ในเชิง "การปฏิบัติ" นะครับ ผมมองว่า การจะช่วย คนที่โดน 112 ตอนนี้ ควรทำเรื่องเหล่านี้
1. ผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรม (โดยอาจจะรวมกับคดีการเมืองอื่นๆ แต่แยกจากทักษิณ และแกนนำ ผู้นำ ทั้ง 2 ฝ่าย)
หลายท่านอาจจะรู้สึกว่า"ยาก" ในเรื่องนี้ ผมไม่คิดว่า เป็นการ "ยาก" กว่า การ "แก้ 112" ตอนนี้แน่นอน ... อันที่จริง ผมว่า โอกาสความเป็นไปได้ ถ้าเปรียบเทียบกัน ผมว่า พรบ.นิรโทษกรรม มีโอกาส เป็นไปได้มากกว่าด้วยซ้ำ
ที่สำคัญ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด (ค่อนข้างแน่ใจว่าไม่ผิด) ต่อให้มีปาฐิหารย์ "แก้ 112" ตอนนี้ ได้สำเร็จ คดีทีตัดสินไปแล้ว อย่าง ดา, หนุ่ม, อากง ฯลฯ ก็จะไม่มีผลย้อนหลัง ให้ลดโทษ หรือยกโทษ เพราะตัดสินไปแล้ว ตาม กม.ที่มีอยู่ในขณะตัดสิน ถ้าจะให้แก้การตัดสิน ก็ต้องดำเนินคดีใหม่หมด ซึง ไม่น่าเป็นไปได้ และในทางกฎหมาย ผมก็เข้าใจว่า เขาต้องถือเอากฎหมาย ขณะที่มี "ความผิด" เกิดขึ้น
2. ในกรณี "คดีที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่" ผมมองว่า ต้องผลักดัน การอภิปรายเรื่องสถานะสถาบันกษัตริย์โดยรวมมากกว่า ซึ่ง ก็ยังมี "โอกาส" ของ "ความเป็นไปได้" มากกว่า จะมีการ "แก้" ได้จริงๆ
เพราะการจะ "แก้" ได้จริงๆ (โดยเฉพาะในเวอร์ชั่น ของ "นิติราษฎร์-ครก 112" จะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อ มีการเข้าใจในเรื่องสถาบันฯ คนละแบบกับ ระบบคิด "กษัตริย์นิยม" ที่ครอบงำอยู่
และนี่คือการต่อสู้ทางความคิด ทางหลักการ ที่จะต้องทำกันอีกยาว . . .
ผมคิดเรื่องนี้มาหลายวันนะ หลายตลบมากๆ เพราะไม่อยากจะแย้ง ความเห็น "นิติราษฎร์" หรือ ครก.112 ที่กำลังจะตั้งขึ้นใหม่ (เชื่อเถอะว่า ผม agonize [โทษที นึกภาษาไทยเหมาะๆไม่ออก] ต่อเรื่องนี้ อย่างรุนแรงมากๆ หลายวันที่ผ่านมา)
แต่ผมยังเห็นแบบนี้ว่า
ถ้าคนอย่างคุณสมยศ และคนอื่นๆ สามารถรณรงค์ ให้ "เลิก 112" ได้
(คุณสมยศ ได้พยายามรวบรวมรายชื่อ เสนอเป็น กฎหมาย แบบที่ ครก.112 กำลังจะทำ)
นักวิชาการ ที่ยังไงก็มีสถานะที่ได้เปรียบกว่าอย่างเทียบไม่ได้
ต้องสามารถ เสนอ ให้ เลิก ได้เช่นกัน
และทั้งหมดนี สำคัญมากในแง่ที่เรากำลังพูดในปริมณฑลของ "การต่อสู้ทางความคิด" ไมใช่ในแง่ของการ ได้เลิก หรือได้ แก้ จริงๆ (เพราะโอกาส ไม่ว่า จะแก้ หรือ เลิก ในขณะนี้ แทบไม่มี)
ผมยังยืนยันในหลักการที่ผมยืนยันมาตลอดเป็นสิบปีนะว่า ในฐานะนักวิชาการที่มีอภิสิทธิ์เรื่องสถานะทางสังคม เรื่องความรู้ ความสามารถในการเรียบเรียงเป็นเหตุผลออกมา
เราต้องนำเสนอในหลักการอย่างเต็มที่ทีสุด ที่ทำได้ภ่ายใต้กฎหมายที่จำกัด
โดยเฉพาะกรณีสถาบันกษัตริย์ ไมมีเหตุผลที่ดีอะไร ทีเราจะปล่อยให้คนธรรมดาๆ ที่ไม่มีอภิสิทธิ์ ไม่มีเกราะคุ้มกัน มากเท่าเรา ต้องกลายเป็นผู้เสี่ยงทำมากกว่าเรา
กฎหมายหมิ่นฯ มีเหตุผลเต็มที่ ทีจะเสนอให้ เลิก ได้ มีคนธรรมดาๆเสนอให้ เลิก ไปนานแล้ว
(เรื่องเสนอให้ เลิก ไม่ผิดกฎหมาย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง)
มองในแง่ของการสู้ทางความคิด การ raise ประเด็น เรื่องสถาบันกษัตริย์ เรื่อง ideology ฯลฯ
ผมยิ่งเห็นว่า ไมควรที่นักวิชาการจะเสนอแค่ให้แก้ แต่ต้องยืนยันให้เลิกเท่านั้น
(เหตผลเรื่อง "ประเทศอื่น ก็มี ..." อะไรนั่น ผมได้เสนอไปแล้วว่า โต้แย้งได้ 100 เปอร์เซนต์ ตั้งแต่ว่า ประเทศอื่น ถึง "มี" ก็เรียกว่า ไมได้ใช้ เช่น อังกฤษ (กำลังจะเลิก) ทีสำคัญ ประเทศพวกนั้น ไมมี การ "ละเมิด" ประชาชน ในเรื่องการยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว ฯลฯ)
ผมเห็น่วา ต้องเสนอให้ "เลิก" เท่าน้ันครับ ไม่ควรเสนอให้ "แก้" 112
เวลา ผมได้ยินใคร โดยเฉพาะในหมู่นักวิชาการ พูดทำนองว่า "เสนอเต็มที่ไม่ได้ คนยังไม่พร้อมจะรับ.." ผมมักคิดถึงคำฝรั่ง ทีว่า self-fulfilling prophesy (หมายถึง คุณ "ทำนาย" ว่าอะไรจะเกิดขึั้น แล้วก็เพราะคุณไปทำนาย แบบนั้น เลยกลายเป็นสาเหตุ ให้มันเกิดเสียเองเลย)
คือ เวลา เราพูดว่า "เสนอเต็มที่ไม่ได้ๆ คนยังไม่พร้อมจะรับ.." มันเท่ากับ เราไปเพิ่ม "เสียง" หรือ "ความเห็น" หรือ ideology ที่่ว่า "มันยังไม่พร้อมนะ" อีก 1 เสียง
แต่ละคนที่พูด ก็เพิ่ม "ความไม่พร้อม" นี่แหละ เข้าไป 1 เสียง
เวลาผมฟัง บางทีผมก็นึกอย่างขำๆว่า "เออ แทนทีแต่ละคนที่คิด หรือพูด เช่นนี้ ทำไม ไม่หันมาพูดว่า "นี่ต้องทำอย่างนี้ มันถึงจะถูกหลักการ" ..."
แล้วก็ด้วยการพูดเช่นนี้แหละ หันมา "เพิ่มเสียง" ของ "ความพร้อม" เพิ่มขึ้นอีก คนละ 1 เสียง
(ยิ่งในกรณีนักวิชาการ ดังทีทราบกันว่า มีฐานะ ที่มากกว่าคนธรรมดาๆ "1 เสียง" อาจจะเท่ากับ คนธรรมดา 10 เสียง หรือ 100 เสียง ด้วยซ้ำ)
นักวิชาการ ต้องเสนอ ให้ เลิก 112 ครับ ไมใช่ให้ แก้
ตอนทีผมเริ่มเขียนพูด เริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับสถาบันฯ เมือ่ 10 กว่าปีก่อนนะ ผมนี่แทบจะเรียกว่า "โนเนม" นอกจากแวดวงแคบๆ รุ่นเก่าๆ ระดับ "สาธารณะ" นี่ แทบไม่มีคนรู้จักหรอก
ขณะนั้น นิธิ มีบทความในทีต่างๆ สูงสุด ถึงเดือนละ 15-16 ชิ้น เกษียร ก็ตามมาติดๆ เดือนละเป็น 10 ชิ้น บรรดานักวิชาการอีกเยอะแยะ ที่มีชือ่เสียง หรืออย่างน้อย มี"เวทีสาธารณะ"ของตัวเอง เยอะแยะ
แต่ผมยืนยันว่า ถ้าอะไรที่ถูกต้องในแง่หลักการ และเราทำได้ (แม้จะเสียงอยู่บ้าง) ก็ต้องทำ
คนอื่น ออกทีวี มีคอลัมภ์ นสพ. ผมไม่มีเลย ก็อาศํย เขียนตามเว็บบอร์ด นี่แหละ ...
ผมพูด ไมใช่เพื่อจะโฆษณาสรรพคุณอะไรของตัวเอง
แต่ผมเห็นมาตลอดว่า สำหรับนักวิชาการ ยิ่งคนที่มี "ชื่อเสียง" มี "สถานะ" มี "เครดิตทางสังคม" อยู่แล้ว
ยิ่งเป็น "ความรับผิดชอบทางคุณธรรม" (moral responsibility) ที่จะต้องพูดความจริง เสนอสิ่งทีเป็นหลักการ อย่างเต็มที่ทีสุด
(เอาตัวอย่างง่ายๆ บรรดา นักวิชาการสาธารณะดังๆพวกนั้น เวลาะพูด "สถาบันกษัตริย์" นี่จะต้องหาทาง "ซ่อน" ด้วยคำ ประเภท "กำลังอนุรักษ์นิยม" บ้าง "อำนาจประเพณี" บ้าง อะไรแบบนั้น ผมไม่เคยคิดจะใช้คำพวกนีเลย ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ สถาบันกษํตริย์ ก็สถาบันกษัตริย์ นี่แหละ (ไมใช่ สถาบันพระมหากษํตริย์ ด้วย ดังที่เคยเล่าไปแล้ว)
ในแง่ การต่อสู้ทางความคิดนะ ผมยืนยันว่า
เราต้องเสนอสิ่งที่ถูกต้องที่สุดทีเสนอได้ แม้คนจะยัง "ไม่พร้อมทีจะรับ" "เสนอแล้ว ดู รุนแรงเกินไป คนรับไม่ได้ " ฯลฯ
ผมยืนยันว่า ต้องเสนอ แล้ว force (บังคับ - แน่นอน ด้วยพลัง ของเหตุผล ของความจริงนะ ไมใช่ด้วยอาวุธหรือทางร่างกายอะไร ซึงจริงๆ พวกเราก็ไม่มีอยู่แล้ว)
force ให้ คนอื่นๆที่ยังไม่พร้อม มาเริ่มยอมรับฟังมากๆขึ้น
112 ต้องเสนอให้เลิกครับ เสนอให้ แก้ เท่านั้น ไม่ได้
ทำน้อยกว่า นี้ เราจะเสียความรับผิดชอบ ของความเป็นนักวิชาการ ครับ