพ บอกให้ช่วยคอมเม้นต์เกี่ยวกับรายงานของ Time
ทางสถานทูตในกรุงเทพ จึงมีโทรเลขตอบไป
โทรเลขสอบถามของกระทรวงการต่างประเทศ (ภาพโทรเลขสีชมพูแก่ด้านซ้ายของภาพ) มีข้อความ ดังนี้
............
ขอให้สถานทูตแสดงความเห็นกลับมาภายในสิ้นสุดวันทำงาน วันที่ 25 พฤษภาคมนี้ เกี่ยวกับรายงานในนิตยสาร Time ว่า พระราชินีสิริกิติ์ ทรงใช้จ่ายประมาณ ..... [เซ็นเซอร์] .... ต่อปี ในเรื่องฉลองพระองค์. เราต้องการความเห็นเรื่องนี้เพื่อตอบจดหมายจาก สส. กุ๊บเซอร์ แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ส่งผ่านหนังสือ ... [เซ็นเซอร์] ... ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคนหนึง (นาง โจเซฟ พี ลอง) ต่อเงินช่วยเหลือทั้งจากรัฐบาลและเอกชนสหรัฐต่อประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับเรื่องนี้
..............
ทางสถานทูตในกรุงเทพ ได้มีโทรเลขตอบกลับ ดังนี้
..............
1. เรามีความมั่นใจในความสามารถของกระทรวงต่างประเทศที่จะร่างหนังสือตอบอันเหมาะสมต่อข้อซักถามของ สส.กุ๊บเซอร์ โดยที่ไม่ต้องให้เราช่วยเหลือ. อย่างไรก็ตาม ในเมื่อถามความเห็นเรามา เราก็ขอเสนอต่อไปนี้
2. เงินงบประมาณสาธารณะที่รัฐบาลไทยมอบให้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ของพระราชวงศ์ไทย ทั้งหมด เป็นจำนวน 243,072.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี. เราไม่รู้ว่าราชวงศ์ได้ใช้จ่ายส่วนพระองค์จากเงินที่เป็นรายได้ส่วนพระองค์นี้ ในทางใดที่ราชวงศ์เห็นสมควรบ้าง. แต่พวกท่านสามารถทำได้.
อย่างไรก็ตาม, อาจจะเป็นเรื่องที่ควรตระหนักว่า ในหลวงและพระราชินีเป็นที่รักและเคารพสักการะอย่างสูงของประชาชนไทย ผู้ซึ่งรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากกับการที่พระราชินีของพวกเขาทรงมีชื่อเสียงอันสมควรแล้วในฐานะสตรีที่แต่งตัวดีที่สุดคนหนึงของโลก. และอาจจะเป็นเรื่องที่ควรตระหนักว่า ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ในหลวงและพระราชินีเป็นผู้ที่ทรงบริจาคเงินช่วยเหลือในกิจการสาธารณะต่างๆทั้งทางการศึกษา, ศาสนา, วัฒนธรรม และการกุศลอื่นๆ มากที่สุดในประเทศ.
3. แน่นอน กระทรวงการต่างประเทศคงเข้าใจดีว่า ในการตอบข้อซักถามของ สส.ดังกล่าว กระทรวงฯจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาพลักษณ์ออกมาในลักษณะที่ว่ากำลังอธิบายแก้ [apologizing] ให้กับเรื่องค่าใช้จ่ายฉลองพระองค์ของพระราชินี ไม่ว่าค่าใช้จ่ายนั้นจะเป็นจำนวนเท่าใด.
4. ข้อนี้เป็นข้อมูลสำหรับคุณเอง [FYI] - แน่นอนว่า เราไม่มีตัวเลขที่แน่นอนในเรื่องนี้ แต่ว่าเป็นเรื่องตลก [ridiculous] อย่างชัดเจนที่จะเสนอว่า พระราชินีทรงใช้จ่าย ... [เซ็นเซอร์] .... ต่อปีเรื่องฉลองพระองค์.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=313471065372846&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
More photos from KP Politics
- Comment - Hang out - Share
Pruay Salty Head
วันที่ดีเอสไอมาจับผม แม่งหาว่าผมเป็น"ขบวนการล้มเจ้า"ต้องรู้จักและร่วมมือเครือข่ายโยงใยไปทั่ว ให้ตายห่าวันนั้นผมแม่งไม่รู้จักใครเลยจริงๆ แต่หลังแม่งจับผม ผมไปประเทศไหนผมมีเพื่อนกินเบียร์กินไวน์ทุกประเทศ ขอบคุณความคิดแคบๆของดีเอสไอจริงๆ
ประเวศ ประภานุกูล สรุปได้ว่า DSI ช่วยประชาสัมพันธ์ให้คุณปรวย 555555555555555555
(หัวเราะประชดชีวิต)
https://www.facebook.com/Prawais/posts/320715247987269
วันที่ดีเอสไอมาจับผม แม่งหาว่าผมเป็น"ขบวนการล้มเจ้า"ต้องรู้จักและร่วมมือเครือข่ายโยงใยไปทั่ว ให้ตายห่าวันนั้นผมแม่งไม่รู้จักใครเลยจริงๆ แต่หลังแม่งจับผม ผมไปประเทศไหนผมมีเพื่อนกินเบียร์กินไวน์ทุกประเทศ ขอบคุณความคิดแคบๆของดีเอสไอจริงๆ
ประเวศ ประภานุกูล สรุปได้ว่า DSI ช่วยประชาสัมพันธ์ให้คุณปรวย 555555555555555555
(หัวเราะประชดชีวิต)
https://www.facebook.com/Prawais/posts/320715247987269
- Comment - Hang out - Share
Pavin Chachavalpongpun
เมื่อเช้าได้มีโอกาสพบกับคนไทยท่านหนึ่งที่สิงคโปร์ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการขอสถานะผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ (เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112) ได้พูดคุยแล้วบอกได้เลยว่ารู้สึกหดหู่ใจอย่างยิ่ง ผมเองไม่สามารถช่วยอะไรได้มากไปกว่าการให้คำแนะนำเท่านั้น ไม่ต้องการเห็นคนไทยต้องพรากออกจากประเทศตัวเอง เพียงเพราะต้องการแสดงความเห็นทางการเมืองแบบตรงไปตรงมา
https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/203842563050848
เมื่อเช้าได้มีโอกาสพบกับคนไทยท่านหนึ่งที่สิงคโปร์ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการขอสถานะผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ (เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112) ได้พูดคุยแล้วบอกได้เลยว่ารู้สึกหดหู่ใจอย่างยิ่ง ผมเองไม่สามารถช่วยอะไรได้มากไปกว่าการให้คำแนะนำเท่านั้น ไม่ต้องการเห็นคนไทยต้องพรากออกจากประเทศตัวเอง เพียงเพราะต้องการแสดงความเห็นทางการเมืองแบบตรงไปตรงมา
https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/203842563050848
- Comment - Hang out - Share
Pavin Chachavalpongpun
กรี๊ดดดดด วง "112" เป็นชื่อวงดนตรีอเมริกัน ชื่อถูกใจม๊ากกกก แถมเพลงนี้ความหมายดี "It's Over Now" (มันจบลงซะที) ชอบ ชอบ
http://www.dailymotion.com/video/x1kvtu_112-it-s-over-now_music
กรี๊ดดดดด วง "112" เป็นชื่อวงดนตรีอเมริกัน ชื่อถูกใจม๊ากกกก แถมเพลงนี้ความหมายดี "It's Over Now" (มันจบลงซะที) ชอบ ชอบ
http://www.dailymotion.com/video/x1kvtu_112-it-s-over-now_music
- Comment - Hang out - Share
KP Page - Mar 12, 2012 - Public
- Comment - Hang out - Share
KP Page
KP Page - Mar 12, 2012 - Public
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล: งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติสถาบันกษัตริย์ประจำปี 2555 พร้อมข้อสังเกตท้ายเชิงอรรถ
Sun, 2012-03-11 15:58
สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 [1]"งบประมาณสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์" [2] มีรายการดังต่อไปนี้
สำนักราชเลขาธิการ
มาตรา 25 ข้อ 1 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 525,512,600 บาท
มาตรา 25 ข้อ 1 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 525,512,600 บาท
สำนักพระราชวัง
มาตรา 25 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 2,794,957,000 บาท
มาตรา 25 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 2,794,957,000 บาท
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
มาตรา 25 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 603,516,900 บาท
มาตรา 25 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 603,516,900 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
มาตรา 4 (3) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300,000,000 บาท
มาตรา 4 (4) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 600,000,000 บาท
มาตรา 4 (3) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300,000,000 บาท
มาตรา 4 (4) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 600,000,000 บาท
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ข้อ 1 (2) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 42,606,875 บาท
มาตรา 5 ข้อ 1 (2) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 42,606,875 บาท
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
มาตรา 5 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 1,558,064,400 บาท
มาตรา 5 ข้อ 4 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 1,558,064,400 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
มาตรา 6 ข้อ 1 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 65,018,200 บาท
มาตรา 6 ข้อ 1 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 65,018,200 บาท
กรมราชองครักษ์
มาตรา 6 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 615,359,100 บาท
มาตรา 6 ข้อ 2 (1) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 615,359,100 บาท
กองบัญชาการกองทัพไทย
มาตรา 6 ข้อ 3 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 260,000,000 บาท
มาตรา 6 ข้อ 3 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 260,000,000 บาท
กองทัพบก
มาตรา 6 ข้อ 4 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 320,000,000 บาท
มาตรา 6 ข้อ 4 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 320,000,000 บาท
กองทัพเรือ
มาตรา 6 ข้อ 5 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 12,246,100 บาท
มาตรา 6 ข้อ 5 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 12,246,100 บาท
กองทัพอากาศ
มาตรา 6 ข้อ 6 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 21,000,000 บาท
มาตรา 6 ข้อ 6 (4) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 21,000,000 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 17 ข้อ 1 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 30,200,000 บาท
มาตรา 17 ข้อ 1 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 30,200,000 บาท
กรมโยธาธิการและผังเมือง
มาตรา 17 ข้อ 6 (2) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 1,010,092,000 บาท
มาตรา 17 ข้อ 6 (2) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 1,010,092,000 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรา 25 ข้อ 7 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 450,227,800 บาท
มาตรา 25 ข้อ 7 (3) แผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ 450,227,800 บาท
รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น 11,208,800,975 บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท) [3].
_____________________
เชิงอรรถ
- โดยดู พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ใน ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนที่ 15 ก, ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/015/1.PDF [เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2555].
- ในทางตำราเรียก 'เงินรายปีสำหรับรักษาพระเกียรติ' อาทิ หยุด แสงอุทัย. คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 (เรียงมาตรา). พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนคร : กรุงสยามการพิมพ์. หน้า 47. ; 'เงินรายปีเพื่อพระเกียรติยศ' อาทิ ไพโรจน์ ชัยนาม. คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม 2 กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ตอนที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2495. หน้า 166. ทั้งนี้ ไพโรจน์ ชัยนาม ตั้งข้อสังเกต (ประเด็น อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ) ด้วยว่า "เงินรายปีซึ่งชาติถวายให้แก่พระมหากษัตริย์นี้ บางประเทศก็มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนไทยหาได้มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ แต่นำไปกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณทุก ๆ ปี ฉะนั้นเงินจำนวนนี้จึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามฐานะแห่งการเงินของ ประเทศ... สุดแต่ความจำเป็นและตามความเหมาะสมของฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ" (หน้า 167)
ทั้งนี้ ควรกล่าวเพิ่มเติมว่า นับแต่ พุทธศักราช 2477 - 2501 ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ จะระบุโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับ "เงินงบในพระองค์" (ถ้อยคำในปี 2477, 2478), "เงินงบพระมหากษัตริย์" (ถ้อยคำในปี 2479 ถึง 2501) เป็นส่วนหนึ่ง และสำนักพระราชวัง กับสำนักราชเลขาธิการ เป็นอีกส่วนหนึ่ง และตั้งแต่ปี 2502 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ จะไม่ระบุ "เงินงบพระมหากษัตริย์" แต่ระบุเพียงส่วน งบสำนักพระราชวัง และสำนักราชเลขาธิการ และปรากฏงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์กระจายตามส่วนราชการขึ้น แทน. - อาจเทียบเคียงกับ "จำนวนเงินรวม" งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 (สำหรับรักษาพระเกียรติฯ) เป็นเงิน 10,781,350,000 บาท (อ่านว่า หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) โดยดู พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล. "งบประมาณแผ่นดินที่รัฐต้องจ่ายให้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันพระมหา กษัตริย์ประจำปีงบประมาณ 2554 กับการทำแต้มอย่างบ้าคลั่งไล่ล่าผู้กระทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์" : http://prachatai.com/journal/2011/05/34508 [เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2554]
รายละเอียดงบประมาณทั้งสิ้นหนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท ซึ่งกระจายไปอยู่ในงบประมาณส่วนไหนของหน่วยงานใดบ้าง โปรดศึกษารายละเอียด ที่นี่
No comments:
Post a Comment