2012-03-01

P.ผมเป็นทหารที่อ่านหนังสือต้องห้าม


KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 28, 2012  -  Public
ประเด็น “ทรงแทรกแซงการเมืองหรือไม่?” ที่ปรากฏในงานวิชาการ

นักปรัชญาชายขอบ

เป็นไปได้ที่คุณอาจจะเป็น “อากง” คนต่อไป ถ้าเพียงแต่ปรากฏว่ามี “ข้อความหมิ่นฯ” ถูกส่งมาจากโทรศัพท์มือถือของคุณ และโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ “พิสูจน์อย่างสิ้นสงสัย” ว่าคุณเป็นคนส่งข้อความนั้นเองหรือไม่ คุณก็อาจจะถูกตัดสินจำคุกถึง 20 ปี

และเป็นไปได้เช่นกันที่จะมีคนนำเอาข้อความบางข้อความที่คุณพูดหรือเขียนไปตีความว่า “หมิ่นฯ” และนำไปแจ้งตำรวจ แล้วตำรวจก็เอา “ความหมายที่ถูกตีความ” แล้วนั้นมาตั้ง “ข้อหาหมิ่นฯตาม ม.112”

หมายความว่า ข้อความตามหลักฐานที่เป็น “ภววิสัย” (objective) มี “ความหมายตามตัวอักษร” อย่างหนึ่ง ซึ่งถูกต้องตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่มีคนไปตีความให้มี “ความหมายตรงกันข้าม” ตาม “อัตวิสัย” (subjective) ของตนเอง แล้วเอา “ความหมายที่เป็นอัตวิสัย” นั้นไปแจ้งความ และตำรวจก็รับเอา “ความหมายที่เป็นอัตวิสัย” ดังกล่าวมาตั้งเป็น “ข้อกล่าวหาตามมาตรา 112” (ทั้งๆ ที่ตำรวจเองก็ทราบข้อมูลอยู่แล้วด้วยซ้ำว่า “ความหมายที่เป็นอัตวิสัย” นั้น มาจากคนที่มีความเห็นขัดแย้งทางการเมือง ที่ตามด่าท้ายบทความของผู้ถูกกล่าวหาอย่างต่อเนื่องมานาน)

บทความนี้ผมจึงเขียนขึ้นเพื่อเป็น “บทเรียน” โดยหวังว่าในแวดวงวิชาการ และสังคมในวงกว้างจะได้เรียนรู้ร่วมกันว่า ถ้าแม้แต่ความหมายที่ถูกตีความตามอัตวิสัยนั้นเป็นข้อความที่มีการพูดถึง เขียนถึง หรือถกเถียงในทางวิชาการ ในสื่อต่างๆ หรือเผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะ “อย่างถูกกฎหมายอยูแล้ว” ยัง “ถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีตาม ม.112” ได้ คำถามที่ตามมา คือ

1.เราจะอยู่ในสังคมนี้กันอย่างไร?

2.เราควรจะถามถึง “มาตรฐานที่ถูกต้อง” ของระบบยุติธรรมหรือไม่?

3. ถ้าเราถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพภายใต้ระบบยุติธรรมที่อาจไม่ได้ตีความกฎหมายโดยเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพทางวิชาการตามที่รัฐธรรมนูญ (มาตรา 45 และ 50) รับรอง เราควรจะปกป้องสิทธิ เสรีภาพของตนเองอย่างไร? และ

4. เมื่อเราได้รับผลกระทบในทางเสียหายทั้งเรื่องการเงิน สถานะทางสังคม ตำแหน่งหน้าที่การงาน สภาพครอบครัวญาติมิตรจากการดำเนินคดีเช่นนั้น เราจะเรียนรู้เอาชนะ “ความกลัว” เพื่อ “ต่อสู้” ทวงคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของเรา และความเสียหายต่างๆ เหล่านั้นอย่างไร?

ผมขอฝากคำถามนี้ไว้แด่เพื่อนนักวิชาการ สื่อมวลชน และทุกคนที่รัก “ประชาธิปไตย” และ “ความยุติธรรม” ไม่ใช่เพื่อร้องขอความเห็นใจ หรือตีโพยตีพายอะไร แต่อยากฝากเป็นคำถามไว้ว่า “ถ้าวันหนึ่งใครประสบปัญหาแบบที่ว่ามา จะทำอย่างไร?”

สำหรับผม ในทางหนึ่งคือการพยายามทำอย่างที่ผมกำลังทำอยู่นี้ ได้แก่ การยืนยันความถูกต้องในสิ่งที่ตนเองทำ และพยายามอธิบายให้ผู้มีใจเป็นธรรมได้รับรู้ปัญหานี้ แม้ในที่สุดแล้วในสภาพที่ยังตกอยู่ใน “ความเสี่ยง” เช่นนี้ ผมจะได้รับ “ความยุติธรรม”หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างน้อยที่พยายามอธิบายมา (และจะอธิบายต่อไปทั้งในสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ) ก็อาจส่งผลดีในทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้กับคนอื่นๆ อีกต่อไป

ความถูกต้องที่ผมจะยืนยันต่อไปนี้คือ ประเด็นว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแทรกแซงการเมือง” เป็นประเด็นที่พูดถึงได้ในทางวิชาการ และมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะมานานแล้ว และมีอยู่อย่างมากมายแล้ว ทั้งเป็นงานวิชาการของนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้า นักวิชาการฝ่ายกษัตริย์นิยม รวมทั้งมีการเผยแพร่ข้อความว่า “พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงแทรกแซงการเมือง” ในหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อ “เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน” อีกด้วย

ฉะนั้น ผมจึงเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรมอย่างยิ่งที่ผมแสดงความเห็นท้ายบทความทางวิชาการด้วยข้อความอย่างหนึ่ง แต่มีคนไปตีความว่า ข้อความที่ผมใช้นั้นทำให้ผู้อ่านอาจเข้าใจไปได้ว่า“พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงแทรกแซงการเมือง”

ประเด็นคือ ถ้าแม้แต่มีการพูดและเขียนกันตรงๆ อย่างเป็นสาธารณะอยู่แล้ว ว่า “พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงแทรกแซงการเมือง” ก็ยังไม่ผิดตาม ม.112 แล้ว “ข้อความที่ถูกตีความให้มีความหมายตรงกับข้อความนี้” จะผิดตาม ม.112 ได้อย่างไร?

ที่ผมจะเสนอให้เห็นคือ มีหลักฐานว่า (1) มีการอ้างถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ (2) มีการเผยแพร่บทความทางวิชาการเกี่ยวการแทรกแซงทางการเมือง โดยนักวิชาการชาวต่างชาติที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3) มีการเผยแพร่บทความในหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแทรกแซงทางการเมือง และ (4) มีการถกเถียงในเรื่องการแทรกแซงเผยแพร่ต่อสาธารณะอยู่แล้ว รายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้

(1) มีการอ้างถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เช่นที่สายชล สัตยานุรักษ์ เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรมความเป็นไทย เล่ม 2”[1] หน้า 9 ความตอนหนึ่งว่า

“ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก่อการรัฐประหาร โดยเรียกประชุมคณะทหารในเวลา 18.00 น. และเริ่มปฏิบัติการยึดอำนาจในวันที่ 16 นั้น ปรากฏว่าในคืนเดียวกันได้มีพระบรมราชโองการประกาศผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง และได้มีการตีพิมพ์พระบรมราชโองการดังกล่าวใน ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 76 เล่มที่ 74 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 โดยไม่มีผู้ใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ความว่า

เนื่องด้วยปรากฏว่ารัฐบาลอันมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ข้าพเจ้าจึงขอแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

การมีประกาศพระบรมราชโองการทางวิทยุในทันทีที่การรัฐประหารเกิดขึ้น ทั้งๆที่การดำเนินการรัฐประหารเริ่มขึ้นในตอนกลางคืน น่าจะเป็นสาเหตุทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เกิดความเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนการก้าวขึ้นสู่อำนาจของจอมพลสฤษดิ์อย่างเต็มที่...”

จะเห็นได้ว่า ข้อความข้างบน โดยเฉพาะที่ขีดเส้นใต้ที่ว่า โดยไม่มีผู้ใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนการก้าวขึ้นสู่อำนาจของจอมพลสฤษดิ์อย่างเต็มที่ เป็น “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์” ที่มีการกล่าวถึงในแวดวงวิชาการอย่างเป็นสาธารณะอยู่แล้ว

(2) มีการเผยแพร่บทความทางวิชาการเกี่ยวการแทรกแซงทางการเมือง โดยนักวิชาการชาวต่างชาติ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น หนังสือชื่อ Network Monarchy and legitimacy crises in Thailand โดย Duncan McCargo ศาสตราจารย์ด้านการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยลีดส์ ตีพิมพ์ลงใน : The Pacific Review, Vol. 18 No. 4 December 2005: 499-519 [2]ดังข้อความในบทคัดย่อตอนหนึ่งว่า

“…การเมืองไทยสามารถถูกเข้าใจได้ดีที่สุดในรูปเครือข่ายทางการเมือง เครือข่ายชั้นแนวหน้าในช่วง 2516-2544 มีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวัง ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "เครือข่ายกษัตริย์" (network monarchy) เครือข่ายกษัตริย์เกี่ยวพันกับการแทรกแซงการเมืองของพระมหากษัตริย์ไทยและตัวแทนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์ได้สร้างอิทธิพลขนาดมหาศาล แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จจนถึงขั้นครอบงาประเทศ...”

(3) มีการเผยแพร่บทความในหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแทรกแซงทางการเมือง เช่น บทความชื่อ “พระทรงธำรงไว้ซึ่งขันติธรรม” โดย Anthony Bailey ในหนังสือ “รอยยิ้มของในหลวง”[3] เช่น

หน้า 189 ว่า “...แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่าการเข้าแทรกแซง หรือไม่เข้าแทรกแซงของพระองค์ ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตก…”

หน้า 190 ว่า “เป็นที่กล่าวกันว่ามิใช่คนทั้งโลกจะรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงกระทำผิดพลาดหลายครั้ง รัฐบาลบางรัฐบาลในช่วงระระเวลาการครองราชย์ของพระองค์ก็มิได้มาตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำพระองค์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแย่งแย่งทางการเมืองมากกว่าหนึ่งครั้ง...”

และหน้า 191 “สำหรับการแทรกแซงทางการเมืองของพระองค์นั้น ก็ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างของผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเข้าแทรกแซงวิกฤตทางการเมืองของพระองค์สองครั้งในปี พ.ศ.2516 และ พ.ศ.2535 ได้นำมาซึ่งความนิยมและความเคารพนับถือในตัวพระองค์...”

(4) มีการถกเถียงในเรื่องการแทรกแซงเผยแพร่ต่อสาธารณะอยู่แล้ว เช่น คำถามของผู้สื่อข่าวบีบีซีและคำให้สัมภาษณ์ของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี บทสัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ (คำแปล) เป็นบทสัมภาษณ์ที่นายอานันท์ ปันยารชุน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลังจากแนะนำหนังสือชื่อ “The King of Thailand in World Focus” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล ต่อมาถูกนำมาตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ “รอยยิ้มของในหลวง” ในหัวข้อ “พระมหากษัตริย์ที่ดีและยิ่งใหญ่” หน้า 113-121 ความบางตอนว่า

โจนาธาน เฮด จากบีบีซี:
ผมสังเกตว่าเมื่อคุณพูดถึงความสำเร็จต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความสำเร็จประการหนึ่งก็คือ การแทรกแซงของพระองค์มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสงบและความกลมเกลียวของสังคม...ผมทราบมาว่ามีคนจำนวนไม่น้อยตำหนิสุภาพบุรุษท่านหนึ่ง ซึ่งขณะนี้กำลังปราบปลื้มกับการเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลระดับยอดของบริติชพรีเมียร์ลีก ว่าเป็นต้นเหตุของความร้าวฉานส่วนใหญ่ในสังคม ผมชักจะสงสัยว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนเกินกว่าที่พระองค์จะมีส่วนธำรงความสามัคคีของสังคมไว้ได้ ปัจจุบันสังคมได้ก้าวไปไกลมาก และปัญหาก็ซับซ้อนเกินจะเยียวยาด้วยการแทรกแซงของพระองค์แล้ว (หน้า 114)

นายอานันท์ ปันยารชุน กล่าวตอบความตอนหนึ่งว่า
...เรื่องซึ่งชาวต่างชาติมองว่าพระองค์แทรกแซงผมขอแยกออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการแทรกแซงที่ริเริ่มโดยบุคคลผู้นั้นเอง ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการแทรกแซงเป็นการเข้าไปโดยมีผู้ร้องขอ...(หน้า 115)

..นี่แหละที่ผมเห็นว่าเป็นการขัดแย้งในตัวเองของผู้สื่อข่าวและผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศ ทางหนึ่งพวกคุณตำหนิพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ว่าแทรกแซงอีกทางหนึ่งคุณก็คล้อยตามคนไทยและอาจจะไม่รู้ตัวว่ายังต้องการพึ่งพระราชอำนาจของพระองค์อยู่...ถ้าหากพวกคุณไม่ต้องการให้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แทรกแซง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไปไม่แทรกแซงจะไม่ถูกต้องได้อย่างไร...(หน้า 118)

เนื้อหาโดยรวมของบทสัมภาษณ์ดังกล่าว เป็นการกล่าวถึงสถานะ บทบาท พระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ในบริบทสังคม-การเมืองไทยในรัชกาลปัจจุบันตามที่เป็นมาและเป็นอยู่ โดยเฉพาะบางส่วนมีการพาดพิงถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองช่วง 19 กันยายน 2549 ด้วย ดังจะเห็นได้ว่าผู้สื่อข่าวถามตรงๆ ถึงการแทรกแซงของพระองค์ และนายอานันท์ก็พูดตรงๆ เช่นกันว่า ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการแทรกแซงเป็นการเข้าไปโดยมีผู้ร้องขอ และว่า พวกคุณตำหนิพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ว่าแทรกแซง หรือ ถ้าหากพวกคุณไม่ต้องการให้พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แทรกแซง ที่คือการพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันตรงๆ ว่ามีการตำหนิว่าพระองค์แทรกแซง

จริงอยู่ แม้ว่าจะไม่มีการ “พูดเต็มคำ” ว่า “แทรกแซงการเมือง” แต่คำถามและคำตอบก็อยู่ในบริบทของการพูดถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และบริบทของการพาดพิงถึงว่ามีคนจำนวนไม่น้อยตำหนิสุภาพบุรุษท่านหนึ่ง ซึ่งขณะนี้กำลังปราบปลื้มกับการเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลระดับยอดของบริติชพรีเมียร์ลีก ว่าเป็นต้นเหตุของความร้าวฉานส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งสุภาพบุรุษที่ว่านี้ ผู้ฟังหรือผู้อ่านย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึง อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าล้มล้างสถาบัน และถูกทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

สรุปส่งท้าย “ปริศนาระบบยุติธรรม”

จะเห็นว่า ประเด็น “ทรงแทรกแซงทางการเมืองหรือไม่?” เป็นประเด็นที่มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยน ถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลในทางวิชาการที่เผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะอยู่แล้ว โดยไม่ผิด ม.112 แต่อย่างใด

หมายความว่า หากเป็นการพูดถึง เขียนถึง แสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าวด้วยเหตุด้วยผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงเชิงวิชาการรองรับ หรือสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการ เหตุผลตามหลักวิชาการ และอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพทางวิชาการตามที่รับธรรมนูญรับรองก็ย่อมไม่ผิดตาม ม.112 เว้นเสียแต่ว่าเป็นการมุ่งให้ร้ายโจมตี ใส่ร้าย หยาบคาย เสียๆ หายที่บ่งชี้ถึงการมีเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าเป็นการ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย” จริงๆ

คำถามย้ำส่งท้าย จึงมีว่า เหตุใดระบบยุติธรรมจึงยังมีการบังคับใช้ ม.112 เอาผิดกับ “ข้อความที่มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษรอย่างเป็น “ภววิสัย” ที่ถูกต้องตามหลักการอยู่แล้ว” ให้มีความหมายตามอัตวิสัยของผู้ตีความ และแม้แต่ความหมายตามอัตวิสัยนั้นก็ตรงกับความหมายที่เผยแพร่อย่างถูกกฎหมายอยู่แล้ว ดังตัวอย่างที่ยกมา

นี่จึงเป็นคำถามที่ขอฝากเป็น “ปริศนาแห่งมาตรฐานที่ชัดเจนของระบบยุติธรรมไทย” ในกรณีการบังคับใช้ ม.112

อ้างอิง
[1] สายชล สัตยานุรักษ์.คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรมความเป็นไทย เล่ม 2.กรุงเทพฯ:มติชน,2550.
[2] อ่านฉบับภาษาอังกฤษได้ที่http://www.ingentaconnect.com/content/routledg/rpre/2005/00000018/0000004/art00

[3] สำนักข่าวเจ้าพระยา.รอยยิ้มของในหลวง.ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.มปป.

https://www.facebook.com/notes/สุรพศ-ทวีศักดิ์/ประเด็น-ทรงแทรกแซงการเมืองหรือไม่-ที่ปรากฏในงานวิชาการ-คนที่อาจตกเป็น-เหยื่อ-ราย/238917516201595  

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 28, 2012 (edited)  -  Public
ผู้พันสู้ ตัวจริง
about an hour ago near Hollywood, FL
ผมเป็นทหารที่อ่าน หนังสือต้องห้าม เยอะพอสมควร ทั้งกงจักรปีศาจ, the king never smile ,ไทยใต้ร่มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ ,ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง,โฉมหน้าศักดินาไทย ,และติดตาม สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล Pruay Salty Head ในประชาไทย และฟ้าเดียวกัน ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา49 ผมอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ของผมว่า ถึงแม้ว่าผมจะได้ อ่านได้ฟังมามากแค่ไหนแต่ความเชื่อของผมที่ฝังรากลึกมานาน ก็ไม่อาจทำให้ผมคล้อยตามได้มากนัก จนกระทั่งมีเหตุการณ์สังหารประชาชน เมื่อ พฤษภา 53 ผมถึงกลับมาทบทวนอีกครั้ง ถึงได้เข้าใจบริบทความเป็นไปของสังคมไทย ผมผ่านการใช้ชีวิตแบบ ศักดินาทาหาร อนุรักษ์นิยมมาตั้ง แต่เด็ก ในโรงเรียนทหาร และใช้ชีวิตสลิ่มเสเพลในช่วงวัยทำงาน และปัจจุบัน ผมเป็นผู้ ต้องหาคดี อาญามาตรา 112 ซึ่ง สถานะร้ายแรงลูกผีลูกคน ในสังคมคนทั่วไปก็ถือว่าร้ายแรงแล้ว แต่สังคมทหารนั้นถือว่าร้ายแรงกว่า ถ้าเป็นในอดีตครอบครัวผมคงถูกตัดหัวเจ็ดชั่วโคตรไปแล้ว ผมมานั่งทบทวน ความรู้สึกของตนเอง และ มองย้อนดูการเปลี่ยนผ่านของสังคม ผมรู้สึกว่า 3-5 ปี มานี้ สังคมและแนวคิดเปลี่ยนได้รวดเร็วมาก สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะวิงวอนทุกท่าน ทั้งกลุ่ม หัวก้าวหน้า หรืออนุรักษ์นิยม ว่าเราสามารถ ร่วมอยู่กันได้ แต่ทุกสิ่งต้องค่อยเป็นค่อยไป หันหน้าเข้าหากัน เปิด ช่องทางเข้าคุยกัน เลิกหำ้หั่นกันเสียที เสื้อแดง ไม่ใช่พวกล้มเจ้า ครับ คนที่เป็นกลางทางการเมือง ที่รักในหลวง ก็ไม่ได้เกลียดคนเสื้อแดง ครับ หันหน้าเข้าหากันเถิดครับ
https://www.facebook.com/bemyself1234/posts/305717262821733

ผมเห็นด้วยกับแนวทางปรองดองกับทุกฝ่าย คือการนิรโทษกรรม ผมกล่าวอย่างนี้อาจจะมีคนที่ยังคงแค้นทหารที่ไร้จริยธรรม ยิงประชาชนโดยไม่สำนึก โกรธเกลียดผมก็ได้ผมเข้าใจดี แต่สิ่งหนึ่งที่ผมตระหนักดีว่า ใครคือต้นตอของปัญหาที่แท้จริง เราคงไม่สามารถทำอะไรที่ดีไปได้มากว่าการรอ การเปิดเผยอย่างเป็นทางการเมื่อเวลาผ่านไป ประเทศชาติเราบอบช้ำมามากพอแล้ว ผมเชื่อว่า ซักวันหนึ่ง ความจริงทั้งหลายจะเปิดเผยได้ อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยี ชีวิตไม่ควรแลกด้วยชีวิต เราไม่พร้อมจริง ๆ ที่จะต่อสู้ขั้นแตกหัก
https://www.facebook.com/bemyself1234/posts/305736802819779

แนวทางการปฏิวัติประชาธิปไตย ในประเทศเราเป็นไปได้จริงเหรอลองถามใจตนเองดู สำหรับผมแล้วนั้น ไม่เคยเห็นด้วยเลยด้วยซ้ำ เพราะแนวทางนี้จะต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อพี่น้องร่วมชาติอีกมากมาย ผมถามว่า หากจะดำเนินการตามแนวคิดเช่นนี้ ก็อยากจะถามอีกว่า เรามีความพร้อมกันแค่ไหน เรามีมวลชน ที่เข้าใจ เรามีกำลังอาวุธ ถึงขั้นที่จะพลิกฟ้าและแผ่นดินเชียวหรือ หนทางของประเทศตามแนวทาง ของ ตูนิเซีย ลิเบีย และ อียิปต์ อย่างที่หลายคน เคยพูดนั้น แทบไม่มีทางจะเป็นไปได้ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งหลาย รวมทั้งสื่อต่าง ๆ ก็ไม่เป็นใจ ด้วย และสิ่งที่ผมมองจาก การที่สัมผัสชีวิตมนุษย์ หลากหลายสังคม ผมมองว่า ประชาชนเกินครึ่งประเทศ เขาไม่ต้องการเช่นนั้น
https://www.facebook.com/bemyself1234/posts/305747749485351
Collapse this post
ผู้พันสู้ ตัวจริงได้เขียนว่าผมเป็นทหารที่อ่าน หนังสือต้องห้าม... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับผู้พันสู้ ตัวจริงและคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก
  

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 28, 2012  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
about an hour ago
ไม่รู้จะพูดอะไรอีกนะ เหนื่อย คดีสุรชัย ตัดสิน 7 ปี 6 เดือน
สุรชัย เลือกใช้วิธีสารภาพ เพื่อรอขออภัยโทษ ก็เข้าใจได้

แต่ที่คิดๆคือ สารภาพ ก็ไม่ใช่ว่าจะได้ออกมาเร็วๆนะ

คดีคุณ "สุชาติ นาคบางไทร" ถูกจับ 1 พฤศจิกายน 2553 ถูกตัดสิน 29 พฤศจิกายน 2553 หลังจาก "สารภาพ" ลงโทษ 3 ปี (ลดจาก 6 ปี)

ถ้านับจากตัดสิน ก็ 1 ปี 3 เดือน (4 เดือนนับจากถูกจับ) ตอนนี้ยังไม่เห็นว่ามีการอภัย หรือคุณสุชาติ ไม่ขอเองก็ไม่ทราบ (ไม่น่าจะใช่นะ)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=306162079437078&id=100001298657012

เหอๆๆ ไม่ได้ตั้งใจจะ "แขวะ" เลยนะ ตอนแรก

แต่เขียนถึงสุรชัย แล้วก็ สุชาติ นาคบางไทร แล้วก็นึกถึงบทบาทของ 2 คนนี้ ที่ "เวทีสนามหลวง" ขึ้นมา (จริงๆว่า จะเขียนถึงคุณสุชาติ กับ "เวทีสนามหลวง" ของแกหน่อย แต่ไม่มีเวลาแล้ว ต้องไปสอนหนังสือ ไว้วันหลัง)

ข้อสรุปคือ "ใครเป็นเสื้อแดง อยู่กับ นปช. ดีทีสุด อย่างน้อย โดนคดีก็ประกันออกมาได้"

(เผลอๆ ได้ส่งลง สส. ด้วย 5555 - นึกถึงคุณสมยศขึ้นมา เศร้า ผมเคยนึกเล่นๆนะ ตอนที่เหวง ก่อแก้ว ฯลฯ ได้ส่งลง สส. ยังเคยพูดกับบางคนเลยมั้งว่า จริงๆ น่าส่ง สมยศ ด้วย แต่ตอนนั้น สมยศ ก็ติดคุกแล้ว .. แต่จตุพร เองก็อยู่ในคุกในวันเลือกตั้ง ก่อแก้ว ก็เคยลงเลือกตั้ง ตอนอยู่ในคุก ดังนัน ถ้าจะส่งจริงๆ ก็คงส่งได้แหละ

คุณสมยศ "ซวย" เอง ไม่ได้สังกัด นปช.)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=306165916103361&id=100001298657012


ขอต่อจากกระทู้ข้างล่างอีกนิด ... จริงๆ ที่ "แขวะ" นปช.น่ะ รู้สึกเศร้ามากกว่าโกรธด้วยซ้ำ

คือ ขอให้ลองพิจารณา บทบาทของ 3 คนนี้ เรียงตามลำดับ

1. สุชาติ นาคบางไทร เวที "คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ"
ตังแต่หลัง รปห. จนถึงกลางปี 2550 เวทีของสุชาติ เป็น "เวทีหลัก" ของการโจมตีประณาม รปห. ทีสนามหลวง ตอนนั้น "นปช." ยังไม่เกิดเลย (แรกๆ เวที "พีทีวี" ไปจัดที่ กทม. เป็นพักๆ แต่ก็น้อย และไม่ยอมแตะเรื่องเปรมเลย)

2. สมยศ พฤกษาเกษมสุข เวที "24 มิถุนา ประชาธิปไตย"
หลัง "เมษาเลือด" ที่ นปช. ต้อง "พัก" ไปช่วงสั้นๆ "24 มิถุนา" ก็ออกมาจัด มีการจัดระดมใหญ่ที่ราชดำเนิน ผ่านฟ้า ด้วย ไม่นับ การจัดเวทีย่อยอีกมาก อย่างหลังพฤษภา 53 ไปจัดที่ อยุธยา เป็นต้น (ซึงผมไปฟัง เมื่อวานพอดีค้นดูรูปเก่าๆ) และต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง

3. สุรชัย แซด่าน และเวที "แดงสยาม"
ช่วงที่ นปช. โดนปราบหลัง 2552 ก็ออกมาจัดที่สนามหลวงเหมือนกัน และเวทีย่อยๆอีกมาก

คือพูดง่ายๆว่า ในยามที่ นปช หรือ "เสื้อแดง กระแสหลัก" "ยังไม่พร้อม" (หลัง รปห.) หรือ "ไม่อยู่" คนเหล่านี้ ก็เรียกว่า ช่วย "รักษาคบเพลิงไว้ให้" อะไรแบบนั้น

ตอนนี้ เป็นไง?

อยู่ในคุกทั้ง 3 คน

อย่างที่เขียนไปวันก่อนว่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ในปลายปี 2553 - ต้นปี 2554 นปช. ไป "เจรจา ต้าอ่วย" กับ "ฝ่ายนั้น" ได้ยังไง ถึงทำให้สามารถประกัน แกนนำ ออกมาได้ ทั้งยัง ทำให้คนทีหลบไปต่างประเทศ บางคนก็โดน 112 ก็กลับมาได้ ได้ประกันตัวหมด

"ประหลาด" ที่ จนบัดนี ไม่สามารถช่วยอะไร คนอย่าง สุชาติ, สมยศ, สุรชัย ได้เลย

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=306169649436321&id=100001298657012
Collapse this post
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้เขียนว่าไม่รู้จะพูดอะไรอีกนะ เหนื่อย คดีสุรชัย... เข้าร่วม Facebook เพื่อติดต่อกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลและคนอื่นๆ ที่คุณอาจจะรู้จัก 
  

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 21, 2012 (edited)  -  Public
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
16 hours ago

ใครที่กำลังดูรายการสรยุทธ (เรื่องเล่าเช้านี้) คงเห็นว่า กำลังโปรโมท รายการ "โอท็อป ก้าวไกลด้วยพระบารมี" ซึงเริ่มวันนี้

วันก่อนผมเขียนอะไรไว้นิดหน่อย แต่ไม่ได้โพสต์ เพราะไม่ค่อยแน่ใจว่า เป็นการ "มองลึก" เกินไปหรือไม่ แต่เมื่อวาน ดูไทยรัฐ (ฉบับพิมพ์ ฉบับออนไลน์ ไม่มี) เห็นโฆษณางานที่วา โดยการ "ตัดต่อ" เอารูป ผู้นำรัฐบาล (ยิ่งลักษณ์ ยงยุทธ และอีก 4-5 คน) กำลังยกมือไหว้ อยู่ด้านหนึงของภาพ อีกด้านหนึง ก็ "อัญเชิญ" พระสาทิสลักษณ์ พระราชินีิ (สมัยเมื่อหลายๆปีก่อน เมื่อยังทรงพระเยาว์กว่านี้) มาไว้ โดยรวมแล้ว ก็ได้ภาพออกมาว่า ผู้นำรัฐบาลกำลังถวายบังคม (ไหว้) พระราชินีอยู่ แล้วก็ขึ้นตัวหนังสือโปรโมทงาน ... ผมดูรูปโฆษรางานดังกล่าว และดูสรยุทธ (โดยบังเอิญ) ขณะนี้แล้ว ก็รู้สึกว่า น่าจะลองโพสต์กระทุ้ทีเขียนไว้ได้ ... อย่างหนึงก็เผื่อหลายคนอาจจะ "ตกข่าว" เรื่องนี้

.................

สำหรับท่านที่อาจจะไม่ทันสังเกตข่าวนี้นะครับ
http://thailandexhibition.com/Exhibition/Exhibition-News-Details.php?id=3986

ความ "น่าสนใจ" ของเรื่อง คือการเอา OTOP ซึ่งดังที่รู้กันว่า เป็นหนึงในงานของทักษิณ ไป "ผนวก" กับการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ("ศิลปาชีพ")

ดู "โลโก้" คำขวัญของงาน "ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี" (เอามาจากเว็บนี้ ซึ่งมีรายละเอียดของงาน http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=12532&filename=flood )

งานนี้ ผมคิดว่า เป็นไปได้ที่จะ "ริเริ่ม" มาจากหน่วยงานระดับกรมการพัฒนาชุมชน แต่ว่า การทีนายกฯยิ่งลักษณ์ ออกมา "เชิญชวน" เอง แสดงว่า นายกฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน ดังนั้น "นัยยะ" หรือ "ความน่าสนใจ" ที่ผมพูดข้างต้น จึงเป็นไปได้ที่จะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ (จริงๆแล้ว เรื่องอาจจะไม่ได้ ริเริ่มมาจาก กรมพัฒนาชุมชน เลยก็ได้ คือ อาจจะมาจาก "นโยบาย" หรือการริเริ่มของระดับรัฐบาลเลยก็ได้ แต่ให้กรมฯ เป็นผู้จัดการ - ผมไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้ อันที่จริง ผมก็เพิ่งมารู้เรื่องนี้ เพราะญาติคนหนึ่งที่เขาฟังวิทยุระหว่างขับรถ - ผมเปิดเพลงจากซีดีอย่างเดียวเวลาขับรถ - เขาบอกว่า มี "สป็อต" โปรโมทงานนี้เยอะทางวิทยุ ผมก็เลยลองค้นดู)

นี่คือโฆษณางาน "โอท็อป ก้าวไกลด้วยพระบารมี" ในไทยรัฐ (ฉบับพิมพ์) ที่ผมพูดถึงในกระทู้ข้างล่างติดกันนะครับ มีคนเอื้อเฟื้อ scan ส่งมาให้

มองในแง่สัญลักษณ์ นี่เป็นการโฆษณาที่ "ตลก" ดี คือ ไมใช่รูปถ่ายตรงๆ แต่เป็น "รูปตัดต่อ" คือ เอารูปผู้นำ รบ. ในท่าไหว้ มาตัดแปะ คู่กับพระบรมสาทิศลักษณ์พระราชินี (ซึงเป็นภาพเก่าหลายสิบปีแล้ว สมัยยังทรงพระเยาว์กว่านี้มาก) - คือ ไม่มีอะไรที่เป็น "ธรรมชาติ" หรือสะท้อนตัวงานแสดงจริงๆเลย
ซึ่งถ้ามองในแง่สัญญลักษณ์ อย่างที่ผมเขียนในกระทู้ข้างล่าง เป็นการเอา "โอท็อป" ซึงเป็นงานสำคัญของทักษิณ มา "ผนวก" กับการเฉลิมพระเกียรติพระราชินี และยังเป็นการพยายาม "แสดงออก" อย่าง "เกิน" กว่าตัวงานแสดงจริงๆ คือ เน้นเรื่อง "ความจงรักภักดี" ของผู้นำ เพื่อไทย ต่อพระราชินี ซึงจริงๆ ก็ไม่เกียวกับงานโดยตรงอีก

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=302072666512686&set=a.137616112958343.44289.100001298657012
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=302158753170744&set=a.137616112958343.44289.100001298657012

KP // ต่อไปคงงดไปงาน OTOP และคาดว่า ต่อไปในอนาคต ผู้ที่ริเริ่ม OTOP ก็คงหนีไม่พ้น ...... (เติมคำเอาเอง) ... เพราะ ซาบซึ้งจริงๆ ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมาก อันหาที่สุดมิได้เจงเจงงงงงงงงงงงงงงงงงง
Collapse this post

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 21, 2012  -  Public
มีมการเมืองไทย (Thai Political Memes)
‎"If you can't explain it to a six year old, you don't understand it yourself."
-- Albert Einstein

ความจริงมักไม่ซับซ้อนเสมอ :)

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=171850222929021&set=a.161170660663644.33139.161019180678792

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 21, 2012  -  Public
ประเวศ ประภานุกูล shared a link.
สถานีวิทยุคนเสื้อแดงเชียงใหม่ ลองฟังกันดูครับ

http://fm9915cm.blogspot.com/
   

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 21, 2012 (edited)  -  Public
อุ๊ยต๊ายตาย ... ซ่าบซึ้งใจจริงๆเลยฮราฟฟฟ ... ก็แหม ... ต้องชี้แจงกันตลอดชาติเลยนะฮราฟ ว่าทำมั้ยทำไม Kempin ถึงอยู่ตรงนั้น Paragon ถึงอยู่ตรงนั้น สวนน้ำที่สเปนถึงได้อยู่ที่ตรงนั้น ... มันไม่จริงเลยใช่มั้ยฮราฟฟฟฟฟฟฟ

“พระราชวังในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวน่าจะเป็นพระราชวังของพระมหากษัตริย์แห่งเดียวในโลกที่เต็มไปด้วยการทดลองปลูกนาข้าว บ่อปลา คอกหมูคอกวัว โรงสีข้าว และโรงงานเล็กๆ อีกหลายแห่ง”

http://www.prachatai3.info/journal/2012/02/39347

Bus Tewarit
‎1. ผมว่าสังคมไทยยกย่องคนรวยนะ แล้วที่ฟอร์บส์ยกย่องก็เป็นเรื่องที่น่ายกย่องไม่ใช่หรือ
2. ถ้า สนง.ทรัพย์ เป็นของ รัฐ จริงๆ ก็น่าเอารายได้เขาคลังนะครับ
3. ถ้า สนง.ทรัพย์ฯ เป็นของรัฐจริงก็น่าจะตรวจสอบโดยประชาชนได้นะครับ แต่ทำไมความเห็นของ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) 1 พ.ค.2544 มีข้อสังเกตว่า "ในการเข้าไปตรวจสอบโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเกี่ยวกับกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นจะต้องคำนึงถึงสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8.." (ล่ะครับ ที่มา http://www.dopa.go.th/gov/cab0501t.htm)

https://www.facebook.com/bus.tewarit/posts/328513737199541
Collapse this post

สถานทูตไทยในวอชิงตันดีซี ส่งจดหมายถึงนิตยสารฟอร์บส์ แจง สนง.ทรัพย์สินฯ เป็นสมบัติของชาติซึ่งแยกออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัว มูลค่าทรัพย์สินของสถาบันฯ ที่ฟอร์บส์ตีพิมพ์จึงสูงเกินจริง พร้...
   

KP Page

KP Page's profile photo
KP Page  -  Feb 21, 2012 (edited)  -  Public
จริงๆ อยากจะ comment แต่ no comment ดีกว่า สมัยก่อน ... ชอบบอกนักว่า อย่าเอาอย่างมาเลย์ อินโด ต้องเอาอย่างไทย ดีที่สุด ... สุดท้ัายเป็นไง ... เด็กจบปอเนาะมา ทำอะไรไม่ได้ สายสามัญก็สู้เขาไม่ได้ ต่อปริญญาตรีก็สู้เขาไม่ได้ เอาดีอะไรไม่ได้สักอย่าง ... ยกเว้นเรื่องเดียว คือเรื่องศาสนา ... โลกยุคปัจจุบัน ศาสนา ต้องคู่ไปกับสังคม จะเอาศาสนาเพียงอย่างเดียว มันอยู่ไม่ได้ ลองหันไปดูทางด้านอุซเบก คาจิกิสถาน เตอร์กเมนิสถานดูบ้าง ว่าเขาอยู่กันอย่างไร ...
http://www.prachatai3.info/journal/2012/02/39352

ปอเนาะผวาประชาคมอาเซียน หวั่นมาเลย์-อินโดฯตั้งโรงเรียนแข่ง ถกหาทางปรับตัว ชี้มุสลิมกัมพูชาพร้อมรับมากกว่าไทย ศอ.บต.หนุน 149 ล้าน พัฒนาตาดีกา
   

No comments:

Post a Comment