2012-09-10

EXPENSE OF MONARCHIES


KP Page

8:45 PM  -  Public
TCS - EXPENSE OF MONARCHIES -  - #NO112
http://constantian.tripod.com/expense.html
TCS - EXPENSE OF MONARCHIES »
RANDALL J. DICKS 1951-1999. The Expense of Monarchy. By Randall Dicks. A criticism of monarchy which we have heard over and over through the years is that it is an expensive form of government. Decade... 
Pegasusfire Michael - #NO112
Thursday

ค่าใช้จ่ายราชวงศ์ไทย ปี 2556 3,600 ล้านเศษ ๆ จิ๊บ ๆ
ลองเทียบกับราชวงศ์อื่น ๆ ดูกัน

เบลเยี่ยม

The King's Civil List 253,900,000 BEF
Queen Fabiola's annuity 46,900,000 BEF
Prince Philippe 13,900,000 BEF
Royal Family, other allowances 14,800,000 BEF

Total 329,500,000 Belgian Francs
(US$9,852,050)
ราว ๆ 300,000,000 บาท

เดนมาร์ค
H.M. Queen Margrethe II 42.3 million Danish kroner
Other members Royal Family (Dowager Queen Ingrid,
Crown Prince Frederik, Prince Joachim) 15.7 million Danish kroner
Total 58,000,000 Danish kroner
(US$9,367,000)
ไม่ถึง 300,000,000 บาท

ลิคเค่นสไตน์
The Government used to reimburse 250,000 Francs for
the Reigning Prince's expenses, but in recent years the
Reigning Prince has waived this reimbursement
(Liechtenstein Mission to the UN, letter of May 9, 1996).

รัฐบาลเคยจ่ายให้ประมาณ 250,000 ฟรังซ์ (น่าจะราว ๆ 1,250,000)
แต่ปีถัดมา เจ้าชายขอยกเลิก

ลัคเซมเบิร์ก
For year 1995:
Civil List of the Grand Ducal House 32,184,000 FL
Additional funds for staff expenses 136,776,000 FL
Representation funds (official functions), Grand Duke 14,450,000 FL
Representation funds (official functions), Hereditary Grand Duke
3,620,000 FL
Grand Ducal House, buildings and maintenance 6,363,000 FL
Civil servants staff allocation 2,864,000 FL
Total Public Funds 196,257,000 Luxembourg Francs
(US$5,946,587)

ราว ๅ 183,000,000 บาท

โมนาโค
H.S.H. the Sovereign Prince 47,000,000 FF
Household of H.S.H. the Prince 4,857,000 FF
Office of H.S.H. the Prince 12,073,000 FF
Archives and Library of Princely Palace 1,831,600 FF
Chancery of Princely Orders 670,000 FF
Palace 37,803,700 FF

TOTAL 104,000,000 French Francs
(US$18,938,400)

ราว ๆ 580,000,000 บาท

เนเธอร์แลนด์
1996 stipends (figure in parentheses indicates amount
considered personal income)
Queen Beatrix 6.9 million guilders (1.2)
Prince Claus 1.3 million guilders (0.5)
Prince Willem-Alexander 1.6 million guilders (0.4)
Princess Juliana 1.8 million guilders (0.7)
Prince Bernhard 1.1 million guilders (0.3)
Total 12.7 million guilders (3.1)
(US$6,953,250)

ราว ๆ 200,000,000 บาท

นอร์เวย์

NORWAY
1996 appanage to the King and Queen, NOK 22.8 million
1996 appanage to Crown Prince Haakon Magnus, NOK 130,000
1996 appanage to Princess Mไrtha Louise, NOK 100,000
Court Administration (the King's and Queen's staffs), NOK 12 million
Royal Castle Administration (daily operation and maintenance
of Royal Castle (Oslo), Bygd๘ Royal Farm, and Oscarshall,
which are owned by the State), NOK 20 million
1995 extra allocation for extraordinary building and restoration
activities at the Royal castle, NOK 45 million
Total 55,030,000 Norwegian kroner
(US$8.595,686)

ราว ๆ 260,000,000 บาท

สเปน

Total allotment of 924 million pesetas; no amounts allocated
directly to other members of the Royal Family. Under Article
65 of the Constitution, this amount is meant to provide for
the Family and Household of the monarch.

Total 924,000,000 pesetas
(US$6,837,600)

ราว ๆ 200,000,000 บาท

สวีเดน
H.M. The King 30 million Swedish Crowns
(This sum includes clerical, office, and administrative expenses,
which account for about 70% of the total; travel and entertainment
are also covered by this sum; security is paid for by the police.)

No other members of the Royal Family receive public funds.

Maintenance of the 10 Royal Palaces (not the property of the monarch): approximately 30 million Swedish Crowns

Royal Collections (maintenance and restoration of the interiors,
furniture, art works, etc. at Royal Palaces): 11 million Swedish Crowns

Total 60,000,000 Swedish Crowns (approximate)
(US$8,466,000)
ราว ๆ 250,000,000 บาท

อังกฤษ

Total 53,810,878
(US$89,444,441)

ราว ๆ 2,730,000,000 บาท
แต่ปัจจุบันรัฐบาลลดลงเหลือ 38 ล้านปอนด์ หรือ
1,780,000,000 บาท

ญี่ปุ่น
The only figure supplied pertains to Fiscal Year 1994.

Imperial Household ฅ5, 285,000,000
(US$44,922,500)

ราว ๆ 1,525,000,000 บาท

คูเวต

KUWAIT
Public funds: KD 8 million
(US$26,552,000)

ราว ๆ 800,000,000
http://constantian.tripod.com/expense.html — with Natee Ngamwat.

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=267613810025241&set=a.113346208785336.13804.100003298721741



In Thailand, A Rare Peek At His Majesty's Balance Sheet - Forbes »
Image by AFP via @daylife Thailand's King Bhumibol, who turned 84 last December, is the world's longest serving ruler. He is also the richest - by a comfortable margin. Last year Forbes estimated his...
His Majesty's Balance Sheet - A Thai Government Response - Forbes -http://www.forbes.com/sites/simonmontlake/2012/02/20/his-majestys-balance-sheet-a-thai-government-response/

เรื่องของ CPB สนง. ทรัพย์สินส่วนฯ - ชุมชนคนเหมือนกัน -http://www.konmuankan.com/~liberal/index.php?showtopic=52172&s=32ca3e037c89ac1f12f7e698f3b49e3a
His Majesty's Balance Sheet - A Thai Government Response - Forbes »
The following letter was sent by the Royal Thai Embassy in Washington in response to my recent post on the Crown Property Bureau and King Bhumibol Adulyadej. You can read the original post here. Dea...
Pegasusfire Michael #NO112
September 4

บทความ(แปล) "แอบมองความร่ำรวยของ "ภูมิพล" ผ่านงบดุล"
โดย Simon Montlake, Forbes


กษัตริย์ภูมิพลที่อายุ 84 ปี ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว เป็นกษัตริย์
ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และเขายังเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวย
ที่สุด ในโลก- นั่งรับเงินปันผลอย่างสะดวกสบาย

ปีที่แล้ว Forbes ประมาณความมั่งคั่งสุทธิของเขา มากกว่า 30 พันล้าน
ยูเอสดอลล่าร์ (มากกว่า หนึ่งล้านล้านบาท)

แซงหน้าเศรษฐีน้ำมันที่แห่งบรูไน สุลต่าน Bolkiah กระเด็นไปอยู่ที่สอง
ส่วนบรรดาเศรษฐีราชวงศ์จาก กลุ่มประเทศจากตะวันออกกลาง
และ ยุโรป โดนทิ้ง ไม่เห็นฝุ่น

การจัดอันดับชั้นนำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
เป็นที่ถกเถียงกันในประเทศไทย โดยคนรุ่นใหม่พากันบ่น
ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น เป็นที่สิ้นเปลืองและไร้ซึ่งประสิทธิภาพ

ส่วนที่เหลือ จะตกใจว่าชาวต่างชาติที่ดันมาเปิดเผยความร่ำรวย
ของผู้ปกครองของพวกเขา

บรรดาข้าราชบริพารต่างออกมายืนยันว่าฟอร์บให้ข้อมูลที่ผิด ๆ
เงินหลายหมื่นล้านเหรียญในงบดุลของกษัตริย์ภูมิพลนั้น
เป็นของ สถาบัน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง

พวกเขายังตั้งคำถามกับทางเราว่าเอาตัวเลขที่ไหนมาประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

สถาบันพระมหากษัตริย์ ถือครองที่ดินผืนสำคัญ ๆ
ในเขตกรุงเทพมหานคร และภาคกลางของประเทศไทย
ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าในราคาถูก

(แต่มันก็มีมูลค่ามหาศาลในสายตาของนักลงทุน และทาง Forbe)

หนังสือชีวประวัติ กึ่งเป็นทางการ ชื่อ
“ ชีวิตการทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช:
เปิดโอกาสให้เราแอบมองเข้าไปในเครื่องจักรทำเงินของกษัตริย์ภูมิพล

จากบทหนึ่งในหนังสือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (CPB)
ซึ่งจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์และการลงทุน ยืนยันการถือครอง
ที่ดินขนาดใหญ่ที่ Forbes ใช้เป็นพื้นฐานของการประมาณการ
(จากตัวเลขศึกษาประเมินราคา ทางวิชาการเมือปี 2005)
ว่ากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดิน ในใจกลางกรุงเทพฯ อยู่ 3,320 เอเคอร์
( 1 เอเคอร์ = 2.5 ไร่); และทั่วประเทศอีก 13,200 เอเคอร์

อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ แค่พูดถึงสำนักงานทรัพย์สิน
ซึ่งมูลค่าทรัพย์สิน เป็นแค่ 1 ใน 3 ของการประเมินจาก Forbe
(ซึ่งง่ายมากที่จะประเมิน)
มูลค่าของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มันเป็นเรื่องยากที่จะสรุป
ให้แน่ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่
(ข้อมูลของ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด และ บริษัท วังสินทรัพย์ จำกัด
หาตัวเลขเปิดเผยไม่ได้)

ข้่าราชบริพาร (สุเมธนั่นแหละ) ยังกล่าวต่อว่า ยิ่งไปกว่านั้นเพียง
มีที่ดินแค่ 7% เท่านั้น ของที่ดินพระราชทานได้เช่าบนพื้นฐานเชิงพาณิชย์
ได้อย่างเต็มที่ โดยมีค่าเช่ารายปีเท่ากับเท่าที่ 4% ของมูลค่าตลาด
ที่ดินบางแห่งถูกเช่าโดยหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานอื่น ๆ
(ยกตัวอย่างที่ดินกรมตำรวจ ถนนพระราม 1 ตรงข้ามวัดปทุม
รัฐบาลจ่ายค่าเช่าให้สำนักทรัพย์สิน ปีละ 300 ล้านบาท ราคาตลาด)
ที่เหลือเป็นชุมชนแออัด ตลาดที่ อยู่อาศัยและร้านค้า
(ซึ่งค่อย ๆ ถูกไล่ที่หายไปเรื่อย ๆ เช่น
ที่ดินพระราม 1 ถูกไล่ที่กลายเป็นโลตัส
ที่ดินแถบซอยโปโล โรงเรียนเตรียมทหารเก่า หรือบางกอกบาซาร์
ที่ดินซอยไผ่สิงโต พระราม 4 ฯลฯ)



เมื่อปี 2010 มีรายได้รวมจากค่าเช่ามาถึง 2.5 พันล้านบาท
( 80 ล้านยูเอสดอลล่าร์ ณ อัตราปัจจุบัน)
ที่ดินแห่งสำคัญคือ คือเซ็นทรัลเวิลด์, ห้างสรรพสินค้าที่ถูกเผาบางส่วน
ในปี 2010 จากการจลาจล อีกแห่ง อยู่ใกล้ ๆ กัน คือ โรงแรมโฟร์ซีซั่น
โดยรวมแล้วสำนักงานทรัพย์สินมี 40,000 สัญญาเช่า อยู่ในมือ
โดย 17,000 สัญญาเช่าอยู่ในกรุงเทพฯ


ง่ายมากที่จะวัดมุลค่าของสำนักทรัพย์สิน ซึ่งถือหุ้น 23%
ใน ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดธนาคารหนึ่ง
ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของ หนึ่งแสนสามหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
(ราว ๆ สี่ล้านล้านบาท)
และสำนักทรัพย์สินยังเป็นเจ้าของหุ้น 32% ของปูนซิเมนต์ไทย
ซึ่งมีมุลค่าราว หนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยล้านเหรียญ

ถ้ารวมมุลค่าเข้าด้วยกัน สำนักทรัพย์สินถือหุ้นมูลค่าราว 7,000,000,000
เหรียญสหรัฐ (เฉพาะหุ้นสองตัวนี้ ราว สองแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท)

ในปี 2010 บริษัท เหล่านี้จ่ายเงินปันผลให้แก่สำนักทรัพย์สิน
จำนวน 184,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (หรือราว ห้าพันเจ็ดร้อยล้านบาท)

ตัวเลขจากหนังสือชีวประวัติกษัตรย์ ภูมิพล สำนักทรัพย์สินมีรายได้รวมราว
เก้าพัน ถึง หนึ่งหมื่นหนึ่งพัน ล้านบาท เมื่อปี 2008

แม้เมื่อยามเศรษฐกิจตกต่ำ (เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำลงเมื่อปี 2009),
สำนักทรัพย์สิน ก็ยังมีรายได้ที่แสนงดงาม ราว 290,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
(หรือราวเกือบ เก้าพันล้านบาท)

หนังสือก็ไม่ได้พูดถึงว่าสำนักทรัพย์สิน ยังมีการถือครองหุ้น ในเยอรมัน
โรงแรม Kempinski AG และอีกแห่งหนึ่งก็คือ เทเวศประกันภัย

ในปี 2008 มุลค่าของหุ้นใน Kempinski และ เทเวศน์ประกันภัย
ของสำนักทรัพย์สิน ก็มีมูลค่าราว ๆ 600,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
หรือราว หนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยล้าน

ถึงแม้ไม่มีสินทรัพย์เหล่านี้ โชว์ตัวเลข อยู่ในหนังสือชีวประวัติกษัตรย์ ภูมิพล
สำนักทรัพย์สิน ก็ยังเป็นองค์กรทางธุริกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ลองเปรียบเทียบผู้ประกอบการที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทยอย่าง
ธนินท์ เจียรวนนท์, ผู้ก่อตั้งกลุ่มซีพี ที่มีมูลค่า เจ็ดพันสี่ร้อยล้านดอลล่าร์
หรือราว สองแสนสองหมื่นเก้าพันล้านบาท

สินทรัพย์ของกษัตริย์ภูมิพล มีจำนวนมากมายมหาศาลกว่าหลายเท่า

นั่นเป็นเหตุผลที่ฟอร์บจัดอันดับให้เขาเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดของโลก

แต่หนังสือ ชีวประวัติกษัตรย์ ภูมิพล เล่มล่าสุด ก็ยังแย้งว่า
สำนักทรัพย์สิน ไม่ใช่ กระปุกออมสินส่วนตัวของกษัตริย์ภูมิพล
(เป็นหน่วยงานที่แยกจากกัน เพื่อจัดการกับสินทรัพย์ส่วนตัวของพระราชวงศ์)
และมันไม่ถูกต้อง ที่จะติดป้าย “สุดยอดมหาเศรษฐีโลก”

สินทรัพย์ในสำนักงานทรัพย์สิน ไม่ใช่ของส่วนบุคคล
แต่สำหรับตอนนี้ ทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ในมือของกษัตริย์ภูมิพล
ซึ่งฟ้าชาย (หรือผู้สืบทอดคนถัดไป) จะได้รับมรดก เป็นกุญแจเซฟ
(สู่ความมั่งคั่ง) ของครอบครัวในรุ่นต่อไป


แล้วตกลงว่า สำนักทรัพย์สิน คืออะไรกันแน่ ????

อา มันช่างเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อน ซึ่งในกฏหมายระบุว่า
“มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสำนักพระราชวัง, ไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาล,
ไม่ใช่หน่วยงานเอกชน (อือ แล้วมันเป็นอะไรฟระ)
มันเป็นหน่วยงานที่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (ในจักรวาลนี้)

คุณอ่านมาแล้วเข้าใจหรือเปล่า?

และที่ยิ่งเจ็บแสบไปมากกว่านั้น สำนักงานทรัพย์สิน
ไม่เคย (ต้อง) จ่ายภาษีธุรกิจ หรือภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่ดิน เลย

หน่วยงานนี้ ได้รับการยกเว้น ภาษีทุกประเภท ตามกฏหมายประเทศไทย
เป็นหน่วยงานที่ได้รับการเทิดทูนให้อยู่เหนือกฏหมาย

ไม่ สำนักงานทรัพย์สิน ไม่ใช่หน่วยงานราชการ ไม่ใช่มุลนิธิการกุศล
ไม่จำเป็นต้องส่งงบดุลประจำปีให้ใคร

สำนักทรัพย์สินทำงานให้กษัตริย์ภูมิพลเท่านั้น
(แต่บอกว่าไม่ใช่ของกษัตริย์ภูมิพล ตกลงแล้วมันของใครกันแน่ฟระ)

แผนการลงทุน การลงทุน ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยให้สารธารณชน
จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถนำขึ้นมาพูดกันได้ในประเทศไทย

ซึ่งผุ้ที่พยายามลองพูดเรื่องนี้ ต้องจบลงด้วยการติดคุก
และรอขึ้นศาลข้อหา หมิ่น (112) หลายสิบคน

หนึ่งเหตุผลสำหรับสถานะพิเศษของสำนักทรัพย์สิน
คือ สถานะพิเศษที่รายได้ปลอดภาษี เพื่อนำไปเป็น
ค่าใช้จ่ายของการดูแลสถาบัน

(อันนี้ไม่รวม ค่ารักษาสถาบันจากรัฐบาล ค่าเครื่องบิน ค่าโน่นค่านี่
อีก นับหมื่นล้านบาทต่อปีนะฮับ)

"ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ จะนำมาจากรายได้ เก้าพัน ถึง หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาท
จากผลงานบริหารสินทรัพย์ที่บริหารจัดการโดยสำนักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์" หนังสือชีวประวัติกษัตรย์ ภูมิพล กล่าวอวดอ้าง

แต่ผู้เสียภาษี (ประชาชนทั่วไป) ยังคงอยู่ต้องถูกถอนขนห่าน
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชวัง

ในงบประมาณ 2011 สำนักพระราชวังได้รับ 84,000,000 ดอลล่าร์
หรือราว สองพันหกร้อยล้านบาท ส่วนแผนกอื่นได้ไปอีก 15,000,000 ดอลล่าร์
หรือราว สี่ร้อยหกสิบห้าล้านบาท
(สำนักพระราชวังได้รับเงินงบประมาณไปราว 3500 บาท)


หนังสือเปิดเผยว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัย เป็นค่าใช้จ่ายสูงที่สุด
รัฐบาลใช้เงินประมาณ 194,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
หรือราว หกพันล้านบาทเศษ เมื่อปีที่แล้ว (2011)
สำหรับเหล่าราชวงศ์และข้าราชบริพาร

นี่ก็หมายความว่าในแต่ละ ปี เฉลี่ยแล้ว ,
ราชวงศ์ ผลาญเงินภาษี ราว ห้าร้อยล้านดอลลาร์
หรือราว หนึ่งหมี่นหกพันล้านบาทให้กับราชวงศ์

มาลองเปรียบเทียบกัน (ถ้าคุณกล้า) กับบัญชีงบดุลของราชวงศ์ในยุโรป

ราชวงศ์สเปน มีค่าใช้จ่ายจากภาษีประชาชนชนราว 12,000,000 ดอลล่าร์
ต่อปี หรือ สามร้อยเจ็บสิบล้านบาทเท่านั้น

ราชวงศ์ของอังกฤษซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าใคร ใช้ไปเกือบ 50 ล้านดอลล่าร์
หรือไม่ถึง พันห้าร้อยล้านบาท

และ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ (ของราชวงศ์อังกฤษ) มาจากสำนักทรัพย์สินอังกฤษเอง
ซึ่งปีที่แล้ว สำนักทรัพย์สินอังกฤษมีรายได้ราว 358 ล้านดอลล้าร์สหรัฐ
ราว หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านบาท

ผู้เสียภาษีชาวอังกฤษยังรู้สึกดี โดยที่เงินภาษีของพวกเขาถูกใช้จ่าย
อย่างเหมาะสม (ค่าบำรุงรักษาสถานที่, ให้บริการการเดินทางในต่างประเทศ
ของราชวงศ์ ฯลฯ เท่านั้น)

ส่วนประเทศไทยเป็นเรื่องตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
ดังที่หนังสือชีวประวัติของกษัตริย์ภูมิพล เขียนไว้ว่า

"สำนักงานทรัพย์สิน ได้คืบคลานไปสู่ความโปร่งใสเพียงน้อยนิด
โดยข้อมูลส่วนใหญ่ยังไปไม่ถึง (ตรวจสอบไม่ได้)"

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=266866780099944&set=a.113346208785336.13804.100003298721741





No comments:

Post a Comment